สมุนไพรแห้ง เก็บได้ กี่ ปี

ลูกประคบสมุนไพรสดบรรจุกระป๋อง/ถุงรีทอร์ต

โดย สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สมุนไพรแห้ง เก็บได้ กี่ ปี
สมุนไพรแห้ง เก็บได้ กี่ ปี
สมุนไพรแห้ง เก็บได้ กี่ ปี
สมุนไพรแห้ง เก็บได้ กี่ ปี
นักวิจัย : นางจิตต์เรขา ทองมณีรายละเอียดเทคโนโลยี :ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ลูกประคบสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับนวดประคบในสปาหรือการนวดแผนโบราณ มีการส่งออกเพื่อใช้ในสปาในต่างประเทศ ลูกประคบสมุนไพรเป็นภูมิปัญญาไทยที่นำสมุนไพรพื้นบ้าน เช่น ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ ผิวมะกรูด ใบมะขาม การบูร พิมเสน เป็นต้น มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ รวมกันแล้วห่อด้วยผ้าดิบหรือผ้าฝ้าย มัดให้แน่นเป็นลูกกลมๆ นำมาประคบตามร่างกายเพื่อลดการปวดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อ ผ่อนคลายความเครียด ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น โดยทั่วไปการผลิตลูกประคบเพื่อจำหน่ายนิยมใช้สมุนไพรแบบที่ทำให้แห้ง สามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน แต่การทำสมุนไพรแห้งโดยการอบหรือตากแดดนั้น ถ้ากระบวนการทำสมุนไพรแห้งไม่ดี เมื่อเก็บไว้นานหลายเดือนอาจมีราปรากฏให้เห็นหรืออาจพบมอดในสมุนไพร ซึ่งเป็นปัญหาในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์และการจำหน่าย โดยเฉพาะการส่งออกไปต่างประเทศ ซึ่งในหลายประเทศจะมีข้อกำหนดที่เข้มงวดในการนำผลิตภัณฑ์จากพืชเข้าประเทศ ผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรแห้งที่ส่งออกไปต่างประเทศอาจต้องผ่านการฉายรังสีเพื่อกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ แมลงและไข่แมลงที่ติดมากับสมุนไพร ซึ่งขั้นตอนนี้นอกจากค่าใช้จ่ายในการฉายรังสีแล้ว ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งผลิตภัณฑ์มาทำการฉายรังสีด้วย ทำให้เสียเวลาและมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นการผลิตลูกประคบสมุนไพรสดโดยใช้เทคโนโลยีบรรจุกระป๋องหรือถุงรีทอร์ต สามารถขจัดปัญหาเหล่านี้ได้
สรุปเทคโนโลยี
เทคโนโลยีการผลิตลูกประคบสมุนไพรสดบรรจุกระป๋องหรือถุงรีทอร์ต โดยใช้ความร้อนสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส ทำให้ลูกประคบสมุนไพรสดปลอดจากเชื้อจุลินทรีย์ แมลงและไข่แมลง และยังมีกลิ่นและสีของสมุนไพรสดคงเดิม สามารถเก็บไว้ได้นานที่อุณหภูมิห้องจุดเด่น :• ลูกประคบสมุนไพรสดบรรจุกระป๋องหรือถุงรีทอร์ต ปลอดจากเชื้อจุลินทรีย์ แมลงและไข่แมลง สามารถส่งออกไปต่างประเทศได้
• ลูกประคบสมุนไพรยังมีกลิ่นและสีของสมุนไพรสด สามารถเก็บได้นาน 3 ปี

การอนุรักษ์สมุนไพรต่างๆ ในการใช้ปรุงยาให้มีอายุยืนยาว และมีคุณสมบัติใช้ปรุงยามีสรรพคุณในการรักษาโรคแน่นอน
การอนุรักษ์สมุนไพรเพื่อใช้ปรุงยารักษาโรคต่างๆ นั้น เราจำจะต้องศึกษาธรรมชาติของสมุนไพรเหล่านี้เสียก่อนว่า สมุนไพรเหล่านี้มีลักษณะอย่างไร ควรจะเก็บรักษาไว้เป็นเวลานานเท่าใดจึงจะเสื่อมคุณภาพ และควรเก็บด้วยภาชนะชนิดใดจึงจะไม่เกิดปฏิกิริยากับสมุนไพรเหล่านี้ และควรเก็บอย่างไร กลิ่น รส ของสมุนไพรเหล่านี้จึงจะเสื่อมไป การอนุรักษ์สมุนไพร ดังกล่าวพอจะกล่าวโดยสังเขปได้ดังต่อไปนี้ คือ
๑. การอนุรักษ์สมุนไพรประเภทที่มีกลิ่นหอม เช่นอบเชย กฤษณา กะลำพัก พิมเสน การบูน ชมดเชียง ฯลฯ ควรเก็บในขวดแก้ว หรือ ขวดพลาสติคที่มีฝาจุกอัดอากาศให้แน่นสนิทอย่าให้อากาศเข้าได้และควรเช็ดให้แห้งสนิทก่อนที่จะนำมาใช้เก็บสมุนไพรเหล่านี้ ทั้งนี้ เพื่อเก็บกลิ่นของสมุนไพรเหล่านี้ไว้ให้อยู่ตลอดไปให้นานที่สุด เมื่อเราจะนำมาปรุงยาเมื่อใด สมุนไพรเหล่านี้ก็ยังมีสรรพคุณดีอยู่เสมอ หากใช้ภาชนะในการเก็บรักษาสมุนไพรเหล่านี้ผิด เช่น ใช้ภาชนะที่ทำด้วยเหล็ก หรือ ทองเหลืองเก็บสมุนไพรเหล่านี้ภาชนะเหล่านั้นอาจเกิดสนิม และสนิมเหล่านี้จะทำลายคุณภาพของสมุนไพรให้เสื่อมไปจนใช้การไม่ได้ และหากใช้จุกปิดฝาภาชนะเหล่านี้ปิดไม่สนิทอากาศเข้าได้ สมุนไพรเหล่านี้ก็จะหมดกลิ่นและเสื่อมคุณภาพไม่สามารถจะนำไปใช้ทำยาได้อีกต่อไป
๒. ส่วนสมุนไพรบางชนิดต้องไม่เก็บไว้ในภาชนะที่ทำด้วยโลหะบางชนิดเช่นอาลูมิเนียม เช่นดีเกลือ ดินปะสิว จุลสี เกลือสินเธา สารส้ม กำมะถัน น้ำส้มสายชู ฯลฯ ทั้งนี้เพราะสารต่างๆ ในสมุนไพรเหล่านี้เมื่อสลายตัวออกมาแล้ว จะเกิดปฏิกิริยากับภาชนะที่ใช้เก็บ อาจจะเกิดเป็นกรดอย่างแรงชนิดต่างๆ ซึ่งจะมีอันตรายเมื่อนำสมุนไพรเหล่านี้ไปใช้ปรุงยาให้แก่คนไข้
๓. สมุนไพรที่เป็นพืชบางชนิด หรือเป็นสัตว์วัตถุควรใช้ภาชนะที่ทำด้วยสังกะสี หรือทองเหลืองเป็นรูปปี๊บขนาดปี๊บน้ำมันก๊าด และตอนบนควรจะทำเป็นฝาปิดรูปทรงกระบอก แบบฝาถ้ำชาเพื่ออัดอากาศให้แน่นเวลาใช้เก็บสมุนไพรเหล่านี้ ก่อนเก็บสมุนไพรควรล้างภาชนะให้สอาดและตากแดดให้แห้งสนิท รวมทั้งสมุนไพรที่จะนำมาเก็บด้วย ต้องตากแดดให้แห้งสนิท ก่อนจะนำมาเก็บในภาชนะเหล่านี้แล้วปิดฝาให้แน่นอย่าให้อากาศและความชื้นในอากาศเข้าได้ เราก็จะรักษาคุณสมบัติของสมุนไพรเหล่านี้ให้มีอายุยืนนานถึง ๑ ปี หรือกว่านั้น
๔. สมุนไพรประเภทมีลักษณะเป็นน้ำ หรือน้ำมันเช่นน้ำผึ้ง น้ำมันต่างๆ ควรเก็บไว้ในขวดแก้ว ส่วนยาดองเหล้า หรือมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หรื ยาดองอื่นๆ ควรใช้ขวดแก้วเป็นภาชนะเก็บรักษาจะปลอดภัยกว่า หากจะเก็บยาเหล่านี้เป็นเวลานาน แม้แต่ยาต้มแล้ว ใส่ยากันบูดเช่นโซเดียมเบ็นโซเอ็ด ยาประเภทนี้หากมีความจำเป็นต้องเก็บไว้นานก็ควรเก็บไว้ในขวดแก้วจะปลอดภัยกว่า ไม่ควรเก็บไว้ในขวดพล๊าสติค หรือขวดอาลูมิเนียมในระยะยาวนาน ทั้งนี้เพราะขวดพล๊าสติคและขวดอาลูมิเนียมมีสารบางชนิดอาจเกิดปฏิกิริยากับยาเหล่านี้ในทางที่เป็นพิษแก่คนไข้ที่ใช้รักษา

๕. สมุนไพรประเภทเกษร หรือประเภทผงคต่างๆ ควรเก็บไว้ในขวดแกว หรือขวดพล๊าสติคอัดอากาศให้แน่น สมุนไพรเหล่านี้ย่อมจะมีคุณสมบัติอยู่ได้ในระยะอันยาวนาน
๖. การอนุรักษ์สมุนไพรที่เราต้องการหยิบมาปรุงยาต่างๆ ควรจัดแบ่งประเภทออกเป็นหมวดหมู่ แล้วสับ หรือหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่กล่องสังกะสีมีฝาปิดแล้วเขียนป้ายชื่อสมุนไพรเหล่านั้นให้ชัดเจนแล้วทำชั้น หรือลิ้นชักบรรจุกล่องสังกะสีเหล่านี้ไว้เป็นช่องๆ เวลาจะหยิบ สมุนไพรเหล่านี้มาปรุงยาเพียงเหลือบตาคูก็จะรู้ว่าสมุนไพรชนิดไหนอยู่ที่ไหน เราก็สามารถจะนำสมุนไพรเหล่านี้มาปรุงยาได้สะดวกเมื่อเราต้องการ และการที่แนะนำให้ทำกล่องสังกะสีใส่สมุนไพร แยกประเภทไว้เป็นชนิดๆ และใช้ฝาปิดให้สนิทเมื่อหลังจากใช้แล้ว ก็เพื่อป้องกันความชื้นและเชื้อราในอากาศไม่ให้เข้าไปทำลายสมุนไพรเหล่านั้นให้เสื่อมคุณภาพ หากเก็บไว้ในลิ้นชักเฉยๆ หรือวางไว้บนหิ้งโดยไมมีภาชนะบรรจุอีกชั้นหนึ่ง สมุนไพรเหล่านี้อาจเกิดรา หรือเสื่อมคุณภาพ เร็วเกินควร
๗. สมุนไพรประเภทเป็นกรด เช่นดินปะสิว น้ำประสานทอง จุลสีควรเก็บไว้ในภาชนะที่ทำด้วยแก้วรวมทั้งปรอทด้วย ส่วนดีเกลือ เกลือสินเธาจะใช้ภาชนะที่ทำด้วยดิน หรือแก้วเก็บก็ได้ แต่ยาดำ มหาหิงษ์จะใช้ภาชนะที่ทำด้วยสังกะสีเป็นที่เก็บรักษาก็ได้
๘. การเก็บสมุนไพรในโกดังเก็บของขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่นั้น ควรสร้างเป็นชั้นขึ้นแล้วแบ่งสมุนไพรออกเป็นประเภท และ หมวดหมู่โดยละเอียด เพื่อสะดวกในการที่เราจะหยิบใช้สมุนไพรเหล่านี้
๙. สมุนไพรบางชนิดเป็นใบไม้ซึ่งสามารถจะดูดความชื้นในอากาศได้ และพวกสัตว์ต่างๆ จะเข้าไปทำรังอยู่เช่นหนูและแมลงสาบ จิ้งจกตุ๊กแก หรือสัตว์เลื้อยคลานอื่นๆ ย่อมจะเข้าไปทำลายสมุนไพรเหล่านี้ให้เสื่อมคุณภาพ  และนำสิ่งสกปรกโสโครกเข้าไปปะปนให้สมุน ไพรเหล่านี้ จึงเก็บสมุนไพรเหล่านี้ไว้ในกระสอบพล๊าสติคอย่างหนาขนาดใหญ่เท่ากระสอบข้าวสาร และมัดปากให้แน่นเพื่อป้องกันความชื้นของอากาศ และชั้นที่จะเก็บสมุนไพรเหล่านี้ ควรใช้ลวดตาข่ายอย่างตาถี่ปิดกั้นให้แข็งแรงแน่นหนาเพื่อป้องกันหนูและแมลงต่างๆ ไม่ให้เข้าไปทำลายได้ สมุนไพรเหล่านี้ก็จะมีอายุอยู่ได้นานกว่าที่เราจะเก็บแบบตามบุญตามกรรม
๑๐. สมุนไพรประเภทเขี้ยวงาสัตว์ต่างๆ จะเก็บในภาชนะชนิดใดก็ได้แต่อย่าใช้ภาชนะที่อาจเกิดสนิมขึ้นในภายหลังเป็นใช้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมุนไพรประเภท หนอแรด หรือเขากุยนั้นควรเก็บในตู้นิรภัยจะปลอดภัยกว่าเก็บไว้ไนภาชนะอื่นๆ เพราะนอแรดนอหนึ่ง ปัจจุบันราคาหลายหมื่นบาท บางอันนออาจถึงแสนบาทก็เป็นได้ ส่วนเขากุยนั้นเขาหนึ่งราคาพันกว่าบาทขึ้นไป จึงควรเก็บไว้ในที่ปลอดภัยจะเหมาะกว่า
ที่มา:โดย พ.ต.อ. ชลอ อุทกภาชน์ ธบ. นบ.ท. ภบ.

ยาลูกกลอนเก็บได้กี่ปี

อายุของยาที่เป็นเม็ดเป็นแท่ง หรือลูกกลอน มีกำหนดอายุไว้ดังนี้ ๑. ยาเม็ดที่ผสมด้วยใบไม้ล้วนๆ มีอายุ ประมาณ ๖-๘ เดือน ๒. ยาเม็ดที่ผสมด้วยแก่นไม้ล้วนๆ มีอายุ ประมาณ ๑ ปี ๓. ยาเม็ดที่ผสมด้วยหัวหรือเหง้าของ พืช รวมกับแก่นไม้ มีอายุประมาณ ๑ ปีครึ่ง

การเก็บสมุนไพรไม้ดอกควรเก็บเวลาใด เพื่อให้สมุนไพรคงสรรพคุณทางยา

ระยะเวลาหรือฤดูกาลที่ควรเก็บสมุนไพร ค. ดอก ควรเก็บในระยะที่ดอกตูม หรือเริ่มบาน ง. ผลและเมล็ด เก็บในระยะที่ผลแก่เต็มที่จนสุกงอม ถ้าเป็นผลประเภทฉ่ำน้ำ ควรเก็บในตอนเช้าหรือเย็น จ. รากหรือหัว เก็บตั้งแต่ต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน (ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน คือเก็บในระยะที่มีน้ำน้อย)

การเก็บรักษาสมุนไพรประเภทใบ ควรทำอย่างไร

2. ประเภทใบหรือเก็บทั้งต้น ควรเก็บในช่วงที่พืชเจริญเติบโตมากที่สุด หรือบางชนิดอาจระบุช่วงเวลาการเก็บชัดเจน เช่น เก็บใบไม้อ่อนหรือไม่แก่เกินไป (ใบเพสลาด) เก็บช่วงดอกตูมเริ่มบาน หรือช่วงที่ดอกบาน เป็นต้น การกำหนดช่วงเวลาที่เก็บใบ เพราะช่วงเวลานั้น ในใบมีตัวยามากที่สุด วีธีการเก็บใช้วิธีเด็ด ตัวอย่างเช่น กระเพรา ขลู่ ...

สมุนไพรที่ใช้เปลือกควรเก็บอย่างไร

- สมุนไพรที่ใช้เปลือกต้นหรือเปลือกราก ให้เก็บในช่วง ปลายฤดูร้อนต่อกับฤดูฝน เพราะเปลือกจะลอกออกง่าย - สมุนไพรที่ใช้แก่น มักเก็บในฤดูร้อน ควรเป็นกิ่ง หรือ แขนงย่อยที่โตเต็มที่และไม่ควรโค่นล าต้น