ระบบ ไฮ ด รอ ลิ ก ส์ ใน งานอุตสาหกรรม

อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมีอะไรบ้าง ไฮดรอลิคคือ ระบบที่มีการส่งถ่ายพลังงานของของไหลที่เป็นตัวขับเคลื่อนในการทำงานในรูปของอัตราการไหลและความดันเปลี่ยนเป็นพลังงานกล โดยผ่านตัวกระทำ เช่น กระบอกสูบไฮดรอลิค มอเตอร์ไฮดรอลิค ในอุตสาหกรรมและงานก่อสร้างต่างๆ นิยมใช้ น้ำมันไฮดรอลิค (Hydraulic Oil) เป็นตัวกลางในการส่งถ่ายพลังงาน เพราะว่าน้ำมันไฮดรอลิคมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ไม่สามารถยุบตัวได้ ซึ่งทำให้การส่งถ่ายพลังงานมีประสิทธิภาพ

ระบบ ไฮ ด รอ ลิ ก ส์ ใน งานอุตสาหกรรม

โดยระบบไฮดรอลิคเบื้องต้น มีส่วนสำคัญหลักๆ 3 ส่วนด้วยกัน ดังนี้

1. แหล่งตัวจ่ายพลังงาน

แหล่งจ่ายพลังงานจะทำหน้าที่ส่งถ่ายพลังงานน้ำมันเข้าสู่ระบบโดยมีมอเตอร์ไฟฟ้า หรือเครื่องยนต์เป็นตัวขับปั๊มไฮดรอลิคให้หมุน เพื่อดูดน้ำมันจากถังพักเข้ามาในตัวเสื้อของปั๊ม จากนั้นส่งออกไปสู่ระบบไฮดรอลิค อย่าง ปั๊มไฮดรอลิค มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องยนต์ขับ

2. ระบบควบคุมการทำงาน

เป็นระบบที่ใช้ควบคุมการทำงานของกระบอกไฮดรอลิค หรือมอเตอร์ไฮดรอลิคที่ควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค ส่งผลให้กระบอกสูบไฮดรอลิคเคลื่อนที่ เข้า-ออก ได้ อย่างเช่น โซลินอยด์วาล์ว และยังควบคุมความดันของน้ำมัน ไฮดรอลิคในระบบเพื่อจำกัดความดันให้เป็นไปตามต้องการในการใช้งานต่างๆ

3. อุปกรณ์ทำงาน

ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงพลังงานจากพลังงานไฮดรอลิคเป็นพลังงานกล เพื่อกระทำต่อภาวะโหลด ส่วนใหญ่อุปกรณ์ทำงานจะมีสองประเภทใหญ่ๆ คือ กระบอกสูบไฮดรอลิค จะส่งถ่ายพลังงานในแนวเชิงเส้น และ มอเตอร์ไฮดรอลิค จะส่งถ่ายพลังงานในแนวรัศมี

ระบบ ไฮ ด รอ ลิ ก ส์ ใน งานอุตสาหกรรม

อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมีอะไรบ้าง

  • ปั๊มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump) = ปั๊มไฮดรอลิค ทําหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคภายใต้ความดัน โดยทั่วไปต้นกําลังที่่ขับปั๊มไฮดรอลิคจะมาจากมอเตอร์ไฟฟ้า
  • ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค (Oil Reservoir) = ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค ทําหน้าที่เก็บน้ำมันไฮดรอลิครวมถึงเป็นที่พักของน้ำมันไฮดรอลิคที่ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ และไหลกลับมายังถังพักน้ำมันไฮดรอลิค เพื่อใช้งานการหมุนเวียน
  • อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันไฮดรอลิค (Filter and Oil Cooler) = อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมัน ได้แก่ ชุดกรองน้ำมันไฮดรอลิค มีหน้าที่กรองสิ่งสกปรกของน้ำมันไฮดรอลิคไม่ให้เข้าไปยังอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงชุดระบายความร้อนของน้ำมันไฮดรอลิค
  • วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve) =  วาล์วควบคุมความดันในระบบไฮดรอลิค มีหน้าที่ควบคุมความดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย กําหนดระดับความดันในการใช้งาน จัดเรียงลำดับความดันในการใช้งาน และเพื่อลดโหลดหรือภาระของปั๊ม
  • วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve) = วาล์วควบคุมทิศทาง ทําหน้าที่ในการควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคให้หยุดหรือไปตามทิศทางที่ต้องการ เพื่อให้วงจรหรืออุปกรณ์ทํางานต่างๆ สามารถเคลื่อนที่ในทิศทางที่ถูกต้องตามต้องการ
  • วาล์วควบคุมการไหล (Flow Control Valve) = วาล์วควบคุมการไหล ทําหน้าที่ในการควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันที่จะจ่ายให้กับอุปกรณ์ทํางานต่างๆ เพื่อที่จะควบคุมความเร็วได้ตามความต้องการ
  • อุปกรณ์ทำงาน (Actuator) = อุปกรณ์ทํางานในระบบไฮดรอลิค ทําหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานของของไหลหรือน้ำมันไฮดรอลิคให้เป็นพลังงานกล ซึ่งอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่
  • ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค (Tube Fitting and Hose) = ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค ทําหน้าที่เป็นเส้นทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคในระบบ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

คุณอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิก (Hydraulics) มาบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่เข้าในการทำงานของระบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของอุปกรณ์พื้นฐาน ไปจนการทำงานของระบบ ซึ่งในบทความนี้ Bernuly Supply ขออาสาพาคุณมาทำความรู้จักว่า ระบบไฮดรอลิกคืออะไร มีหน้าที่อะไร ทำงานอย่างไร มีอุปกรณ์อะไรบ้าง ไปจนถึงข้อดีของระบบไฮดรอลิก แบบเข้าใจง่ายๆ พร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย!

 

ระบบไฮดรอลิกคืออะไร?

 

ระบบไฮดรอลิก หรือ Hydraulic System คือ การไหลของ “ของเหลว” ทุกชนิดที่ใช้ในระบบ ไม่ว่าจะเป็น น้ำ หรือ น้ำมัน เพื่อเป็นตัวกลางการถ่ายทอดกำลังในการเปลื่ยนแปลงกำลังงานของไหลให้เป็นพลังงานกล ส่งผลให้กระบอกสูบไฮดรอลิก (Actuator or Hydraulic Cylinder) และ มอเตอร์ ไฮดรอลิก (Hydraulic Motor) ทำงาน

หากยังไม่เข้าใจ ลองมาดูตัวอย่างการทำงานของระบบไฮดรอลิกจากภาพด้านล่างกันดีกว่า จะเห็นได้ว่าหากเราต้องการให้ลูกสูบเคลื่อนที่ออกไปเพื่อดัน Load เราจะต้องใช้ของเหลวสีแดง ซึ่งในที่นี้คือน้ำมันไฮดรอลิก โดยใช้ปั๊มสูบน้ำมันไฮดรอลิกเข้ามาในระบบ ซึ่งเป็นกำลังงานไหล ดันลูกสูบให้เคลื่อนที่ออกไป กลายเป็นพลังงานกล ส่งผลให้ Load เกิดการขยับตัวและเคลื่อนที่ไปข้างขวา

 

 

ระบบ ไฮ ด รอ ลิ ก ส์ ใน งานอุตสาหกรรม

การทำงานของ ระบบไฮดรอลิก (Hydraulic System)

 

 

อุปกรณ์ที่สำคัญในระบบไฮดรอลิก (Hydraulics)

 

ถึงตรงนี้น่าจะพอเข้าใจภาพรวมของระบบไฮดรอลิกกันบ้างแล้ว ซึ่งเราจะพามาเจาะลึกเกี่ยวกับระบบการทำงานและอุปกรณ์ในแต่ละส่วนกันอีกสักนิด โดยระบบการทำงานที่สำคัญของไฮดรอลิกประกอบไปด้วย 3 ส่วน ดังนี้

 

1. แหล่งจ่ายหลังงาน 

 

แน่นอนว่าถ้าขาดแหล่งพลังงานระบบนี้ก็จะไม่สามารถทำงานได้ โดยเราได้ทราบแล้วสิ่งที่สำคัญมากในระบบ​​ไฮดรอลิกก็คือของเหลว ดังนั้น แหล่งจ่ายพลังงานในระบบไฮดรอลิกมีหน้าที่ส่งของเหลวให้เข้าสู่ระบบ โดยมีมอเตอร์ไฟฟ้า หรือเครื่องยนต์ช่วยให้ตัวปั๊มของไฮดรอลิกหมุน แล้วดูดเอาน้ำมันจากถังพักเข้ามา จากนั้นก็ส่งไปที่ระบบไฮดรอลิก  ซึ่งอุปกรณ์ที่ต้องใช้ประกอบไปด้วย 

  • อุปกรณ์ต้นกำลังไฮดรอลิค (Primary Component) ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องยนต์
  • อุปกรณ์เก็บและปรับปรุงคุณภาพน้ำมันไฮดรอลิค (Storage and Treatment Component) เช่น ถังน้ำมัน ไส้กรองขาดูดและกรองขากลับ
  • อุปกรณ์สร้างการไหล (Transferring Component) ได้แก่ ปั๊มไฮดรอลิกชนิดต่างๆ เช่น ปั๊มเฟือง (Gear Pump) ปั๊มแบบใบพัด (Vane Pump) และปั๊มแบบลูกสูบ (Piston Pump) โดยปั๊มไฮดรอลิกจะเปลี่ยนพลังงานจากที่อยู่ในลักษณะหมุน ให้กลายเป็นการขับเคลื่อนแบบมอเตอร์ไฟฟ้าทันที และเมื่อมีการทำงานของเครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ ตัวปั๊มก็จะทำงานประสานกันไป

2. ระบบควบคุมการทำงาน 

 

สิ่งที่สำคัญในระบบควบคุมการทำงานคือ “มอเตอร์ไฮดรอลิก” โดยจะให้พลังงานในรูปแบบการหมุน ควบคุมทิศทางการไหลของของเหลว อย่างเช่นน้ำมันไฮดรอลิก ทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่เข้าและออกได้ รวมถึงควบคุมความดันของระบบ ควบคุมการไหลของน้ำมันไฮดรอลิก ซึ่งจะถูกนำไปใช้งานกับเครื่องจักรต่างๆ เช่น รอก เฟือง สายพาน ซึ่งอุปกรณ์ที่ต้องใช้ประกอบไปด้วย

 

 

 

  • อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน (Controlling Component) เช่น โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) รีลิฟท์วาวล์ว (Relief Valve) โฟลคอนโทรล (Flow Control Valve)
  • อุปกรณ์การทำงาน (Actuator or Working Component ) เช่น มอเตอร์ไฮดรอลิก (Hydraulic Motor) และ กระบอกไฮดรอลิก (Hydraulic Cylinder) ซึ่งเจ้ากระบอกสูบจะสามารถแบ่งได้ตามทิศทางของแรงที่ไปกระทำต่อลูกสูบอย่าง Double Acting Cylinder และ Acting Cylinder

 

 

3. ระบบท่อ

 

 

 

ระบบนี้ขาดไม่ได้เลยจริงๆ เพราะถือเป็นระบบที่จะลำเลียงของเหลวไปยังกระบวนการต่างๆ เช่น ท่อเดินน้ำมัน ข้อต่อชนิดต่างๆ และสายไฮดรอลิก

 

 

 

ข้อดีและข้อควรระวังของการใช้งานระบบไฮดรอลิกคืออะไร 

 

 

 

  • ง่ายต่อการควบคุมกลไกต่างๆ ที่ต้องมีจุดหมุนจุดต่อ หรือ มีการใช้ข้อต่อใช้โซ่เยอะ
  • การปรับเปลื่ยนความเร็วของลูกสูบหรือมอเตอร์ไฮดรอลิกกระทำได้ง่าย
  • แรงทวีคูณ
  • แรงคงที่
  • ตั้งขนาดของแรงที่ต้องการใช้งานได้
  • ง่ายต่อการควบคุมการโหลด ช่วยป้องกันความเสียหายและอุบัติเหตุที่ที่มาจากอุปกรณ์ไฮดรอลิก 
  • ควบคุมการทำงานได้เที่ยงตรง แม่นยำ และถูกต้อง
  • กระทัดรัด
  • ปลอดภัย สามารถจุดรั่วไหลได้ง่าย
  • เป็นระบบที่สามารถรักษาค่า​ Torque หรือแรงได้คงที่

อย่างไรก็ตาม การใช้งานระบบไฮดรอลิกก็ยังมีข้อที่ต้องระวัง เนื่องจากระบบการทำงานใช้ของเหลวเป็นส่วนใหญ่ การปนเปื้อนในของเหลวอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของทั้งระบบ ดังนั้นต้องกรองและตรวจสอบการปนเปื้อนให้ดี  รวมถึงหากเลือกของเหลวมาใช้งานผิด ก็การสร้างความเสียหายให้กับระบบได้เช่นกัน และสิ่งสุดท้ายคือเรื่องการรั่วไหล เพราะของเหลวเหล่านี้อาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงความปลอดภัยในกระบวนการ ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบและ Maintenance อย่างสม่ำเสมอ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิก รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีคุณภาพ นำเข้าจากต่างประเทศ​ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ Yuken จากไต้หวัน Marzocchi Pompe จากอิตาลี และอีกมากมาย ติดต่อสอบถามผู้เชี่ยวชานที่ Bernuly Supply ได้เลย เราพร้อมช่วยเหลือและให้ข้อมูล

ระบบไฮดรอลิกมีใช้งานอะไรบ้าง

อุปกรณ์ที่สำคัญในระบบไฮดรอลิก (Hydraulics).
อุปกรณ์ต้นกำลังไฮดรอลิค (Primary Component) ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องยนต์.
อุปกรณ์เก็บและปรับปรุงคุณภาพน้ำมันไฮดรอลิค (Storage and Treatment Component) เช่น ถังน้ำมัน ไส้กรองขาดูดและกรองขากลับ.

ระบบควบคุมไฮดรอลิกมีหน้าที่อะไร

เป็นระบบที่ใช้ควบคุมการทำงานของกระบอกไฮดรอลิค หรือ มอเตอร์ไฮดรอลิคที่ควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค ทำให้กระบอกเคลื่อนที่ เข้า-ออก ได้ เช่น โซลินอยด์วาล์ว และยังควบคุมความดันของน้ำมัน ไฮดรอลิคในระบบ เพื่อจำกัดความดันให้เป็นไปตามต้องการในการใช้งานต่าง ๆ อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมความดัน ได้แก่วาล์วปลดความดัน หรือเรียกอีก ...

ระบบไฮดรอลิกส์มีกี่ประเภท

ปั๊มไฮดรอลิกที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะมีทั้งชนิดปริมาตรคงที่และ ชนิดปริมาตรเปลี่ยนแปลงโดยทั่วๆไปแล้วปั๊มไฮดรอลิกนิยม แบ่งตามลักษณะโครงสร้างของปั๊ม ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3แบบ คือ ปั๊มแบบเฟืองเกียร์ (Gear pump) ,ปั๊มแบบใบพัด (Vane pump) และ ปั๊มแบบลูกสูบ (Piston pump)

ระบบไฮดรอลิกส์ในเครื่องจักรกลมีข้อดีอย่างไร

ข้อดี ของระบบไฮดรอลิค ระบบมีความคงตัวไม่ไวต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ระบบไฮดรอลิคมีความแม่นยำสูงกว่าระบบนิวเมติกส์ เนื่องจากน้ำมันมีการยุบตัวที่น้อย อุปกรณ์ในระบบไฮดรอลิค มีอายุการใช้งานสูง