อยาก เป็น นักจัดรายการวิทยุ

            ชีวิตหนึ่งที่ทุกคนได้เกิดมา ล้วนแล้วมีความถนัด ความชำนาญ แตกต่างกันออกไป บางคนมาพร้อมด้วยพรสวรรค์ที่ได้จัดสรรลงมา ทำให้เขาทำในสิ่งนั้นได้ดีมาก ๆ โดยมิต้องเรียนรู้อะไรมากมายก็ทำได้แล้ว อีกหลายคนต้องฝึกฝนด้วยความมานะความเพียรพยามโดยการเรียนรู้จนเกิดความเข้าใจ และทำสิ่งนั้นจนเก่งเชี่ยวชาญ สิ่งนี้ที่ทุกคนรู้จักกันว่า “พรแสวง” เพราะว่าเราจะต้องแสวงหาหรือใฝ่คว้าเอาไว้เอง

6. มีความตั้งใจที่จะทำอาชีพนี้ มีใจรัก และสนใจทางด้านศิลปะการสื่อความหมายประเภทต่าง ๆ ไม่หวังกอบโกยผลประโยชน์และมีจรรยาบรรณ

อ้างอิงจาก http://www.krtradio.com/radio/index.php?n=krtradio&radio_id=162&module=news_detail&id_news=284

งานสื่อสารมวลชน ถือว่าเป็นศาสตร์สำคัญยิ่งในโลกยุคปัจจุบันที่จำเป็นต้องมีความฉับไวในการส่งและรับข่าวสารตามการเปลี่ยนแปลงของโลกทุกชั่วโมง ทุกนาที ความรู้สึกนึกคิดของคนเราก็มีการพัฒนาสูงขึ้นไปด้วย งานสื่อสารจึงเปรียบเสมือนอาหารจำเป็นสำหรับสมองของคนไปด้วย โดยเฉพาะสื่อประเภทวิทยุ ซึ่งถือว่าเป็นสื่อสำหรับคนทุกเพศทุกวัย ทุกสัมมาอาชีพและทุกฐานะก็ว่าได้ และผู้ที่จะสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ออกมาให้เราได้ยินได้ฟังก็คือ “นักจัดรายการวิทยุ” หรือ “ดีเจ”

การจัดรายการวิทยุ/ การกระจายเสียง คืออะไร

“การจัดรายการวิทยุ / การกระจายเสียง” เป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่ศึกษาทฤษฎีแนวคิด กระบวนการของการส่งข่าวสาร หรือสื่อความหมายต่าง ๆ โดยทางสื่อกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ โดยต้องเรียนรู้ทฤษฎีและแนวคิดเหล่านั้นไปประยุกต์กับการปฏิบัติในด้านการผลิตรายการ การวางแผนรายการ และการประเมินผลการใช้สื่อ

หลักสูตรการเรียนการสอน

การศึกษาในระดับปริญญาตรี เพื่อเป็นนักจัดรายการวิทยุนั้นต้องเรียนสาขาวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โดยใช้เวลาในการศึกษา 4 ปี ลักษณะการเรียนจะมุ่งให้การศึกษาทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ อันจะทำให้ผู้ศึกษาได้รับความรู้ความเข้าใจถึงหลักการดำเนินงานจากสื่อประเภทวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์

โดยตลอด 4 ปี การศึกษานั้นจะศึกษาการทำงานของอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในสื่อวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ในปัจจุบัน ศึกษาขั้นตอนการเขียนบทรายการ ลักษณะงานการจัดรายการวิทยุกระจายเสียงรูปแบบต่าง ๆ อย่างมีขั้นตอนนับตั้งแต่ การเตรียมการผลิตไปจนถึงการนำเสนอรายการ ศึกษาหลักการเขียนข่าว การเขียนข่าว การรายงาน วิธีการและกระบวนการผลิตข่าว ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการอ่านออกเสียงอย่างถูกวิธีเพื่อการพูด การอ่าน การบรรยายและพากย์ ให้มีความเข้าใจบทบาทหน้าที่และทักษะในการเป็นผู้ประกาศ พิธีกร ผู้ดำเนินรายการ ผู้บรรยาย หรือผู้พากย์ในงานวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ รวมทั้งศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่ใช้ในงานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และในภาคสุดท้ายของการศึกษานั้นผู้ศึกษาจะต้องออกไปฝึกงานตามสถาบันวิชาชีพด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในส่วนงานที่สนใจและสอดคล้องกับวิชาที่ได้ศึกษามา และต้องศึกษาหัวข้อเดียวกับงานวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ ตามความสนใจและความถนัดของผู้ศึกษา เพื่อนำมาเป็นผลงานก่อนจบการศึกษา

เส้นทางการศึกษา

จบ ม.6 หรือเทียบเท่า แล้วมา ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี 4 ปี คณะนิเทศศาสตร์ / คณะวารสารศาสตร์ฯ สาขาวิทยุกระจายเสียง สาขาวิทยุโทรทัศน์สาขาสื่อสารมวลชน เป็นต้น

ผู้ที่จะเข้าสู่อาชีพนักจัดรายการวิทยุ จะต้องจบหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) หรือเทียบเท่า แล้วเข้าศึกษาต่อในคณะนิเทศศาสตร์ หรือคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน หรือคณะมนุษยศาสตร์ ในสาขาวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสาขาสื่อสารมวลชน เป็นต้น โดยใช้เวลาในการศึกษา 4 ปี

สถาบันที่เปิดสอน

สาขาวิทยุกระจายเสียง (การกระจายเสียง) สาขาวิทยุโทรทัศน์ นั้นเปิดสอนในคณะนิเทศศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน หรือคณะมนุษยศาสตร์ (สาขาสื่อสารมวลชน) เป็นต้น

โดยมีสถาบันที่เปิดสอน เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย เป็นต้น

อยาก เป็น นักจัดรายการวิทยุ

ลักษณะทั่วไปของอาชีพ

“นักจัดรายการวิทยุ” หรือ “ดีเจ” (ย่อมาจาก Disc Jockey หมายถึงผู้จัดรายการเพลงประกอบความรู้เกี่ยวกับเพลง หรือเรื่องอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในความสนใจของผู้ฟัง ในสถานที่ฟังเพลง) ความเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถตรงกับรายการที่จัดและตรงกับนโยบายของสถานีวิทยุกระจายเสียงและจัดรายการให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มผู้ทำงาน นักเรียน นักศึกษา หรือกลุ่มพ่อบ้านแม่บ้าน เกษตรกร ผู้สูงวัย หรือชุมชนท้องถิ่น

นักจัดรายการวิทยุควรศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับเพลงที่จะเปิดให้ผู้ฟัง ตลอดจนความรู้เรื่องอื่น ๆ ที่จะนำมาใช้ประกอบการเปิดเพลง เพื่อให้ผู้ฟังได้รับทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน ซึ่งควรจะตรงกับกลุ่มผู้ฟัง เช่น กลุ่มผู้ฟังเป็นเกษตร ก็ควรให้ความรู้ทางการเกษตร เพื่อให้กลุ่มผู้ฟังได้เป็นสมาชิกถาวรติดตามรายการตลอดไป รายการที่จัดอาจเป็นรายการที่มีกำหนดเวลาแน่นอน หรือเป็นรายการที่ให้บริการตลอดวัน เช่น รายการกรีนเวฟหรือรายการที่อยู่เป็นเพื่อนคุยกับนักศึกษาที่ดูหนังสือดึก ๆ หรือรายโชว์ดึก โดยมีหัวข้อคุยเป็นประเด็นเรื่องราวตามกระแสเหตุการณ์บ้านเมืองและโลกแทรกไว้ในรายการ หรือรายการเพื่อสุขภาพ รายการเพื่อผู้บริโภค รายการเพื่อการศึกษา การทบทวนข้อสอบของนักเรียนเพื่อเตรียมสอบเอนทรานซ์ การตอบปัญหาสุขภาพจิตสำหรับผู้ฟังที่มีปัญหาคับข้องใจ หรืออาจเป็นรายการสายด่วนเพื่อช่วยเหลือความเดือดร้อน โดยนักจัดรายการวิทยุจะเปิดเพลง สลับการให้ความรู้หรือตอบปัญหา หรือสนทนากับสมาชิกที่เป็นผู้ฟังตามช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อมิให้เกิดความเบื่อหน่ายแก่บุคคลทั่วไป

นักจัดรายการหรือดีเจ ที่ได้รับความสนใจในปัจจุบัน มักจะเป็นดีเจที่จัดรายการให้กลุ่มนักเรียนและนักศึกษาวัยรุ่น โดยให้ความรู้ทั่วไป สลับกับการเปิดเพลงประกอบหรือรายการบันเทิง หรือเป็นรายการเพลงล้วน ๆ

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

ผู้ประกอบอาชีพนี้ควรมีคุณสมบัติดังนี้

1. สำเร็จการศึกษรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง หรือสาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หรือสาขาที่ใกล้เคียง

2. มีประกาศนียบัตรผู้ประกาศจากกรมประชาสัมพันธ์ ได้รับการฝึกอบรมจากสมาคมวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และผ่านการสอบได้รับประกาศนียบัตรผู้ประกาศจากกรมประชาสัมพันธ์ โดยสมัครสอบด้วยตนเอง หรือผ่านสถาบันการศึกษาที่สังกัดอยู่

3. มีความสามารถเขียนบทวิทยุ ด้วยตนเอง

4. ต้องเป็นผู้ที่ออกเสียงควบกล้ำในภาษาไทยได้ชัดเจน มีน้ำเสียงน่าฟังสุภาพ

5. ต้องมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ มีความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างดี

6. รักการอ่าน มีความรู้กว้างขวาง ทันสมัยสนใจข่าวสารรอบตัวและสนใจที่จะใฝ่หาความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างจริงจัง มีการแก้ไขพัฒนาการรับรู้และความสามารถของตนเองตลอดเวลา

7. มีความรับผิดชอบสูง และตรงต่อเวลาอยู่เสมอ

8. มีความตั้งใจที่จะทำอาชีพนี้ มีใจรัก และสนใจทางด้านศิลปะการสื่อความหมายประเภทต่าง ๆ ไม่หลังกอบโกยผลประโยชน์และมีจรรยาบรรณ

9. ควรเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย มีไหวพริบดี แก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้ดี สุขุมคล่องแคล่ว มีเหตุผล รู้จักกาลเทศะ ละเอียดรอบคอบ อดทน เชื่อมั่น กระฉับกระเฉง ร่าเริง แจ่มใส ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ง่าย กล้าแสดงออกและรักอิสระ

10. มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถถ่ายทอดความคิดออกมาได้อย่างชัดเจนและยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น ๆ

11. ไม่หยุดนิ่งในการปรับปรุงทักษะในการสื่อสาร การหาเหตุผล การพูด การเขียน การอ่าน และการฟัง

12. มีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง คือความมั่นใจในตนเอง มีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องที่จะสื่อ ต้องสนใจและเห็นว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องสำคัญ และมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ฟัง

13. ปรับปรุงระดับความรู้ในเนื้อหาสให้มาก และวิธีการของตนเองโดยเฉพาะให้เฉียบคมตลอดเวลา

14. ปรับปรุงตนเองในด้านสถานะทางวัฒนธรรมและสังคม เปิดโลกของตนเองให้กว้าง เพื่อเพิ่มการรับรู้อย่างไม่มีขีดจำกัดและมีความเป็นกลางมากที่สุด

อยาก เป็น นักจัดรายการวิทยุ

แนวทางในการประกอบอาชีพ

ปัจจุบันนโยบายขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยได้จัดให้มีวิทยุชุมชนความต้องการนักจัดรายการของสถานีวิทยุ จึงกระจายไปทุกจังหวัดทั่วประเทศทั้งภาค AM, FM

นอกจากนี้บริษัทและองค์กรเอกชนที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสื่อโฆษณาทางวิทยุและโทรทัศน์ ธุรกิจการบันเทิง หรือมูลนิธิต่าง ๆ เป็นผู้รับเช่าช่วงเวลาสถานีจากหน่วยงานราชการสถานีวิทยุของมหาวิทยาลัย เพื่อนำมาจัดดำเนินการและเผยแพร่รายการ ใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์สินค้าของตนเองให้ครบวงจร ทั้งนี้ผู้เช่าช่วยสถานีต้องจัดทำผังรายการภายใต้กรอบนโยบายและวัตถุประสงค์ของเจ้าของสถานี เช่น บริษัทผลิตเทปเพลง บริษัทจัดฉายภาพยนตร์จากทั้งในและต่างประเทศ หรือการให้บริการสังคมอย่างเช่น สถานีวิทยุรายการ จส. 100 รายการร่วมด้วยช่วยกัน เป็นต้น ทำให้มีการจ้างงานในอาชีพนี้เพิ่มขึ้น

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

นักจัดรายการวิทยุหรือดีเจในบางรายการเป็นทั้งผู้จัดรายการและเป็นผู้หาโฆษณาสินค้าเพื่อสนับสนุนรายการของตนเอง อาจพัฒนาทักษะและความความสามารถเป็นผู้เขียนบทวิทยุหรือโทรทัศน์ เป็นนักเขียน เพราะจากการจัดรายการจะมีข้อมูลที่สะสมไว้ใช้ในการทำงานอาชีพที่เกี่ยวข้องได้เป็นจำนวนมาก ตำแหน่งอาจไม่มีการเลื่อนขึ้น แต่มีรายได้มากขึ้นและมีชื่อเสียงมากขึ้น

อาชีพนี้จัดว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลทางด้านความคิดต่อผู้ฟังมาก ดังนั้นจึงสามารถที่จะโน้มน้าวประชาชนให้เกิดความสนใจ และสั่งซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ดังนั้นจึงอาจมีรายการวิทยุเป็นของตนเอง หรือสามารถเป็นผู้ผลิตรายการวิทยุ รายการต่าง ๆ เพื่อป้อนให้กับผู้เช่าช่วงสถานี

ปัจจุบัน เจ้าของสินค้าเห็นความสำคัญถึงสื่อโฆษณาทางวิทยุ เนื่องจากวิทยุเป็นสื่อที่สามารถพกพาไปได้ทุกแห่งหน และเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย การโฆษณาสินค้าโดยผ่านรายการทางสถานีวิทยุจึงสามารถเพิ่มยอดขายได้ ดังนั้นอาชีพนักจัดรายการจึงเป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่สนใจจะใช้เป็นงานประจำ หรือเป็นอาชีพเสริมก็ได้

นักจัดรายการ เรียนคณะอะไร

ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ควรเตรียมความพร้อมดังนี้ คือ : สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และเลือกศึกษาต่อใน ระดับอุดมศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ สาขาที่เกี่ยวข้อง ถ้าจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ไม่ตรงตามวิชาชีพก็ควรสมัครสอบ

ถ้าอยากเป็นดีเจต้องเรียนอะไร

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ – สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จนถึงปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงหรือสาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

นักจัดรายการวิทยุต้องเรียนอะไรบ้าง

ผู้ที่จะเข้าสู่อาชีพนักจัดรายการวิทยุ จะต้องจบหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) หรือเทียบเท่า แล้วเข้าศึกษาต่อในคณะนิเทศศาสตร์ หรือคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน หรือคณะมนุษยศาสตร์ ในสาขาวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสาขาสื่อสารมวลชน เป็นต้น โดยใช้เวลาในการศึกษา 4 ปี

นักจัดรายการ คืออะไร

(n) DJ (disc jockey), See also: program manager, program director, Syn. ดีเจ, Example: ยามเช้าพ่อมักจะฟังรายการที่นักจัดรายการท่านนี้จัดเป็นประจำ, Thai Definition: ผู้ที่ทำหน้าดำเนินรายการในวิทยุ