การมีจริยธรรมและคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันควรปฏิบัติอย่างไร

จริยธรรมคอมพิวเตอร์  
  ความหมาย

จริยธรรม หมายถึง "หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ"

          ในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย อย่างเช่น กรณีที่เจ้าของบริษัทใช้กล้องในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการทำงานของพนักงาน เป็นต้น

ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น

การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำราญ เช่น การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาต
การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
การละเมิดลิขสิทธิ์
          โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย

ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
ความถูกต้อง (Information Accuracy)
ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
 

ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)  
            ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ

ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้

การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในกเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
          ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จีงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล
 

ความถูกต้อง (Information Accuracy)  
            ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ เช่น ในกรณีที่องค์การให้ลูกค้าลงทะเบียนด้วยตนเอง หรือกรณีของข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ อีกประเด็นหนึ่ง คือ จะทรายได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความจงใจ และผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิดข้อผิดพลาด ดังนั้น ในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้ เช่น ผุ้สอนสามารถดูคะแนนของนักศึกษาในความรับผิดชอบ หรือที่สอนเพื่อตรวจสอบว่าคะแนนที่ป้อนไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงความเป็นเจ้าของ (Information Property)  
            สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น

          ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าท่านได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น สำหรับท่านเองหลังจากที่ท่านเปิดกล่องหรือบรรจุภัณฑ์แล้ว หมายถึงว่าท่านได้ยอมรับข้อตกลงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในการใช้สินค้านั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและบริษัท บางโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงครั้งเดียว หรือไม่อนุญาตให้ใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ ท่านเป็นเจ้าของ และไม่มีผู้อื่นใช้ก็ตาม ในขณะที่บางบริษัทอนุญาตให้ใช้โปรแกรมนั้นได้หลายๆ เครื่อง ตราบใดที่ท่านยังเป็นบุคคลที่มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา

         การคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทำการคัดลอกนั้น เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิทธ์ในระดับใด ตัวอย่างเช่น

copyright หรือ software license -ท่านซื้อลิทสิทธิ์มา และมีสิทธิ์ใช้
shareware -ให้ทดลองใช้ได้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ
freeware -ใช้งานได้ฟรี คัดลอก และเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้

การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)  
            ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว

          ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกันให้เป็นระเบียบ หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นดังที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น
  

  
จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์
            คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์มีความสามารในการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลสารสนเทศ และเป็นเครื่องมือการสือสารที่รวดเร็ว ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน และหน่วยงานธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น คาดการณ์กันไว้ว่า ใน 2-3 ปีข้างหน้า ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะมีการพัฒนาในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์ การสื่อสารและเครือข่ายแบบไร้สาย และครือข่ายเคลื่อนที่ ตลอดจนเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์

          มนุษย์ได้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อจะได้นำอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเหล่านั้นมาช่วยอำนวนความสะดวก ลดขั้นตอนการทำงาน ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต หรือแม้แต่การช่วยชีวิตมนุษย์ เช่น การใช้หุ่นยนต์ในการเก็บกู้ระเบิด และผ่าตัดรักษาโรค

          ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์มากเพียงไรก็ตาม หากพิจารณาอีกด้านหนึ่งแล้ว คอมพิวเตอร์ก็จอาจจะเป็นภัยได้เช่นกัน หากผู้ใช้ไม่ระมัดระวังหรือนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ร่วมกันในสังคม ในแต่ละประเทศจึงได้มีารกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ รวมถึงกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทรัพย์สินทางปัญญา

          ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) ถือเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งนอกเหนือจากอสังหาริมทรัพย์ ความสามารถ ประสบการณ์หรือทักษะ โดยผลิตผลหรือผลงานนั้น อาจจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ สินค้า บริการ หรือกรรมวิธี เป็นต้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เรื่องของลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ซึ่งได้แก่ สิทธิบัตร (Patent) เครื่องหมายการค้า (Trademark) ความลับทางการค้า (Trade Secrets) ชื่อทางการค้า (Trade Name) แบบผังภูมิทางวงจรรวม (Layout Designs of Integrated) และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical_Indication)      [Top]                             


เรามาทำความรู้จักกับเรื่องที่คุ้นๆ หูกัน คือ "ลิชสิทธิ์ สิทธิ์บัตร และอนุสิทธิบัตร"

ลิขสิทธิ์

          "ลิขสิทธิ์" คือ การคุ้มครองการแสดงออกทางด้านความคิด (Expression of Ideas) ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์จากการริเริ่มของตนเอง (Original) โดยไม่จำเป็นต้องมีความใหม่ (Novalty) งานที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ส่วนใหญ่เป็นงานประเภทในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม หรืองานภาพยนตร์ เป็นต้น และงานด้านอื่นๆ ในแผนกวิทยาศาสตร์ รวมทั้งสิทธิข้างเคียงที่เกิดจากการนำงานด้านลิขสิทธิ์ออกแสดง โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ งานฐานข้อมูลที่รวบรวมเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านต่างๆ    

ลักษณะการละเมิดลิขสิทธิ์

ทำซ้ำ/ดัดแปลง
เผยแพร่ต่อสาธารณชน
ให้เช่าต้นฉบับ หรือสำเนางานดังกล่าว
ขาย หรือมีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์
โทษของการละเมิดลิขสิทธิ์

เมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้น ผู้ละเมิดจะถูกดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา
ในทางแพ่ง
           ผู้ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ นอกจากการฟ้องร้อง ดำเนินคดี ยังสามารถฟ้องเรีบกค่าเสียหายได้
ในทางอาญา
          1. การละเมิดลิขสิทธิ์ทางตรง คือ การทำซ้ำ ดัดแปลง ผลงานที่มีลิขสิทธิ์
               - ถ้ากระทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับ ตั้งแต่ 100,000-800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               - ถ้าไม่ได้กระทำเพื่อการค้า จะเสียค่าปรับอยู่ระหว่าง 20,000-200,000 บาท
           2.การละเมิดลิขสิทธิ์ทางอ้อม คือ พ่อค้า แม่ค้า รับของที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์มาขายต่อจะถูกลงโทษปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท     [Top]

สิทธิบัตร

          "สิทธิบัตร" หมายถึง เอกสารสิทธิ์ที่แสดงถึงการจดทะเบียนคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิดตภัณฑ์ ให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ทางอุตสาหกรมที่มีความใหม่และสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ เป็นสิทธิพิเศษที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิเด็ดขาด หรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรนั้น


**ข้อควรทราบเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิบัตร

          ไม่สามารถเผยแพร่การประดิษฐ์คิดค้น หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ก่อนการตดสิทธิบัตรเว้นแต่เป็นการแสดงในงานที่หน่วยงานราชการได้จัดให้มีขึ้น การจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศไทยจะให้ความคุ้มครองเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น หากต้องการจะไดรับความคุ้มครองที่ประเทศใดก็ต้องไปยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศนั้นๆ     [Top]

อนุสิทธิบัตร

          "อนุสิทธิบัตร" หมายถึงเอกสารสิทธิที่แสดงถึงการจดทะเบียนคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ทางอุตสาหกรรมที่มีความใหม่ และสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้เช่นกัน แต่ต่างกับสิทธิบัตรที่เป็นการประดิษฐ์ที่มีเทคนิคไม่สูงมากนัก อาจจะเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย


**เงื่อนไขการขอรับอนุสิทธิบัตร

          เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ยังไม่เคยมีการใช้ หรือเผยแพร่ก่อนวันที่ยื่นจอ หรือยังไม่เคยเปิดเผยสาระสำคัญมาก่อนวันยื่นขอทั้งในประเทศ หรือต่างประเทศ สามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้     [Top]

กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ  
            ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร หรือ ICT (Information and communication Technology) ทำให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางด้านอุตสาหกรรมและบริการมีการทำธุรกิจผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น การซื้อ-ขายสินค้า แลกเปลี่ยนข้อมูล ตลอดจนการให้บริการระหว่างประชาชนกับองค์การหรือระหว่างองค์การด้วยกันเอง มีการดำเนิงานและให้บริการแบบไม่จำกัดสถานที่และเวลา หรือการให้บริการแบบ 24 x 7 x 365 ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินธุรกิจและการให้บริการมีความคล่องตัว น่าเชื่อถือ และใช้เป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน ประเทศต่างๆ จึงได้ออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 6 ฉบับ คือ

กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (eletronic transactions law)
กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (eletronic signatures law)
กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (computer crime law)
กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (eletronic funds transfer law)
กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน (กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78) (National information infrastructure law)
          ต่อมาได้มีการรวมเอากฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส ์เป็นฉบับเดียวกันเป็นพระราชบัญญติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อววันที่ 3 เมษายน 2545 แต่ในปัจจุบันยังไม่ได้นำมาใช้สมบูรณ์แบบ เนื่องจากยังไม่มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนกฎหมายอีก 4 ฉบับที่เหลือ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ (ข้อมูล ณ ตุลาคม 2546)
 

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์  
           อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (computer crime หรือ cyber crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ เช่น การโจรกรรมข้อมูลหรือความลับของบริษัท การบิดเบือนข้อมูล การฉ้อโกง การฟอกเงิน การถอดรหัสโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงการก่อกวนโดยกลุ่มแฮกเกอร์ (Hacker) เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ การทำลายข้อมูลและอุปกรณ์ เป็นต้น

          โดยทั่วไปเข้าใจกันว่า แฮกเกอร์ คือ บุคคลที่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ไม่ถูกต้อง/ผิดกฎหมาย ได้แก่ การลักลอบเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นโดยผ่านการสื่อสารเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อเข้าไปอ่าน คัดลอก เปลี่ยนแปลง ลบ หรือทำความเสียหายให้กับข้อมูล ซึ่งอาจจะกระทำไปด้วยความสนุก ต้องการทดลองความสามารถของตนเอง รวมทั้งการอวดความสามารถกับเพื่อนๆ ส่วนแครกเกอร์ (Cracker) คือ แฮกเกอร์ที่ลักลอบเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงธุรกิจ นอกจากนี้ ยังมีคำว่า hacktivist หรือ cyber terrorist ซึ่งได้แก่ แฮกเกอร์ที่ใช้อินเตอร์เน็ตในการส่งข้อความเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองไปยังบุคคลอื่นๆ โดยเฉพาะในช่วงสงครามระหว่างประเทศสหรัสอเมริการกับอิรักที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีการพูดถึง hacktivist กันมากขึ้น

          คอมพิวเตอร์เป็นทั้งเครื่องมือและเป้าหมายของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ในฐานะที่เป็นเครื่องมือ เช่น ใช้ในการขโมยเงิน รายชื่อลูกค้า ข้อมูลส่วนตัว หมายเลขบัตรเครดิต และอื่นๆ ส่วนคอมพิวเตอร์ในฐานะที่เป็นเป้าหมายของการก่ออาชญากรรม เช่น แฮกเกอร์เข้าไปก่อกวน ทำลายระบบของผู้อื่น