บ้านชั้นเดียวใช้เสาเข็มขนาดเท่าไร

เสาเข็มต้องยาวแค่ไหน? ลึกเท่าไหร่? เพื่อความปลอดภัยและมั่นคง

หากจะกล่าวถึงการก่อสร้าง สิ่งที่สำคัญที่สุดและถือเป็นขั้นตอนแรกๆของการก่อสร้างเลยก็คือ การวางฐานราก หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า การลงเสาเข็มนั่นเอง ซึ่งสิ่งที่ทุกคนกังวลมากที่สุดสำหรับขั้นตอนนี้ก็คงจะไม่หลุดไปจากเรื่องความยาวของเสาเข็ม จำเป็นต้องยาวแค่ไหน? ลึกเท่าไหร่? ถึงจะสามารถรับน้ำหนักโครงสร้างข้างบนได้อย่างปลอดภัยและมั่นคง วันนี้เข็มเหล็กมีคำตอบมาบอกให้ทุกคนได้กระจ่างกันครับ

บ้านชั้นเดียวใช้เสาเข็มขนาดเท่าไร

บ้านชั้นเดียวใช้เสาเข็มขนาดเท่าไร

โดยทั่วไปแล้วการลงเสาเข็มให้สามารถรับน้ำหนักโครงสร้างได้นั้น ควรที่จะลงให้ลึกไปจนถึงชั้นดินดานหรือชั้นดินแข็ง เพื่อที่เสาเข็มจะได้รับแรงต้านจากทั้ง Skin Fiction (แรงเสียดทานจากพื้นผิวด้านข้าง) และ End Bearing (แรงเสียดทานจากปลายเสาเข็ม) ซึ่งหากเสาเข็มลงไปไม่ถึงชั้นดินดานแล้วนั้น ถ้าพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ดินที่พึ่งถมได้ไม่นาน หรือเป็นดินเลน เคยเป็นบ่อน้ำเป็นบึงมาก่อน อาจส่งผลให้โครงสร้างเกิดการทรุดตัวได้อย่างรวดเร็ว แต่ในบางกรณี บางพื้นที่มีดินชั้นบนที่แข็งมากจนไม่สามารถลงเสาเข็มไปได้ลึกกว่านี้อีกแล้ว ก็ยังสามารถใช้เสาเข็มแบบสั้นได้ แต่หากอยู่ในพื้นที่กรุงเทพอาจจะต้องใช้เสาเข็มแบบยาว เนื่องจากชั้นดินแข็งภายในพื้นที่กรุงเทพโดยปกติจะอยู่ลึกประมาณ 15 - 20 เมตร เพื่อให้เกิดแรงเสียดทานมากพอที่จะไม่ทำให้โครงสร้างทรุดลงไปด้วย 

แต่หากจะพูดถึงการติดตั้งฐานรากเพื่อการต่อเติมนั้น คำถามที่คนส่วนมากจะสงสัยก็คือ ต้องใช้ฐานรากด้วยหรือ? ฐานรากต้องไปถึงดินดานด้วยหรือไม่? ซึ่งถ้าตอบตามจริงแล้ว การติดตั้งฐานรากลงไปให้ถึงชั้นดินแข็งอย่างไรก็ดีกว่าอยู่แล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความเสียหายของโครงสร้างที่เชื่อมกับตัวบ้านซึ่งเกิดจากการทรุดตัวของส่วนต่อเติม เนื่องจากไม่ได้ติดตั้งฐานรากหรืออาจติดตั้งฐานรากไปไม่ถึงชั้นดินแข็งหรือไม่ได้ระดับเดียวกับฐานรากของตัวบ้าน แต่ปัญหาที่หลายๆท่านต้องเจอก็คือ หากจะต้องติดตั้งฐานรากที่สามารถลงลึกไปถึงชั้นดินแข็งก็อาจจะต้องใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรขนาดใหญ่เพื่อเข้าไปติดตั้งภายในหน้างาน ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องพื้นที่ที่ต้องเข้าไปทำการก่อสร้างที่อาจจะมีไม่มากพอ ไหนจะต้องเคลียร์พื้นที่กันยกใหญ่ สนามหญ้าที่คุณรักก็อาจไม่เหลืออยู่เพราะจำเป็นต้องขุดดินเพื่อเตรียมการตอกเสาเข็ม แถมยังต้องใช้เวลานานมากกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมด มิหนำซ้ำแรงสั่นสะเทือนของการตอกเสาเข็มก็อาจจะสร้างความเสียหายและผลกระทบหลายๆอย่างกับตัวบ้านอีกด้วย

จะดีกว่าไหม? ถ้าวันนี้เข็มเหล็กจะขอเสนอทางออกที่ดีที่สุดให้กับคุณ ด้วยนวัตกรรมใหม่ล่าสุด ที่ถูกคิดค้นมาจากโจทย์ที่ลูกค้าถามเรามาตลอด เข็มเหล็กยาวกว่านี้ได้ไหม? ถึงดินดานไหม? จึงเกิดมาเป็น Kemrex Series D ฐานรากเข็มเหล็กที่ยาวที่สุดที่เคยมีมา รองรับน้ำหนักได้มากที่สุดกว่าที่เคยเป็น ลึกไปถึงดินดาน บวกกับการติดตั้งที่ไม่ก่อมลพิษ ไม่สร้างแรงสั่นสะเทือน คุณจึงมั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับฐานรากที่ตอบโจทย์คุณมากที่สุด เลือกฐานรากปลอดภัย มั่นใจ เลือกเข็มเหล็ก

ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับสิทธิพิเศษเฉพาะคุณได้ที่ :

Facebook : m.me/Kemrexfanpage

Line@ : @Kemrex หรือคลิก! https://lin.ee/2ivBv5z

จากประสบการณ์การทำงานด้านวิศวกรรมมากกว่า 50 ปี ของ SUTEE GROUP ทำให้ทราบถึงปัญหาและความยุ่งยากของระบบฐ
านรากในรูปแบบเดิม เช่น การควบคุมระยะเวลา และปัญหาด้านค่าใช้จ่าย รวมไปถึงการเกิดความเสียหายของพื้นที่บริเวณใกล้เคียง บริษัท SUTEE GROUP จึงนำเสนอนวัตกรรม เทคโนโลยีระบบฐานรากแบบใหม่จากเยอรมนี ซึ่งเป็นที่ยอมรับด้านวิศวกรรมมาตราฐานระดับสากลมาเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับงานก่อสร้าง โครงสร้างทุกรูปแบบและบริษัทเข็มเหล็กยังเป็นบริษัทผู้จัดจำหน่ายเจ้าเดียวในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย

เข็มเหล็ก ผู้นำนวัตกรรมด้านฐานราก โดยพลิกโฉมระบบฐานรากของเมืองไทยและภาคพื้นเอเชีย ให้การก่อสร้างระบบฐานรากเป็นเรื่องง่าย ควบคุมได้แม่นยำ ทั้งในเรื่องของเวลาและค่าใช้จ่าย เพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจของคุณและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ตอบรับการขยายตัวของประเทศไทยและประเทศในภาคพื้นเอเชีย สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต

ลูกค้าที่มีความสนใจผลิตภัณฑ์เข็มเหล็ก ทางบริษัทฯ จะให้บริการอย่างครบวงจร ตั้งแต่การแนะนำผลิตภัณฑ์ ปรึกษาการใช้งานเบื้องต้น โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรคอยให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ... อ่านเพิ่มเติม

การเลือกขนาดเสาบ้านชั้นเดียว เป็นสิ่งสำคัญ เสาบ้าน ถือเป็นฐานรากที่นิยมมาอย่างยาวนาน โดยมีหน้าที่รับน้ำหนักของตัวบ้าน ทั้งส่วนที่เป็นพื้นชั้นล่าง ชั้นบน ผนัง และหลังคา ซึ่งโครงสร้างเสาต้องมีความมั่นคง และแข็งแรง ยิ่งถ้าบ้านหลายชั้น การออกแบบยิ่งมีความสำคัญมาก และการเลือกเสาในการใช้งานก็มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับวัสดุ

เสามีกี่ประเภท และอะไรบ้าง

เริ่มต้นกันที่การมาทำความรู้จักกับประเภทของเสาบ้าน ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ แต่วันนี้ขอแบ่งเป็น 3 ประเภทโดยยึดตามวัสดุที่ใช้งาน 

1. เสาไม้

เป็นวัสดุที่ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ไม้พยุง ไม้แดง ไม้ตะเคียน ไม้เต็ง ไม้ชิงชัง ซึ่งปัจจุบันไม้เหล่านี้หายากมาก และราคาแพง แต่คุ้มค่าสำหรับท่านที่หลงใหลในความงดงามแบบธรรมชาติ ที่มาพร้อมลายไม้ที่สวยงาม  

2. เสาปูน

หรือเสาคอนกรีต ทำมาจากคอนกรีตที่ใส่เหล็กเสริม เพิ่มความสามารถในการรับแรงอัด แรงดัด และแรงดึง โดยปกติคอนกรีตจะรับแรงอัด ส่วนเหล็กจะรับแรงดัด และแรงดึง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เสาคอนกรีตหล่อในที่ และเสาคอนกรีตสำเร็จรูป

3. เสาเหล็ก

จะมีด้วยกันทั้งหมด 2 ประเภท คือ เสาเหล็กรูปพรรณ และเสาเหล็กโครงข้อแข็ง หากนำมาสร้างบ้านมักจะนิยมเสาเหล็กรูปพรรณที่เป็นเหล็กรูปตัวไป (I) ตัวเฮช (H) หรือกล่อง (Tube)

จะเห็นได้ว่าประเภทของเสานั้นมีหลากหลายประเภท ซึ่งเจ้าของบ้านอาจจะสับสนในการเลือกใช้งานได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดี จึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ เช่น วิศวกร เพราะการเลือกวัสดุนั้นยังหมายถึงการรับน้ำหนักที่ต้องผ่านการคำนวณมาอย่างถูกต้อง และถูกวัตถุประสงค์ของการใช้งานอีกด้วย จึงจะมั่นใจได้ว่ามีความแข็งแรง รองรับน้ำหนักได้ดี และปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย

บ้านชั้นเดียวใช้เสาเข็มขนาดเท่าไร

เสาบ้านชั้นเดียว และบ้านสองชั้นต่างกันอย่างไร

ถ้าพูดถึงบ้านชั้นเดียว กับบ้านสองชั้น ความต่างกันที่เห็นได้ชัดคือ จำนวนชั้น แต่จริง ๆ แล้ว โครงสร้าง ก็คืออีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญ เพราะยิ่งน้ำหนักมาก โครงสร้างก็ต้องรับน้ำหนักได้มากตามเช่นกัน ดังนั้น สิ่งที่แตกต่างกันอย่างแน่นอนเกี่ยวกับบ้านชั้นเดียว และบ้านสองชั้น คือจำนวนเสาที่ใช้ในการก่อสร้าง ยกตัวอย่างเช่น บ้านหลังชั้นเดียว มักจะใช้เสา 9 ต้น แต่บ้านสองชั้นจะใช้เสาส่วนใหญ่ 12 ต้น

จะเห็นว่าได้ จำนวนเสามีผลต่อการรับน้ำหนัก ยิ่งสูงยิ่งต้องมีโครงสร้างรากฐานที่แข็งแรง แต่ถึงอย่างไรก็ต้องคำนึงถึงการวางระยะห่างระหว่างเสาให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เพื่อช่วยในการกระจายน้ำหนักของบ้านได้อย่างสมดุล

บ้านชั้นเดียวใช้เสาเข็มขนาดเท่าไร

ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับเสาบ้านชั้นเดียว

มาต่อกันที่ 3 ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับเสาบ้านชั้นเดียว โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 

1. ระยะห่างระหว่างเสา

โดยเปรียบเทียบระยะห่างระหว่างเสาไม่เกิน 4.5 เมตร จะมีต้นทุนค่าก่อสร้างต่ำกว่าแบบบ้านที่มีระยะห่างระหว่างเสาที่ 5.5 เมตร เพราะระยะห่างระหว่างเสายิ่งกว้าง คานบนจะต้องใหญ่ขึ้น ต้องเสริมเหล็กมากขึ้น เปลืองหลังคาเพิ่มขึ้น รวมถึงเข็มก็ต้องมีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ระยะห่างระหว่างเสาที่เหมาะสมอย่างน้อย คือ 4 เมตร หากจะมีการปรับลดเพื่อลดต้นทุนต่าง ๆ ควรได้รับการยินยอมจากวิศวกร หรือที่ปรึกษาโครงการก่อน

2. มาตรฐาน

ถือเป็นอีกเรื่องที่ต้องพิจารณาเพื่อช่วยให้การดำเนินงานของท่านนั่นมีประสิทธิภาพ อาทิ

  • ผ่านการรับรองมาตรฐานของ ASTM ซึ่งเกี่ยวกับสมาคมการทดสอบและวัสดุของอเมริกา มาตรฐาน BS ของอังกฤษ หรือ ANSI สถาบันมาตรฐานของอเมริกา 
  • วัสดุต้องผ่านการทดสอบต่าง ๆ เป็นตามมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง 
  • สำหรับวิศวกรที่ถูกว่าจ้าง จะต้องมีใบกว. คือ ใบอนุญาตเพื่อประกอบอาชีพวิศวกร โดยได้รับอนุญาตจากวิศวกร 

3. ความสิ้นเปลือง

ท่านจะต้องพิจารณาถึงขนาด วัสดุ จำนวนเสา และระยะห่าง หรือปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งควรผ่านการคำนวณอย่างถูกต้อง และแม่นยำจากวิศวกรโครงสร้างก่อนดำเนินการก่อสร้าง เพื่อช่วยลดทั้งต้นทุน ทรัพยากร แรงงาน และระยะเวลา 

ทั้ง 3 ข้อที่หยิบยกมานี้ เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงโดยส่วนใหญ่เพื่อให้ท่านได้งานที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างให้ได้มากที่สุด 

บ้านชั้นเดียวใช้เสาเข็มขนาดเท่าไร

ขนาดเสาบ้านชั้นเดียวควรมีขนาดเท่าไหร่

ขนาดเสาบ้านนั้นมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ และหลายขนาดโดยขนาดเสาคอนกรีตสำเร็จรูปส่วนใหญ่จะมีขนาดหน้าตัดตั้งแต่ 4, 5, 6, 7 และ 8 นิ้ว ซึ่งเสาบ้านขนาดหน้าตัด 6 นิ้ว ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมากในการนำมาสร้างบ้าน หรือเลือกหน้าตัดขนาด 4 หรือ 5 นิ้วก็ได้เช่นกัน โดยความสูงมาตรฐานจะอยู่ที่ 2.5 - 2.8 เมตร ซึ่งหากท่านที่ชอบความโปร่ง ก็อาจจะเลือกความสูงที่ขนาด 2.8 - 3.2 เมตร ดังนั้น หากจะพิจารณาเลือกขนาดเสาบ้านชั้นเดียว ควรเลือกพื้นที่หน้าตัดตั้งแต่ 4 - 6 นิ้ว และความสูงในช่วงประมาณ 2.5 - 3.2 โดยพิจารณาตามความต้องการของผู้ใช้งานเป็นหลัก และการรับน้ำหนัก และเเรงต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม  

บ้านชั้นเดียวใช้เสาเข็มขนาดเท่าไร

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ ขนาดเสาบ้านชั้นเดียว ที่ Baania ได้นำเกร็ดความรู้เล็ก ๆ มาเป็นพื้นฐานให้ท่านได้พอเข้าใจ และมองเห็นภาพเพื่อช่วยในการพิจารณาเบื้องต้น หรืออาจนำไปเป็นข้อมูลเพื่อพูดคุยกับวิศวกรรม หรือผู้รับเหมาให้ได้งานฐานรากที่มั่นคงตั้งแต่แรกเริ่มก่อสร้าง และคงความแข็งแรง รองรับน้ำได้ดี ที่สำคัญคือ ผู้ที่อยู่อาศัยรู้สึกอุ่นใจอย่างแน่นอน 

ที่มาภาพประกอบ :

https://www.sacsteelwork.com

https://horoscope.thaiorc.com

https://www.banidea.com

http://www.nucifer.com