ถ้า นักเรียน ต้อง บรรเลง เพลงหน้าพาทย์ ธรรมดา จะ ต้อง บรรเลง เพลง ใด

              เพลงหน้าพาทย์ทั้ง ๗ ลักษณะดังกล่าวนี้ ล้วนเป้นเพลงหน้าพาทย์ที่นำมาใช้ในการแสดงต่างๆ เช่น ลิเก ละคร และโขนอยู่บ่อยๆ ดังนั้นถ้าหาก รู้จักสังเกตุ และศึกษาหาความรู้ในเรื่องเพลงหน้าพาทย์เหล่านี้มาบ้าง ก็จะช่วยให้สามารถดูศิลปกะก ารแสดงต่างๆ ของไทยได้อย่างเข้าใจ และมีความเพลิดเพลินยิ่งขึ้น

�ŧ˹�Ҿҷ�� ��� �ŧ��������ŧ��Сͺ������ �ĵԡ�����ҧ� ���������ͧ����Ф� �� �ŧ�ʹ����Ѻ��ͧ��� ����� �ŧ����������Ѻ��������ʹءʹҹ �ŧ�Դ�ҹ����Ѻ�����������ҧ �ŧ�������Ѻ��ر�Թ �ŧ�ء�ҷ������Ѻ�ȡѳ���ʴ��Է��ķ�������˴���� ��������Ѻ˹��ҹ�ŧ�Է��ķ��� ����繴������͹ �繵� �͡�ҡ����ѧ���¶֧�ŧ������ŧ��Сͺ������ ���صԷ���������繵�ǵ� �� �ŧ�Ҹء�� �ŧ����ԭ �ŧ��й��Ե �ŧ��кͧ�ѹ ����Ѻ�ԭ෾´�����ʴ��� ����������ͧ��繡���ʴ��Ңͧ෾´�����ҹ�� �� ����ŧ��Сͺ�Ը������� ��ͺ��ٴ������йҮ��Ż� ����ѧ���ŧ������ŧ��Сͺ�����ҷ����ʹյ �����Ѩ�غѹ �� ����;���ȹ���Ҫҵԡѳ���ѷ�ը�ŧ ���ҷ�����ŧ�ŧ�����ʹ ��� ����ŧ�ŧ�ʹ�Ѻ�ŧ������Ѻ�ѹ ���ͻ�Сͺ�����Ҥ��Ӥ�ǭ �ȡ����� ����㨢ͧ��йҧ�ѷ�� ����͡�ͧ�ѳ���� ����ͷ�Һ��Ҿ������ѹ�����ԨҤ 2 ����� �ѳ����Ъ��������������٪�� ������ȹ�����ͧ��騹��ŧ���� ����ҷ����觨к���ŧ�ŧ��Сͺ����ͧ ���ҧ���������繡�ú���ŧ��Сͺ���������صԷ����ʹյ �繵� �ŧ˹�Ҿҷ���������ŧ�������§���ҧ���� �������ͧ

�ŧ˹�Ҿҷ���觵���ҹѹ�� ���͡�� � ��Դ ���

�. ˹�Ҿҷ�������

�����ŧ��Сͺ������������ͧ����Ф÷�������ѭ�� ���ŧ˹�Ҿҷ�����ѧ�Ѻ������� ��è���ش ŧ�� ��������¹�ŧ ������ŧ�е�ͧ�ٷ���Ӣͧ����Ф�����ѡ �ŧ˹�Ҿҷ�쪹Դ������ҡ��Ѻ����ʴ���������Ф� �� �ŧ���� �ŧ�Դ �ŧ��� �ŧ�ʹ

�. ˹�Ҿҷ�����٧

�����ŧ��Сͺ������ ������ͧ����Фü���٧�ѡ�������෾��ҵ�ҧ� ���ŧ˹�Ҿҷ��������ѧ�Ѻ������� ����Өе�ͧ�ִ�ӹͧ��Шѧ��Тͧ�ŧ����ѡ�Ӥѭ �еѴ������������������ǵ��㨪ͺ����� ���ҡ��Ѻ����ʴ�⢹ �Ф� �����㹾Ը������� ��ͺ��ٴ���ջ�йҮ��Ż� �� �ŧ��й͹ �ŧ��кͧ�ѹ �ŧ��к�÷��Թ��� �ŧ�ҷʡس� �ŧͧ���о��Ҿ ��੾�����ҧ����ŧ͹����о��Ҿ ��͡ѹ������ŧ˹�Ҿҷ�����٧�ش㹺�ô��ŧ˹�Ҿҷ��������

        ความรู้เกี่ยวกับรำหน้าพาทย์ได้มีผู้รู้กล่าวไว้จำนวนมากซึ่งแต่ละท่านได้ให้ความหมายที่คล้ายคลึงกันส่วนประกอบของรำหน้าพาทย์ยังเป็นประเด็นที่มีผู้รู้กล่าวไว้แตกต่างกันสรุปได้ดังนี้

 1. ความหมายของรำหน้าพาทย์ จากความหมายของเพลงหน้าพาทย์ที่ได้กล่าว มาพอจะอนุมานไปถึงความหมายของ  รำหน้าพาทย์  ได้ว่า

“รำหน้าพาทย์”  หมายถึง  การแสดงการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นท่ารำตามนาฏยลักษณ์ของตัวละครให้สอดคล้องถูกต้องตามทำนองเพลงหน้าพาทย์  หน้าทับและไม้กลองของดนตรีที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์  เหมาะสมกับบทบาทของตัวละครและเหตุการณ์ในเรื่อง  ท่ารำหน้าพาทย์มาจากการคัดสรรให้เหมาะสมกับสถานภาพ  บุคลิกลักษณะและอารมณ์ของตัวละครนั้นๆ  ซึ่งครูอาจารย์ทางนาฏศิลป์และศิลปินได้ประดิษฐ์ขึ้นและถ่ายทอดสืบต่อกันมาอย่างเป็นแบบแผนที่สำคัญที่สุดคือเมื่อรำหน้าพาทย์เพียงใดก็ตามจะต้องถูกต้อง ตามความหมายของเพลงที่นำมาใช้และต้องสอดคล้องกับกาลเทศะของการรำเพลงหน้าพาทย์นั้นๆเสมอ  เพลงหน้าพาทย์แต่ละเพลงมีความหมายเฉพาะเพลง  ซึ่งขึ้นอยู่กับโอกาสที่ใช้เพลงหน้าพาทย์ เช่น  ใช้ในการโหมโรงก่อนที่มาวันศุกร์จะลงโรงใช้ในการโหมโรงก่อนเทศน์มหาชาติและประจำกัณฑ์เทศน์มหาชาติใช้บรรเลงประกอบพระราชพิธีในบรรเลงประกอบพิธีไหว้ครูและครอบดนตรีนาฏศิลป์  และการช่างและใช้ประกอบกิริยาอาการของตัวละคร  เป็นต้น

จากแบบแผนของการรำหน้าพาทย์ซึ่งต้องทำให้ถูกต้องตามทำนองและจังหวะ  จึงสรุปได้ว่าเพลงหน้าพาทย์จะรำหน้าพาทย์จะต้องเป็นเพลงเดียวกัน  เช่น รำหน้าพาทย์เพลงสาธุการ เพลงที่บรรเลงประกอบการทำให้ภาพนั้นต้องเป็นเพลงสาธุการเช่นกันความกันหมายของเพลงที่บรรเลงประกอบการรำจึงเป็นไปตามนัยของการทํานานๆด้วยทั้งๆที่ท่ารำเพลงหน้าพาทย์นั้นไม่ได้มีความหมายในลักษณะที่เป็นภาษาท่าทางแต่ประการใด

2. ประเภทของการรำหน้าพาทย์  จากข้อสันนิษฐานที่สรุปว่า  คำว่า  หน้าพาทย์เกิดจากการบัญญัติของคำนาฏศิลป์โขนละคร  ซึ่งต่อมาเป็นที่รับรู้เข้าใจร่วมกันอย่างแพร่หลาย  ตลอดจนนักดนตรีก็ยอมรับและนำไปใช้อย่างกว้างขวาง  จะเห็นได้จากมีการเขียนตำรา  รวมทั้งมีการวิจัยทั้งในระดับบัณฑิตศึกษาหลายเล่ม  จึงดูเสมือนว่าความเข้าใจเรื่องเพลงหน้าพาทย์และรำหน้าพาทย์อย่างมีเอกภาพเดียวกัน  ในทางตรงกันข้ามเมื่อพูดถึงเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงหรือรำหน้าพาทย์ชั้นสูงครูดนตรีและนักดนตรี  กับครูโขนละครและนาฏศิลป์  หรือแม้แต่คนในวงการดนตรีหรือนาฏศิลป์ด้วยกันยังมีความเห็นที่ไม่เป็นไปในทางทิศเดียวกัน  สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสัมมนาหรือทำการวิจัยเพื่อขจัดข้อสงสัยและให้เข้าใจตรงกัน  ทั้งนี้ก็เพื่อความก้าวหน้าในวงการวิชาการอย่างไรก็ตามผู้เขียนจะได้กล่าวถึงเพลงรำหน้าพาทย์ซึ่งมีจำนวนหลายเพลงและมีการนำไปใช้ในหลากหลายโอกาสทั้งนี้เพื่อจะได้นำไปสู่การสรุปประเด็นสำคัญของเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรำหน้าพาทย์ชั้นสูงต่อไป

        สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทยภาคคีตะ-ดุริยางค์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2540   ได้จำแนก

เพลงหน้าพาทย์ออกดังนี้

        1. เพลงหน้าพาทย์ธรรมดา  ใช้กับ  ตัวละครชั้นสามัญทั่วไปที่ไม่มีความสำคัญมากนัก  เช่น  เพลงเสมอ

        2. เพลงหน้าพาทย์ชั้นกลาง ใช้กับตัวละครที่มีความสำคัญมากขึ้น เช่น เพลงเสมอข้ามสมุทร  เพลงเสมอเถร  เพลงเสมอมาร

        3. เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงใช้กับตัวละครสูงศักดิ์  เช่น  เพลงบาทสกุณี  (เสมอตีนนก) เพลงดำเนินพราหมณ์

          มนตรี  ตราโมท    กล่าวไว้ในหนังสือดุริยางคศาสตร์ไทยภาควิชาการ โดยได้แบ่งประเภทของเพลงหน้าพาทย์ออกเป็น 2 ประเภทคือ

      1. ประเภทเพลงไหว้ครู ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ต่างๆ ที่มีระบุชื่อไว้ในตำราซึ่งว่าด้วยการไหว้ครูเช่น  ตระพระปรคนธรรพ โปรยข้าวตอกเป็นต้น

     2. ประเภทเพลงหน้าพาทย์พิเศษ ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ต่างๆซึ่งอยู่นอกตำราไหว้ครูสำหรับประกอบการแสดงโขนละครและอื่นๆเช่นเพลงพญาเดิน ดำเนินพราหมณ์  เป็นต้น

          สมาน   น้อยนิตย์ จำแนกเพลงหน้าพาทย์ออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. เพลงหน้าพาทย์ที่ไม่มีตัวตนเป็นนามสมมติในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

       1.1. กลุ่มเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครูดนตรีไทยและไหว้ครูโขนละคร เช่น องค์พระพิราพเผชิญ  ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ตระพระปรคนธรรพ พระพิฆเนศ ตระเทวาประสิทธ์  ตระประทานพร  บาสกุณี ดำเนินพราหมณ์  พราหมณ์เข้า พราหมณ์ออก เสมอเถร  เสมอมาร เสมอสามลา โคมลา กราวนอก กราวใน สาธุการกลอง นั่งกิน เซ่นเหล้า

           1.2.รวมเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงแสดงความคารวะและอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์เช่นเทวดาขุนทัพยักษ์ให้เสด็จลงมา ณ สถานที่ที่จะกระทำพิธีอันเป็นมงคล  ได้แก่

          - โหมโรงเช้า  ประกอบด้วยเพลงสาธุการ  เหาะ  รัวสามลา  กลมและชำนาญ

- โหมโรงกลางวัน  ประกอบด้วย  เพลงกราวใน 3 ท่อน-เชิด  กระบองกัน(โปรยข้าวตอก  ประสิทธิ  ย้อนเสี้ยนย้อนหนาม  รัว)  ชุบ-ลา  เสมอข้ามสมุทธ-รัว  เชิดฉาน-รัว  ปลูกต้นไม้-รัว  ชายเรือ หรือใช้เรือ-รัว  รุกร้น  แผละ  เหาะ  โคมเวียน  โล้และวา

- โหมโรงเย็น  ประกอบด้วย  เพลงสาธุการ  ตระสันนิบาต  รัวสามลา  ต้นชุบหรือต้นเข้าม่าน  เข้าม่าน  ท้ายปฐม  ลา  เสมอติดรัว  เชิด 2 ชั้น  เชิดชั้นเดียว  กลม  ชำนาญ  กราวใน  ต้นชุบ (บางแห่งเรียกว่าปลายเข้าม่าน)  ซึ่งการบรรเลงเพลงนี้ซ้ำอีกเป็นการแสดงว่า  จบคำอันเชิญเทพเจ้า  และเทพเจ้าเสด็จมาพร้อมแล้ว

- โหมโรงเทศน์  ประกอบด้วย  เพลงสาธุการ  กราวใน-รัว  เชิดกลอง  ชุบลงลา  บรรเลง  ก่อนงานการเทศน์มาหาชาติชาดก

          1.3. เพลงหน้าพาทย์ที่ไม่มีตัวตนที่จัดเป็นนามสมมุติในอดีต  เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการเทศน์มหาชาติชาดกทั้ง  13  กัณฑ์  ไก้แก่  สาธุการ  ตวงพระธาตุ  พญาโศก  พญาเดิน  เซ่นเหล้า  รัวสามลา  เชิดกลอง  เชิดฉิ่งสลับโอด (3 ครั้ง)  ทยอยสลับโอด (3 ครั้ง)  เหาะ  กราวนอก  ตระนอน  และกลองโยน-เชิด 

2.  เพลงหน้าพาทย์ที่มีตัวตน  เป็นเพลงใช้บรรเลงประกอบการแสดงโขนละคร  โดยมีผู้แสดงรำไปด้วย  ทางดนตรีจัดแบ่งออกเป็น  3  ระดับ  ตามความสำคัญของเพลง  คือ

                        2.1. เพลงหน้าพาทย์ชั้นต้น  หมายถึง  เพลงหน้าพาทย์ที่ประกอบกิริยาไปมาหรือ กิริยาต่างๆ  อันเป็นสามัญทั่วไป  เช่น  เชิดกลอง  เป็นต้น

                       2.2  เพลงหน้าพาทย์ชั้นกลาง  หมายถึง  เพลงหน้าพาทย์ที่ประกอบกิริยาไปมาหรือ  การแสดงอิทธิฤทธิ์ของผู้มียศศักดิ์  เช่น  เสมอมาร  เสมอเถร  เสมอข้ามสมุทร  เสมอตีนนก  เป็นต้น

                     2.3  เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง  หมายถึง  เพลงหน้าพาทย์ที่ประกอบกิริยาอัญเชิญหรือ  การบูชาเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ได้แก่  องค์พระพิราพ  ตระพระปรคนธรรพ  ตระพระวิศณุกรรม  ตระพระปัญจสีขร  ตระพระพิฆเนศ  ตระพระพรหม  ตระฤๅษีไลยโกฏ  ซึ่งเพลงกลุ่มนี้จะบรรเลงเมื่อมีการตั้งเครื่องสังเวยและมีประธานผู้อ่านโองการเท่านั้น  นอกจากนี้ยังหมายรวมถึง  เพลงสาธุการกลอง  ตระเมวาประสิทธิ์  ตระประทานพร  ประสิทธิ  ซึ่งจัดอยู่ในเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงเพราะใช้บรรเลงในพิธีไหว้ครู  แต่ไม่จัดอยู่ในกฎเกณฑ์เทียบเท่ากับเพลงองค์พระพิราพ

         อนันต์    สบฤกษ์  จำแนกเพลงหน้าพาทย์ออกเป็น  2  กลุ่มคือ

          1. แบ่งตามคุณลักษณะของเพลง  จำแนกเป็น  2  ประเภท  คือ

                   1.1 เพลงหน้าพาทย์ตายตัว  เช่น  เสมอ  ตระนอน  ซึ่งเป็นเพลงประเภทมีหน้าทับและไม้กลองประจำเพลงกำหนดตายตัว

                  1.2 เพลงหน้าพาทย์ยืดหยุ่น  เช่น  เชิด  กลม  สาธุการ  เซ่นเหล้า  ลงสรง  เป็นต้น  เพราะจะลงจบตรงไหนก็ได้  นอกจากนี้แล้วยังให้ความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า  ตระนอนและตระนิมิต  ก็จัดเป็นเพลงหน้าพาทย์ยืดหยุ่นด้วย  เพราะจะบรรเลงเที่ยวเดียวหรือ 2 เที่ยวก็ได้

2. แบ่งตามโอกาสที่นำไปใช้ จำแนกเป็น 3 ประเภท

       2.1.เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง หมายถึง เพลงที่ใช้ในพิธีไหว้ครู ได้แก่ องค์พระพิราพ ดำเนินพราหมณ์ ตระพระปรคนธรรพ พราหณ์เข้า บาสกุณี ตระเชิญและพราหณ์ออก เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ในภายหลัง เช่น ตระนาฏราช ซึ่งแต่งโดย ครูบุญยง เกตุคง ประพันธ์ขึ้นจากทำนองเพลงดับเทียน ของโบราณ โดยครูอาคม สายาคม เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำเพลงหน้าพาทย์บางเพลงได้นำเอาเพลงที่มีอยู่แล้วมาปรับปรุงใหม่โดยใช้หน้าทับตะโพนกลองทัดกำกับเพื่อให้เหมาะสมกลายเป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง เช่น ระบำคชสีห์ใช้ทำนองเพลงสิงโตเล่นหางซึ่งเดิมเป็นหน้าทับปรบไก่ ประพันธ์โดยครูศิลปี ตราโมท เป็นต้น

                 2.2.เพลงหน้าพาทย์ชั้นกลางใช้สำหรับตัวละครที่สูงศักดิ์หรือตัวละครที่มีอิทธิฤทธิ์ ได้แก่ ตระนิมิต กระบองกัน บาทสกุณีเป็นต้น

            2.3.เพลงหน้าพาทย์ธรรมดาหรือหน้าพาทย์ปกติ   ใช้สำหรับประกอบกิริยาอาการของตัวละครทั่ว ๆไปได้แก่ เชิดเสมอ  รัวลา เป็นต้น

          ปราณี สำราญวงศ์และไพฑูรย์เข้ม แข็ง กล่าวถึงการแบ่งประเภทของเพลงหน้าพาทย์ซึ่งสอดคล้องกับ วรวิทย์ เดชนันต์และสัญชัย สุขสำเนียง โดยได้จำแนกเพลงหน้าพาทย์ออกเป็น3ประเภทคือ

          1. เพลงหน้าพาทย์ธรรมดาหรือเพลงหน้าพาทย์ปกติ ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครูเพลงโหมโรงต่าง ๆ และเพลงประกอบการแสดงทั่วไปเช่น เชิด เสมอ รัว ลา โอด กราว ปฐมโล้ เหาะ ทยอย ชุบ เป็นต้น

          2. เพลงหน้าพาทย์ชั้นกลาง  ใช้สำหรับผู้แสดงโขนละครที่เป็นตัวเองที่มียศสูงศักดิ์เพื่อแสดงอิทธิฤทธิ์แปลงกายเช่น ตระนิมิต สาธุการ กระบองกัน ชำนาญ เป็นต้น

       3. เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงหรือหน้าพาทย์พิเศษ  ใช้ในโอกาสพิเศษสำหรับตัวเอกโขนละครโดยเฉพาะ เพื่อประกอบการแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์การแปลงกายการร่ายเวทย์มนต์คาถาชุบชีวิตผู้ที่ตายให้ฟื้นขึ้น เช่นพราหมณ์เข้า พราหมณ์ออก คุกพาทย์ เสมอ สามลารัวสามลา บาทสกุณี ดำเนินพราหมณ์ เสมอเถร เสมอมาร เสมอผี เป็นต้น ตลอดจนใช้ประกอบพิธีไหว้ครูเช่นตระเชิญ ตระพระปรคนธรรพ ตระนารายณ์บรรมสินธุ์ ตระสันนิบาต และโปรยข้าวตอก เป็นต้น

จตุพร รัตนวราหะ ได้แบ่งประเภทของเพลงหน้าพาทย์ออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะของโอกาสที่ใช้ดังนี้

        1. ประเภทเพลงครู ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ที่ได้มีการระบุไว้ในตำราว่าด้วยการไหว้ครูของนายธนิต อยู่โพธิ์

        2.เพลงหน้าพาทย์พิเศษ ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ที่ได้มีการระบุไว้นอกตำราไหว้ครูใช้ประกอบการแสดงโขนละครและอื่น ๆ เช่นเพลงพญาเดิน เพลงดำเนินพราหมณ์ เป็นต้น

        3. เพลงโหมโรง ได้แก่ โหมโรงเช้า โหมโรงกลางวัน และโหมโรงเย็น

         จรูญศรี วีระวานิช  ได้จำแนกเพลงหน้าพาทย์สำหรับประกอบอากัปกิริยาของตัวละครออกเป็น 2 ประเภทคือเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงเล่นเพลงหน้าพาทย์ธรรมดาแต่ไม่ได้ระบุตัวอย่างของเพลงไว้เพียงแต่ให้ข้อมูลว่าพูดจะได้รับการถ่ายทอดเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงต้องได้รับการอนุญาตจากครูและต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดเท่านั้น

            จาตุรงค์ มนตรีศาสตร์ กล่าวถึงประเภทของเพลงหน้าพาทย์ว่ามี 2 ประเภทคือ

           1. เพลงหน้าพาทย์ธรรมดาหมายถึงเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้รำประกอบกิริยาปกติเช่น เพลงช้าเพลงเร็ว เพลงเสมอ เป็นต้น

      2. เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงหรือเรียกว่า “เพลงครู” ถือว่าเป็นเพลงที่มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัวเช่นเพลงตระนิมิต กระบองกัน ชำนาญ สาธุการเป็นต้น  บรรดาศิลปินที่ได้ยินเพลงเหล่านี้จะยกมือไหว้เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกต่อเวทีความเคารพที่มีต่อครูบาอาจารย์เสมอ

ณรงค์ชัย   ปิฎกรัชต์ ได้แบ่งเพลงหน้าพาทย์ตามลักษณะไว้ 2 ประเภทคือ

           1.เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง  ถือว่าเป็นเพลงครูใช้บรรเลงในโอกาสเฉพาะซึ่งมีความขลังความศักดิ์สิทธิ์แฟนอยู่ในทำนองเพลง เช่น องค์พระพิราพ ตระพระปรคนธรรพ ตระนิมิต ตระเชิญ กระบองกัน ชำนาญ สาธุการ บาทสกุณี พราหมณ์เข้า พราหมณ์ออก คุกพาทย์ นัวสามลา เสมอเถร เสมอมาร เป็นต้น

           2.เพลงหน้าพาทย์ปกติ   ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีและการแสดงทั่วไปเช่น เพลงช้า เพลงเร็ว เชิดเสมอ รัว ลา โอด ปฐม โล้ ชุบ เหาะ ทยอย เป็นต้น ศุภชัย จันทร์สุวรรณ กล่าวถึงเพลงหน้าพาทย์ว่าหน้าพาทย์ทางด้านนาฏศิลป์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ “ หน้าพาทย์ธรรมดาเละหน้าพาทย์ชั้นสูงเท่านั้น”  

          จากข้อมูลที่รวบรวมมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการจัดประเภทของเพลงหน้าพาทย์ทางด้านดนตรีและทางด้านนาฏศิลป์แตกต่างกันหรือแม้แต่ดนตรีหรือนาฏศิลป์ด้วยกันเองก็มีความเห็นไม่ตรงกันนักความคิดเห็นของครูทางด้านดนตรีมีความเห็นว่า

            1) ต้องดูจำนวนไม้กรงสังเกตได้ว่าหน้าพาทย์ใหญ่ ๆ จะมีไม้กลองหลายไม้

            2) พิจารณาว่าเพลงหน้าพาทย์นั้นใช้กับใคร ตัวละครเป็นใครเทพเจ้าองค์ใด

            3) ดูจากกิริยาทั่วไป เช่น ศรทนง เชิดฉาน ไม่ถือเป็นหน้าพาทย์ชั้นสูงหรือเพลงครูแต่ถือว่าเป็นหน้าพาทย์ธรรมดาเพราะเฉิดฉาดใช้ในการตามสัตว์อาทิในพระราชพิธีจรดพระนั่งคัลแรกนาขวัญต้นที่เรียกว่า “ไถดะ” ก็ใช้เพลงเชิดฉานเพราะคนเดินตามโค

        4) พิจารณาความถี่ของการใช้เพลงหน้าพาทย์สังเกตได้ว่าในการแสดงตนหนึ่ง ๆ แม้จะเป็นตัวละครสูงศักดิ์จะใช้เพลงเดียวกันซ้ำ ๆ หลายครั้งก็ไม่ได้เช่นถ้าตัวละครในเรื่องมีการแปลงตัวสามครั้งติด ๆ กัน การบรรเลงเพลงตระนิมิต 3 ครั้งติดต่อกันจำเป็นต้องยักเยื้องเปลี่ยนเล่นเพลงอื่นแทน เพลงตระนิมิตเป็นต้น

          อาจกล่าวได้ว่าเกณฑ์การพิจารณาเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงของนักดนตรีมุ่งยึดกระบวนการบรรเลงเพลงเป็นหลักและให้ความสำคัญกับเพลงนั้น ๆ เป็นอย่างมากดังตัวอย่าง เพลงรัวสามลาและ เพลงคุกพาทย์จะถือว่าเพลงรัวสามลาเป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงเพราะบรรเลงยากกว่าเพลงคุกพาทย์ถึงแม้ว่าจะมีไม้กลองคล้ายๆ กัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเพลงคุกพาทย์ไม่มีปรากฏอยู่ในเพลงบรรเลงชุดโหมโรงก็เป็นได้ซึ่งต่างจากด้านนาฏศิลป์ที่ถือว่าทั้งเพลงรัวสามลาและเพลงคุกพาทย์ จัดเป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงเพราะใช้สำหรับตัวละครที่มีอิทธิฤทธิ์แม้การโตท่ารำเพลงหน้าพาทย์ทั้งสองเพลงก็จะให้เรียนท้าย ๆ ของหลักสูตรระดับปริญญา

          มีประเด็นที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือได้เกิดมีเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงที่นักดนตรีบางสำนักไม่คุ้นเคยทั้งที่ทราบและไม่ทราบนามผู้แต่งโดยเฉพาะเพลงที่มาจากแหล่งที่เรียกว่า “สายฝั่งธน” ของจาวางทั่ว พาทย์โกศล แห่งสำนักวัดกัลยาณมิตรเช่น ตระกริ่ง ตระพระสุรัสวดี ตระมงคลจักรวาล ตระอิศวร เป็นต้น เมื่อผู้เขียนได้ตรวจสอบเพลงตระที่ใช้ในพิธีไหว้ครูดนตรีพบว่าการเรียกเพลงไหว้ครูดนตรีไทยของประธานผู้ประกอบพิธีจำนวน 7 คน คือครูมนตรี ตราโมท ครูเตือน พาทยกุล ครูเชื้อ ดนตรีรส ครูจำเนียร ศรีไทยพันธ์ ครูประสิทธิ์ ถาวร ครูสำราญ เกิดผลและครูจิรัส อาจณรงค์ เรียกเพลงหน้าพาทย์แตกต่างกันหลายเพลงเช่น ตระเชิญใหญ่ ตระประทานพร ตระเทพดำเนิน ตระพระวิสสุกรรม ตระฤๅษีกไลโกฏ เป็นต้น เพลงเหล่านี้ล้วนเป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงทั้งสิ้น

          การที่ผู้เขียนได้นำข้อมูลเกี่ยวกับการแบ่งประเภทของเพลงหน้าพาทย์ทางดนตรีมาประกอบการพิจารณาก็เพื่อจะให้เกิดความเข้าใจว่าเพลงหน้าพาทย์กับรำหน้าพาทย์นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกออกจากกันไม่ได้แต่สาเหตุของความไม่เป็นเอกภาพในการจำแนกของประเภทของเพลงหน้าพาทย์น่าจะสืบเนื่องมาจากครูทางด้านดนตรีและนาฏศิลป์ยังไม่มีโอกาสได้ประชุมตกลงกันยกตัวอย่างเพลงช้าเพลงเร็วและเพลงสีนวลเป็นเพลงที่จัดอยู่ในประเภทเพลงเรื่องของทางดนตรีแต่ทางนาฏศิลป์จัดเป็นเพลงหน้าพาทย์เช่นใช้คำว่าหน้าพาทย์สีนวลหรือทางนาฏศิลป์บัญญัติเรียกชื่อเพลงตระนารายณ์โดยทางดนตรีไม่รู้เรื่องด้วยและอาจคิดไปว่าคือเพลงตระนารายณ์บรรทมสินธุ์หรือพระนารายณ์บรรทมไพร ประเด็นที่น่าพิจารณาคือหากบรรเลงเพลงตามความเข้าใจส่วนตนแต่ไม่ตรงกับความหมายตามความเข้าใจที่แตกต่างกันเช่นนี้ใครจะเป็นผู้ชี้ขาดความถูกต้องได้   เนื่องจากการกำหนดเพลงหน้าพาทย์ที่มีเหตุผลทั้งดนตรีและนาฏศิลป์ดังได้กล่าวมาข้างต้นการจำแนกประเภทของรำหน้าพาทย์ต้องพิจารณาจากฐานันดรศักดิ์และอิทธิฤทธิ์ของตัวละครเป็นสำคัญซึ่งสามารถแบ่งประเภทของรำหน้าพาทย์ออกได้เป็น 2 ประเภทคือ รำหน้าพาทย์ธรรมดาและรำหน้าพาทย์ชั้นสูงความแตกต่างของการรำหน้าพาทย์ทั้ง 2 ประเภทนี้พิจารณาได้จากความหมายและบริบทที่ประกอบการรำดังต่อไปนี้

      1.รำหน้าพาทย์ธรรมดา หมายถึง ท่ารำหน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบกิริยาอารมณ์ของตัวละครที่เป็นสามัญชนทั่วไปเช่น เพลงเร็ว เชิด เสมอ รัว ลาโอด ปฐมโล้ ชุบ เหาะ ทยอย เป็นต้น อย่างไรก็ตามตัวละครผู้สูงศักดิ์มีฤทธิ์เดชหรือเป็นเทพเจ้าก็สามารถใช้เพลงหน้าพาทย์ธรรมดาได้หากเป็นไปตามบทโขนหรือบทละครกำหนดหรือจำเป็นต้องยักเยื้องเปลี่ยนเพลงหน้าพาทย์เพื่อไม่ให้ใช้เพลงซ้ำหลาย ๆ ครั้งในเวลาใกล้กันเช่นการเพลงกายหลายครั้งอาจจะใช้เพลงรัวแทนเพลงตระนิมิตสำหรับตัวละครสูงศักดิ์หรือผู้มีอิทธิฤทธิ์จึงเป็นข้อยกเว้นได้

      2.รำหน้าพาทย์ชั้นสูง เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “รำเพลงครู” หมายถึง การรำตามทำนองและจังหวะหน้าทับของเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงประกอบกิริยาอารมณ์หรือแสดงอิทธิฤทธิ์เฉพาะตัวละครผู้สูงศักดิ์หรือเทพเจ้าซึ่งรำหน้าพาทย์ชั้นสูงมีมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างกันคือ

                    1.รำหน้าพาทย์องค์พระพิราพเต็มองค์  ถือเป็นรำหน้าพาทย์ชั้นสูงที่สุดและศักดิ์สิทธิ์เพลงองค์พระพิราพเต็มองค์ใช้บรรเลงในพิธีไหว้ครูดนตรีพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์และพิธีไหว้ครูช่างเป็นที่เคารพยำเกรงของนาฏดุริยางค์ศิลปินทุกคนถ้าใช้ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์จะเป็นเพลงสำหรับบทบาทพระพิราพเท่านั้นในการต่อท่ารำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพเต็มองค์นั้นจับต้องมีพิธีมอบให้แก่ศิลปินที่ได้รับการคัดเลือกสรรแล้วเท่านั้นคือต้องเป็นศิลปินอาวุโสที่มีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับในวงการนาฏศิลปินเล็กก่อนการแสดงจะต้องกระทำพิธีวงสรวงทุกครั้งด้วย

                      2.รำหน้าพาทย์ชั้นสูงที่ใช้ในการแสดงโขนรักโคนหมายถึงการรำในบทบาทของตัวละครสูงศักดิ์หรือผู้มีฤทธิ์เดชที่กำลังแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เช่นการแปลงกายการร่ายเวทมนตร์คาถาชุบชีวิตผู้ที่ตายให้ฟื้นขึ้นผู้ที่จะได้รับการถ่ายทอดถ้ารำเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงจะต้องมีทักษะการรำขั้นพื้นฐานเป็นอย่างดีโดยเข้ารับการครอบในพิธีไหว้ครูโขนละครก่อนที่จะโตท่ารำหน้าพาทย์ชั้นสูงนอกจากนี้ยังใช้กับหนังใหญ่หุ่นการรำถวายพระพรและอวยพรด้วย

                3.รำหน้าพาทย์ชั้นสูงตามจุดประสงค์เฉพาะ หมายถึง รำหน้าพาทย์ชั้นสูงที่นาดศิลปินได้คิดสร้างสรรค์ขึ้นใหม่เพื่อใช้ในจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแสดงที่เป็นเรื่องราว เช่น เมื่อพ.ศ. 2515 ครูบุญยงค์ เกตุคง ได้นำทำนอง”เพลงดับเทียน” มาแต่งใหม่ให้ชื่อว่า”เพลงตระนาฏราช”โดยบรรจุหน้าทับและไม้กรมตามแบบแผนของ”เพลงตระ”คือมี 12 ไม้ลาและต่อด้วยเพลงรัวทั้งนี้ครูอาคมสายาคมเป็นผู้คิดประดิษฐ์ถ้ารำตระนาฏราชตามพระราชบัญญัติชาของพันเอกพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพรเพื่อให้เป็นเพลงหน้าพาทย์ประจำคณะนาฏราชของพระองค์อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เมื่อปีพ.ศ. 2543 ครูธงชัย โพธยารมย์ ได้ประดิษฐ์ถ้ารำสำหรับเพลงตระพระประคนธรรพซึ่งเป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงที่มีมาแต่โบราณตามคำขอร้องของนายญาณี ตราโมท บุตรของครูมนตรี ตราโมทที่ประสงค์จากเทิดเกียรติบิดาในฐานะที่เป็นคีตกวีเอกของไทยและเป็นศิลปินแห่งชาตินำออกแสดงในงาน 100 ปี ครูมนตรี ตราโมท ณ บ้านโสมส่องแสง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายนพ.ศ. 2543 แต่เนื่องจากในเวลานั้นครูธงชัย โพธยารมย์ สุขภาพไม่ดีจึงให้นายเสด็จ พลับกระสงค์ ลูกศิษย์ของท่านรับถ่ายทอดถ้ารำเพื่อแสดงแทนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาท่ารำเพลงตระพระปรคนธรรพก็ยังไม่มีการถ่ายทอดต่อท่ารำให้กับผู้อื่น

ที่น่าสังเกตคือโดยทั่วไปแล้วกรมศิลปากรจะเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการแสดงโขนละครดังนั้นถ้าหากไม่มีการแสดงที่มีการใช้เพลงหน้าพาทย์นั้น ๆ ก็จะไม่มีการคิดท่ารำขึ้นใหม่ตัวอย่างตระฤๅษีไลโกฐ ตระพระพิฆเนศ ซึ่งเป็นเพลงบรรเลงในพิธีไหว้ครูดนตรีคุณหญิงนัฏทกานุรักษ์ได้คิดถ้ารำเพลงตระพระพิฆเนศไว้และได้ถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์ที่รับบทบาทการแสดงตัวนั้น ๆ ต่อมาเมื่อไม่มีการแสดงโขนละครตอนนี้ทั้งภายนอกและภายในกรมศิลปากรถ้ารำดังกล่าวจึงไม่มีผู้นำมาแสดงหรือถ่ายทอดให้กับผู้อื่นต่อไปซึ่งนานวันเข้าก็ทำให้ลืมเลือนและสูญหายไปในที่สุดแต่ทั้งนี้การบรรเลงเพลงตระพระพิฆเนศยังมีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

เพลงหน้าพาทย์เป็นเพลงประเภทใด ใช้บรรเลงในโอกาสใด

เพลงหน้าพาทย์คือ เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยา พฤติกรรมต่างๆ และอารมณ์ของตัวละคร เช่น เพลงโอดสำหรับร้องไห้เสียใจ เพลงกราวรำสำหรับเยาะเย้ยสนุกสนาน เพลงเชิดฉานสำหรับพระรามตามกวาง เพลงแผละสำหรับครุฑบิน เพลงคุกพาทย์สำหรับทศกัณฐ์แสดงอิทธิฤทธิ์ความโหดร้าย หรือสำหรับหนุมานแผลง อิทธิฤทธิ์หาวเป็นดาวเป็นเดือน เป็นต้น นอกจากนั้น ...

เพลงหน้าพาทย์สูงสุดคือเพลงอะไร

๑. เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ซึ่งถือว่าเป็น “เพลงครู” ใช้บรรเลงในโอกาสเฉพาะ มีความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ อยู่ในทำนอง เช่น เพลงองค์พระพิราพ ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ตระพระปรคนธรรพ ตระนิมิต ตระนอน ตระบองกัน สาธุการ บาทสกุณี พราหมณ์เข้า พราหมณ์ออก คุกพาทย์ เสมอสามลา เสมอเถร เสมอมาร เสมอผี ฯลฯ

เมื่อตัวละครต่อสู้กัน จะใช้เพลงหน้าพาทย์เพลงใดบรรเลง

เชิดกลอง (สำหรับการต่อสู้ การรุกไล่ฆ่าฟันกันโดยทั่วไปใช้บรรเลงต่อจากเชิดฉิ่ง)

เพลงหน้าพาทย์ชั้นกลางคือเพลงใด

1. เพลงหน้าพาทย์ธรรมดา ใช้กับ ตัวละครชั้นสามัญทั่วไปที่ไม่มีความสำคัญมากนัก เช่น เพลงเสมอ 2. เพลงหน้าพาทย์ชั้นกลาง ใช้กับตัวละครที่มีความสำคัญมากขึ้น เช่น เพลงเสมอข้ามสมุทร เพลงเสมอเถร เพลงเสมอมาร 3. เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงใช้กับตัวละครสูงศักดิ์ เช่น เพลงบาทสกุณี (เสมอตีนนก) เพลงดำเนินพราหมณ์