วงปี่พาทย์ในสมัยอยุธยามีรูปแบบแตกต่างจากสมัยสุโขทัยอย่างไร จงอธิบาย

                                                                           วงมโหรีเครื่องสี่
มโหรีเครื่อง ๔ ได้แก่
๑ซอสามสาย   ๒กระจับปี่  ๓คนร้องตีกรับพวง   ๔โทน

                                                                     วงมโหรีเครื่องหก
มโหรีเครื่อง ๖ ได้แก่ ๑ซอสามสาย  ๒กระจับปี่  ๓คนร้องตีกรับพวง  ๔โทน  ๕รำมะนา  ๖ขลุ่ย ภายหลังได้นำเอาจะเข้ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีของมอญเข้ามาประสมแทนกระจับปี่ เพราะเป็นสิ่งที่บรรเลง
ทำนองได้ละเอียดกว่าเสียง ก็ไพเราะกว่า และเป็นสิ่งที่วางราบกับพื้นดีดได้ถนัดกว่ากระจับปี่ ในวงมโหรีเครื่อง ๔ วงมโหรีเครื่อง ๖

ความรุ่งเรืองของ เครื่องดนตรีจำพวกเครื่องสายในสมัยอยุธยาได้มีอยู่แล้วหลายอย่าง สมัยอยุธยาคงจะมีผู้เล่นดนตรีจำพวกซอขลุ่ย เป็นจำนวนมากและอาจจะเล่นกันแพร่หลายจนความสนุกสนานเพลิดเพลิน ทำให้เล่นกันเกินขอบเขต เข้าไปจนใกล้เขตพระราชฐาน จึงมีบทบัญญัติกำหนดโทษ ไว้ในกฎมลเฑียรบาล ในตอนหนึ่งไว้ดังนี้

“อนึ่งในท่อน้ำ ในสระแก้ว ผู้ใดขี่เรือคฤ เรือปทุน เรือกูบ และเรือสาตราวุธ และใส่หมวกคลุมหัวนอนมา ชายหญิงนั่งมาด้วยกัน อนึ่งชเลาะ ตีด่ากัน ร้องเพลงเรือ เป่าปี่ เป่าขลุ่ย สีซอ ดีดจะเข้ กระจับปี่ ตีโทนทับ โห่ร้องนี่นั้น อนึ่งพิริยะหมู่แขก ขอม ลาว พะม่า เมง มอญ มสุม แสง จีน จาม ชวา นานาประเทศทั้งปวงและเข้ามาเดินท้ายสนมก็ดี ทั้งนี้อัยการขุนสนมห้าม ถ้ามิได้ห้ามปรามเกาะกุมเอามาถึงศาลาให้แก่เจ้าน้ำเจ้าท่าแลให้นานา ประเทศไปมาในท้ายสนมได้ โทษเจ้าพนักงานถึงตาย”

เครื่องดนตรีต่างๆที่ได้ระบุมาในกฎมลเฑียรบาลนี้ นอกจากปี่ซึ่งอยู่ในวงปี่พาทย์ และกระจับปี่อยู่ในวงมโหรีแล้ว ก็ล้วนแต่เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในวงเครื่องสายทั้งสิ้น ส่วนซอนั้นจะเป็นซอสามสายอย่าวงมโหรีหรือ ซอด้วง ซออู้อย่างที่เราบรรเลงอยู่ในวงเครื่องสายปัจจุบันก็ไม่ทราบได้ แต่เท่าที่พิจารณาตามสภาพการณ์ซึ่งเล่นกันมากมายแพร่หลายถึงต้องมีข้อบัญญัติห้ามไว้ คงต้องเป็นของที่ค่อนข้างเล่นง่ายและหาง่าย จึงเข้าใจว่าซอที่ระบุใน กฎมลเฑียรบาลนี้น่าจะเป็นซออู้ ซอด้วง ที่บัญญัติไว้ว่า “ ซอ” เฉยๆก็เพื่อให้ครอบคลุมถึงซอสามสายและซออื่นๆที่จะมีผู้คิดสร้างเลี่ยงกฎหมาย ภายหลัง
ถ้าเป็นเช่นนี้ วงเครื่องสายไทยในสมัยอยุธยาก็มีพร้อมบริบูรณ์อยู่แล้ว
คือ มีซอด้วง ซออู้ จะเข้ ขลุ่ย เป็นเครื่องบรรเลงทำนอง โทนหรือทับ และฉิ่ง เป็นเครื่องกำกับจังหวะ

ปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก ยังเป็นปี่พาทย์เครื่องห้าคงเดิม แต่เพิ่มระนาดเอกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งไทยคิดเองหรือได้ตัวอย่างมาจากมอญก็ไม่ทราบ แต่ถึงแม้จะมีระนาดเพิ่มก็ยังเรียกปี่พาทย์เครื่องห้าเช่นเดิม เพราะเห็นว่าฉิ่งเป็นเครื่องดนตรีกำกับจังหวะที่เล็ก จึงไม่นับ
ปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบา
สันนิษฐานว่ามีวิวัฒนาการมาจากวงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนักสมัยสุโขทัยใช้บรรเลงประกอบละครชาตรี การแสดงโนราห์และหนังตะลุงทางใต้ ได้แก่ ปี่ ทับ กลองชาตรี ฆ้องคู่ ฉิ่ง
วงปี่กลอง
นิยมใช้ในงานอวมงคล เช่น แห่พระบรมศพของเชื้อพระวงศ์ เครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่ชวา กลองมลายู ฆ้องเหม่ง
วงปี่พาทย์นางหงส์
เป็นการนำวงปี่พาทย์เครื่องห้ากับวงปี่กลองมารวมกันโดยเปลี่ยนเครื่องดนตรีในวง ๒ชนิด คือใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน ใช้กลองมลายู แทนตะโพนกับกลองทัด ใช้ในงานอวมงคล

ลักษณะเพลงไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาสามารถแยกประเภทเพลงได้ดังนี้
๑ เพลงร้องมโหรี
บรรเลงดวยวงมโหรี ใช้สำหรับขับกล่อม ได้แก่
      เพลงตับ
เช่นเพลงตับเรื่องพระนคร เพลงตับเรื่องนางร้องไห้ เพลงตับเรื่องเกสรมาลา เพลงตับเรื่องยิกิน
      เพลงเกร็ด
เช่น นางตานีร้องไห้ ศรีประเสริฐ ระส่ำระส่าย มดน้อย ล่องเรือละคร
๒เพลงปี่พาทย์
ใช้สำหรับขับร้องและบรรเลง ประกอบ การแสดงโขน ละคร พิธีการต่างๆ เช่น
      เพลงหน้าพาทย์ เช่น สาธุการ ตระ รัว ช้าปี่ โอ้ร่าย ชมตลาด ช้าครวญ
        เพลงเรื่อง เพลงเรื่องทำขวัญ เพลงเรื่องพระนเรศวร
๓เพลงภาษา
เนื่องจากสมัยนี้มีการติดต่อกับต่างประเทศ การแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมต่างๆจึงเกิดขึ้นด้านดนตรีได้มีการประพันธ์บทเพลงโดย เลียนสำเนียงชาติต่างๆ เพื่อบรรเลงประกอบตัวละครตามชาตินั้นๆ เช่น จีนเก็บดอกไม้ จีนหลวง ฯลฯ

ลักษณะวงดนตรีไทยในสมัยอยุธยามีรูปแบบที่แตกต่างกันไปจากสุโขทัยยังไงหรือไม่ อย่างไร

สมัยกรุงศรีอยุธยา มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือนเช่นสมัยกรุงสุโขทัย แต่เพิ่มระนาดเอกเข้าไป นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา รวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย ...

วงดนตรีไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยคือวงดนตรีวงใด *

วงขับไม้เป็นวงดนตรีไทยประเภทหนึ่ง มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยเริ่มแรกมีคนเล่นสามคนดังนี้ คนขับลำนำ ๑ คนไกวบัณเฑาะว์ ๑ คนสีซอสามสาย ๑

สมัยสุโขทัยเรียกวงปี่พาทย์ว่าอะไร

สมัยสุโขทัย 3. วงปี่พาทย์ เป็นลักษณะของวงปี่พาทย์เครื่อง 5 มี 2 ชนิด คือ วงปี่พาทย์เครื่องห้า อย่างเบา ประกอบด้วยเครื่องดนตรีชนิดเล็ก ๆ จำนวน 5 ชิ้น คือ 1. ปี่ 2. กลองชาตรี 3. ทับ (โทน) 4. ฆ้องคู่ และ 5. ฉิ่ง ใช้บรรเลงประกอบการแสดง ละครชาตรี (เป็นละครเก่าแก่ที่สุดของไทย)

วงดนตรีไทยในสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้างและมีลักษณะอย่างไร

การประสมวงดนตรีไทย สมัยสุโขทัย มีการประสมวง 4 แบบ คือ การบรรเลงพิณ วงขับไม วงปพาทยเครื่องหา และ วงเครื่องประโคม สมัยกรุงศรีอยุธยา มีการประสมวง 4 แบบ คือ วงขับไม วงปพาทย วงเครื่องสาย และวง มโหรี สมัยรัตนโกสินทร มีการประสมวง 5 แบบ คือ วงขับไม วงเครื่องกลองแขก วงเครื่องสาย วงปพาทย และวงมโหรี

ลักษณะวงดนตรีไทยในสมัยอยุธยามีรูปแบบที่แตกต่างกันไปจากสุโขทัยยังไงหรือไม่ อย่างไร วงดนตรีไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยคือวงดนตรีวงใด * สมัยสุโขทัยเรียกวงปี่พาทย์ว่าอะไร วงดนตรีไทยในสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้างและมีลักษณะอย่างไร ดนตรีในยุคสมัยสุโขทัย มีลักษณะอย่างไร เพราะเหตุใดจึงมีคํากล่าวว่าสมัยรัชกาลที่ 2 จัดเป็นยุคทองของดนตรี ประวัติดนตรีไทยสมัยสุโขทัย วิวัฒนาการของดนตรีไทยหมายถึงอะไร ยุคสมัยของดนตรีไทย สมัยสุโขทัย ข้อสันนิษฐานทางดนตรีไทยมีอะไรบ้าง ในสมัยกรุงธนบุรี การพัฒนาของดนตรีไทยเป็นอย่างไรบ้าง ยุคสมัยของดนตรีไทย สรุป