ไม่มี ใบขับขี่ ยึดรถได้ ไหม 2564

  • ไม่มี ใบขับขี่ ยึดรถได้ ไหม 2564

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4408/2528  ได้วางหลักไว้ว่า ข้อหาขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ตามกฎหมายการจนส่งทางบก

บทความวันที่ 28 มิ.ย. 2561, 10:08

มีผู้อ่านทั้งหมด 1777 ครั้ง


ผู้ขับรถไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ตำรวจจราจรมีอำนาจยึดรถได้หรือไม่

           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4408/2528  ได้วางหลักไว้ว่า ข้อหาขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ตามกฎหมายการจนส่งทางบก ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่จะยึดรถหรือกักรถไว้ได้  ซึ่งศาลได้วางหลักในคำพิพากษาไว้ว่า การที่ตำรวจจะมีอำนาจยึดรถต้องมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้โดยเฉพาะเท่านั้น
            สรุปแล้วตำรวจจะมีอำนาจยึดรถตามกฎหมายได้ใน 3 กรณีเท่านั้น คือ
            1.ยึดโดยอำนาจของพนักงานสอบสวนตาม มาตรา 132 ของ ป.วิ อาญา (รถนั้นเป็นสิ่งที่ ได้มา ได้ใช้ หรือมีไว้เป็นความผิด)
            2.ยึดโดยอำนาจของตำรวจผู้จับกุมตามมาตรา 85 ของ ป.วิ อาญา (มีการจับกุมผู้กระทำความผิดที่มีโทษทางอาญา และรถที่ยึดอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ โดยรถที่ยึดจะต้องบันทึกไว้เป็นของกลางในบันทึกการจับกุมเท่านั้น)
            3.ยึดโดยอาศัยหลักความยินยอม (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2546 เจ้าของรถย่อมใช้อำนาจเจ้าของกรรมสิทธิ์ยินยอมให้ตำรวจยึดรถของตนโดยสมัครใจได้ )
             การเข้าใจตรงกันนะครับ ทั้งตำรวจจราจรและผู้ขับขี่
Cr หนังสือเรื่องปัญหาการบังคับใช้กฎหมายของตำรวจจราจร ผู้เขียน พ.ต.ท.เกียรติศักดิ์ มิตรปราสาท

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 85  เจ้าพนักงานผู้จับหรือรับตัวผู้ถูกจับไว้ มีอำนาจค้นตัวผู้ต้องหา และยึดสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้
            การค้นนั้นจักต้องทำโดยสุภาพ ถ้าค้นผู้หญิงต้องให้หญิงอื่นเป็นผู้ค้น
            สิ่งของใดที่ยึดไว้เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด เมื่อเสร็จคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่น ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น

มาตรา 132  เพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมหลักฐาน ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจ ดังต่อไปนี้
(1) ตรวจตัวผู้เสียหายเมื่อผู้นั้นยินยอม หรือตรวจตัวผู้ต้องหา หรือตรวจสิ่งของหรือที่ทางอันสามารถอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ให้รวมทั้งทำภาพถ่าย แผนที่ หรือภาพวาดจำลอง หรือพิมพ์ลายนิ้วมือ ลายมือหรือลายเท้า กับให้บันทึกรายละเอียดทั้งหลายซึ่งน่าจะกระทำให้คดีแจ่มกระจ่างขึ้น
ในการตรวจตัวผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาตามวรรคหนึ่ง หากผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาเป็นหญิง ให้จัดให้เจ้าพนักงานซึ่งเป็นหญิงหรือหญิงอื่นเป็นผู้ตรวจ  ทั้งนี้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาจะขอนำบุคคลใดมาอยู่ร่วมในการตรวจนั้นด้วยก็ได้
(2) ค้นเพื่อพบสิ่งของ ซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยการกระทำผิด หรือได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิด หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยค้น
(3) หมายเรียกบุคคลซึ่งครอบครองสิ่งของ ซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ แต่บุคคลที่ถูกหมายเรียกไม่จำต้องมาเอง เมื่อจัดส่งสิ่งของมาตามหมายแล้ว ให้ถือเสมือนว่าได้ปฏิบัติตามหมาย
(4) ยึดไว้ซึ่งสิ่งของที่ค้นพบหรือส่งมาดังกล่าวไว้ในอนุมาตรา (2) และ (3)

คำพิพากษาฎีกาที่อ้างอิง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2546
                เจ้าพนักงานตำรวจได้ขอความยินยอมจาก น. มารดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุก่อนทำการค้น แสดงว่าการค้นกระทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจความยินยอมของน. แม้การค้นจะกระทำโดยไม่มีหมายค้นที่ออกโดยศาลอนุญาตให้ค้นได้ ก็หาได้เป็นการค้นโดยมิชอบไม่ นอกจากนี้ก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะดำเนินการค้นได้เห็นจำเลยซึ่งอยู่ในห้องนอนโยนเมทแอมเฟตามีนออกไปนอกหน้าต่าง อันเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจพบจำเลยกำลังกระทำความผิด ซึ่งหน้าและได้กระทำลงในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(1),92(2) เมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จึงนำมารับฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยได้

ปรึกษากฎหมายกับทนายความ ทนายคลายทุกข์ โทร.02-9485700

"ตำรวจมีสิทธิ์ยึดใบอนุญาตขับขี่จากผู้ขับได้หรือไม่" หลายๆ คนเคยตั้งประเด็นคำถามนี้ และบางครั้งก็ได้รับคำตอบที่ไม่ถูกต้องนัก หรืออาจจะถูกเพียงบางส่วน หลากหลายกระแสจากโซเชียลเน็ตเวิร์คเคยแชร์ว่า "ตำรวจไม่มีอำนาจยึดใบขับขี่" "ถ้าตำรวจขอตรวจไม่ต้องให้" หรือ "ถูกยึดแล้วได้ใบสั่งมาไม่ต้องจ่าย" ความจริงจะเป็นอย่างไร เช็คราคาหาคำตอบมาให้เพื่อความกระจ่างและชัดเจนกันไปเลย

วันนี้ทางเช็คราคา.คอมจะมาไขข้อสงสัย และนำข้อมูลเกี่ยวกับอำนาจของเจ้าพนักงานปฏิบัติ (ตำรวจจราจร) ว่ามีอำนาจในการขอตรวจหรือยึดใบอนุญาตขับขี่จากผู้ขับรถที่ฝ่าฝืนหรือผิดกฏจราจรได้หรือไม่ อย่างไรบ้าง มาฝากกันครับ (ยกมาเฉพาะข้อหรือมาตราที่ระบุถึงการยึดใบขับขี่ และการเสียค่าปรับหลังจากถูกยึดแล้วเพียงเท่านั้นนะครับ)

ตำรวจจราจรเรียกเก็บใบขับขี่ได้หรือไม่?

ตำรวจจราจรสามารถใช้อำนาจในการเรียกขอดูหรือเก็บ (ยึด) ใบขับขี่ได้ตามมาตรา 140 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งจะทำได้ 2 ทาง คือ 1) ตักเตือน และ 2) ออกใบสั่งค่าปรับตามข้อหา ส่วนใบขับขี่เป็นดุลยพินิจของตำรวจว่าจะเรียกเก็บหรือไม่ก็ได้ ซึ่งหากยึดจะต้องออกใบแทนให้ผู้ขับขี่ถือไว้ชั่วคราว 

*ตำรวจจราจรต้องส่งใบขับขี่นั้นๆ มอบแก่พนักงานสอบสวนภายใน 8 ชั่วโมงนับจากเรียกเก็บ ซึ่งจะต้องออกใบสั่งก่อนเรียกเก็บเท่านั้น หากไม่ออกใบสั่งจะไม่สามารถเรียกเก็บใบขับขี่ได้

สรุป - "ตำรวจเรียกเก็บหรือดูใบขับขี่ได้ โดยถือตามดุลยพินิจ หรือหากมีการยึดใบขับขี่ ต้องออกใบสั่งก่อนเสมอ"

ฝ่าฝืนไม่ยอมให้ได้หรือเปล่า?

ในกรณีถูกเรียกเก็บใบขับขี่ การฝ่าฝืนไม่ยินยอมให้จะมีความผิดเพิ่มอีก 1 กระทง ฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้ง 2 กรณี

สรุป - "ฝ่าฝืนไม่ให้ใบขับขี่แก่ตำรวจ มีโทษติดคุก 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้ง 2 อย่างเลยนะครับ"

ไม่จ่ายค่าปรับทำได้หรือไม่?

เมื่อได้ใบสั่งมาแล้วจะไม่จ่าย ไม่อยากจ่าย ไม่มีเวลาไปจ่าย โดยไม่มีเหตุอันควร อาจมีความผิดเพิ่ม! ต้องถูกปรับ 1,000 บาท ตามมาตรา 155 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ และพนักงานสอบสวนมีสิทธิปฏิบัติตาม มาตรา 141 ทวิ อีก 2 ทาง คือ
1. ออกหมายเรียกผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถไปรายงานตัวต่อพนักงานสอบสวน และจ่ายค่าปรับซะ
2. หากไม่มาหรือไม่สามารถติดต่อผู้ขับ, เจ้าของรถได้ จะประสานงานไปส่วนของนายทะเบียนที่กรมขนส่งฯ ให้ระงับการชำระภาษีไว้ชั่วคราว จนกว่าจะจ่ายค่าปรับเรียบร้อย

สรุป - "ไม่จ่าย อาจถูกระงับการต่อทะเบียนและถูกปรับเพิ่มอีก 1,000 บาทเชียวนะ"

ใบแทนชั่วคราวใช้แทนได้จริงหรือ?

ใบแทนใบขับขี่ที่ตำรวจออกให้นั้น สามารถใช้ทดแทนได้ชั่วคราวไม่เกิน 7 วัน และต้องไปชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ 7 วัน หากไม่จ่ายโดยไม่มีเหตุอันควร จะถูกปรับเพิ่ม! อีก 1,000 บาท ตามมาตรา 155 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ 

สรุป - "ใบแทนใช้แทนกันได้ แต่ต้องไปจ่ายก่อน 7 วัน ไม่เช่นนั้นจะโดนอีก 1,000 บาทนะจ๊ะ"

มาดูข้อกฎหมายอย่างละเอียดกันครับ

พรบ. จราจรทางบก ม. 1-27 ว่าด้วย ทาง, การเดินรถ, ประเภทของรถชนิดต่างๆ
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2522 เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบัน
พรบ.จราจรทางบก ลักษณะที่ 18
อำนาจของเจ้าพนักงานจราจร และพนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา 140(1) เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้น ๆ จะว่ากล่าว ตักเตือนผู้ขับขี่ หรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ก็ให้ติดหรือผูกใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่เห็นได้ง่าย สำหรับความผิดที่กำหนดไว้ในมาตรา 157 ทวิ มาตรา 159 มาตรา 160 และมาตรา 160 ทวิ ห้ามมิให้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบ ในการออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบตามวรรคหนึ่งเจ้าพนักงานจราจร หรือ พนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ แต่ต้องออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ไว้ และเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องรีบนำใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้ไปส่งมอบพนักงานสอบสวน ภายในแปดชั่วโมง นับแต่เวลาที่ออกใบสั่งใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ที่ออกให้ตามวรรคสามให้ใช้แทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นการชั่วคราวไม่เกินเจ็ดวัน เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานสอบสวนได้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบปรับ และผู้ขับขี่ได้ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้คืนใบอนุญาตขับขี่ทันที ในกรณีเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบสั่งแต่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถเป็นผู้กระทำผิดดังกล่าว เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้อื่นเป็นผู้ขับขี่การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด ใบสั่งและใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ ให้ทำตามแบบที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด

มาตรา 141(2) ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถซึ่งได้รับใบสั่งตามมาตรา 140 อาจเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

(1) ชำระค่าปรับตามจำนวนที่ระบุไว้ในใบสั่งหรือตามจำนวนที่พนักงานสอบสวนแจ้งให้ทราบ ณ สถานที่ที่ระบุไว้ ในใบสั่งหรือสถานที่ที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในวัน เวลา ที่ระบุไว้ในใบสั่ง

(2) ชำระค่าปรับตามจำนวนที่ระบุไว้ในใบสั่งโดยการส่งธนาณัติ หรือการส่งตั๋วแลกเงินของธนาคารโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน สั่งจ่ายให้แก่อธิบดีพร้อมด้วยสำเนาใบสั่งไปยังสถานที่ และภายในวัน เวลา ที่ระบุไว้ในใบสั่งเมื่อผู้ได้รับใบสั่งได้ชำระค่าปรับครบถ้วนถูกต้องแล้วให้คดีเป็นอันเลิกกัน และในกรณีที่เจ้าพนักงานจราจร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ได้เรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้ให้เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานสอบสวนรีบจัดส่งใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้คืนให้แก่ผู้ได้รับใบสั่งโดยเร็ว และให้ถือว่าใบรับการ ส่งธนาณัติ หรือใบรับการส่งตั๋วแลกเงินประกอบกับใบสั่งเป็นใบแทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นเวลาสิบวัน นับแต่วันที่ส่งธนาณัติ หรือตั๋วแลกเงินดังกล่าว วิธีการชำระค่าปรับโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและวิธีการส่งใบอนุญาต ขับขี่คืนให้แก่ผู้ได้รับใบสั่งให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 141 ทวิ(3) ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถซึ่งได้รับใบสั่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 141 ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีที่ทราบที่อยู่ของผู้ขับขี่หรือที่อยู่ของเจ้าของรถ ให้พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถ ให้มารายงานตัวที่พนักงานสอบสวน ในกรณีดังกล่าวนี้ผู้ได้รับหมายเรียกต้องมารายงานตัวตามวัน เวลา และ ณ สถานที่ที่ระบุไว้ในหมายเรียก และให้พนักงานสอบสวนดำเนินการเปรียบเทียบ และว่ากล่าวตักเตือนผู้ได้รับหมายเรียกดังกล่าว

(2) ในกรณีที่ไม่อาจส่งหมายเรียกให้แก่ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถได้ให้พนักงานสอบสวนแจ้งเป็นหนังสือไปยังนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก เพื่อให้นายทะเบียนแจ้งให้ผู้มาติดต่อขอชำระภาษีประจำปีสำหรับรถคันนั้นไปรายงานตัวที่พนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ถ้าผู้มาติดต่อขอชำระภาษีประจำปีเป็นเพียงตัวแทนของเจ้าของรถ ให้ผู้มาติดต่อแจ้งให้เจ้าของรถทราบเพื่อไปรายงานตัวที่พนักงานสอบสวนตามหมายเรียกในกรณีดังกล่าวนี้ ให้นายทะเบียนงดรับชำระภาษีประจำปี สำหรับรถคันนั้นไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวนว่าได้มีการปฏิบัติตามหมายเรียกนั้นแล้ว การงดรับชำระภาษีประจำปีไม่เป็นเหตุให้ผู้นั้นไม่ต้องชำระเงินเพิ่มตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก แล้วแต่กรณี

จากมาตราข้างต้นนี้ สามารถสรุปสั้นๆ ได้ว่า ตำรวจมีสิทธิ์ขอตรวจและยึดใบขับขี่ได้ชั่วคราวจนกว่าผู้ถูกยึดจะไปจ่ายค่าปรับนะครับ ซึ่งการถูกยึดนั้นเกิดจากการที่เราขับรถผิดกฏจราจร หรือมีสิ่งผิดกฏหมายจราจรทางบกอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น รถยนต์มีสภาพไม่สมบูรณ์หรือดัดแปลงจากเดิมมากเกินไป, ฝ่าฝืนสัญญาณไฟ/มือจราจร, จอดในเขตห้าม, เลี้ยวรถผิดช่องทาง เป็นต้นครับ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.trafficpolice.go.th

ทั้งนี้ เมื่อเราทราบถึงข้อเท็จจริงว่าเจ้าพนักงานจราจรสามารถขอตรวจ และเก็บใบอนุญาตขับขี่ของเราได้หากพบว่ากระทำความผิดพรบ.จราจรได้แล้ว ผู้ขับขี่ทุกคนก็ควรระมัดระวัง และขับรถอย่างถูกกฏ เพื่อความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยบนท้องถนนด้วยนะครับ