เป็น หวัด น้ำ มูก ไหล กิน ยา อะไร ดี

ในทางการแพทย์แล้วอาการหวัดลงคอ มักหมายถึง อาการคออักเสบหรือคอหอยอักเสบ (Pharyngitis) ที่เกิดจากการติดเชื้อ เดิมทีโรคหวัดนั้นเป็นการติดเชื้อไวรัสบริเวณระบบทางเดินหายใจส่วนบน มักทำให้เกิดอาการไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล และมีไข้ เมื่อเชื้อหวัดลามลงไปในคอจึงทำให้เกิดอาการคออักเสบและเจ็บคอได้ 

ความแตกต่างของอาการหวัดลงคอที่เกิดจากภูมิแพ้และที่เกิดจากเชื้อหวัด คือ เชื้อหวัดมักจะทำให้เป็นไข้และส่งผลให้น้ำมูกเหนียวมีสีเหลืองหรือสีเขียวที่เป็นสัญญาณของการติดเชื้อ ซึ่งพบได้ทั้งการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ดังนั้น เมื่อไปพบแพทย์จึงควรแจ้งอาการให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด

โดยส่วนใหญ่ โรคหวัดที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสมักไม่อันตรายและหายได้เองตามกลไกของร่างกาย ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ ซึ่งอาการจากโรคหวัดอาจบรรเทาได้ด้วยยาแก้ไข้ ยาแก้ปวด ยาแก้ไอ และยาลดน้ำมูกขึ้นอยู่กับอาการ โดยยาเหล่านี้หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยา แต่เพื่อความปลอดภัยในการใช้ ควรแจ้งอาการกับเภสัชกรโดยละเอียด โดยเฉพาะผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือมีโรคประจำตัว

(อ้างอิงข้อมูลจาก: POBPAD, 2020)

ควรดูแลตนเองอย่างไรดี? เมื่อมีอาการหวัดลงคอ

  • งดใช้เสียง และใส่หน้ากากอนามัย
  • ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่เหมาะสม
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในชุมชน หรือ สถานที่แออัด
  • พยายามปิดหน้าต่างและใช้เครื่องปรับอากาศแทน ปรับอุณหภูมิในที่พักอาศัยให้เหมาะสม
  • ลดการสัมผัสกับตัวไรฝุ่น หมั่นทำความสะอาดเครื่องนอนอยู่เสมอ
  • ทำความสะอาดที่อยู่อาศัยอยู่เสมอ ทำความสะอาดพื้นด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาด แทนการกวาดแห้งหรือปัดฝุ่น เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่น

    เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีประสบการณ์ไปซื้อยากินเองเพื่อบรรเทาอาการน้ำมูกไหลที่ร้านยา แต่กลับกลายเป็นว่าได้ยาแก้แพ้มาแทน ทำให้เกิดข้อสงสัยว่ายาแก้แพ้จะบรรเทาอาการน้ำมูกไหลได้อย่างไร? ยาแก้แพ้ชนิดง่วงและไม่ง่วงจะใช้อะไรดี?

    น้ำมูกไหลที่มีลักษณะใส เกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ น้ำมูกไหลจากไข้หวัด ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เมื่อร่างกายมีภูมิต้านทานลดลง เช่น เครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย จะทำให้เกิดอาการของไข้หวัดได้ เช่น มีไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ซึ่งเกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อเชื้อไวรัส รวมทั้งมีการทำงานของต่อมภายในโพรงจมูกให้มีการหลั่งน้ำมูก ทำให้ผู้ป่วยมักมีน้ำมูกใสๆ ตลอดทั้งวัน แต่เมื่อพักผ่อนอย่างเพียงพอ อาการดังกล่าวจะสามารถหายไปได้เองใน 3-4 วัน ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งที่มักทำให้เกิดน้ำมูกไหลได้คือ น้ำมูกไหลจากการแพ้ หรือ ภูมิแพ้ ซึ่งเกิดจากการสัมผัสกับสารที่ทำให้เกิดการแพ้ เช่น ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ เป็นต้น ร่างกายจึงตอบสนองต่อสารที่แพ้ด้วยการหลั่งฮีสตามีน (histamine) ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น มีผื่นคัน หายใจลำบาก คันจมูก รวมทั้งน้ำมูกไหล อาการจึงเป็นๆ หายๆ หรือมีอาการเรื้อรังนานเป็นปี ขึ้นกับระยะเวลาที่ได้สัมผัสกับสารที่แพ้นั่นเอง

    ยาแก้แพ้ (antihistamine) คือยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของฮิสตามีนซึ่งหลั่งเมื่อเกิดอาการแพ้ ยาในกลุ่มนี้จึงถูกเรียกสั้นๆ ว่า ยาแก้แพ้ โดยในปัจจุบัน มีอยู่หลายชนิด ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มดั้งเดิม (conventional antihistamines) ที่มีผลข้างเคียงทำให้ง่วง และกลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงนอน (non-sedating antihistamines)

    สำหรับยากลุ่มดั้งเดิม ยกตัวอย่างเช่น คลอเฟนิรามีน (chlorpheniramine), บรอมเฟนิรามีน (brompheniramine) , ไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine), ไดเมนไฮดริเนต (dimenhydrinate), ไฮดรอไซซีน (hydroxyzine), ทริโปรลิดีน (triprolidine) เป็นต้น นอกจากจะสามารถยับยั้งการทำงานของฮิสตามีนแล้ว ยังมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของสารสื่อประสาทอะเซทิลโคลีน (anticholinergic) ที่ทำให้ต่อมภายในโพรงจมูกหลั่งน้ำมูก ทำให้น้ำมูกลดลง จึงสามารถใช้บรรเทาอาการน้ำมูกไหลจากทั้งสาเหตุไข้หวัดและอาการแพ้ได้ และเนื่องจากยาในกลุ่มนี้สามารถผ่านเข้าสู่สมองไปกดระบบประสาท ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่สำคัญ คือมีอาการง่วงซึม และอาจพบอาการข้างเคียงอื่นๆ ได้อีก เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง ซึ่งเป็นผลจากการยับยั้งการทำงานของสารสื่อประสาทอะเซทิลโคลีนที่ส่วนอื่นๆของร่างกาย ในขณะที่ยากลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงนอน ยกตัวอย่างเช่น เฟโซเฟนาดีน (fexofenadine), ลอราทาดีน (loratadine), เซทิริซีน (cetirizine), เลโวเซทิริซีน (levocetirizine) เป็นต้น จะออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของฮิสตามีนโดยไม่ยับยั้งการทำงานของสารสื่อประสาทอะเซทิลโคลีน ทำให้ใช้บรรเทาอาการน้ำมูกไหลจากภูมิแพ้ได้ดี และพบว่ามีผลข้างเคียงต่ำกว่ากลุ่มดั้งเดิม อันได้แก่ อาการปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ท้องผูก และปัสสาวะคั่ง รวมทั้งยาในกลุ่มนี้สามารถผ่านเข้าสู่สมองได้น้อยกว่าจึงทำให้เกิดผลข้างเคียงง่วงซึมได้น้อยกว่าอีกด้วย

    เนื่องจากมียาหลากหลายชนิดในแต่ละกลุ่มที่มีผลข้างเคียงและข้อจำกัดในการใช้แตกต่างกัน เช่น ยาบางชนิดไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ โรคไต หรือโรคหัวใจ รวมทั้งอาจมีข้อห้ามในการรับประทานร่วมกับยาบางประเภท ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลหรือซื้อยากินเอง ควรแจ้งข้อมูลโรคประจำตัว หรือยาที่ใช้อยู่ประจำ รวมทั้งประวัติการแพ้ยาทุกครั้ง เพื่อที่จะได้รับยาที่เหมาะสม กล่าวโดยสรุปคือ การเลือกใช้ยาลดน้ำมูกจะต้องพิจาณาถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหล ประกอบกับประสิทธิภาพของยาและความปลอดภัยของผู้ป่วย มากกว่าพิจารณาจากความสะดวกในด้านผลข้างเคียงง่วงซึมหรือไม่ง่วงซึมนั่นเอง

     2 ลิตร 3ลิตร ต่อวัน จริงๆแล้วมันขึ้นกับกิจกรรมของแต่ละคน อากาศ แต่เอาง่ายว่าน้ำพอไหมคือ ดูน้ำที่ออกจากตัวเรา ไม่ต้องไปดูที่อื่นเลย มันคือ ปัสสาวะนั่นเอง ถ้าปัสสาวะเราสีใสดี แปลว่าเราทานน้ำได้เพียงพอครับ ก็ทานแบบที่ทำอยู่ต่อไป เพียงพอแล้ว แต่เราดูสีปัสสาวะแล้วสีเข้มมากแบบนี้แปลว่าทานน้ำไม่พอ จะกี่ิลิตรกี่แก้วต่อวันก็ไม่สนหละครับ ต้องทานให้มากกว่านั้น ยกตัวอย่าง คุณตำรวจจราจรยืนโบกรถทั้งวัน ทานน้ำวันละ3 ลิตร ก็อาจไม่พอ เพราะมันเสียไปทางอื่นหมด เทียบกับหนุ่ม Office เปิดแอร์นั่งโต๊ะมีคนชงกาแฟให้กิน กินน้ำวันละ 1.5 ลิตร ก็บ่นแล้วว่าปัสสาวะทั้งวัน อันนี้สามารถใช้ได้กับคนที่ไตทำงานปกตินะครับ

    ยาแก้หวัด ลดน้ำมูก ยี่ห้อไหน ดี

    . #ถ้ามีอาการทั้งคัดจมูกและมีน้ำมูก ยาที่ควรใช้คือ Nasotapp หรือ Dimetapp เพราะยาทั้ง 2 ตัวนี้ช่วยลดน้ำมูก และบรรเทาอาการคัดแน่นจมูก หายใจไม่ออก

    มีน้ำมูก มีเสมหะกินยาอะไร

    3.ยาขับเสมหะ ละลายเสมหะ ยากลุ่มนี้เป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัย มีขายตามร้านขายยา เราจะคุ้นหูมากๆจาก โฆษณาทั้งหลาย เช่น Bisolvon , Mucosolvan , ไอโคลิด ,มิวโคลิด ฯลฯ ก็พวกๆนี้ทั้งนั้น ยาพวกนี้จะทำให้เสมหะไม่ข้น สามารถไอออกได้ง่าย ทำให้ไม่มีเสมหะค้างมาก ก็จะหายไอไปเอง เป็นยาที่สามารถซื้อเก็บไว้บ้านได้ ทานได้ทั้งเด็กและ ...

    กินยาอะไรน้ำมูกจะหาย

    โรคหวัดไม่มียาที่ใช้รักษาโรคหวัดได้โดยตรง แต่การรับประทานยาจะช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากหวัดได้ เช่น ยาแก้คัดจมูก ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ ยาแก้ปวดลดไข้ และยาแก้แพ้ (Antihistamines) ที่ช่วยลดน้ำมูกและบรรเทาอาการจาม นอกจากนี้ ยาอมและสเปรย์แก้เจ็บคอ ยาหยดจมูก และน้ำเกลือล้างจมูก อาจช่วยบรรเทาอาการจากโรคหวัดได้เช่นกัน

    ทำไงให้หายน้ำมูกไหล

    7 วิธีลดหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ด้วยวิธีธรรมชาติ.
    หยดน้ำมันยูคาลิปตัสลงบนผ้าเช็ดหน้า สูดดมบ่อย ๆ ในระหว่างวัน.
    ก่อนนอนให้หยดที่หมอน กลิ่นของน้ำมันยูคาลิปตัส จะทำให้หายใจสะดวกมากขึ้น.
    หยดน้ำมันยูคาลิปตัสที่น้ำร้อน 2 -3 หยด แล้วสูดดมเข้าไป.