วิธีคิดดอกเบี้ยรายวัน นอกระบบ

รูปภาพจาก azernews

โดย จงเจริญ กิจสำราญกุล

สัญญากู้ยืมเงินเป็นนิติกรรม 2 ฝ่าย เกิดขึ้นด้วยการแสดงเจตนาตรงกัน ของคู่สัญญา ดังนั้น คู่สัญญาจะตกลงกันว่า จะกู้ยืมเงินจำนวนเท่าใด จะคิดดอกเบี้ยต่อกันหรือไม่ ถ้าตกลงว่าจะคิดดอกเบี้ย จะต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งเมื่อมีการส่งมอบเงินที่กู้ยืม สัญญากู้ยืมเงินก็จะบริบูรณ์หรือ สมบูรณ์ตามกฎหมาย

กรณีหลักฐานการกู้ยืมเงิน และการชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 653 บัญญัติไว้ว่า

การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

ในการกู้ยืมเป็นหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐาน เป็นหนังสือ อย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐาน แห่งการกู้ยืมนั้น ได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

สำหรับเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ ในกรณีที่คู่สัญญาตกลงกันว่าไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน ก็ต้องเป็นไปตาม ข้อตกลง คือไม่ต้องเสียดอกเบี้ยถ้าคู่สัญญาตกลงกันว่า จะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน แต่ไม่ได้กำหนด อัตราดอกเบี้ยไว้อย่างชัดแจ้ง กฎหมายกำหนดให้ เสียดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหน้าที่(ผู้ให้กู้) ในอัตรา ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า "ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน และมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบท กฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี"

คำพิพากษาฏีกา ที่ 497/2506 สัญญากู้มีข้อความว่า "จำเลยยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ตาม กฎหมาย" ถือว่ามีอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี 

คำพิพากษาฏีกา ที่ 3708/2528 สัญญากู้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้เพียงว่า "ยอมให้ดอกเบี้ยตาม กฎหมายอย่างสูง" ข้อความดังกล่าวไม่ได้กำหนด อัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้งว่าเป็นอัตราอย่างสูง เท่าใด ต้องตีความในทางเป็นคุณแก่ฝ่ายลูกหนี้ คือ อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 บัญญัติว่า "ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ สิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี" ซึ่ง มาตรา 654 นี้ อยู่ในบรรพ 3 ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2474 แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ได้มีพระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ประกาศใช้บังคับ ซึ่ง มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า

บุคคลใดให้บุคคลอื่นยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ มีความผิดฐานเรียก ดอกเบี้ยเกินอัตรา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

ดังนั้น การกู้ยืมเงินโดยตกลงคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยนี้ไม่ชอบด้วย กฎหมายที่กำหนดว่าเป็นความผิดและมีโทษอาญา ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะทั้งหมด ไม่ใช่เป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ยส่วนที่เกินร้อยละ 15 ต่อปี

คำพิพากษาฎีกา ที่ 567/2536 เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้อัตราร้อย 19.5 ต่อปี ซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด และเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ข้อกำหนด อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียก ดอกเบี้ยจากจำเลยตามสัญญา

คำพิพากษาฎีกา ที่ 1452/2511 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงิน 14,000 บาท จำเลยให้การว่า กู้และรับเงินเพียง 10,000 บาท จำเลยชำระแล้ว ส่วนอีก 4,000 บาท โจทก์เอาดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อเดือน จำนวน 8 เดือน มารวมเข้าเป็นเงินต้น เป็นคำให้การที่ต่อสู้ว่าหนี้ตามสัญญากู้ จำนวน 4,000 บาท ไม่สมบูรณ์ จำเลยนำสืบได้ และเมื่อฟังได้ตามคำให้การ ดอกเบี้ย 4,000 บาท เป็นดอกเบี้ยที่เกินอัตราตกเป็นโมฆะทั้งหมด ไม่ใช่เป็นโมฆะเฉพาะส่วนที่เกิน และเมื่อจำเลยชำระหนี้ 10,000 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว หนี้เป็นอันระงับสิ้นไป

คำพิพากษาฎีกา ที่ 5781/2533 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ จำนวน 84,000 บาท แต่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้จำนวนดังกล่าว เมื่อจำเลยให้การว่า เป็นหนี้โจทก์ จำนวน 33,000 บาท โดยได้ความว่า เป็นหนี้ต้นเงิน 10,000 บาท ส่วนที่เหลือเป็น ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระต้นเงิน 10,000 บาทได้ ส่วนเงินอีก 23,000 บาท เป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จึงตกเป็นโมฆะแม้จำเลยจะให้การยอมรับ จะชำระหนี้เงินจำนวนนี้ ก็บังคับให้ไม่ได้

ความผิดตาม พระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 ฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นคดีอาญาแผ่นดิน ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ 

ดังนั้น นายทุนเงินกู้ทั้งหลาย ที่เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี หรือเกินกว่าร้อยละ 5 สลึงต่อเดือน ต้องพึงสังวรไว้

ข่าวล่าสุด

เราเชื่อว่าถ้าเลือกได้ หลายคนคงไม่มีใครอยากจะมี"หนี้"ติดตัว ที่ต้องจ่ายกันทุกสิ้นเดือนหรอก แต่ถ้าไม่มีเงินกู้ ชีวิตมันก็อาจจะไปต่อไม่ได้ เช่น คนประกอบอาชีพค้าขาย ถ้าเงินทุนตัวเองไม่พอ ก็ต้องกู้ยืมมาขยายกิจการ หรือบางคนที่อยากจะซื้อบ้าน ก็จำเป็นต้องกู้เงินเช่นกัน เพราะฉะนั้นถ้าเราจำเป็นต้องสร้างหนี้ สิ่งสำคัญที่พี่ ป้า น้า อา ควรต้องรู้ก่อนเป็นหนี้ 2 อย่างก็คือ

  1. เขาคิดดอกเบี้ยเราแบบไหน

    เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องรู้ก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อที่เราจะได้วางแผนการเงินในการจ่ายชำระหนี้ได้ถูกต้อง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการคิดดอกเบี้ยก็จะมี 2 แบบ คือ

    • การคิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่

      คือ เจ้าหนี้จะคิดดอกเบี้ยเราจากยอดเงินที่เรากู้ทั้งหมดคงที่ตลอดอายุสัญญา แม้ว่าเราจะผ่อนไปบ้างแล้วดอกเบี้ยก็ไม่ลดลงตามต้นเงินครับ

      ตัวอย่างเช่น กู้เงินมา 15,000 บาท ดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 15 ต่อปี ระยะเวลาผ่อน 12 เดือน ซึ่งดอกเบี้ยทั้งหมดจะอยู่ที่ 2,250 บาท เจ้าหนี้ก็จะเอาไปบวกกับเงินที่กู้ไป รวมเป็นเงิน 17,250 บาท แล้วก็เอามาหาร 12 เดือน ก็จะได้เงินที่ต้องจ่ายคืนเจ้าหนี้ ต่อเดือนๆ ละ 1,437.5 บาท และหากผ่อนไปแล้ว 6 เดือน เกิดโชคดีถูกหวยขึ้นมา อยากรีบเอาเงินมาปิดหนี้ ก็ไม่มีประโยชน์มากนักเพราะก็ต้องจ่ายส่วนที่ขาดไปอีก 6 เดือน ดอกเบี้ยคงที่ไม่ลด ซึ่งการคิดดอกเบี้ยแบบนี้ส่วนใหญ่จะเจอในการกู้ซื้อรถ หรือการกู้หนี้นอกระบบนั่นเอง

    วิธีคิดดอกเบี้ยรายวัน นอกระบบ
    • การคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก

      คือ เจ้าหนี้จะคิดดอกเบี้ย ตามยอดหนี้ที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือน เช่น กู้มา 15,000 บาท เดือนแรกเขาก็จะคิดดอกเราจากยอดเงิน 15,000 บาท และในเดือนแรกเราผ่อนจ่ายไป 1,500 บาทแล้ว เดือนถัดไปเขาจะเอาเงินต้นที่เหลืออยู่ก็คือ 13,500 บาท มาคิดดอกเบี้ย ซึ่งจะต่างจากแบบแรกที่ถ้ากู้ 15,000 บาท จะผ่อนจ่ายไปกี่เดือนแล้วก็ตามเวลาคิดดอกเบี้ยก็จะคิดจากยอดกู้ 15,000 บาท เห็นไหมว่าดอกเบี้ยแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

      ตัวอย่างเช่น ไปกู้เงินมา 15,000 บาท ดอกเบี้ย ลดต้นลดดอกร้อยละ 15 ต่อปี ระยะเวลาผ่อน 12 เดือน ทางเจ้าหนี้เขาจะคำนวนมาให้เลยว่าเราจะผ่อนเดือนละ 1,360 บาท รวมเป็นเงิน 16,320 บาท ซึ่งรวมแล้วเราจะจ่ายถูกกว่าแบบเงินต้นคงที่และถ้าเรามีเงินก้อน เราก็สามารถเอาเงินก้อนไปโปะได้ ดอกเบี้ยก็จะลดลงอีกด้วย จากยอดที่เราต้องจ่ายทั้งหมด 16,320 บาท อาจจะเหลือแค่ 16,000 บาทก็เป็นได้ ซึ่งส่วนใหญ่ดอกเบี้ยลักษณะนี้คือการกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อส่วนบุคคลครับ

    วิธีคิดดอกเบี้ยรายวัน นอกระบบ
  2. แล้วเราจะเลือกผ่อนสั้นผ่อนยาวดีล่ะถึงเหมาะกับเรา ?

    เรื่องนี้ต้องขอกระซิบบอกหน่อยว่า “ไม่ว่าจะเป็นการคิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ หรือการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก แม้ว่าทั้งสองแบบจะมีวิธีการคิดดอกเบี้ยต่างกัน แต่สิ่งที่เขาให้เรามีสิทธิ์เลือกได้ก็คือ เราจะผ่อนแบบสั้น หรือแบบยาว” หากคุณยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะเลือกผ่านแบบไหน!!! เราขอแนะนำแบบกระชับและได้ใจความ ดังนี้

    ถ้าเลือกผ่อนแบบสั้น

    การผ่อนหนี้ในแต่ละเดือนยอดชำระก็จะสูง แต่ก็หมดไวมีภาระผ่อนไม่นาน แถมดอกเบี้ยก็จะน้อยลงไปด้วย ซึ่งถ้าเรารู้ตัวเองว่ามีรายได้ประจำที่แน่นอน เช่น เป็นพนักงานมีเงินเดือน สามารถประเมินรายได้แต่ละเดือนได้ ถ้าดูจากเงินเดือนแล้วสามารถผ่อนระยะสั้นไหว การผ่อนระยะสั้นก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากเช่นกัน เพราะหมดหนี้ไว หมดปัญหาหนี้สินกวนใจนั่นเอง

    ถ้าเลือกผ่อนแบบยาว

    ในแต่ละเดือนเราก็จะผ่อนน้อย ผ่อนนาน ผ่อนสบาย แต่ว่าดอกเบี้ยก็เยอะขึ้นตามระยะเวลาที่นานขึ้น ซึ่งถ้าเราทำอาชีพค้าขาย หรืองานรับจ้างต่างๆ ที่มีรายได้ขึ้นอยู่กับงานที่ทำ รายได้ไม่คงที่ไม่ได้เป็นประจำแน่นอนตลอด การเลือกผ่อนแบบยาวก็ดูเข้าทางมากกว่าการผ่อนแบบสั้น ถึงแม้ว่าดอกเบื้ยจะแพงกว่าก็เถอะ แต่เราก็จะไม่ลำบากต้องไปหาหยิบยืม สร้างหนี้ มาจ่ายหนี้ทบหนี้อีก แต่ถ้าเดือนไหนมีรายได้เข้ามาค่อนข้างเยอะ เราก็ควรกันไว้จ่ายในกรณีฉุกเฉินหากเดือนไหนรายได้เราลดน้อยลง หรือเอาไปโปะยอดเงินต้นถ้าสินเชื่อที่เรากู้เป็นแบบลดต้นลดดอก จะได้หมดหนี้ไวๆ เสียดอกน้อยลง แทนที่จะเอาเงินไปจ่ายดอกอย่างเดียวก็เอาไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นดีกว่า

    วิธีคิดดอกเบี้ยรายวัน นอกระบบ

สุดท้าย และท้ายสุดอยากฝากไว้ว่าถ้าพี่ ป้า น้า อา ทั้งหลาย จำเป็นจะต้องใช้เงินก้อน ต้องกู้ขอสินเชื่อ จนทำให้เกิดการสร้างหนี้เพื่อให้ชีวิตหมุนต่อได้ แต่ก็ต้องเลือกให้เหมาะสมว่าหนี้ของเรานั้นควรจะผ่อนสั้นหรือยาว ควรเลือกผ่อนในแบบที่เราสามารถจ่ายไหว ไม่เกินกำลังของตัวเอง แต่หากคิดไม่เผื่ออนาคต กลัวเสียดอกเบี้ยเยอะเลยเลือกผ่อนสั้น แต่พอถึงคราวผ่อนจริงๆ ดันผ่อนไม่ไหว อันนี้จะกลายเป็นปัญหาในอนาคตให้ต้องนอนเอาขาก่ายหน้าผากวันละ 8 ตลบได้ หากไม่อยากเป็นหนี้เกินตัว ก็ต้องวางแผนการเงินอย่างฉลาดและรู้ทันตัวเอง ไม่ว่าเราจะเลือกผ่านแบบไหน ควรสอบถามเงื่อนไขของการชำระและการปิดหนี้ให้แน่ใจก่อนการตัดสินใจ

วิธีคิดดอกเบี้ยรายวัน นอกระบบ

ดอกเบี้ยรายวัน คิดยังไง

อัตราดอกเบี้ย เงินกู้รายวัน นั้นคิดกันง่ายๆคือ 20 ต่อ 1000 ต่อวัน หากคุณเงินกู้รายวัน 3000 คุณต้องส่งดอกวันละ 60 บาทไปเรื่อยๆ จนกว่าจะคืนต้นได้ โหดดีไหมล่ะ เพราะลองคิดดูนะ หากคุณกู้มา 3000 ดอกวันละ 60 X 30 วัน ดอกที่คุณจ่ายไปจะเท่ากับ 1800 บาท

กู้เงินนอกระบบคิดดอกเบี้ยยังไง

ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ยแสนแพงจากหนี้นอกระบบ วิธีการคำนวณดอกเบี้ยคือ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x ระยะเวลาผ่อน (ปี) หรือจากตัวอย่างคือ 50,000 x (30% x 12) x 1 = 180,000. ดังนั้นวินัยต้องจ่ายดอกเบี้ยเป็นเงิน 180,000 บาทต่อปี (คิดเป็น 3.6 เท่า ของเงินต้น)

ดอกเบี้ยร้อยละต่อปี คิดยังไง

ดอกเบี้ยที่ต้องชำระงวดนั้น = (เงินต้น x อัตราดอกเบี้ย x จำนวนวันในงวด) / 365 หรือ 366 (วันต่อปี) ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ย เงินต้น 20,000 บาท ดอกเบี้ย 15% ต่อปี

กรุงไทยธนวัฏ คิดดอกเบี้ยยังไง

1. อัตราดอกเบี้ย เช่น ร้อยละ 10 ต่อปี (ใส่ในสูตร = 10/100 = 0.1) 2. จำนวนวันที่ต้องการคิด ดอกเบี้ย = อัตราดอกเบี้ย * จำนวนวัน/365. ทุกธนาคารคิดแบบนี้ครับ (Effective Rate) และคิดเป็นรายวัน แต่จะแสดงให้คุณเห็นแค่เดือนละครั้งส่วนมากทุกวันสิ้นเดือนครับ