รายงานตัวว่างงานช้าทำอย่างไร

     ระบบดังกล่าวเป็นระบบที่ให้บริการแก่คนหางานที่เป็นผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน ซึ่งคนหางานที่จะได้รับสิทธิผู้ประกันตนกรณีว่างงาน จะต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน โดยระบบจะอำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนและรายงานตัวของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ให้สามารถขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งข้อมูลของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน จะได้รับการตรวจสอบข้อมูลจากกรมการปกครอง เพื่อยืนยันตัวบุคคลในการใช้บริการในระบบดังกล่าวผ่านอินเตอร์เน็ต และยังสามารถออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน สำหรับใช้เป็นหลักฐานยืนยันในการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในการขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533

ในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ หลายๆ คน อาจจะประสบกับปัญหาถูกเลิกจ้าง อยู่ในช่วงที่กำลังหางานใหม่ หรือกำลังรอการเริ่มต้นกับที่ทำงานใหม่เรียบร้อยแล้ว แต่เคยทราบกันบ้างหรือไม่ว่า ในช่วงเวลาแบบนี้ ผู้ที่มีประกันสังคม มีสิทธิสามารถขอเงินชดเชยกรณีที่ว่างงานจากการลาออก หรือ ถูกเลิกจ้างได้

แต่ถึงแม้จะได้รับเงินชดเชย ก็ยังคงมีคำถามคาใจในขั้นตอนต่างๆ วันนี้เราจึงรวบรวมทุกคำถามและไขสงสัยทุกคำตอบ สำหรับกรณีเป็น “ผู้ว่างงาน” มาฝากกัน

กรณีไม่สะดวกรายงานตัวว่างงานที่สำนักงานจัดหางานเขตพื้นที่เดิมจะต้องดำเนินการอย่างไร
คำตอบ : สามารถรายงานตัวที่สำนักงานจัดหางานเขตพื้นที่ใดก็ได้ที่สะดวก

ใบนัดรายงานตัวสูญหายหรือชำรุดจนไม่สามารถอ่านข้อความได้จะต้องดำเนินการอย่างไร
คำตอบ : ผู้ประกันตนติดต่อขอคัดสำเนาใบนัดรายงานตัวได้ที่สำนักงานจัดหางานที่ผู้ประกันตนรายงานตัว

ผู้ประกันตนแรงงานต่างด้าว ต่างชาติ สามารถขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผ่านเว็บไซต์กรมจัดหางาน (www.doe.go.th) ได้หรือไม่
คำตอบ : สำหรับผู้ประกันตนแรงงานต่างด้าว ต่างชาติ ไม่สามารถขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผ่านเว็บไซต์กรมจัดหางาน (www.doe.go.th) ได้ แต่สามารถขึ้นทะเบียนว่างงานและรายงานตัวที่สำนักงานจัดหางานของรัฐได้ทุกแห่ง และรายงานตัวตามตารางนัด

ทำไมเงินชดเชยกรณีว่างงานในแต่ละงวดถึงได้รับไม่เท่ากัน
คำตอบ : เงินชดเชยกรณีว่างงานตัดจ่าย แต่ละงวดไม่เท่ากันนั้น จะขึ้นอยู่กับจำนวนวันในรอบ การนัดรายงานตัวของผู้ประกันตน โดยจะจ่ายให้ครบตามสาเหตุที่แจ้งออกของผู้ประกันตน – กรณีลาออก ได้เงิน ชดเชย 90 วัน อัตราร้อยละ 30% – กรณีเลิกจ้าง ได้เงินชดเชย 180 วัน อัตราร้อยละ 50% ตัวอย่างเช่น เริ่มจ่าย สิ้นสุด ให้ตั้ง รายงานตัว รายงานตัว 08/04/2562 20/05/2562 43 47 24/05/2562 20/05/2562 _ A อนุมัติ 21/05/2562 _ _ _ 34 23/06/2562 _ _ 24/06/2562 06/07/2562 13 23/07/2562 _ _ _ ___ _ _ _ _ _ __

หากต้องการเปลี่ยนสมุดบัญชีในการรับเงินว่างงานจะต้องดำเนินการอย่างไร
คำตอบ : ให้นำสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารฉบับใหม่ที่ต้องการเปลี่ยนแนบพร้อมสำเนาบัตรประชาชน ติดต่อสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / จังหวัด / สาขา ที่ยื่นเรื่องไว้

หากไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้างจะต้องทำอย่างไร
คำตอบ : แนะนำติดต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โทรฯ สายด่วน 1546

สาเหตุใดบ้างที่ไม่สามารถอนุมัติกรณีว่างงานได้
คำตอบ : จ่ายเงินสมทบไม่ครบหลักเกณฑ์เงื่อนไข, ไม่ปฏิเสธ การฝึกงาน, ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกระทำความผิด, อายุครบ 55 ปี ขึ้นไป

ผู้ประกันตนแรงงานต่างด้าว ต่างชาติ สามารถขึ้นทะเบียนว่าง ผ่านเว็บไซต์กรมจัดหางานได้หรือไม่
คำตอบ : ไม่สามารถขึ้นทะเบียนว่างงานผ่านเว็บไซต์ได้

สามารถรายงานตัวได้ที่ไหนบ้าง
คำตอบ : สำนักจัดหางานพื้นที่ / จังหวัดที่สะดวก, เว็บไซต์สำนักงานจัดหางาน

หากใบนัดรายงานตัวสูญหาย หรือ ชำรุดจนไม่สามารถอ่านข้อความได้ จะต้องทำอย่างไร
คำตอบ : แนะนำผู้ประกันตนติดต่อแจ้งความที่สถานีตำรวจ และนำบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมใบแจ้งความ ไปติดต่อสำนักงานจัดหางานที่ยื่นเรื่องไว้เพื่อขอคัดสำเนาใบนัดรายงานตัว

หากผู้ประกันตนแจ้งสาเหตุและวันที่ลาออกจากงานไม่ตรงกับนายจ้างเป็นเหตุทำให้ไม่ได้รับการอนุมัติเงินว่างงานจะต้องทำอย่างไร

​พนักงานที่ทำงานประจำหรือสัญญาจ้างหลาย ๆ คนอาจรู้สึกเคว้งคว้างหลังออกจากงานประจำ หมดสัญญาจ้าง หรือถูกเลิกจ้าง ต้องออกจากงานแบบกระทันหัน 

แต่ รู้หรือไม่ ระหว่างที่กำลังรอสัมภาษณ์งานใหม่อยู่นั้น เราสามารถขึ้นทะเบียนว่างงานเพื่อขอรับสิทธิ์รับเงินทดแทนได้หากเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือเป็นลูกจ้างที่ส่งเงินสมทบทุนเข้ากองทุนประกันสังคมนั่นเอง แต่ไม่ใช่ว่าหลังจากลงทะเบียนแล้ว จะได้รับเงินชดเชยตลอด โดยไม่ต้องทำอะไร เพราะยังมีขั้นตอน “การรายงานตัวว่างงาน” ที่จำเป็นต้องเข้าไปรายงานตัวทุกเดือนเพื่อรักษาสิทธิ์ 

ดังนั้นในบทความนี้จะมาตอบข้อสงสัยและแก้ไขว่าถ้าเกิดเหตุจำเป็นที่ต้องรายงานตัวว่างงานช้า ลืมรหัส กรอกข้อมูลผิดจะต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อให้ได้รับเงินครบถ้วนตามสิทธิ์ 

การลงทะเบียนคนว่างงาน

การลงทะเบียนว่างงานสามารถทำได้โดยง่ายทั้งการเดินทางไปขอขึ้นทะเบียนสำนักงานจัดหางานตามภูมิลำเนาที่สะดวก และขึ้นทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์  http://empui.doe.go.th โดยหลังจากลาออก ถูกเลิกจ้าง หรือสิ้นสุดสัญญา สามารถที่จะขึ้นทะเบียนว่างงานได้ภายใน 30 วัน และต้องยื่นเรื่องรับเงินภายใน 1 ปี ไม่อย่างนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์ รวมถึงเตรียมเอกสารสำคัญและส่งให้ครบถ้วน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่)

เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้วทางสำนักงานจะออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนว่างงานและจะมีใบนัดรายงานตัวที่จะกำหนดวันที่ในการรายงานตัวว่างงานให้กับผู้ขึ้นทะเบียนทุกคน โดยจะต้องมารายงานตัวว่างงานตามวันที่กำหนด เพราะหากไม่มารายงานตัวว่างงานจะถือว่าไม่ได้รับเงินชดเชยในเดือนนั้น ๆ 

ดังนั้นใครที่ขึ้นทะเบียนและได้รับกำหนดวันรายงานตัวว่างงานก็ตั้งเตือนวันที่ได้เลย ซึ่งจะมีกำหนดรายงานตัวเดือนละครั้งเป็นระยะเวลา 6 เดือน

รายงานตัวว่างงานช้าทำอย่างไร

โดยการรายงานตัวว่างงานสามารถสามารถดำเนินการได้ทั้งผ่านช่องทางเว็บไซต์เดียวกันและไปยังสำนักงานประกันสังคมเพื่อรายงานตัว แต่สำหรับใครที่ไม่ว่างไปรายงานตัว กรอกข้อมูลเอกสารผิด หรือลืมรหัสผ่านจนทำให้ไม่สามารถรายงานตัวว่างงานได้ Manpower ขอมาแนะนำวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้กัน

กรณีที่ทำให้ไม่สามารถรายงานตัวว่างงานและวิธีแก้ไข

1.ไม่สะดวกไปรายงานตัวตามสิทธิ์

ในกรณีที่ไม่สามารถไปรายงานตัวตามวันที่กำหนดได้ สามารถไปรายงานตัวได้ก่อนและหลังวันนัด 7 วัน (นับรวมวันหยุดราชการ) และเพื่อความสะดวกสามารถกดรายงานตัวผ่านช่องทางออนไลน์ได้

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่สามารถรายงานตัวตามสิทธิ์ในระยะเวลาที่กำหนด เพราะเกิดการเจ็บป่วย การเดินทางไปต่างประเทศ หรือการเสียชีวิตของญาติที่มีรายชื่อในทะเบียนบ้าน จำเป็นที่จะต้องยื่นเอกสารหลักฐานต่อหน้าเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานประกันสังคมเพื่อรับสิทธิ์เงินทดแทนว่างงาน หากไม่มีหลักฐานหรือไม่ได้อยู่ในกรณีที่กล่าวไป ก็จะไม่ได้รับเงินทดแทนว่างงานในเดือนนั้น ๆ ไป

2.การกรอกข้อมูลผิดพลาด

กรณีที่มีการกรอกข้อมูลผิดพลาด จะแยกออกเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบแรกกรอกผิดจากฝั่งผู้ลงทะเบียน ให้ติดต่อไปยังสำนักงานประกันสังคมสาขาที่ยื่นเอกสารเอาไว้ โดยยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อมูล สำหรับรูปแบบที่สอง คือ ข้อมูลผิดพลาดจากฝ่ายนายจ้าง ให้ติดต่อนายจ้างเพื่อให้ส่งหนังสือขอแก้ไขข้อมูลเข้ามาทางสำนักงาน รวมถึงในกรณีที่ออกจากงานแล้ว แต่นายจ้างยังไม่แจ้งเอาชื่อออกจากประกันสังคม ให้ติดต่อไปหานายจ้างโดยตรงเพื่อสอบถามกับทางเจ้าหน้าที่ที่ยื่นเรื่องไว้เพื่อให้ช่วยติดตามอีกครั้ง

3.ลืมรหัสสมาชิก

สำหรับใครที่ไม่สามารถรายงานตัวว่างงานเพราะลืมรหัสสมาชิก ให้เข้าหน้าเว็บไซต์และกดไปยังลืมรหัสผ่านระบบรายงานตัวว่างงาน (คลิกที่นี่) 

  • กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชนและวันเดือนปีเกิด จากนั้นกดตรวจสอบข้อมูล ระบบจะพาไปสู่หน้าตั้งรหัสใหม่ โดยรหัสจะต้องใช้เป็นตัวอักษรและตัวเลข ความยาวรวม 8 ตัวขึ้นไป 

  • เมื่อตั้งรหัสเสร็จอย่าลืมจดรหัสไว้ให้ครบถ้วนเพื่อป้องกันการลืมอีกครั้ง 

  • เมื่อเปลี่ยนรหัสเรียบร้อยแล้วก็สามารถที่จะเข้าไปรายงานตัวว่างงานได้ โดยระบบจะพาไปยังหน้าลงชื่อเข้าใช้อีกรอบ 

  • ใส่เลขประจำตัวประชาชนและรหัสใหม่เพื่อเข้าสู่ระบบ 

  • กดคลิกไปยังเมนูเพื่อกดรายงานตัวว่างงาน 

  • เมื่อสำเร็จแล้วก็จะขึ้นหน้าเอกสารเท่ากับว่าเป็นอันเสร็จสิ้น 

อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถคลิกปุ่มลืมรหัสผ่านได้ ระบบผิดเกิดพลาด หรือไม่สำเร็จ ก็สามารถเดินทางรายงานตัวว่างงานได้ที่กรมจัดหางานหรือหลังวันนัดไม่เกิน 7 วันนั่นเอง

รายงานตัวว่างงานช้าทำอย่างไร

หลังจากรู้แล้วว่าจะต้องแก้ไขอย่างไรหากรายงานตัวช้า กรอกข้อมูลผิด หรือลืมรหัสสมาชิก หลายคนคงอยากรู้แล้วว่าหลังรายงานตัวว่างงาน ใช้ระยะเวลากี่วันจึงจะได้รับเงิน โดยทั่วไปหากเอกสารครบถ้วนหลังจากยื่นเรื่องไป จะได้รับเงินเข้าบัญชีประมาณภายใน 5-7 วันไม่นับเสาร์-อาทิตย์ ในกรณีที่รายงานตัวก่อนและหลังกำหนดจะเข้าตามรอบบัญชี และวิธีการเช็คเงินรายงานตัวว่างงานสามารถเช็ดได้ ดังนี้ 

  • แอปพลิเคชัน SSO Connect เข้าสู่ระบบและเลือกหัวข้อ "การเบิกสิทธิประโยชน์" 

  • เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th และเข้าสู่ระบบและเลือก"ตรวจสอบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย"

  • สายด่วนสำนักงานประกันสังคม 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

หลังจากรายงานตัวว่างงานแล้ว ใครที่กำลังมองหางานอยู่ ทาง ManpowerGroup Thailand พร้อมให้คำปรึกษาและช่วยหางานที่ใช่สำหรับคุณได้ เพราะเราคือบริษัทจัดหาคน จัดหางานชั้นนำ เพื่อหาคนทำงาน ให้ได้งานที่ตอบโจทย์ที่สุด

Manpower เก่งหาคน ถนัดหางาน “We Love our Jobs”

บริษัทจัดหางานชั้นนำระดับโลก ตอบโจทย์การให้บริการอย่างครบวงจร เพราะเราเชื่อว่า "คน" หรือ "Manpower" คือ กุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของทุกธุรกิจ ด้วยประสบการณ์ในการสรรหาบุคลากรตั้งแต่ระดับทั่วไปจนถึงระดับบริหารให้เข้ากับองค์กรชั้นนำของเรากว่า 20 ปีในประเทศไทย เพื่อยกระดับตลาดแรงงาน พัฒนาศักยภาพพนักงานและธุรกิจสู่ความสำเร็จไปพร้อมกัน