ลูก ชอบ อม มือ ทํา ไง ดี

          การดูดนิ้ว เป็นพฤติกรรมที่พบได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาเมื่อมีอายุครรภ์ 18 สัปดาห์  วัยทารก  ก่อนวัยเรียน   และอาจมีต่อเนื่องจนถึงวัยเรียน   ส่วนใหญ่หลังอายุ 2 – 4  ปี   เด็กมักจะค่อย ๆ เลิกดูดนิ้วไปเอง   แต่บางคนอาจดูดนิ้วต่อไปอีกระยะหนึ่งซึ่งมักจะดูดเฉพาะก่อนนอนไปจนอายุ 5 – 6  ปี    เด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี  ไม่จำเป็นต้องรักษาหากไม่มีผลกระทบในด้านต่างๆ   เพราะเด็กสามารถพัฒนาการควบคุมตนเองได้และเลิกดูดนิ้วไปได้ในที่สุด การดูดนิ้วจะเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพกาย  พัฒนาการ  ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและความนับถือตนเอง ( Self – esteem )  ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม

ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ทำไมลูกถึงชอบดูดนิ้ว ต้องบอกเลยว่าการดูดนิ้วสำหรับในวัยเด็กถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น เด็กจะมีความสุขกับการดูดนิ้ว ซึ่งมาจากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นการอยากดูด คันเหงือกจากฟันที่กำลังจะขึ้น หรือ อยู่ในสภาวะที่ห่างจากพ่อแม่ การดูดนิ้วจึงเป็นการทำให้ลูกรู้สึกสบายใจ เด็กดูดนิ้วจะส่งผลอะไรต่อสุขภาพฟัน โดยปกติแล้วการดูดนิ้วของเด็กในช่วงขวบแรกเป็นเรื่องปกติ จะลดลงได้เองในช่วงอายุ 2-4 ขวบ หากเด็กติดดูดนิ้วไปจนอายุเกินกว่า 4 ปี อาจส่งผลให้ฟันยื่น เหยิน และการสบฟันที่ผิดปกติได้ ในเด็กที่เลิกดูดนิ้วได้ก่อนอายุ 4 ขวบอาจเกิดการสบฟันผิดปกติชั่วคราว หรือหากเด็กอายุเกิน 4 ขวบแล้วยังไม่เลิกดูดนิ้ว อาจส่งผลให้การสบฟันผิดปกติรุนแรงขึ้นได้

ช่วงอายุเท่าไหร่ที่ลูกเริ่มมีพฤติกรรมชอบดูดนิ้วมือ

ในเด็กทารกวัย 0-1 ปีจะมีความสุขกับการดูดและการได้กินอิ่ม การที่เด็กวัยนี้เอานิ้วมือเขาปากจะมีทั้งเป็นการสำรวจนิ้วมือของตัวเอง อาการคันเหงือกจากฟันที่กำลังขึ้น ซึ่งอาการดูดนิ้วของเด็กในช่วงขวบปีแรกเป็นเรื่องปกติ จะลดลงได้เองในช่วงอายุ 2-4 ปี ซึ่งหากเด็กติดการดูดนิ้วไปจนอายุเกินกว่า 4 ปี จะส่งผลให้ฟันยื่น ฟันเหยิน และการสบฟันผิดปกติได้

พฤติกรรมดูดนิ้ว ส่งผลเสียต่อสุขภาพฟัน มากน้อยแค่ไหน

ในการสบฟันตามปกติ ฟันกรามบนจะเติบโตคาบเกี่ยวกับฟันล่าง กรณีที่มีแรงดันจากนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ มันจะรบกวนการเจริญเติบโตของฟันและเหงือก และในกรณีที่อาการฟันของเด็กไม่สบกันตามปกติ แต่เกิดเป็นช่องว่างระหว่างฟันบนฟันล่าง ก็คือเหตุผลที่การดูดนิ้วเป็นสิ่งที่ต้องระวัง ซึ่งความบ่อยครั้งในการดูดนิ้วเป็นปัจจัยที่กำหนดผลต่อปัญหาทางทันตกรรมของเด็ก หากเด็ก ๆ แค่วางนิ้วในปากเฉย ๆ ปัญหาปัญหาจะมีน้อยกว่าเด็กที่ชอบดูดนิ้วแรง ๆ

เคล็ดลับที่ช่วยให้ลูกเลิกดูดนิ้ว

เมื่อถึงเวลาคุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกเลิกดูดนิ้ว ด้วยคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • ชื่นชมและให้รางวัล ให้อธิบายกับเด็กว่า เหตุใดจึงไม่ควรดูดนิ้ว และหาทางที่จะให้รางวัลแก่พวกเขา เมื่อเค้าทำสำเร็จก็ให้รางวัลแต่ไม่ควรให้ขนมหรือของหวานเพราะจะเป็นอันตรายต่อฟันของเด็กได้
  • หลีกเลี่ยงให้ลูกนอนดูดนิ้ว เพราะลูกอาจจะเผลอดูดนิ้วไปตลอด และส่งผลให้เกิดปัญหาฟันสบเปิดได้
  • อย่าดุลูก คุณพ่อคุณแม่อาจหงุดหงิดทุกครั้งที่เห็นลูกดูดนิ้ว ดังนั้นอย่าดุลูกเมื่อเห็นลูกดูดนิ้ว เพราะจะทำให้ลูกไม่เข้าใจและอาจจะดูดนิ้วหนักกว่าเดิม

พฤติกรรมการดูดนิ้วในเด็กจะส่งผลต่อการขึ้นของฟัน ทำให้ฟันขึ้นในตำแหน่งที่ผิดปกติได้ เนื่องจากนิ้วหัวแม่มือไปดันฟันไว้ ทำให้เกิดความผิดปกติของกระดูกใบหน้าขากรรไกรได้ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่ต้องการคำปรึกษาเรื่องการดูดนิ้วในเด็กที่อาจส่งผลต่อฟันได้ สามารถเข้ามาขอคำแนะนำจากหมอฟันเด็กที่ ศูนย์ทันตกรรมเด็ก TDH Dental สาขาปุณณวิถี ได้

TDH Dental มีบริการทันตกรรมเด็ก โดยมีทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็กที่มีประสบการณ์ในการสื่อสารกับเด็กได้อย่างอ่อนโยน เข้าใจในพฤติกรรมเด็ก และสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับทันตกรรมเด็กได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะพฤติกรรมการดูดนิ้วของลูก การดูแลป้องกันฟันผุ การขึ้นของฟันน้ำนม ฟันแท้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถไว้วางใจในทีมทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็กของ TDH Dental ได้อย่างสบายใจ เพราะการทำฟันสำหรับเด็กนั้นไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว

ทีมทันตแพทย์ของ TDH Dental มีทันตแพทย์ Invisalign ทันตแพทย์วินิจฉัย ทันตแพทย์ทั่วไป ทันตแพทย์ใส่ฟันตกแต่งฟัน ทันตแพทย์รากเทียม ทันตแพทย์รักษารากฟัน ทันตแพทย์โรคเหงือก ทันตแพทย์ระบบบดเคี้ยว ศัลยแพทย์ช่องปาก ศัลแพทย์ขากรรไกร ทันตแพทย์จัดฟัน และทันตแพทย์สำหรับเด็ก

TDH Dental เป็นคลินิกทันตกรรมที่เลือกใช้เครื่องมือทางทันตกรรมที่มีความทันสมัยที่สุด โดยมีเครื่องมือทันตกรรมสุดล้ำเทคโนโลยีที่ช่วยลดการเจ็บปวดจากการทำฟันได้อย่างดี รวมถึงช่วยให้การรักษาฟัน การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันด้วยวิธีการทางทันตกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน เห็นผลเร็วอีกด้วย สามารถขอคำแนะนำการรักษาสุขภาพช่องปากและฟันได้ที่เว็บไซต์

มีคุณยายท่านหนึ่งเล่าให้หมอฟังว่า คุณยายทำถุงมือใส่ให้หลานสาววัยเกือบ 3 ขวบ เป็นถุงมือผ้ายาวเลยข้อมือ เมื่อสวมมือแล้ว คุณยายจะพันเทปลงบนถุงมือผ้าบริเวณข้อมือให้ไม่แน่นจนรัดข้อมือหลานเกินไป แต่แน่นพอที่หลานจะไม่สามารถดึงถุงมือออกได้ หลานมักจะเผลอดูดนิ้วตอนหลับ เมื่อใส่ถุงมือก็ดูดไม่ได้ ใส่อยู่เกือบ 1 เดือน ก็เลิกดูดนิ้วไปได้ค่ะ

คุณแม่อีกท่านหนึ่งบอกว่าลูกอายุ 3 ขวบกว่า ชอบดูดนิ้วตอนนั่งรถเพลินๆ หมอเสนอให้คุณแม่เปิดเพลงเด็กให้ลูกร้องไปตลอดทาง เมื่อปากไม่ว่างก็จะได้ไม่ดูดนิ้ว ก็ได้ผลดี นอกจากเด็กดูดนิ้วน้อยลงแล้ว ยังสามารถร้องเพลงเด็กได้ทั้งแผ่นอย่างคล่องแคล่วอีกด้วย แต่วิธีการนี้คุณแม่จะต้องฟังแต่เพลงเด็กทุกครั้งที่ลูกนั่งรถไปลูก

อีกบ้านหนึ่ง แม่ของลูกฝาแฝด 3 ขวบ ดูดนิ้วทั้งคู่เล่าว่า ลูกอยู่บ้านกับพี่เลี้ยงตอนกลางวัน พี่เลี้ยงดูหนังยิงกันเลือดท่วมจอให้เด็กๆ ดูอยู่ด้วย จากนั้นพี่เลี้ยงก็หันมาบอกเด็กน้อยว่า ถ้าดูดนิ้วต่อไปเลือดจะไหลแบบนี้เลย (เด็กๆ คงรู้สึกสยองแน่ๆ) พอตกเย็นเมื่อแม่กลับมาพบว่า เด็กๆ ไม่ดูดนิ้วแล้ว และเลิกดูดนิ้วไปเลย ผ่านไป 2 วันแม่ถามพี่เลี้ยงจึงได้ทราบสาเหตุว่าเพราะพี่เลี้ยงพาดูหนังโหด แม่ถึงกับอึ้งไป ใจก็อยากจะดุพี่เลี้ยง แต่น้องก็เลิกดูดนิ้วทันทีเพราะเธอ!