วิธี ใช้ ฟ ลู ออ ไร ด์ วานิช

เคลือบฟลูออไรด์ เพื่ออะไร ช่วยป้องกันฟันได้อย่างไร ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่มาหาหมอฟันชอบสงสัยว่า ทำไมต้องเคลือบฟลูออไรด์ ประโยชน์ของฟลูออไรด์ คืออะไรบ้าง

ฟลูออไรด์ นอกจากจะช่วยปกป้องฟันให้แข็งเเรง หน้าที่ที่สำคัญคือ ลดความเสี่ยงกับการเกิดปัญหาฟันผุ มาดูกันว่าฟลูโอไรด์ที่ควรไปพบกับคุณหมอเพื่อเคลือบฟลูโอไรด์นั้นมีขั้นตอนอย่างไร ถ้าไม่ไปเคลือบฟลูออไรด์กับทันตแพทย์ ร่างกายเรารับฟลูออไรด์มาจากไหนได้อีกบ้าง รวมคำถามอีกมากมายที่คุณหมอพร้อมให้คำตอบกับคุณได้จากข้อมูลด้านล่างนี้เลยค่ะ

  1. 1. อะไรทำให้เสี่ยงฟันผุ
  2. 2. ฟลูออไรด์ คือ อะไร
  3. 3. ฟลูออไรด์ที่ทันตแพทย์ใช้ มีกี่ประเภท
    1. 3.1. ฟลูออไรด์พบได้ที่ไหน ?
  4. 4. ทำไมต้องเคลือบฟลูออไรด์
  5. 5. ประโยชน์ของการเคลือบฟลูออไรด์
  6. 6. ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุได้ยังไง
  7. 7. การรับฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ วัยไหนได้ผลดีที่สุด?
  8. 8. ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
    1. 8.1. – ยาสีฟัน
    2. 8.2. – น้ำยาบ้วนปากฟลูออไรด์
  9. 9. ขั้นตอนการ เคลือบฟลูออไรด์
  10. 10. คำถามที่พบบ่อยๆกับการเคลือบฟลูโอไรด์

คุณทราบไหมคะว่า คนเรามีความเสี่ยงที่จะเกิดฟันผุได้ง่ายกว่าที่คิด เนื่องจากมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอยู่รอบด้าน

วิธี ใช้ ฟ ลู ออ ไร ด์ วานิช
ปัจจัยเสี่ยงฟันผุ

อะไรทำให้เสี่ยงฟันผุ

  1. เสี่ยงจากสภาพฟัน เช่น โรคฟันบางประเภทที่มีเกลือแร่ที่เนื้อฟันน้อยทำให้ฟันผุง่าย หรือผู้ที่มีร่องบนฟันมากหรือลึก และผู้ที่เป็นโรคเหงือกร่นก็ทำให้เกิดฟันผุได้ง่ายเช่นกัน
  2. เสี่ยงจากเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้อ Streptococcus mutan และ Lactobasillus ที่ย่อยคาร์โบไฮเดรตทำให้เกิดกรดมาทำลายเคลือบฟัน
  3. เสี่ยงจากอาหาร อาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล เมื่อถูกย่อยแล้วจะกลายเป็นกรด หากฟันสัมผัสกรดเป็นเวลานาน หรือบ่อย ๆ ผิวฟันจะสึกและผุ
  4. เสี่ยงจากระยะเวลาที่ฟันเจอกับกรด ตามปกติเมื่อแบคทีเรียย่อยอาหารแป้งและเศษอาหารเหลือ จะทำให้เกิดกรดและมีการละลายของผิวฟัน แต่ปริมาณน้ำลายและเกลือแร่ในน้ำลายจะลดความเป็นกรดและเติมเกลือแร่ให้กับฟัน ดังนั้นเมื่อรับประทานอาหารบ่อย หรือน้ำลายน้อย ทำให้ฟันอยู่ในสภาพที่เป็นกรดนาน ก็จะเสี่ยงต่อฟันผุได้ 
  5. เสี่ยงจากโรคประจำตัวที่ทำให้น้ำลายน้อย เช่น โรคเบาหวาน 
  6. เสี่ยงจากการรับประทานยาบางชนิดที่ทำให้น้ำลายน้อยลง เช่น ยาแก้แพ้ ยาแก้โรคซึมเศร้า 
  7. เสี่ยงการพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ซึ่งเสี่ยงทั้งฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบ

ในเมื่อเรามีความเสี่ยง และสามารถเกิดฟันผุกันได้ง่ายอย่างนี้ การป้องกันฟันผุจึงสำคัญ ซึ่งทางการแพทย์วิธีการป้องกันฟันผุที่ดีที่สุด ก็คือการใช้ฟลูออไรด์มาช่วยป้องกันฟันผุ  เพราะฉะนั้นมาเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันฟันผุด้วยฟลูออไรด์หรือการเคลือบฟลูออไรด์กัน

วิธี ใช้ ฟ ลู ออ ไร ด์ วานิช
เคลือบฟลูออไรด์ช่วยให้ฟันแข็งแรง

ติดต่อคลินิกเพื่อขอคำปรึกษา

ติดต่อเพื่อนัดปรึกษาทันตแพทย์ ตรวจฟัน

ฟลูออไรด์ คือ อะไร

ฟลูออไรด์ เป็นธาตุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เป็นเกลือของธาตุฟลูออรีน (Fluorine) พบได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ดิน หินแร่ มีสีม่วงอ่อนปนขาว เเละยังเป็นเเร่ธาตุที่พบในอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ปลา ชา อาหารทะเล และผักบางชนิด (ที่พบว่ามีฟลูออไรด์มากคือ กะหล่ำปลี แครอท มะละกอ)

ฟลูออไรด์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในทางทันตกรรมป้องกันฟันผุ จะอยู่ในรูปของยาเม็ด ยาน้ำ วิตามิน และน้ำยาอมบ้วนปาก เป็นต้น

วิธี ใช้ ฟ ลู ออ ไร ด์ วานิช
ฟลูออไรด์

ฟลูออไรด์ที่ทันตแพทย์ใช้ มีกี่ประเภท

ฟลูออไรด์ที่ทันตแพทย์นำมาใช้มีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน

  1. ฟลูออไรด์ชนิดรับประทาน ฟลูออไรด์แบบนี้คนส่วนใหญ่อาจจะไม่ค่อยทราบ เราสามารถพบได้ในน้ำดื่ม หรือน้ำปะปา ในต่างประเทศมักจะมีการเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำดื่มเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน และเรายังพบฟลูออไรด์ชนิดรับประทานได้ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ฟลูออไรด์ชนิดเม็ด, ฟลูออไรด์ชนิดน้ำ

    วิธี ใช้ ฟ ลู ออ ไร ด์ วานิช

  2. ฟลูออไรด์ชนิดเฉพาะที่ ฟลูออไรด์ชนิดนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
  • ฟลูออไรด์ที่ทันตแพทย์เคลือบในเด็กปกติ ที่ควรได้รับการเคลือบฟันทุก ๆ 6 เดือน ยกเว้นกรณีที่เด็กมีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้ง่าย ทันตแพทย์จะพิจารณาเพิ่มความถี่ในการเคลือบฟลูออไรด์ให้บ่อยขึ้น
  • ฟลูออไรด์ที่ผสมในยาสีฟัน หรือน้ำยาบ้วนปาก โดยทั่วไปที่หาซื้อกันได้ในท้องตลาดจะมีฟลูออไรด์อยู่ที่ 1,000-1,500 ส่วนในล้านส่วน ถ้าเป็นยาสีฟันสำหรับเด็กจะมีปริมาณฟลูออไรด์ต่ำกว่า 1,000 ส่วน ซึ่งผู้ปกครองควรดูแลปริมาณยาสีฟันที่เด็กใช้ในแต่ละครั้งให้มีปริมาณขนาดเท่ากับเมล็ดถั่วเขียว หรือใช้แค่เพียงแตะ ๆ แปรงสีฟันเท่านั้น เพราะถ้าเด็กได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่มากเกินไป อาจเกิดอาการฟันตกกระได้ 

วิธี ใช้ ฟ ลู ออ ไร ด์ วานิช
เคลือบฟลูออไรด์ (fluoride coating )

ฟลูออไรด์พบได้ที่ไหน ?

ฟลูออไรด์เป็นเกลือของธาตุฟลูออรีน (Fluorine) จึงพบได้ทั้งที่

  1. เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ทั้งในดิน น้ำ อากาศ หินแร่ และในอาหารบางชนิด เช่น อาหารทะเล เนื้อสัตว์ พืชผักบางชนิด
  2. ผลิตขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ทางทันตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ยาเม็ดฟลูออไรด์ ยาน้ำ วิตามิน หรือนมฟลูออไรด์ ที่ควรปรึกษากับทันตแพทย์ก่อนนำมาใช้ เพื่อกำหนดปริมาณการกินที่ถูกต้อง และยังมีในรูปของยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ที่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป

ทำไมต้องเคลือบฟลูออไรด์

เนื่องจากเคลือบฟันส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุดของฟัน จะมีการสูญเสียแร่ธาตุ (Demineralization) และจะมีการคืนแร่ธาตุ (Remineralization) เข้าไปใหม่ในทุก ๆ วัน โดยกระบวนการทั้งสองนี้จะสร้างความสมดุลในตัวของมันเอง แต่หากเราสูญเสียเคลือบฟันในปริมาณมาก จนขาดความสมดุล ฟันของเราก็จะผุได้

การเคลือบฟลูออไรด์จะช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับฟัน ด้วยการเร่งการคืนแร่ธาตุ อย่างฟลูออไรด์ แคลเซียม และฟอสเฟต นอกจากนี้การเคลือบฟลูออไรด์ยังช่วยยับยั้งแบคทีเรีย ไม่ให้สร้างกรดขึ้นมาทำลายฟันของคุณด้วย

วิธี ใช้ ฟ ลู ออ ไร ด์ วานิช
ฟลูออไรด์ป้องกันการสูญเสียเคลือบฟัน

ประโยชน์ของการเคลือบฟลูออไรด์

การเคลือบฟลูออไรด์เป็นวิธีการป้องกันฟันผุที่ดีที่สุดทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ ใครก็ตามที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีฟันผุ หรือผู้ที่ต้องการดูแลปกป้องฟันให้มีสุขภาพดี สามารถเข้ารับการเคลือบฟลูออไรด์ได้ทั้งหมด ถือเป็นการดูแลรักษาฟันที่วงการแพทย์แนะนำ โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้ทำการเคลือบฟลูออไรด์ลงไปที่ฟันของคุณโดยตรง ถือว่าสะดวก ปลอดภัย สามารถดูแลฟันให้สวยได้อย่างยาวนาน

วิธี ใช้ ฟ ลู ออ ไร ด์ วานิช
ประโยชน์ของการเคลือบฟลูออไรด์

ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุได้ยังไง

ฟลูออไรด์เมื่อถูกดูดซึมเข้าร่างกายจะช่วยเสริมสร้างให้ผิวเคลือบฟันแข็งแรง ทนต่อการกัดกร่อนของกรดได้ดี ช่วยลดจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดกรดในช่องปากได้ และที่ดีมาก ๆ ก็คือฟลูออไรด์มีผลในการป้องกันโรคฟันผุ ตั้งแต่ฟันกำลังสร้างตัว โดยการที่ฟลูออไรด์เข้าสู่ร่างกายจากการกิน และเมื่อฟันขึ้นในปากแล้ว การที่ฟลูออไรด์สัมผัสผิวฟันจะมีกลไกป้องกันโรคฟันผุ ดังนี้

  • ช่วยชะลอการย่อยสลายของแร่ธาตุ และเสริมกระบวนการคืนกลับของแร่ธาตุบนผิวเคลือบฟัน ช่วยยับยั้งการผุของฟัน ซึ่งการยับยั้งด้วยฟลูออไรด์จะทำได้เฉพาะการผุที่เคลือบฟันในระยะแรก ๆ เท่านั้น หากมีการลุกลามจนเกิดเป็นรูผุ ต้องทำการรักษาโดยการอุดฟัน
  • ช่วยเสริมความต้านทานต่อกรดให้แก่เคลือบฟัน โดยเฉพาะหากได้รับด้วยการกินช่วงที่มีการสร้างฟัน จะช่วยให้ฟันผุยากขึ้น
  • จะไปรบกวนกระบวนการทำงานของเชื้อจุลินทรีย์ ขัดขวางการย่อยอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล ลดการเกิดกรด ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดฟันผุได้

การรับฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ วัยไหนได้ผลดีที่สุด?

ฟลูออไรด์มีความจำเป็นกับทุกเพศทุกวัย แต่ในปริมาณที่แตกต่างกัน

วิธี ใช้ ฟ ลู ออ ไร ด์ วานิช
การรับฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ

ถ้าเพื่อป้องกันฟันผุในวัยเด็กเล็กจะได้ผลดีที่สุด เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่สามารถแปรงฟันได้ดี และลักษณะภายในโครงสร้างฟันยังสร้างตัวได้ไม่เต็มที่ จึงมีโอกาสรับธาตุฟลูออไรด์เข้าไปเสริมในโครงสร้างฟันเพิ่มเติมได้ จึงช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับตัวฟันได้มาก

สำหรับผู้สูงอายุฟลูออไรด์ก็มีผลต่อการป้องกันฟันผุได้เช่นกัน แต่อาจจะน้อยกว่าเด็ก เพราะโครงสร้างฟันสร้างตัวเต็มที่แล้ว แต่ถึงอย่างนั้นการรับฟลูออไรด์ในผู้สูงอายุก็ช่วยป้องกันฟันผุที่จะเกิดขึ้นใหม่ได้ โดยเฉพาะการผุบริเวณรากฟัน ที่พบมากในผู้สูงอายุ

ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์

– ยาสีฟัน

ถ้าต้องการมีสุขภาพฟันที่ดี วิธีป้องกันฟันผุที่ง่ายวิธีหนึ่งคือการเลือกใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบ ยกเว้นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี ที่ยังไม่แนะนำให้ใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์ ส่วนเด็กที่อายุ 3-6 ปี ให้เลือกใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์สำหรับเด็ก ซึ่งจะมีปริมาณฟลูออไรด์ต่ำกว่าของผู้ใหญ่ และควรดูแลให้ใช้ในปริมาณแค่เล็กน้อยเท่าเมล็ดถั่ว เพื่อป้องกันการรับฟลูออไรด์มากเกินไปนะคะ

– น้ำยาบ้วนปากฟลูออไรด์

การใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ สามารถป้องกันฟันผุในเด็กที่มีประวัติฟันผุหรือมีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุได้ แต่แนะนำให้ใช้กับเด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป ในกรณีที่ต้องการฟลูออไรด์มากกว่าปกติ ทันตแพทย์อาจจะสั่งจ่าย หรือให้ซื้อน้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์สูงกว่าปกติมาใช้

วิธี ใช้ ฟ ลู ออ ไร ด์ วานิช

ขั้นตอนการ เคลือบฟลูออไรด์

  1. เริ่มจากทำความสะอาดฟันให้สะอาด หากใช้น้ำยาบ้วนปากหรือเจลที่มีฟลูออไรด์ที่บ้าน ให้แปรงฟันให้สะอาดและใช้ไหมขัดฟันก่อน ควรใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปาก หรือเจลฟลูออไรด์ก่อนนอน เพราะเมื่อหลับฟันจะดูดซึมฟลูออไรด์โดยไม่ถูกชะออกไป 
  2. ทันตแพทย์อาจขัดเกลาฟันเล็กน้อยเพื่อกำจัดคราบที่เกาะอยู่บริเวณผิวหน้าฟัน
  3. เลือกใช้ฟลูออไรด์ในการเคลือบฟันให้เหมาะสม โดยทั่วไปแล้วทันตแพทย์จะเลือกใช้อยู่ 3 ประเภท คือ
  • ฟลูออไรด์เจล (fluoride gel) วิธีนี้เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป โดยสามารถป้องกันฟันผุในฟันแท้ได้ประมาณ 28% ในฟันน้ำนม 20% 

วิธีการคือ ทันตแพทย์จะแปรงฟันหรือขัดฟันเด็กให้สะอาด เลือกใช้ถาดฟลูออไรด์ให้เหมาะสมกับจำนวนฟัน แล้วใส่ฟลูออไรด์เจลประมาณ ⅓ ของความสูงของถาด นำถาดมาครอบฟันบนและล่าง แล้วให้เด็กกัดไว้เป็นเวลา 4 นาที ระหว่างนั้นจะดูดน้ำลายออกตลอดเวลา เพื่อป้องกันการกลืนฟลูออไรด์

วิธี ใช้ ฟ ลู ออ ไร ด์ วานิช
fluoride gel

  • ฟลูออไรด์วานิช (fluoride varnish) วิธีนี้เหมาะสำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี และผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุสูง โดยเฉพาะเมื่อมีจุดสีขาว (white spot lesion) ซึ่งเป็นสัญญาณการเริ่มต้นของฟันผุ เมื่อฟลูออไรด์วานิชสัมผัสกับจุดสีขาวบนผิวฟันหลาย ๆ ครั้ง จะทำให้เกิดผลึกแคลเซียมที่บริเวณผิวเคลือบฟัน ช่วยหยุดรอยผุระยะเริ่มต้นไม่ให้ลุกลามต่อไปได้ สามารถป้องกันฟันผุในฟันแท้ได้ 46% และในฟันน้ำนม 33% 

วิธีการคือ  ขัดฟันให้สะอาดและเช็ดฟันให้แห้ง ใช้พู่กันทาฟลูออไรด์วานิชบาง ๆ บนผิวฟัน โดยเน้นที่บริเวณจุดสีขาวบนผิวฟัน ด้านประชิดในซอกฟัน และด้านบดเคี้ยว ที่มีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุสูง หลีกเลี่ยงไม่ให้โดนเหงือกเพื่อลดการระคายเคือง

  • ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ (silver diamine fluoride : SDF) สารละลายที่ใช้ทาบนผิวฟันที่ผุแต่ไม่ทะลุโพรงประสาทฟัน

วิธีการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ หวังผลเพื่อการยับยั้งฟันผุ ทันตแพทย์นิยมใช้เมื่อมีฟันผุหลายตำแหน่ง ทำให้ต้องรอการรักษาอย่างต่อเนื่องในอนาคต รวมถึงคนไข้ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางทันตกรรม เมื่อทา SDF ลงไปจะทำให้ฟันผุหยุดการลุกลาม แต่จะมีลักษณะสีน้ำตาลดำ 

คำถามที่พบบ่อยๆกับการเคลือบฟลูโอไรด์

ฟลูออไรด์ ปลอดภัยหรือไม่

ฟลูออไรด์จะมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเมื่อใช้อย่างถูกต้อง เพราะฟลูออไรด์อาจเกิดอันตรายได้เมื่อใช้ปริมาณสูง หากมีการกลืนฟลูออไรด์ลงไปมาก ในเด็กเล็กอาจมีอาการคลื่นไส้ และอาจทำให้เกิดจุดบนฟันที่กำลังงอกขึ้นได้ กรณีนี้จึงควรปรึกษาทันตแพทย์ซึ่งจะสามารถแนะนำฟลูออไรด์ที่เหมาะสมกับเด็ก ๆ นอกจากนั้นควรตรวจสอบระบบน้ำที่มีการเติมฟลูออไรด์ลงไป เพื่อให้ทราบปริมาณฟลูออไรด์ว่าเหมาะสมหรือไม่ ผู้ปกครองควรตรวจตราการใช้ผลิตภัณฑ์ฟลูออไรด์ที่บ้าน รวมถึงยาสีฟัน และจัดเก็บฟลูออไรด์ชนิดเม็ดให้พ้นมือเด็กเล็ก

เคลือบฟลูออไรด์เสร็จแล้วต้องดูแลฟันยังไง

งดการรับประทานอาหาร ดื่มเครื่องดื่ม หรือสูบบุหรี่หลังการเคลือบฟลูออไรด์อย่างน้อย 30 นาที เพื่อเพิ่มการสัมผัสฟลูออไรด์ที่ฟันให้มากขึ้น มีประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุได้อย่างเต็มที่ รวมถึงต้องทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด

ปริมาณฟลูออไรด์มากเท่าไหร่ถึงจะถือว่าเพียงพอแล้ว?

วิธีที่ได้รับการยอมรับทางวิชาการคือ การตรวจปริมาณฟลูออไรด์ที่ขับออกมาทางปัสสาวะ แล้วนำมาคำนวณหาปริมาณฟลูออไรด์ที่ได้รับต่อวัน โดยวัย และน้ำหนักที่ต่างกัน จะทำให้ร่างกายต้องการปริมาณฟลูออไรด์ที่ต่างกัน ในเด็กองค์การอนามัยโลกกำหนดปริมาณฟลูออไรด์ที่ควรได้รับในแต่ละวันอยู่ที่ 0-1 มิลลิกรัมต่อวัน การจะให้ฟลูออไรด์เสริมปริมาณเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก และความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในแหล่งน้ำดื่ม น้ำปะปา

สำหรับกรุงเทพฯ  ถือว่ามีระดับฟลูออไรด์ในน้ำปะปาต่ำกว่ามาตรฐาน และมีอัตราการเกิดฟันผุในเด็กสูงมาก จึงควรได้รับฟลูออไรด์เสริม ทั้งจากยาสีฟันฟลูออไรด์ หรือดื่มนมฟลูออไรด์ เป็นต้น

เด็กกับประโยชน์ของการดื่มนมฟลูออไรด์

มีการสำรวจพบว่าเด็กที่นมผสมฟลูออไรด์ 100 วันขึ้นไปต่อปี สามารถลดฟันผุได้มากกว่าเด็กที่ไม่ได้ดื่ม แต่ก็ยังให้ผลน้อยกว่าเด็กที่ดื่มนมผสมฟลูออไรด์ตลอดปี และถ้าเด็กได้ดื่มนมร่วมกับการดูแลอนามัยช่องปากที่ดี รวมถึงการแปรงฟันโดยใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์เป็นประจำ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของฟันผุลงอย่างได้ผล

เห็นอย่างนี้เเล้วป้องกันฟันผุง่ายกว่าการรักษามาก คุณหมอจึงอยากให้ทุกคนหมั่นดูเเลความสะอาดในช่องปาก แปรงฟันวันละสองครั้ง ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์เสมอ เเละหมั่นเช็คสุขภาพฟันกับทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อฟันสวยอยู่คู่เราไปนานๆกันค่ะ

ติดต่อคลินิกเพื่อขอคำปรึกษา

ติดต่อเพื่อนัดปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อปรึกษาการจัดฟัน แต่ล่ะประเภท ว่าคุณเหมาะกับการจัดฟันแบบไหน

เนื้อหาบทความนี้ถูกเขียนโดยทีมงาน Care Dental Clinic และเนื้อหาได้ถูกยืนยันโดย