เป่าแอลกอฮอล์เท่าไรถึงโดนจับ

โทษ : จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ตามพระราชบัญญัติจราจร พ.ศ.2522 มาตรา 160 ตรี


  1. 2. ปฏิเสธเป่า

    ปฏิเสธเป่าแอลกอฮอล์ ถือว่าเมาแล้วขับ
    โทษ : จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับสูงสุด 20,000 บาท และถูกพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ


  2. 3. เมาแล้วขับรถชนคนอื่น
    ชนและบาดเจ็บ

    โทษ : จำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บาท และถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 1 ปี  หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

    ใกล้เทศกาลต้อนรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงอีกไม่กี่วัน สังเกตกันหรือไม่ว่าจะพบด่านตรวจจับผู้กระทำผิดกฎหมายบนท้องถนน ทั้งสายหลักและสายรอง แทบจะทุกเส้นทาง โดยเฉพาะใช้มาตรการเข้มงวดจับ “เมาแล้วขับ” เพื่อให้การขับขี่ปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์ การเมาแล้วขับ เป็นสาเหตุสำคัญของสถิติการเสียชีวิต ในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่วงเทศกาลวันหยุดยาว อัตราการตายบนท้องถนนมักจะเพิ่มขึ้น 100% จากวันละ 60 คน ขยับเป็นวันละ 80-120 คน

     

    รายงานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระบุข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการใบสั่งจราจร กรณีผู้กระทำผิดซ้ำ ตามบทลงโทษในข้อหาเมาแล้วขับให้หนักขึ้น เช่นเดียวกับในประเทศญี่ปุ่น มีการลงโทษผู้ขับขี่ และผู้โดยสารที่นั่งมาด้วย ในข้อหาสนับสนุนให้กระทำความผิด และได้มีการปรับแก้ไขกฎหมายเรื่องเมาแล้วขับฉบับล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2560 ให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้น ว่าด้วยระดับแอลกอฮอล์ที่กฎหมายกำหนดคือ ต้องไม่เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ในร่างกาย ซึ่่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้เครื่องเป่าแอลกอฮอล์ตรวจจับ ถ้าไม่ยอมให้ตรวจหรือเจตนาหลบหนี จะมีโทษทางกฎหมาย ซึ่งแอลกอฮอล์ในปริมาณดังกล่าวถือว่าเป็นปริมาณที่ต่ำมาก เพราะการดื่มเบียร์ 1 กระป๋องร่างกายจะมีปริมาณแอลกอฮอล์ถึง 330 มิลลิกรัม ดังนั้นในความเป็นจริงแล้ว ถ้าดื่มก็ไม่ควรขับเด็ดขาด เพราะเพียงแค่เริ่มดื่มปริมาณแอลกอฮอล์ก็เกินกว่ากฎหมายกำหนดแล้ว ยิ่งถ้ารู้ตัวเองว่ามีความเสี่ยงตามข้อกฏหมาย แล้วยังหาทางหลีกเลี่ยงไม่ให้ตัวเองโดนจับ ด้วยวิธีการต่างๆ นั่นไม่ได้เป็นการเลี่ยงความเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อตัวเองและต่อผู้อื่นเลย

     

    แต่หากรู้ตัวว่าอยากเต็มที่กับการปาร์ตี้สังสรรค์ ก็ควรหลีกเลี่ยงด้วยการกลับด้วยแท๊กซี่ หรือดื่มสังสรรค์ที่บ้านดีกว่า ไม่เช่นนั้นจะโดนข้อหา “เมาแล้วขับ” ถูกปรับและจำคุกได้นะจ้า มาทบทวนข้อกฏหมายกันอีกสักครั้ง เพื่อเตือนตัวเองให้ขึ้นใจ

    เป่าแอลกอฮอล์เท่าไรถึงโดนจับ
    Male Hand With Stamp Stop – Don’t Drink And Drive, Isolated Over White

     

    เกณฑ์ พ.ร.บ จราจรทางบก กำหนด

    ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่ถือว่าผู้ขับขี่นั้น “เมาสุรา”

    • กรณีผู้ขับขี่อายุไม่เกิน 20 ปี หากมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถือว่า “เมาสุรา”
    • ผู้ที่อายุเกิน 20 ปี หากมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถือว่า “เมาสุรา” โดยมีความผิดทางกฎหมายกำหนด ต้องติดคุก ถูกปรับ และบำเพ็ญประโยชน์

     

    อัตราโทษในความผิด “เมาแล้วขับ”

    • “เมาแล้วขับ” จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับขั้นต่ำ 10,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ยังถูกศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีกำหนดไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาต จนถึงการยึดรถที่ใช้ไม่เกิน 7 วัน
    • “เมาแล้วขับ” จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ มีโทษจำคุก 1-5 ปี ถูกปรับ 20,000 ถึง 100,000 บาท และถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต
    • “เมาแล้วขับ” จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายอย่างสาหัส มีโทษจำคุก 2-6 ปี ปรับขั้นต่ำ 40,000 ถึง 120,000 บาท ถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต
    • สุดท้ายในกรณี “เมาแล้วขับ” จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่กรรม มีโทษจำคุก 3-10 ปี ปรับเป็นเงิน 60,000 ถึง 200,000 บาท รวมถึงถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ทันที

     

    และที่สำคัญ “เมาแล้วขับ” หากเกิดอุบัติเหตุรถชน บริษัทประกันบางรายก็ไม่คุ้มครองอีกด้วย ทางที่ดีหากหลีกเลี่ยงการดื่มได้จะดีกว่า เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทั้งตัวเอง และเพื่อนร่วมทางบนท้องถนน

    ที่ผ่านมา กฎหมายกำหนดไว้ว่า เกณฑ์ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่ให้ถือว่าผู้ขับขี่นั้นเมาสุรา คือ ปริมาณแอลกอฮอล์เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ตาม

    แต่มาปี 2560 มีการปรับปรุงเกณฑ์ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดใหม่ ผู้ขับขี่ที่มีอายุไม่ถึง 20 ปี ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ให้ถือว่าเมาสุรา

    นอกจากนี้ ผู้ขับขี่ที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถ หรือผู้ขับขี่ซึ่งได้รับใบอนุญาตขับรถแบบชั่วคราว ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ให้ถือว่าเมาสุราเช่นกัน

    ส่วนบุคคลอื่นๆ ที่นอกเหนือจากนี้ ยังคงใช้กฎข้อบังคับตามหลักเกณฑ์เดิม คือ ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะถือว่าเมาสุรา

    สำหรับอัตราโทษในความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุรา คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับขั้นต่ำเพิ่มเป็น 10,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีกำหนดไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาต และเพิ่มมาตรการยึดรถในชั้นศาล ไม่เกิน 7 วัน

    ส่วนโทษในเรื่องของการเมาแล้วขับ แล้วทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ คือ จำคุก 1-5 ปี ปรับ 20,000 - 100,000 บาท พักใช้ใบอนุญาตฯ ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตฯ

    ส่วนเมาแล้วขับ แล้วเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส จำคุก 2-6 ปี ปรับ 40,000 - 120,000 บาท พักใช้ใบอนุญาตฯ ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต

    แต่หากเมาแล้วขับ เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คงโทษจำคุก 3-10 ปี ปรับ 60,000 - 200,000 บาท รวมทั้งเพิกถอนใบอนุญาตฯ ขับขี่