ถ้า ต้องการ กำหนด จำนวน rows ที่ได้ จาก การค้นหา ใช้คำสั่ง ใด

ถ้า ต้องการ กำหนด จำนวน rows ที่ได้ จาก การค้นหา ใช้คำสั่ง ใด

บทความนี้คือส่วนหนึ่งของโครงการ ร่วมสร้าง “หนังสือคู่มือ Excel ที่เจ๋งที่สุด” ใครที่มี comment เพื่อแนะนำ ปรับปรุงหนังสือได้ คุณจะได้เครดิตในฐานะผู้ร่วมเขียน ลงในหนังสือที่จะพิมพ์จริงๆ ด้วย! อ่านรายละเอียด และดูสารบัญหนังสือ คลิ๊กที่นี่


เนื่องจากฟังก์ชั่นของ Excel มีเยอะมาก และถึงแม้ว่าการค้นหาฟังก์ชั่นนั้นมีประโยชน์ก็จริง แต่อาจไม่สะดวกนัก คงจะดีกว่ามากถ้าเราสามารถจำฟังก์ชั่นที่ใช้งานบ่อยๆ ได้ทันที

แต่ไม่ต้องห่วงเพราะฟังก์ชั่นที่ใช้บ่อยจริงๆ ไม่ได้มีเยอะเลย และมันก็เป็นไปตาม กฎ 80/20 ที่บอกว่า

“ผลลัพธ์หรือ ผลกระทบส่วนใหญ่ (80%) มาจากสาเหตุที่เป็นส่วนน้อย (20%)”

เพราะใน Excel การใช้งานส่วนใหญ่มาจาก ฟังก์ชั่นแค่ไม่ถึง 20% เท่านั้น!!

ถ้า ต้องการ กำหนด จำนวน rows ที่ได้ จาก การค้นหา ใช้คำสั่ง ใด

เท่าที่ผมค้นคว้ามา Excel มีฟังก์ชั่นทั้งหมดประมาณ 450 ฟังก์ชั่น (ประมาณนะครับ…) ซึ่งฟังก์ชั่นที่ผมคิดว่าใช้บ่อยมากๆ เลย มีอยู่ประมาณ 45 ตัวด้วยกัน และมีค่อนข้างบ่อยอีก 25 ตัว รวมเป็น 70 ตัว ซึ่งคิดเป็น 15%  ของฟังก์ชั่นทั้งหมด

แหม.. กฎ 80/20 นี้แม่นจริงๆ สินะครับ !

ต้องเลือกใช้ฟังก์ชั่นให้เหมาะกับสถานการณ์

ในบทนี้คุณจะได้พบกับฟังก์ชั่นมากมาย ผมแนะนำให้มองว่าแต่ละฟังก์ชั่นมันเหมือนเครื่องมือที่มีหน้าที่ต่างกัน ซึ่งหน้าที่ของเราคือต้องเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ โดยควรจะรู้ว่ามีเครื่องมืออะไรให้เลือกใช้บ้าง มันมีหน้าที่ไว้ทำอะไร และมันใช้งานยังไง? เช่น ฟังก์ชั่นใน Excel บางตัวอาจทำงานคล้ายๆ กัน ซึ่งเราต้องเลือกให้ถูกว่าจะใช้ฟังก์ชั่นไหนดี เช่น ฟังก์ชั่น COUNT เอาไว้นับจำนวนช่องที่เป็นตัวเลข ส่วน COUNTA เอาไว้นับช่องที่ไม่ใช่ช่องว่าง เป็นต้น

บางเครื่องมือ (ฟังก์ชั่น) อาจทำงานได้เหมือนกันกับอีกฟังก์ชั่นเลย และอาจทำงานได้มากกว่าด้วย แต่ก็มักจะเขียนสั่งงานยากกว่าด้วยเช่นกัน เช่น =MAX จะเท่ากับ =LARGE ที่ระบุว่าเอาอันดับ1

ถ้าเราไม่ได้จะทำอะไรซับซ้อนมาก ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปขี่ช้างจับตั๊กแตน (ใช้ฟังก์ชั่นยากๆ ) ก็ได้ครับ

เน้นความเข้าใจหน้าที่และความสามารถของฟังก์ชั่น

หากคุณกำลังอ่านเนื้อหาบทนี้เป็นครั้งแรก ผมอยากให้เน้น ให้จำว่า ฟังก์ชั่นแต่ละอันมันทำอะไรได้ มากกว่าจะจำว่ามันมีวิธีเขียนยังไง เพราะหากเรารู้ว่ามันทำอะไรได้แล้ว เราจะเลือกใช้ได้ถูกตัวอยู่ และถึงจำไม่ได้ว่าเขียนยังไงก็ยังสามารถกด Help หรือ Google ดูวิธีใช้ได้ แต่ถ้าไม่รู้ด้วยซ้ำว่าทำอะไรได้ เราจะเริ่มต้นไม่ถูกเลย

เพื่อความสะดวกของคุณ ผมได้ทำการคัดเลือก Function ที่ใช้กันบ่อยๆ มาให้แล้ว!!

โดยผมจะแบ่งออกเป็นหมวดต่างๆ เช่นเดียวกับเมนูที่อยู่บน Ribbon ใน [Formulas] –> Function Library นะครับ

Math & Trig : คณิตศาสตร์

ฟังก์ชั่น หน้าที่ คำสั่ง/ตัวอย่างการใช้งาน
SUM บวกเลขทุกตัวที่อยู่ใน Range ที่เลือกไว้ =SUM(number1,[number2],…])
=SUM(1,5,10) จะคิด 1+5+10 ได้ผลรวมเป็น 15 หรือ=SUM(A1:A10) จะเอาค่าใน A1 ถึง A10 มาบวกกัน
SUMIFS ใช้บวกเลขทุกตัวที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทีกำหนดตัวนี้ทำหน้าที่คล้ายกับเครื่องมือ PivotTable ซึ่งเดี๋ยวเราจะได้เรียนรู้กันครับ =SUMIFS(sum_range, criteria_range1, criteria1, [criteria_range2, criteria2], …)
=SUMIFS(A1:A20, B1:B20, “>0”, C10:C30, “<10”)แปลว่า ให้บวกเลขในช่อง A1:A20 โดยที่·         ในช่อง B1:B20 ที่จับคู่กับ A นั้นจะต้อง >0 และ ในช่อง C1:C20 ที่จับคู่กับ A ต้อง < 10
MOD หาเศษเหลือจากการหารตัวนี้ดูเผินๆ เหมือนจะไม่ค่อยได้ใช้งาน แต่จริงๆ แล้วฟังก์ชั่นนี้มีประโยชน์ที่โดดเด่น เช่น การมีเงื่อนไขที่จะทำอะไรบางอย่างทุกๆ x ช่อง (หารด้วย x ลงตัว) =MOD(number, divisor)
=MOD(10,7) ได้ผลลัพธ์เป็นเลข 3
เพราะ เอา 10 หารด้วย 7 ได้ 1 เหลือเศษ 3=MOD(8,2) ได้ผลลัพธ์เป็นเลข 0
เพราะ เอา 8 หารด้วย 2 ได้ 4 เหลือเศษ 0
SUMPRODUCT ให้เอาเลข 2 ชุดมาคูณกันตามคู่ลำดับแล้วหาผลรวมภายหลัง =SUMPRODUCT(array1, [array2], [array3], …)
=SUMPRODUCT(A1:A10,B1:B10)แปลว่า ให้บวกเลขในช่อง A1*B1 + A2*B2+…A10*B10
RAND สุ่มตัวเลขที่อยู่ระหว่าง 0 ถึง 1
(ทศนิยม 15 หลัก เรียกได้ว่าเลชที่สุ่มออกมาแต่ละทีไม่น่าจะซ้ำกันหรอกครับ)
=RAND()
มันจะออกมาเป็นเลขระหว่าง 0 ถึง 1 โดยที่เลขจะเปลี่ยนไปทุกครั้งที่มีการคำนวณใหม่ (กด F9 ได้)* ตัวนี้ไม่มี Argument

ฟังก์ชั่นตัวอื่นๆ ที่ใช้บ่อยในหมวดหมู่นี้

  • SUBTOTAL หาผลรวมในรูปแบบต่างๆ เช่น SUM, MAX แต่จะรวมเฉพาะตัวที่ไม่ถูก Filter ทิ้ง
  • AGGREGATE จะ Advance กว่า SUBTOTAL ไปอีกขั้น โดยเลือก Option ได้เยอะกว่า
  • RANDBETWEEN ทำการสุ่มเลขเป็นจำนวนเต็มในขอบเขตที่กำหนด
  • GCD = หาตัวหารร่วมที่มากที่สุด ( ห.ร.ม.) / LCM = หาตัวคูณร่วมที่น้อยที่สุด (ค.ร.น.)
  • PRODUCT = หาผลคูณของเลขทุกตัวที่อยู่ใน Range ที่เลือกไว้
  • FACT = หาเลข Factorial คือผลคูณแบบไล่ค่าลดลงเรื่อยๆจนถึงเลข 1 เช่น FACT(4)= 4*3*2*1 เป็นต้น มันใช้มากในเรื่องทฤษฎีการนับ และ ความน่าจะเป็น

Statistical : สถิติ

ฟังก์ชั่น หน้าที่ คำสั่ง/ตัวอย่างการใช้งาน
COUNT นับจำนวนช่องที่เป็นตัวเลขใน Range ที่เลือกไว้ =COUNT(value1, [value2], …)
=COUNT(A1:A10) จะนับว่าในช่อง A1 ถึง A10 มีช่องที่เป็นตัวเลขกี่ช่อง
COUNTA นับจำนวนช่องที่ไม่ว่างเปล่าใน Range ที่เลือกไว้ =COUNTA(value1, [value2], …)
=COUNTA(A1:A10) จะนับว่าในช่อง A1 ถึง A10 มีช่องที่ไม่ว่างเปล่ากี่ช่อง
AVERAGE หาค่าเฉลี่ยจากตัวเลขใน Range ที่เลือกไว้ โดยที่จะไม่คิดค่าว่างเปล่า =AVERAGE(number1, [number2], …)
=AVERAGE(A1:A10) จะหาค่าเฉลี่ยของตัวเลขในช่วง A1 ถึง A10 โดยที่จะไม่คิดค่าว่างเปล่า
MAX / MIN หาค่าที่มากที่สุด / น้อยที่สุดจากตัวเลขใน Range ที่เลือกไว้ =MAX(number1, [number2], …)
=MAX(A1:A10) หาค่ามากที่สุดในช่วง A1 ถึง A10
=MIN(number1, [number2], …)
=MIN(A1:A10) หาค่าน้อยที่สุดในช่วง A1 ถึง A10
LARGE / SMALL หาค่าที่มาก / น้อย เป็นลำดับที่ xx จากตัวเลขใน Range ที่เลือกไว้ แปลว่าใช้แทน MAX/MIN ก็ได้ =LARGE(array, k)
=LARGE(A1:A10,3) แปลว่าหาค่าที่มากที่สุดเป็นลำดับที่ 3 (ระบุที่ k) จากช่วง A1 ถึง A10

ฟังก์ชั่นตัวอื่นๆ ที่ใช้บ่อยในหมวดหมู่นี้

  • MODE หาค่า ฐานนิยม หรือ ค่าที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด (นิยม)
  • MEDIAN หาค่า มัธยฐาน หรือ ค่าที่อยู่ตำแหน่งกึ่งกลาง เมื่อเรียงค่าจากน้อยไปมาก
  • PERCENTILE หาค่าที่อยู่ตำแหน่งที่ xxx % เมื่อเรียงค่าจากน้อยไปมาก
  • RANK หาว่าเลขที่เราสนใจ มีค่ามากหรือน้อยเป็นอันดับที่เท่าไหร่ใน Range ที่กำหนด 

Date & Time : วันที่และเวลา

ฟังก์ชั่น หน้าที่ ตัวอย่างการใช้งาน
YEAR หาว่าวันทีที่ต้องการเป็นปี ค.ศ. อะไร =YEAR(serial_number)
MONTH หาว่าวันทีที่ต้องการเป็นเดือนลำดับที่เท่าไหร่ (1-12) =MONTH(serial_number)
DATEVALUE แปลงค่าจากวันที่ในรูปแบบ Text ให้เป็นวันที่จริงๆ =DATEVALUE(date_text)
DATE แปลงค่าจากตัวเลข 3 ชุด ปี เดือน วัน ให้กลายเป็นวันที่ =DATE(year,month,day)
EDATE หาว่าจากวันที่กำหนด ถัดไป/ย้อนกลับ อีก xx เดือนจะกลายเป็นวันที่เท่าไหร่ =EDATE(start_date, months)
NETWORKDAYS หาเวลาทำงาน ระหว่างวันสองวันที่กำหนด โดยไม่นับวันหยุด =NETWORKDAYS(start_date, end_date, [holidays])
DATEDIF ใช้หาว่าวันสองวันที่กำหนด ห่างกันกี่วัน กี่เดือน หรือ กี่ปี (เราเลือกได้)*ฟังก์ชั่นนี้ไม่มี Help บอกใน Excel =DATEDIF( start_date, end_date, interval)
WEEKDAY หาว่าวันที่ที่ต้องการเป็นวันอะไรของสัปดาห์ ( จ อ พ พฤ ศ ส อา) โดยจะให้ค่ากลับมาเป็นตัวเลข

  ฟังก์ชั่นตัวอื่นๆ ที่ใช้บ่อยในหมวดหมู่นี้

  • WORKDAY คล้ายกับ NETWORKDAYS แต่จะทำกลับกัน คือ รู้วันเริ่มต้น และระยะเวลาวันทำงาน จากนั้นค่อยหาว่าวันปลายทางจะเสร็จวันไหน
  • WEEKNUM หาว่าวันที่นั้นๆ ตรงกับสัปดาห์ที่เท่าไหร่ของปีนั้น

Logical : ตรรกะฟังก์ชั่นตัวอื่นๆ ที่ใช้บ่อยในหมวดหมู่นี้

ฟังก์ชั่น หน้าที่ คำสั่ง/ตัวอย่างการใช้งาน
AND ถ้าเงื่อนไขที่เชื่อมทุกอันเป็นจริง จะได้ค่าออกมาเป็นจริง กรณีอื่นเป็นเท็จตรงกับภาษาพูดว่า “และ” =AND(logical1, [logical2], …)
=AND(3>5,10-3<8)
=AND(FALSE,TRUE) จะได้เท็จ เนื่องจาก 3>5 ได้เท็จ (แม้อีกตัวจะจริงก็ตาม)
 
ถ้า ต้องการ กำหนด จำนวน rows ที่ได้ จาก การค้นหา ใช้คำสั่ง ใด
OR ถ้าอย่างน้อยเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งจริง จะได้ค่าออกมาเป็นจริง (ต้องเท็จทุกอันจึงจะออกมาเป็นเท็จ)คล้ายกับภาษาพูดว่า “หรือ” =OR(logical1, [logical2], …)
=OR(3>5,10-3<8)
=OR(FALSE,TRUE) จะได้จริง เนื่องจาก 10-3<8 ได้จริง (แม้อีกตัวจะเท็จก็ตาม)
 
ถ้า ต้องการ กำหนด จำนวน rows ที่ได้ จาก การค้นหา ใช้คำสั่ง ใด
NOT กลับจริงเป็นเท็จ เท็จเป็นจริง =NOT(logical)
=NOT(3>5)
=NOT(FALSE) จะได้จริง เนื่องจาก 3>5 ได้เท็จ แล้วกลับเท็จเป็นจริง
 
ถ้า ต้องการ กำหนด จำนวน rows ที่ได้ จาก การค้นหา ใช้คำสั่ง ใด
IF ตรวจเงื่อนไขที่ใส่ลงไป ถ้าเงื่อนไขมีผลลัพธ์เป็นจริง (TRUE) จะแสดงผลการคำนวณแบบหนึ่ง ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ (FALSE) จะแสดงผลอีกแบบหนึ่ง =IF(logical_test, [value_if_true], [value_if_false])=IF(3>5,10+3,10-3) = IF(FALSE,13,7)
ทดสอบ 3>5 ได้เท็จ จึงแสดงผลการคำนวณคือ 7

ฟังก์ชั่นตัวอื่นๆ ที่ใช้บ่อยในหมวดหมู่นี้

  • IFERROR เป็นลูกผสมระหว่าง IF และ ISERROR โดยจะสามารถกำหนดได้ว่า หาก Error จะให้ทำอะไร

Text : ข้อความ

ฟังก์ชั่น หน้าที่ ตัวอย่างการใช้งาน
LEN นับจำนวนตัวอักษรของคำที่เลือก โดยนับทั้ง space สระ วรรณยุกต์ด้วย =LEN(text)=LEN(“very มั่นใจ”) จะได้ 11
LEFT / RIGHT ตัดตัวหนังสือที่กำหนดจากทาง ซ้าย/ขวา ด้วยระยะจำนวนตัวอักษรที่กำหนด =LEFT(text, [num_chars])
=LEFT(“สนุกจัง”,2) =”สน”=RIGHT(text, [num_chars])=RIGHT(“สนุกจัง”,3) =”จัง”
TRIM ตัดช่องว่างที่อยู่หน้าและหลังคำออกทั้งหมด รวมถึงช่องว่างตรงกลางที่เกิน 1 เคาะด้วย =TRIM(text)=TRIM(”  inw  excel “) จะได้ออกมาเป็น
“inw excel” (เหลือช่องว่างกลาง 1 space)
FIND หาว่าคำที่ต้องการค้นหา อยู่เป็นตัวอักษรลำดับที่เท่าไหร่ของคำที่กำหนด สนใจ ตัวพิพม์เล็กพิมพ์ใหญ่ =FIND(find_text, within_text, [start_num])=FIND(“Excel”,”inwexcel is Excellent”)
=13
SEARCH หาว่าคำที่ต้องการค้นหา อยู่เป็นตัวอักษรลำดับที่เท่าไหร่ของคำที่กำหนด ไม่สนใจ ตัวพิพม์เล็กพิมพ์ใหญ่ และใช้เครื่องหมาย Wildcard ได้ =SEARCH(find_text,within_text,[start_num])=SEARCH(“Excel”,”inwexcel is Excellent”)
=4
SUBSTITUTE แทนที่คำที่ต้องการด้วยอีกคำหนึ่ง ใช้เมื่อรู้คำที่จะถูกแทนที่ =SUBSTITUTE(text, old_text, new_text, [instance_num])
=SUBSTITUTE(“ผม like มาก”,”like”,”ชอบ”)
= “ผม ชอบ มาก”
REPLACE แทนที่ตำแหน่งที่ต้องการด้วยอีกคำหนึ่ง ใช้เมื่อรู้ตำแหน่งและจำนวนตัวอักษรที่จะถูกแทนที่ =REPLACE(old_text, start_num, num_chars, new_text)
=REPLACE(“081-234-5678”,5,3, “ไม่บอก”)
= “081-ไม่บอก-5678”
TEXT  เปลี่ยน Number Format ของตัวเลขด้วยการใช้สูตร =TEXT(value, format_text)
ในช่อง format_text ให้ใส่รูปแบบคล้ายการทำ Custom Format ซึ่งจะอธิบายต่อไปในบทหลัง
=TEXT(1234.5678,”0.00″)= “1234.57”

ฟังก์ชั่นตัวอื่นๆ ที่ใช้บ่อยในหมวดหมู่นี้

  • REPEAT ใส่ตัวอักษรซ้ำๆ ลงไปด้วยจำนวนที่กำหนด
  • CLEAN ทำการลบตัวอักษรประหลาดๆ ที่พิมพ์ไม่ออก

Lookup & Reference: การดึงข้อมูลและการอ้างอิง

ในนี้จะเป็นตารางสรุปคร่าวๆ เท่านั้น รายละเอียดจะอยู่บทถัดๆไปครับ เพราะส่วนใหญ่ฟังก์ชั่นในหมวดนี้ถือว่าใช้งานยากกว่าหมวดอื่นๆ เกือบทุกตัว จึงต้องขอยกไปพูดทีหลัง

ฟังก์ชั่น หน้าที่ ตัวอย่างการใช้งาน
VLOOKUP ค้นหาคำที่ต้องการในแนวดิ่งของคอลัมน์แรกในตารางอ้างอิง เมื่อเจอแล้วจากนั้นมองไปทางขวาเอาข้อมูลในคอลัมน์ที่กำหนดกลับมา =VLOOKUP(lookup_value, table_array, col_index_num, [range_lookup])รออ่านรายละเอียดในบทถัดๆไป
MATCH ค้นหาคำที่ต้องการว่าอยู่ลำดับที่เท่าไหร่ของช่วงที่กำหนด =MATCH(lookup_value, lookup_array, [match_type])รออ่านรายละเอียดในบทถัดๆไป
INDEX ส่ง Cell Reference หรือค่าใน Cell Reference ตามพิกัดแถว & คอลัมน์ที่กำหนด จากตารางอ้างอิงที่กำหนด =INDEX(array, row_num, [column_num])=INDEX(reference, row_num, [column_num], [area_num])รออ่านรายละเอียดในบทถัดๆไป
INDIRECT เปลี่ยน Text เป็น Cell Reference =INDIRECT(ref_text, [a1])รออ่านรายละเอียดในบทถัดๆไป
OFFSET เลื่อนตำแหน่งจากช่องที่เราอ้างอิงไปในทิศทางต่างๆ แล้วส่งCell Reference หรือค่าใน Cell Reference กลับมา =OFFSET(reference, rows, cols, [height], [width])รออ่านรายละเอียดในบทถัดๆไป
CHOOSE เลือกว่าจะใช้การคำนวณชุดไหน เช่น ชุดที่ 1, 2, 3, 4 =CHOOSE(index_num, value1, [value2], …)=CHOOSE(3,A1+2,A1*3,A1/A2)เลือกเอาสูตรชุดที่ 3 มาใช้ นั่นคือ=A1/A2

ฟังก์ชั่นตัวอื่นๆ ที่ใช้บ่อยในหมวดหมู่นี้

  • ROW หาว่าแถวของ Cell ที่กำหนดอยู่แถวที่เท่าไหร่
  • COLUMN หาว่าแถวของ Cell ที่กำหนดอยู่คอลัมน์ที่เท่าไหร่
  • ROWS หาว่า Range ที่กำหนดมีกี่แถว
  • COLUMNS หาว่า Range ที่กำหนดมีกี่คอลัมน์

Financial : การเงิน

ฟังก์ชั่น หน้าที่ ตัวอย่างการใช้งาน
PV หาค่า Present Value
(หา มูลค่าปัจจุบัน จาก Cash flow ในอนาคต)
=PV(rate, nper, pmt, [fv], [type])รออ่านรายละเอียดในบทถัดๆไป
FV หาค่า Future Value
(หา มูลค่าอนาคต จาก Cash flow ในปัจจุบัน)
=FV(rate,nper,pmt,[pv],[type])รออ่านรายละเอียดในบทถัดๆไป
NPV หาค่า Net Present  Value ซึ่งก็คือ
การคิดมูลค่าลงทุนสุทธิ จาก Cashflow ในอนาคตทั้งหมด มารวมไว้ ณ เวลาปัจจุบัน
=NPV(rate,value1,[value2],…)ค่า Cash flow ที่ใส่ไปต้องเริ่มที่ Period 1 ไม่ใช่ Period 0รออ่านรายละเอียดในบทถัดๆไป
IRR หาค่า Internal Rate of Return ซึ่งก็คือค่า ดอกเบี้ย หรือ Discount Rate ที่ทำให้ NPV =0 พอดี =IRR(values, [guess])รออ่านรายละเอียดในบทถัดๆไป
PMT หาว่า ต้องผ่อนเงินกู้ งวดละเท่าๆ กัน งวดละกี่บาท จึงจะหมดพอดีในระยะเวลาที่กำหนด =PMT(rate, nper, pv, [fv], [type])รออ่านรายละเอียดในบทถัดๆไป

ฟังก์ชั่นตัวอื่นๆ ที่ใช้บ่อยในหมวดหมู่นี้

  • NPER
  • RATE

Information : ข้อมูล

ฟังก์ชั่น หน้าที่ ตัวอย่างการใช้งาน
IS….มีหลายตัว เช่น
  • ISERROR
  • ISBLANK
  • ISNUMBER
  • ISTEXT
ตรวจสอบว่าเป็นค่าประเภทที่ต้องการหรือไม่ โดยแสดงค่ากลับมาเป็น TRUE/FALSE เช่น
  • ISERROR = เช็คว่า Error หรือไม่?
  • ISBLANK = เป็นช่องว่างเปล่า หรือไม่?
  • ISNUMBER = เป็นตัวเลข หรือไม่?
=ISERROR(value)=ISERROR(1000/0)=TRUE
TYPE ใช้ตรวจสอบว่าช่องที่กำหนดมีข้อมูลเป็นประเภทอะไร  ค่าที่ได้กลับมาเป็นตัวเลข ซึ่งแต่ละรหัสมีความหมายดังนี้
  • 1 = Number
  • 2 = Text
  • 4 = Logical Value (TRUE/FALSE)
  • 16 = Error Value
  • 64 = Array

ตรงนี้จะมีประโยชน์ตรงที่เอาไว้เช็คประเภทของข้อมูลว่าเป็นประเภทที่เราต้องการรึเปล่า เวลานำไปใช้ในการเขียนสูตรต่างๆ

=TYPE(value)ถ้า A1 มีคำว่า cat=TYPE(A1)=2

ฟังก์ชั่นตัวอื่นๆ ที่ใช้บ่อยในหมวดหมู่นี้

  • CELL ใช้ตรวจสอบข้อมูลในช่องที่กำหนด เช่น Number Format, สี, ชื่อไฟล์, ประเภทข้อมูล, ตำแหน่ง cell และอื่นๆอีกมากมาย

แชร์ความรู้ให้เพื่อนๆ ของคุณ