นักสิทธิ มนุษย ชน ต่างประเทศ

13 องค์กรภาคประชาสังคมระหว่างประเทศออกแถลงการร่วม เรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการ 4 ข้อ  ให้เคารพ คุ้มครอง และสนับสนุนการใช้สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ ให้ดำเนินการเพื่อประกันว่าหากมีการละเมิดสิทธิจากรัฐบาลในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมจะต้องเอาผิดได้ และประกันว่าผู้ถูกละเมิดสิทธิจะเข้าถึงการเยียวยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังเกิดการชุมนุม 17 และ 25 พฤศจิกายน 2563

องค์กรภาคประชาสังคมนานาชาติ 13 องค์กร ได้แก่
-แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International)
-Article 19
-กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (ASEAN Parliamentarians for Human Rights: APHR)
-เครือข่ายประชาธิปไตยเอเชีย (Asia Democracy Network)
-สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเซีย (Asian Forum for Human Rights and Development : FORUM-ASIA)
-เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี (Asian Network for Free Elections -ANFREL)
-สหพันธ์โลกเพื่อการมีส่วนร่วมของพลเมือง (CIVICUS: World Alliance for Citizen Participation)
-องค์กรปกป้องสิทธิพลเมือง (Civil Rights Defenders)
-สหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล ( FIDH – International Federation for Human Rights)
-ฟอร์ติฟายไรท์ (Fortify Rights)
-ฮิวแมนไรท์วอช (Human Rights Watch)
-คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists – ICJ)
-มูลนิธิมานุษยะ (Manushya Foundation)

ร่วมกันออกแถลงการณ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลังของตำรวจไทยที่ “ขาดหลักความจำเป็นและเกินกว่าเหตุต่อผู้ชุมนุมโดยสงบ” จากเหตุการณ์การชุมนุมหน้ารัฐสภาวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 เรียกร้องต่อรัฐบาลไทยทั้งหมด 4 ข้อ ได้แก่

1. อนุญาตให้คณะราษฎรเดินขบวนในวันที่ 25 พฤศจิกายน และอนุญาตให้ผู้ชุมนุมที่ไม่ใช้ความรุนแรง รวมถึงผู้ชุมนุมที่เป็นเด็ก สามารถชุมนุมโดยสงบที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสำนักงานใหญ่

2. คุ้มครองสิทธิของผู้ชุมนุมโดยสงบ รวมถึงผู้ชุมนุมที่เป็นเด็ก โดยสอดคล้องตามความเห็นทั่วไปที่ 37 ว่าด้วยสิทธิในการชุมนุมโดยสงบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 

3. สนับสนุนการใช้สิทธิการชุมนุมโดยสงบ และหลีกเลี่ยงจากการสลายการชุมนุมโดยใช้อาวุธ รวมทั้งการใช้อาวุธที่มีความร้ายแรงต่ำต่อผู้ชุมนุม โดยต้องปฏิบัติให้สอดคล้องตามหลักการพื้นฐานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย และแนวปฏิบัติว่าด้วยการใช้อาวุธที่มีความร้ายแรงต่ำทั้งขององค์การสหประชาชาติและอื่น ๆ  

4. คุ้มครองผู้ชุมนุม รวมถึงผู้ชุมนุมที่เป็นเด็ก จากความรุนแรงและการแทรกแซงของบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ พร้อมกับคุ้มครองสิทธิของผู้ชุมนุมต่อต้าน ดำเนินการเพื่อประกันให้มีความรับผิดเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิ จากการทำหน้าที่ของรัฐบาลในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม และประกันว่าผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิสามารถเข้าถึงสิทธิในการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพได้ ตามที่ได้รับการประกันไว้ในมาตรา 2(3) ของ ICCPR

ประเทศไทยได้ทำการภาคยานุวัติกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ในปี พ.ศ. 2539 และอยู่ภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ที่ระบุว่ารัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก (มาตรา 19) และการชุมนุมโดยสงบ (มาตรา 21)

“แต่ทางการไทยมักปิดกั้นการแสดงออกและจำกัดการชุมนุม ประชุม หรือเสวนาสาธารณะเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน การปฏิรูปทางการเมือง และบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคม” แถลงการณ์ระบุ

นอกจากนี้ยังชี้ว่า รัฐต้อง “สันนิษฐานไว้ก่อนว่าการชุมนุมเป็นไปโดยสงบ การใช้ความรุนแรงของบุคคลเพียงบางส่วนไม่อาจถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เข้าร่วมชุมนุมคนอื่น ของผู้จัด หรือของการชุมนุมดังกล่าวได้ และแม้ว่าสิทธิในการชุมนุมโดยสงบอาจถูกจำกัดได้ในบางกรณี แต่รัฐมีหน้าที่ในการให้เหตุผลสนับสนุนการจำกัดสิทธิเช่นว่า ซึ่งจำเป็นต้องสอดคล้องกับหลักว่าด้วยความชอบด้วยกฎหมาย หลักความชอบธรรม หลักความจำเป็น และหลักความได้สัดส่วน” ตามวามเห็นทั่วไปที่ 37 ซึ่งระบุเนื้อหาเกี่ยวกับพันธกรณีของประเทศไทยในการประกันสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ

แถลงการณ์ยังระบุถึงกรณีมีเด็กร่วมชุมนุมด้วย ว่ารัฐ “มีหน้าที่เชิงบวกในการปกป้องสิทธิเด็กและจะต้องดำเนินการโดยตระหนักว่าอาจมีเด็กอยู่ในพื้นที่ชุมนุมและปกป้องพวกเขาจากอันตรายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย รวมถึงอันตรายที่เกิดจากผู้เข้าร่วมการชุมนุมคนอื่น ๆ” ตามที่คณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติซึ่งได้เน้นย้ำความเห็นต่อร่างความเห็นทั่วไปฉบับที่ 37

                       ๖. อนึ่ง คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา จะมีหนังสือถึงข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในโอกาสแรกเพื่อแจ้งพัฒนาการล่าสุด รวมทั้งยืนยันนโยบายของรัฐบาลในการให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน และมาตรการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนของไทย ตลอดจนการดำเนินการของไทยซึ่งนายกรัฐมนตรีจะได้ประกาศให้สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติในเดือนธันวาคมศกนี้

          ๔. ข้อพิพาททางกฎหมายจะต้องดำเนินไปตามกระบวนการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อหาภายใต้พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๘ และประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีผลบังคับใช้ต่อชายและหญิงอย่างเท่าเทียมกัน โดยผู้ถูกกล่าวหามีช่องทางตามกระบวนการยุติธรรมในการพิสูจน์ความบริสุทธ์ และมีสิทธิในการอุทธรณ์ต่อศาลตามลำดับชั้นจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ทั้งนี้ รัฐบาลให้ความเคารพสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงสิทธิของชุมชน สิทธิในการดำรงชีวิตที่ดี และสิทธิในที่ดินทำกิน รัฐบาลประกันว่ากฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทต่าง ๆ จะถูกบังคับใช้และดำเนินการอย่างยุติธรรมและโปร่งใส