จ่าย หนี้ ไม่ ไหว ทํา ไง ดี

เป็นหนี้บัตรเครดิตต้องหมุนเงินจ่ายขั้นต่ำทุกเดือนก็เหนื่อยแล้ว แต่ดันรูดเพลินเป็นหนี้พร้อมกันสาม สี่ใบ โอ๊ย! เครียดจนไม่รู้จะเอาอะไรไปก่ายหน้าผากดี เงินเดือนเพิ่งปริ่มๆ สามหมื่น ลำพังค่าใช้จ่ายประจำแต่ละเดือนก็แทบไม่ชนเดือนอยู่แล้ว ดันมีหนี้บัตรเครดิตพร้อมกันหลายใบอีก ใครเป็นเหมือนเราบ้างขอเสียงหน่อย?


มีบัตรเครดิตน่ะดีสะดวกสบายไม่ต้องพกเงินสด แถมได้ส่วนลดร้านค้า ร้านอาหารอีกเยอะแยะ สะสมแต้มได้อีก ฉุกเฉินอะไรขึ้นมายังมีทางออก เราก็เป็นคนนึงที่รีบทำบัตรเครดิตตั้งแต่เงินเดือนถึงเกณฑ์ แรกๆ ก็ยังมีวินัยดี รูดแล้วจ่ายขั้นต่ำบ้าง มีเงินพอก็จ่ายหมดบ้าง ไม่เคยถึงขั้นรูดจนบัตรเต็ม แต่พอเปลี่ยนที่ทำงานเพื่อนกลุ่มใหม่ขยันช้อป แต่งตัวกันเก่ง แถมยังชอบกินอาหารที่ร้านดีๆ  ตัวเราเองก็ชอบนะแหละ ชอบแต่งตัว ชอบช้อปปิ้ง พอมีเพื่อนคอเดียวกัน มันเลยไปไกล ไกลเกินกว่ากำลังทรัพย์ในกระเป๋าของตัวเอง...

จ่าย หนี้ ไม่ ไหว ทํา ไง ดี


เที่ยงวันหนึ่งระหว่างกลุ่มสาวสวยของเรานั่งทานข้าวกลางวันกันอยู่ เพื่อนสาวนักล่าดีลก็พูดกับเราว่า “นี่ๆ เดี๋ยวส่งลิงค์ให้กระเป๋าใบที่เธอชอบมันลดอยู่นะ ลดตั้ง 50%”  เรารีบถาม “จริงอ้ะ 50% เลยเหรอ อยากได้จัง แต่ว่าลดครึ่งนึงมันก็ยังสี่หมื่นนะ ราคาเต็มมันแรงอยู่ ไม่ไหวมั้ง” เพื่อนสาวยุต่อ “โหน่าเสียดายนะ ยี่ห้อนี้ไม่ค่อยลดด้วย เห็นเขาบอกเหลือไม่กี่ใบแล้ว ถือแล้วดูแพงเลย ผู้หญิงยังไงก็ต้องมีกระเป๋าดีๆ ไว้ซักใบนะ” ใจเราอยากได้มาก แต่เงินไม่มี  เหมือนเพื่อนรู้ทัน รีบพูดต่อ “เงินไม่มีก็รูดสิ แล้วค่อยๆ ผ่อนๆ เอา คิดไรมาก”  นี่เป็นแค่เหตุการณ์หนึ่ง แล้วมันก็มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นเรื่อยๆ เงินไม่มีก็รูดเอา แล้วก็ผ่อนขั้นต่ำ “ก็ของมันต้องมี” ซื้อไว้ก่อนแล้วค่อยหาทางผ่อนทีหลัง มันกลายเป็นเบื้องหลังความสวยและความอินเทรนด์ของเรา


พอบัตรใบหนึ่งเต็มก็เริ่มอึดอัด เพราะเงินเดือนไม่มากวงเงินบัตรมันก็น้อยตาม เพื่อนยังหวังดีต่ออีกว่า ก็ทำบัตรกับแบงค์อื่นเพิ่มอีกสิ เครดิตยังดีทำไปหลายๆ ที่เลย เอาไว้หมุน กดเงินออกมาก็ได้ เอาไปจ่ายอีกใบ หมุนไปเรื่อยๆ แค่นี้ก็มีเงินซื้อของ ฉันฟังแล้วก็เห็นดีตาม ดีจะตายเอาบัตรโน้นมาโปะบัตรนี้ ด้วยความย่ามใจว่าตัวเองจัดการได้แน่นอน มันจึงเป็นประตูเปิดไปสู่ความหายนะทางการเงิน ทั้งซื้อเสื้อผ้า เครื่องไฟฟ้า แกตเจ็ต ค่าเที่ยว ค่ากิน จ่ายไป สุดท้ายเต็มทุกใบ แค่จ่ายขั้นต่ำทุกใบเงินก็เริ่มไม่พอแล้ว

จ่าย หนี้ ไม่ ไหว ทํา ไง ดี

ตอนนั้นเครียดมาก เงินไม่พอจ่าย เริ่มผิดนัดชำระ ไม่อยากรับโทรศัพท์เพราะกลัวโดนทวงหนี้ เพื่อนชวนไปกินข้าวก็ไม่ไปเหมือนก่อน เพราะเงินไม่มี ห่อข้าวจากบ้านมากิน เลิกงานใครชวนไปไหนก็ไม่ไป จนสองเดือนผ่านไป เที่ยงวันหนึ่งรุ่นพี่ที่ทำงานคนหนึ่งเดินเข้ามาแตะไหล่ ตอนที่เรานั่งกินข้าวเงียบๆ อยู่ที่โต๊ะ “เป็นอะไรรึเปล่า พี่สังเกตมาพักนึงแล้ว ดูเราเงียบๆ เครียดๆ ไม่ออกไปกินข้าวกับเพื่อนๆ เหมือนก่อน มีอะไรที่พี่ช่วยได้บอกนะ อย่าเก็บไว้คนเดียว” คำพูดนั้นเหมือนเข็มที่เข้ามาสะกิดลูกโป่งที่พองจนใกล้จะแตก สะกิดเบาๆ มันก็ระเบิดออกมา เราอึดอัดมานานแล้วไม่กล้าบอกเพื่อนในกลุ่ม ไม่กล้าบอกที่บ้าน เราเลยระบายกับพี่เขาทุกอย่าง


รุ่นพี่ตอบกลับมาว่า “พี่เข้าใจดีเลยละ สมัยพี่วัยรุ่นเหมือนเธอ พี่ก็เคยเป็น อย่าเครียดมากไป มันยังมีทางแก้ไข ผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ แต่เราต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินของเราใหม่ด้วย” พี่เขาแนะนำให้เราโทรไปคุยกับแต่ละแบงค์เพื่อขอประนอมหนี้ก่อน หลังจากนั้นหาข้อมูลว่ามีสถาบันการเงินไหนมีโปรโมชั่นสินเชื่อส่วนบุคคลที่ให้วงเงินที่สามารถโปะหนี้ได้ทั้งหมด ในอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขการผ่อนชำระที่เราไหว เพื่อรวมหนี้ให้เป็นก้อนเดียว จะได้ช่วยลดภาระดอกเบี้ยลงหรืออย่างน้อยก็ทำให้ยอดที่ต้องผ่อนชำระแต่ละเดือนลดลงจะได้จ่ายไหว แล้วก็ยังง่ายในการบริหารจัดการเพราะเหลือหนี้แค่ยอดเดียว 

จ่าย หนี้ ไม่ ไหว ทํา ไง ดี

เราเลยยิ้มออกได้ในรอบหลายเดือน รุ่นพี่แนะนำต่อว่าลองติดต่อ SCB ดูสิ เรารับเงินเดือนผ่าน SCB อยู่แล้ว และพี่เคยเห็นโฆษณาใน SCB แว้บๆ เรื่องการขอสินเชื่อบุคคล คืนนั้นกลับบ้านแล้วเรารีบเข้าไปดูรายละเอียดในเว็บไซต์ พบว่าโปรโมชั่นและเงื่อนไขทั้งหมดแก้ปัญหาของเราได้เลย แล้วก็กลับมาคลิกสมัครที่แอป SCB EASY เพราะสะดวกดี   

บางทางเลือกอาจดูคุ้มค่า เช่น โดยรวม ๆ แล้วเราจะเสียดอกเบี้ยน้อยกว่า แต่ค่างวดในแต่ละเดือนอาจทำให้เราเหลือเงินไม่พอใช้จนต้องกู้เงินมาใช้จ่ายอีก

     

     เมื่อรายรับที่ได้ไม่พอจ่ายหนี้ หลายคนอาจใช้วิธี “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย” แต่ใครจะรู้...ถึงแม้จะเป็นหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน (เช่น หนี้บัตรเครดิต) การ “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย” ก็อาจจะทำให้เจ้าหนี้ฟ้องยึดบ้าน หรือยึดทรัพย์สินอื่น ๆ ของเรา รวมถึงเสียประวัติเครดิตไม่มีใครปล่อยกู้ และเสียหายถึงหน้าที่การงานของเราได้


     การขอปรับโครงสร้างหนี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เราไม่ผิดนัดชำระ และรักษาทรัพย์สินของเราไว้ได้ แต่เราต้องรู้ก่อนว่าการปรับโครงสร้างหนี้แต่ละแบบคืออะไร เหมาะกับสถานการณ์แบบไหน และผลที่ตามมาเป็นยังไง แล้วค่อยตัดสินใจว่าจะปรับหรือไม่ หรือเลือกแบบไหน


        การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อให้เรายังสามารถจ่ายหนี้ได้โดยไม่ผิดนัดชำระ ซึ่งการผิดนัดชำระหนี้อาจทำให้ลูกหนี้ถูกคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระและมีประวัติค้างจ่ายในข้อมูลเครดิตบูโร เช่น ลดค่างวดโดยการขยายเวลาจ่ายหนี้ หรือเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อลดภาระดอกเบี้ย ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างหนี้แต่ละวิธีมีผลแตกต่างกันต่อประวัติในเครดิตบูโร จึงขอให้สอบถามสถาบันการเงินในประเด็นนี้ด้วยก่อนตัดสินใจ

จ่าย หนี้ ไม่ ไหว ทํา ไง ดี

จ่าย หนี้ ไม่ ไหว ทํา ไง ดี

จ่าย หนี้ ไม่ ไหว ทํา ไง ดี

จ่าย หนี้ ไม่ ไหว ทํา ไง ดี

จ่าย หนี้ ไม่ ไหว ทํา ไง ดี

       การปรับโครงสร้างหนี้แต่ละแบบเหมาะกับสถานการณ์ทางการเงินที่แตกต่างกัน  ถ้าอยากรู้ว่าเราเหมาะกับการปรับโครงสร้างหนี้แบบไหน ต้องถามตัวเองก่อนว่า...เรายังจ่ายหนี้ไหวแค่ไหนโดยมี 2 เรื่องที่ต้องคำนึงถึง คือ จำนวนเงินและระยะเวลา


  1. 1. ยังจ่ายไหวแต่อยากลดภาระดอกเบี้ย ถ้ารายรับของเราไม่เปลี่ยนแปลงหรือลดลงเล็กน้อย แบบที่ยังจ่ายหนี้ไหวแต่อยากประหยัดรายจ่ายที่เป็นดอกเบี้ยลงบ้างเพื่อไปใช้จ่ายเรื่องที่จำเป็น เราอาจขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้
    1.      1.1) เปลี่ยนประเภทหนี้ จากหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเป็นหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง เช่น หนี้บัตรเครดิตที่ชำระไม่เต็มจำนวนและตรงเวลาจะถูกคิดดอกเบี้ย 16% ต่อปี ก็เปลี่ยนเป็นสินเชื่อแบบมีกำหนดระยะเวลาชำระ (term loan) ที่มีกำหนดเวลาจ่ายคืนที่ชัดเจนขึ้น และอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ 12% (ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ปี 2563 - 2564) แบบนี้ก็จะทำให้ภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายลดลงไปบ้าง
    2.      ข้อควรคิด การเปลี่ยนประเภทหนี้แบบนี้ เราต้องมั่นใจว่าเราสามารถจ่ายค่างวดคืนตามที่กำหนดได้ เช่น จากเดิมที่เราจ่ายบัตรเครดิตแค่ขั้นต่ำ (5 – 10%) การเปลี่ยนเป็นสินเชื่อแบบ term loan อาจทำให้เราต้องจ่ายหนี้แต่ละงวดมากกว่าหรือน้อยกว่าขั้นต่ำที่เราเคยจ่าย ขึ้นอยู่กับยอดหนี้ที่เราค้างจ่ายและระยะเวลาของสินเชื่อแบบ term loan
  •      1.2) รีไฟแนนซ์ (refinance) เป็นการเปลี่ยนเจ้าหนี้ ก็คือปิดหนี้จากเจ้าหนี้รายเดิมแล้วย้ายไปขอกู้กับเจ้าหนี้รายใหม่ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่า ส่วนใหญ่มักจะรีไฟแนนซ์กับหนี้บ้าน แต่จริง ๆ แล้ว เราสามารถรีไฟแนนซ์กับหนี้อื่นได้ด้วย เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด 
  •      ข้อควรคิด การรีไฟแนนซ์อาจฟังแล้วดูดี แต่เราต้องคิดถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเจ้าหนี้ด้วย เช่น ค่าจดจำนองหลักประกัน ค่าใช้จ่ายในการประเมินมูลค่าหลักประกัน ค่าทำประกันใหม่ ค่าปรับให้แก่เจ้าหนี้รายเดิมที่เราจ่ายคืนหนี้ทั้งจำนวนก่อนครบกำหนดเวลาที่ระบุในสัญญา ซึ่งต้องคำนวณให้ดีว่าคุ้มกับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงไหม

    1. 2. จ่ายไหวแค่บางส่วน ถ้ารายรับเราลดลงจนส่งผลให้จ่ายหนี้ได้ไม่เต็มจำนวนที่ถูกเรียกเก็บหรือจ่ายไม่ได้ตามสัญญา หรือเกิดเหตุอื่น ๆ ที่กระทบรายรับโดยรวมของครอบครัว เช่น มีคนในครอบครัวตกงาน จากที่เคยช่วยกันหาเงินเข้าบ้าน 2 แรงจึงเหลือเราคนเดียว ทำให้ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายมากขึ้น เราอาจขอปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะกับรายรับที่ลดลงในแต่ละแบบดังนี้
      1.      2.1) ลดอัตราดอกเบี้ย เหมาะกับคนที่รายรับลดลงในจำนวนที่ไม่มากนัก และลดลงแค่ในระยะเวลาสั้น ๆ โดยจะกลับมามีรายรับเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิมในอีกไม่นาน 
      2.      "การลดอัตราดอกเบี้ย" เป็นการลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับหนี้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้ภาระหนี้ที่จะต้องจ่ายลดลงบางส่วน แต่ส่วนมากสถาบันการเงินมักลดอัตราดอกเบี้ยให้เพื่อให้ลูกหนี้มีเวลาปรับตัวในช่วงที่รายได้ลดกะทันหัน เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน
      3.      ข้อควรคิด การลดอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ภาระหนี้ลดลงในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น หากรายรับลดเป็นระยะเวลานานควรพิจารณาทางเลือกอื่น

        1.      2.2) พักชำระเงินต้น เหมาะสำหรับคนที่รายรับลดลงมากจนไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ทั้งหมด และเป็นการลดลงแค่ในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยจะกลับมามีรายรับเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิมในเวลาไม่นานเช่นเดียวกับการลดอัตราดอกเบี้ย
          1.      ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า การจ่ายคืนเงินกู้ในแต่ละงวดจะประกอบไปด้วยเงินต้นและดอกเบี้ย ดังนั้น "การพักชำระเงินต้น" ก็หมายความว่า เราไม่ต้องจ่ายเงินต้นแต่ยังต้องจ่ายดอกเบี้ย (จำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับยอดหนี้ทั้งหมด ประเภทหนี้ ระยะเวลากู้ยืม และอัตราดอกเบี้ย) ซึ่งส่วนใหญ่สถาบันการเงินมักให้พักชำระเงินต้นประมาณ 3 – 6 เดือน วิธีนี้จึงเหมาะกับคนที่รายรับลดลงเพียงไม่นานและจะกลับมาชำระหนี้ตามเดิมได้
          2.      ข้อควรคิด การพักชำระเงินต้นอาจทำให้ภาระหนี้ช่วงหลังจากพักชำระเพิ่มขึ้น หรืออาจต้องขยายเวลาการชำระหนี้ เนื่องจากต้องนำเงินต้นที่พักชำระไปจ่ายในช่วงหลังการพักชำระเงินต้น นอกจากนี้ ยังอาจจะมีภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากยอดเงินต้นไม่ได้ลดลงตามกำหนดเวลาเดิม ดังนั้น เราจะต้องตกลงกับสถาบันการเงินให้ดีว่า หลังพักชำระเงินต้นแล้วจะต้องจ่ายคืนแบบไหน ที่สำคัญคือเราจ่ายไหวไหม เช่น สถาบันการเงินอาจให้ขยายเวลาการชำระหนี้ เฉลี่ยผ่อนชำระตามงวดที่เหลือ หรือชำระคืนเงินต้นที่พักชำระทั้งหมดคราวเดียวในงวดสุดท้าย (รายละเอียดตามภาพ) และอาจต้องทำสัญญาใหม่หรือทำเอกสารบันทึกแนบท้ายสัญญาเดิมแล้วแต่กรณี 

จ่าย หนี้ ไม่ ไหว ทํา ไง ดี

     หากคิดดูแล้วว่าเราจ่ายไม่ไหวตามที่สถาบันการเงินเสนอมา ควรขอให้สถาบันการเงินพิจารณาวิธีจ่ายคืนในแบบอื่น เช่น หากสถาบันการเงินให้จ่ายทั้งหมดครั้งเดียว (กรณี 3) แต่เราคิดแล้วว่าเราไม่น่าจะหาเงินก้อนมาจ่ายได้ในเวลาที่สถาบันการเงินแจ้งมา อาจขอจ่ายเป็นแบบเฉลี่ยผ่อนชำระตามงวดที่เหลือ (กรณี 2) แทน


      2.3) ขยายเวลาชำระหนี้ เหมาะสำหรับคนที่รายรับลดลงในระยะยาว เช่น เปลี่ยนงานใหม่ที่รายรับน้อยกว่าเดิม ทำให้ไม่สามารถจ่ายหนี้ในจำนวนเท่าเดิมได้

      "การขยายเวลาชำระหนี้" เป็นการเพิ่มระยะเวลาในการจ่ายหนี้ วิธีนี้จะทำให้เราเป็นหนี้นานขึ้น แต่จำนวนผ่อนต่อเดือนจะลดลง ซึ่งเราสามารถขอขยายเวลาชำระหนี้ได้เป็นปี เช่น บางรายขอเพิ่มได้ 5 ปี (ขึ้นอยู่กับยอดหนี้ ประเภทหนี้ รวมถึงฐานะการเงินของลูกหนี้) 

      ข้อควรคิด การขยายเวลาชำระหนี้เป็นการขยายเวลายืมเงิน ยิ่งยืมเงินนาน เรายิ่งต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากไม่จำเป็นก็ไม่ควรขยายเวลานานเกินไป เพราะการผ่อนน้อย ๆ แต่ผ่อนนาน ๆ จะทำให้เราต้องจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้นหรือทำให้เราชะล่าใจเอาเงินไปซื้อในสิ่งที่ไม่จำเป็น ให้ขอขยายเท่าที่เราจ่ายไหวและใช้เวลาน้อยจะดีกว่า

      นอกจากนี้ สถาบันการเงินอาจต้องดูอายุของลูกหนี้เพื่อพิจารณาการขยายเวลาชำระหนี้ด้วย เพราะจะบอกถึงความสามารถในการจ่ายหนี้คืน เช่น ลูกหนี้ที่ใกล้เกษียณอาจขอขยายเวลาได้ไม่นานเท่าลูกหนี้ที่เพิ่งเริ่มทำงาน (มีความเสี่ยงที่ลูกหนี้จะไม่มีรายรับเพื่อจ่ายหนี้หลังเกษียณ)



  1. 3. มีเงินก้อนแต่ไม่พอปิดหนี้ทั้งหมด สำหรับคนที่มีเงินก้อน เช่น จากการขายสินทรัพย์ หรือเงินชดเชยจากการออกจากงาน อยากปิดหนี้แต่จำนวนเงินที่มีนั้นไม่พอที่จะจ่ายหนี้ทั้งก้อนได้ ก็อาจขอปรับโครงสร้างหนี้โดยการปิดจบด้วยเงินก้อนที่น้อยกว่าหนี้ทั้งก้อนได้

  2.      การปิดจบด้วยเงินก้อน หรือที่หลายคนอาจเรียกว่า แฮร์คัต (hair cut) เป็นการปรับโครงสร้างหนี้โดยการขอส่วนลดจากเจ้าหนี้แล้วจ่ายทั้งหมดเพื่อปิดบัญชีทันที เช่น มียอดหนี้คงค้าง 120,000 บาท ขอลดเหลือ 100,000 บาทแล้วจ่ายเพื่อปิดบัญชีทันที หากตกลงกันได้ด้วยวิธีแบบนี้ก็จะทำให้เราหมดหนี้ไปเลย
  3.      ข้อควรคิด การปิดจบด้วยเงินก้อนแบบนี้ สถาบันการเงินมักมีเงื่อนไขให้จ่ายให้ครบภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมักจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เช่น 1 – 6 งวด หากไม่มั่นใจว่าจะจ่ายได้ทั้งหมดภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ควรลงนามในสัญญาเพราะอาจทำให้ต้องขอปรับโครงสร้างอีกครั้ง แต่ให้ขอสถาบันการเงินพิจารณาทางเลือกในการช่วยเหลืออื่นแทน

  1. 4. จ่ายไม่ไหวเลย สำหรับคนที่ไม่มีเงินจ่ายหนี้ หรือคนที่ต้องออกจากงานกะทันหัน เงินที่มีอาจจะไม่พอที่จะจ่ายหนี้เลย จึงอาจขอปรับโครงสร้างหนี้โดยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อให้ปรับตัวกับปัญหาทางการเงินที่กำลังเผชิญอยู่หรือหางานหาอาชีพใหม่ได้ แล้วค่อยกลับมาจ่ายหนี้ตามเดิม
  2.      
  3.      "การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย" เป็นการหยุดจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน เมื่อครบกำหนดพักชำระแล้ว จะต้องจ่ายคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงที่พักไปด้วย (ดอกเบี้ยยังคงเดินอยู่ตลอดเวลาที่พักชำระ) ซึ่งอาจเป็นการขยายเวลาการชำระหนี้ เฉลี่ยผ่อนชำระตามงวดที่เหลือ หรือชำระคืนเงินต้นที่พักชำระทั้งหมดคราวเดียวในงวดสุดท้าย (รายละเอียดตามภาพ) ซึ่งเราควรเจรจากับเจ้าหนี้ตามความสามารถในการจ่ายคืนของเรา
  4. จ่าย หนี้ ไม่ ไหว ทํา ไง ดี

  5.      ข้อควรคิด การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยมักเป็นการพักชำระในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น 3 – 6 เดือน ในช่วงเวลานี้ เราควรพยายามหางานหรืออาชีพใหม่เพื่อให้มีเงินมาใช้จ่าย ชำระหนี้ และกลับเข้าสู่การใช้ชีวิตตามปกติ แต่หากใกล้ครบกำหนดพักชำระและรายรับที่มียังไม่พอจ่ายหนี้ ให้เจรจาเพื่อขอความช่วยเหลืออื่นจากสถาบันการเงินอีกครั้ง เช่น ขอจ่ายเป็นขั้นบันได โดยจ่ายน้อยในช่วงแรกแล้วค่อยเขยิบขึ้นตามรายรับที่น่าจะเข้ามาในอนาคต หรือสำรวจหาทรัพย์สินที่พอจะขายได้มาช่วยชำระหนี้บางส่วน เพราะสถาบันการเงินอาจไม่สามารถให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ด้วยการพักชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลานาน อย่ารอหรือเงียบหายจนค้างจ่ายหรือเป็นหนี้เสีย (ค้างชำระเกิน 90 วัน) เพราะจะยิ่งทำให้มีโอกาสที่จะได้รับความช่วยเหลืออีกครั้งน้อยลงไปอีก

เราจะเห็นได้ว่า การปรับโครงสร้างหนี้แต่ละแบบเหมาะกับสถานการณ์ทางการเงินที่แตกต่างกัน สิ่งสำคัญที่สุดในการปรับโครงสร้างหนี้ คือ เราต้องประเมินสถานการณ์ของเราก่อน เช่น รายได้ของเราลดลงมากน้อยแค่ไหนหรือเราขาดรายได้ และระยะเวลาที่รายได้ของเราลดลงหรือขาดรายได้จะนานแค่ไหน แล้วค่อยพิจารณาความคุ้มค่าของแต่ละทางเลือก บางทางเลือกอาจดูคุ้มค่า เช่น โดยรวม ๆ แล้วเราจะเสียดอกเบี้ยน้อยกว่า แต่ค่างวดในแต่ละเดือนอาจทำให้เราเหลือเงินไม่พอใช้จนต้องกู้เงินมาใช้จ่ายอีก

     พอเรารู้แล้วว่าแบบไหนที่เราจ่ายไหว ให้รีบทำหนังสือขอปรับโครงสร้างหนี้เป็นลายลักษณ์อักษรไปถึงสถาบันการเงิน ไม่ควรรอจนอาการหนักหรือจ่ายไม่ไหว เพราะการค้างชำระจะทำให้ทางเลือกในการช่วยเหลือจากสถาบันการเงินน้อยลงไปอีก


     เมื่อทำหนังสือขอปรับโครงสร้างหนี้ส่งไปแล้ว สถาบันการเงินก็อาจพิจารณาตามแบบที่เราขอหรืออาจเสนอเงื่อนไขอื่นมาให้ หากเราจ่ายไม่ไหวตามเงื่อนไขของสถาบันการเงิน ให้เจรจากับสถาบันการเงินอีกครั้ง ไม่ควรลงนามในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ที่เราจ่ายไม่ไหว เพราะอาจต้องเจอปัญหาจ่ายหนี้ไม่ได้อีกและการปรับโครงสร้างหนี้อีกครั้งอาจทำได้ยากขึ้น

     ในกรณีที่เจรจากับสถาบันการเงินแล้วยังไม่ได้ข้อสรุปที่เราทำได้ สามารถติดต่อ "ทางด่วนแก้หนี้" ซึ่งเป็นช่องทางเสริมของธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีขึ้นสำหรับประชาชนในการแจ้งขอความช่วยเหลือในการผ่อนชำระหนี้ได้ที่ https://www.1213.or.th/App/DebtCase หรือขอคำแนะนำได้ที่โทร. 1213 ในวันทำการจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น.


     หากการปรับโครงสร้างหนี้เป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อให้เราสามารถจ่ายหนี้ได้โดยไม่ผิดนัดชำระ การปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะกับเราก็คือ เงื่อนไขการจ่ายหนี้ใหม่ที่ทำให้เราจ่ายหนี้ได้เต็มจำนวนและตรงเวลาตามที่ตกลงกันทุกงวดต่อจากนี้ไป พูดง่าย ๆ ก็คือ การปรับโครงสร้างหนี้แบบที่เราจ่ายไหวไปตลอดจนครบสัญญานั่นเอง 


หมายเหตุ: การปรับโครงสร้างหนี้อาจส่งผลต่อการขอกู้ใหม่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ เพราะการปรับโครงสร้างหนี้สะท้อนถึงความสามารถในการชำระหนี้ที่น้อยลง ดังนั้น เมื่อปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ควรชำระให้ได้ตามกำหนดเพื่อไม่ให้เกิดประวัติค้างชำระในข้อมูลเครดิตบูโรและเป็นการสร้างประวัติที่แสดงถึงวินัยทางการเงินที่ดีอีกด้วย 

จ่ายขั้นต่ำไม่ไหวทำไง

หากรู้ตัวว่าเริ่มผ่อนชำระบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดขั้นต่ำไม่ไหว ทางแรกที่สามารถทำได้ คือ การติดต่อเพื่อขอเจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ โดยเจ้าหนี้ (สถาบันการเงินเจ้าของบัตร) อาจจะพิจารณายืด หรือขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้ยาวขึ้นเพื่อให้ยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือนลดลง หรือลดดอกเบี้ยให้เหมาะกับสภาพทางการเงินในปัจจุบันของลูกหนี้ ...

ทำยังไงเงินไม่พอจ่ายหนี้

หยุดก่อหนี้เพิ่ม : เลิกรูด เลิกยืม เลิกเอาหนี้ใหม่มาโปะหนี้เก่า ตัดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น : อะไรไม่จำเป็นก็เบรกไว้ก่อนนะ อย่าเพิ่งซื้อ หารายได้เสริม : หาลู่ทางเพิ่มรายได้เพื่อปลดหนี้ให้ไว อย่าหนีหาย อย่าตัดการติดต่อ : อย่าหนีปัญหา เพราะหนี้ไม่ได้หายไปไหน

ถ้าไม่จ่ายบัตรเครดิตจะเกิดอะไรขึ้น

ติดเครดิตบูโร เมื่อค้างชำระหนี้เป็นเวลานาน ธนาคารจะส่งเรื่องไปยังเครดิตบูโร หรือ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เพื่อเป็นการบันทึกประวัติทางการเงินให้สถาบันการเงินอื่นเข้ามาตรวจสอบต่อไป และแน่นอนว่าหากมีประวัติเสียติดค้างอยู่ในเครดิตบูโร ก็จะทำให้ขอสินเชื่อหรือเครดิตประเภทอื่นยากขึ้นด้วย

ไม่จ่ายบัตรเครดิตกี่เดือนถึงจะโดนฟ้อง

หนี้บัตรเครดิต อายุความกี่ปี ถือเป็นคดีอะไร หนี้บัตรเครดิตจะเกิดเป็นคดีความขึ้นเมื่อลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ และถูกเจ้าหนี้ส่งเรื่องดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งถือเป็นคดีแพ่ง โดยหนี้บัตรเครดิตรวมถึงบัตรเครดิตที่กดเงินสดได้จะมีอายุความ 2 ปี นับจากวันผิดนัดชำระหรือวันที่ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย