วิธีการส่งเสริมการมีจิตสาธารณะ

พจนานุกรมไทยฉบับของราชบัณฑิตยสถาน (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 14 ปรับปรุง-เพิ่มเติมใหม่) พ.ศ. 2537 ได้ให้ความหมายของ

จิตสาธารณะ ไว้ดังนี้

จิต (จิด) น. มีความหมายว่า ใจ, ความรู้สึกนึกคิด

สาธารณ (สา-ทา-ระ-นะ) หรือ สาธารณะ มีความหมายว่า ทั่วไป, เป็นของกลางสำหรับส่วนรวม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายของ จิตสาธารณะ ว่า การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อ ประเทศชาติ มีความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติจากความหมายดังกล่าวพอสรุปได้ว่า “จิตสาธารณะ” หมายถึง “ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นส่วนรวม” หรือพูดและฟังได้ง่าย ๆ ว่า“การตระหนักรู้ และคำนึงถึงการมีส่วนรวมร่วมกัน การตระหนักรู้ตน ที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่มีความสัมพันธ์ที่เป็นสังคมเดียวกัน เป็นการแสดงออกเพื่อสังคมส่วนรวม การบริการชุมชน การทำประโยชน์เพื่อสังคม ถ้าเป็นวัตถุหรือสิ่งของทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้”ดังนั้นจิตสาธารณะ จึงเปรียบได้กับความรู้สึกนึกคิด ถึงการเป็นเจ้าของในสิ่งทีเป็นสาธารณะร่วมกัน การใช้สิทธิและหน้าที่ที่จะดูแล รวมทั้งการบำรุงรักษาสิ่งของที่เป็นของส่วนรวมร่วมกันเช่น การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมโดยไม่ทิ้งขยะลงที่พื้นทั่วไปต้องทิ้งขยะใน ที่จัดไว้ให้ ไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ การดูแลรักษาสาธารณะสมบัติ เช่นโทรศัพท์สาธารณะ หลอดไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างตามถนนหนทาง การใช้น้ำธรรมชาติและน้ำประปาอย่างประหยัดร่วมกัน การใช้กระแสไฟฟ้าสาธารณะให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าตลอดจนช่วยเหลือดูแลผู้ ตกทุกข์ได้ยาก อันเป็นการให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาสตามสมควร แต่ต้องไม่ทำให้ตนเองและครอบครัวเดือดร้อน และการช่วยเหลือต้องไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง อันเป็นประโยชน์ของส่วนรวมหากคนในสังคมขาดจิตสาธารณะแล้ว ก็จะเกิดผลกระทบมากมายเช่น ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น ในครอบครัวมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันน้อยลง แก่งแย่ง ทะเลาะเบาะแว้ง เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก เห็นแก่ตัว ชิงดีชิงเด่น เบียดเบียนสมบัติขององค์กรเพื่อมาเป็นสมบัติของตนเอง องค์กรไม่ก้าวหน้า ประสิทธิภาพและคุณภาพของงานลดลง ทำให้ชุมชนเกิดความอ่อนแอ เพราะต่างคนต่างอยู่ ไม่มีการพัฒนา ยิ่งปล่อยนานยิ่งทรุดโทรม เกิดอาชญากรรมในชุมชน ขาดศูนย์รวมจิตใจ ขาดผู้นำที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เพราะแต่ละคนมองเห็นเรื่องของตนเองเป็นใหญ่ เกิดวิกฤตการณ์ภายในประเทศบ่อยครั้งและแก้ปัญหาไม่ได้เกิดการเบียดเบียน ทำลายทรัยยากรและสมบัติของส่วนรวม ประเทศชาติล้าหลัง ขาดพลังของคนในสังคม เมื่อนำมาตรการใดออกมาใช้ก็ไม่ได้ผลเนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือ เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก แก่งแย่งแข่งขัน ทุจริตคอรัปชั่น ทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบระหว่างประเทศ ทำให้เกิดปัญหา เช่น การสะสมอาวุธ การกลั่นแกล้ง แก่งแย่งหรือครอบงำทางการค้าระหว่างประเทศเกิดการรังเกียจเหยียดหยามคนต่าง ชาติพันธุ์ของตนเองดูถูกจิตสาธารณะ  ดังนั้น จิตสาธารณะ หรือจิตสำนึกสาธารณะ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น อันจะเป็นประโยชน์ ในทุกระดับของสังคม ถ้าหากได้มีการพัฒนาให้เกิดขึ้นได้อย่างเข้มแข็ง ตั้งแต่บุคคลในระดับครอบครัว ทั่วโลก ย่อมส่งผลดีในระดับที่สูงขึ้นเป็นลำดับ และที่สำคัญที่สุดการสร้างและปลูกฝังจิตสำนึก ที่ดีนั้น ต้องสร้างกับ เด็กและเยาวชน เพราะเด็กสามารถรับรู้ในสิ่งที่ดีงามจากพ่อแม่ที่บ้าน รับรู้จากผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้นำชุมชน พระสงฆ์องค์เจ้า ดูแลลูกหลานในระดับชุมชนและสังคม และสถาบันการศึกษาที่นอกจากจะอบรมสั่งสอนทั้งด้านวิชาการ ยังจะต้อง อบรมคุณธรรม จริยธรรม ปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนรู้จักการเสียสละ การให้ มากกว่า การรับ อย่างเดียวจะทำให้เด็กและเยาวชน พัฒนาจิตใจในการช่วยเหลือผู้อื่น มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เตรียมเข้าสู่การพัฒนา จิตใจตนเองสู่จิตสำนึกสาธารณะต่อไปในอนาคต

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: http://www.stou.ac.th/study/sumrit/8-54(500)/page1-8-54(500).html

Show

        จิตสาธารณะ หมายถึง ความรู้สึกตระหนักของบุคคลถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ทำให้เกิดความรู้สึกที่ปรารถนาจะร่วมและมีส่วนช่วยเหลือสังคม โดยรับรู้ถึงสิทธิควบคู่ไปกับหน้าที่และความรับผิดชอบ สำนึกถึงพลังของตนว่าสามารถร่วมแก้ไขปัญหาได้ และลงมือกระทำเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ โดยการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาร่วมกันกับคนในสังคมเพราะการอยู่ร่วมกันในสังคมทุกวันนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความมีน้ำใจไมตรีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยไม่หวังผลตอบแทน การดำรงชีวิตในสังคมที่มีการช่วยเหลือกันถึงแม้ว่าเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเรา หรือเราไม่ได้เดือดร้อนด้วย แต่ก็เต็มใจที่จะแบ่งปันให้การช่วยเหลือเอื้ออาทรกัน นั่นคือ การแสดงความมีจิต

        สาธารณะนั่นเองจิตสาธารณะมีความสำคัญอย่างไร?

การที่มนุษย์ในสังคมจะแสดงออกซึ่งการมีจิตสาธารณะนั้นเป็นเรื่องที่ยาก หากไม่ได้รับการเลี้ยงดูมาแบบส่งเสริมหรือเอื้อต่อการเกิดพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะ สังคมก็จะเป็นไปแบบเห็นแก่ตัว คือ ตัวใครตัวมัน ไม่สนใจสังคมรอบข้างคิดแต่ประโยชน์แห่งตนเท่านั้น ชุมชนอ่อนแอ ขาดการพัฒนา เพราะต่างคนต่างอยู่ สภาพชุมชนมีสภาพเช่นไรก็ยังคงเช่นนั้น ไม่เกิดการพัฒนา และยิ่งนานไปก็มีแต่เสื่อมทรุดลง อาชญากรรมในชุมชนอยู่ในระดับสูง ขาดศูนย์รวมจิตใจ ขาดผู้นำที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เพราะคนในชุมชนมองปัญหาของตัวเองเป็นเรื่องใหญ่ ขาดคนอาสานำการพัฒนา เพราะกลัวเสียทรัพย์ กลัวเสียเวลา หรือกลัวเป็นที่ครหาจากบุคคลอื่น ดังนั้น การศึกษาแนวทางและความสำคัญของการมีจิตสาธารณะเพื่อให้เกิดในจิตสำนึกของเด็กและเยาวชนนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรกระทำ เพื่อสังคมที่น่าอยู่ต่อไป ทั้งนี้เพราะเด็กช่วงแรกเกิดจนถึงก่อน 10 ขวบ เป็นช่วงที่เด็กมีความไวต่อการรับการปลูกฝัง และส่งเสริมจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง เพราะเด็กยังเป็น “ไม้อ่อนที่ดัดง่าย” ฉะนั้นการปฏิบัติต่อเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการด้านสังคมและด้านจิตใจของเด็กจะเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพื่อที่จะได้เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม ก่อให้เกิดความเข้มแข็งของสังคม จะส่งผลให้ การเมือง เศรษฐกิจ

 ศีลธรรมในสังคมนั้นดีขึ้นเด็กที่มีจิตสาธารณะมีลักษณะอย่างไร?

เด็กที่มีจิตสาธารณะจะมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึง ความรับผิดชอบต่อสาธารณสมบัติด้วยการเอาใจใส่ดูแลเป็นธุระ และเข้าร่วมในเรื่องส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม โดยหลีกเลี่ยงการใช้หรือกระทำที่ทำให้เกิดการชำรุดเสียหายต่อของส่วนรวม การถือเป็นหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแล การเคารพสิทธิในการใช้สาธารณสมบัติของผู้อื่น มุ่งปฏิบัติเพื่อส่วน รวมในการดูแลรักษาของส่วนรวม เช่น การทำตามหน้าที่ที่กำหนดการดูแลความสงบเรียบร้อย การรักษาสาธารณสมบัติ รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น มีส่วนร่วมในการหาแนวทางป้องกันแก้ไข รวมไปถึงการรับอาสาทำบางอย่างเพื่อส่วนรวม เคารพสิทธิของผู้อื่นในการใช้ของส่วนรวม ไม่ปิดกั้นในการใช้ของบุคคลอื่น มีการแบ่งปันหรือเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ใช้ของส่วน รวม ไม่ยึดครองของส่วนรวมมาเป็นของตนเอง ซึ่งสังเกตได้ ดังนี้ คิดในทางบวก (Positive thinking) คือ คิดในทางที่ดีต่อคนอื่น มีส่วนร่วม (Participation) คือ การมีส่วนร่วมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน เกื้อกูล เป็นธรรมชาติ ทำตัวเป็นประโยชน์ (Useful) คือ เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อสาธารณะ ต่อสังคม ไม่นิ่งดูดาย อะไรที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะแม้เพียงเล็กน้อยก็จะทำ ไม่เห็นแก่ตัว (Unselfish) คือ การฝึกเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน แบ่งปันของเล่น ของใช้ให้เพื่อน รู้จักให้ทาน มีความเข้าใจ (Understand) คือ เข้าใจผู้อื่น (Empathy) ไม่ทับถมผู้อื่น ไม่ซ้ำเติมผู้อื่น มีใจกว้าง (Broad Mind) คือ มีจิตที่กว้างใหญ่ เปิดกว้าง ไม่คับแคบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รับฟังข้อมูล แสวง หาความรู้ใหม่อยู่เสมอ มีความรัก (Love) คือ รักเพื่อน รักผู้อื่น เมตตาต่อสัตว์ และพืช มีการสื่อสารที่ดี (Communication) คือ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น เล่น และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เด็กจะได้

ประโยชน์อะไรจากการมีจิตสาธารณะ?

การที่เด็กๆมีพฤติกรรมที่แสดงออกเป็น จิตสาธารณะ แล้วนั้น จะส่งผลที่ดีต่อตนเองได้ดังนี้ เป็นเด็กที่มีความคิดในทางที่ดีต่อคนอื่น และมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าคนอื่น เป็นคนที่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ง่ายอย่างเป็นที่รักใคร่ของคนรอบข้าง และมักจะได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลรอบข้างเมื่อตนเองเดือดร้อน ทำตัวเป็นประโยชน์ เป็นที่ต้องการของสังคม ไม่เห็นแก่ตัว ได้รับการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จากคนรอบข้าง มีความเข้าใจผู้อื่นได้ง่าย ไม่ทับถมผู้อื่น ไม่ซ้ำเติมผู้อื่น เป็นคนที่มีเหตุผล ไม่เอาแต่ใจตนเอง เห็นใจในความทุกข์ของผู้อื่น จะได้รับความรัก ความเมตตา กรุณา จากผู้อื่น มักจะได้รับการแบ่งปันจากผู้อื่นรอบข้าง มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น สามารถทำงานกับผู้อื่นได้ทุกสถานการณ์ อย่างมีความสุข พ่อแม่จะช่วยส่งเสริมให้

ลูกมีจิตสาธารณะได้อย่างไร?

จิตสาธารณะเป็นสิ่งที่เกิดจากการฝึกอบรมตั้งแต่วัยเด็ก และจะพัฒนาไปเรื่อยๆจนถึงวัยรุ่น และจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ จึงต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็ก คอยแนะนำส่งเสริมในสิ่งที่ถูกที่ควร คอยชี้แนะ และปลูกฝังจิตสาธารณะให้แก่เด็ก ดังนี้ ฝึกระเบียบวินัย ให้มีความรับผิดชอบตามวัย เปิดโอกาสให้ลูกเรียนรู้ด้านวินัยจากวัฒนธรรม โดยอาศัยการสั่งสอน ฝึกฝน จากบุคคล สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติของการอยู่ร่วมกันในสังคม เช่น การข้ามถนนตรงทางม้าลาย หรือสะพานลอย ทิ้งขยะลงถังทุกครั้ง การมีกิจกรรม และใช้สิ่งของร่วมกันในสังคม การพัฒนาจิตสาธารณะให้แก่เด็กในการใช้สิ่งของร่วมกัน ดูแลทรัพย์สมบัติส่วนรวมและมีน้ำใจแบ่งปันสิ่งของให้แก่กันและกัน การปลูกฝังหรือเสริมสร้างไว้ตั้งแต่ในวัยเด็ก เพื่อให้เขาได้รับประสบการณ์ที่เพียงพอเป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปพัฒนาตนเอง โดยในการปลูกฝังนั้น ควรให้เด็กได้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของจิตสาธารณะ เช่น การใช้ลานกิจกรรมของชุมชน การพาลูกไปสวนสาธารณะ การใช้ห้องสมุดประชาชน ฝึกฝนให้เด็กได้ปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กเกิดการกระทำที่เกี่ยวกับการพัฒนาจิตสาธารณะอย่างแท้จริงจนเกิดเป็นลักษณะนิสัย และควรทำให้เหมาะสมกับวัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามวัย และเกิดการพัฒนาตามลำดับ ซึ่งในการฝึก อบรม ปลูกฝัง หรือพัฒนาจิตสาธารณะให้แก่เด็กนั้น ควรมีครูหรือผู้ใหญ่คอยดูแลชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง เด็กจะได้ยึดเป็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง เหมาะสม เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูก แนวทางในการเสริมสร้างจิตสาธารณะของคนในสังคม จะเกิดขึ้นได้จากการคลุกคลีอยู่กับความถูกต้อง การปลูกฝัง อบรม การฝึกปฏิบัติ การได้เห็นตัวอย่างที่ชวนให้ประทับใจ ปัจจัยเหล่านี้จะค่อยๆโน้มนำใจของเด็กให้เกิดจิตสำนึกที่ถูกต้อง และการสร้างจิตสาธารณะให้เกิดขึ้นจำต้องอาศัยสถาบันทางสังคมหลายส่วนเข้ามาร่วมมือกัน ร่วมมือกับโรงเรียนในการปลูกฝังจิตสาธารณะ สถาบันครอบครัวเป็นพื้นฐานของสังคม ถ้าครอบครัวมีแต่ความคลอนแคลนสังคมก็พลอยคลอนแคลนไปด้วย และเด็กที่เติบโตจากครอบครัวที่คลอนแคลนจะมีจิตสำนึกที่คลาดเคลื่อน การสอนและการอบรมของสถาบันครอบครัวควรดำเนินการให้สอดคล้องประสานไปในจุดหมายเดียวกันกับการสอนการอบรมของสถาบันการศึกษา และสถาบันทางศาสนาเพื่อปูพื้นฐาน หรือฝังรากให้เด็กมีจิตสำนึกที่เป็นสัมมาทิฐิตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อที่เด็กจะได้เป็นกำลังในการสร้างสรรค์สังคมที่มีความร่มเย็นเป็นสุข

ผู้มีจิตสาธารณะมีลักษณะสำคัญอย่างไร และมีวิธีการส่งเสริมการมีจิตสาธารณะให้กับ

ผู้ที่มีจิตสาธารณะ คือ ผู้ที่มีลักษณะเป็นผู้ให้และช่วยเหลือผู้อื่น แบ่งปันความสุขส่วนตนเพื่อทําประโยชน์แก่ส่วนรวม เข้าใจ เห็นใจผู้ที่มี ความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยแรงกาย Page 3 สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 9 สติปัญญา ลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาหรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม ให้เกิดในชุมชน ...

มีวิธีส่งเสริมการมีจิตสาธารณะให้กับเยาวชนไทยได้อย่างไรบ้าง

การพัฒนาจิตสาธารณะให้แก่เด็กในการใช้สิ่งของร่วมกัน ดูแลทรัพย์สมบัติส่วนรวมและมีน้ำใจแบ่งปันสิ่งของให้แก่กันและกัน การปลูกฝังหรือเสริมสร้างไว้ตั้งแต่ในวัยเด็ก เพื่อให้เขาได้รับประสบการณ์ที่เพียงพอเป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปพัฒนาตนเอง โดยในการปลูกฝังนั้น ควรให้เด็กได้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของจิตสาธารณะ เช่น ...

การทํากิจกรรมจิตสาธารณะคืออะไร

จิตอาสา หรือ มีจิตสาธารณะ” ยังหมายรวมถึง จิตของคนที่รู้จักความเสียสละ ความร่วมมือ ร่วมใจ ในการทาประโยชน์เพื่อส่วนรวม จะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อ เป็นหลักการในการดาเนินชีวิต ช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม เช่น การช่วยกันดูแล รักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไม่ทิ้งขยะลงใน ...

จิตสาธารณะมีความสําคัญต่อสังคมอย่างไร

ทำให้เราเป็นคนที่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้เป็นอย่างดี และปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ดี – ทำให้เป็นที่รักใคร่จากผู้คนรอบข้าง และได้รับความเมตตา – ทำให้เป็นคนไม่เห็นแก่ตัว คิดถึงส่วนรวมเป็นหลักมากกว่าประโยชน์ส่วนตน – ทำให้เป็นคนเข้าใจผู้อื่นได้เป็นอย่างดี