การนำ เข้า แบตเตอรี่ ใช้แล้ว เป็นการ ละเมิด ข้อตกลง ด้าน สิ่งแวดล้อม ฉบับ ใด

Show

คำถามเพิ่มเติม พบกับคำตอบอื่นๆ เกี่ยวกับ Apple กับสิ่งแวดล้อม

1. ใครคือผู้นำด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของ Apple

เมื่อเดือนมิถุนายน 2013 Tim Cook ประธานบริหารของ Apple ได้แต่งตั้งให้ Lisa P. Jackson เป็นรองประธานฝ่ายโครงการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งหน้าที่ของสำนักงานโครงการด้านสิ่งแวดล้อมก็คือประสานกับทีมงานส่วนต่างๆ ของ Apple เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ ร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง และประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าเกี่ยวกับความมุ่งมั่นของ Apple ในการลดผลกระทบที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พัฒนาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยกว่า และใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ขณะที่คณะกรรมการบริษัทของ Apple เองก็ดำเนินการตรวจสอบประธานบริหารและผู้บริหารอาวุโสเกี่ยวกับศักยภาพและการดำเนินกิจการอย่างมีจริยธรรมอยู่เป็นกิจวัตร เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเม็ดเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในระยะยาว โดย Lisa ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานฝ่ายโครงการด้านสิ่งแวดล้อม นโยบาย และกิจกรรมทางสังคม จะรายงานตรงต่อประธานบริหาร ซึ่งวิธีการแบบบูรณาการของเรานี้แสดงให้เห็นว่า การตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมนั้นจะต้องผ่านการพิจารณาจากทีมงานระดับสูงสุดของบริษัท และสมาชิกในทีมผู้บริหารก็จะคอยตรวจสอบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทุกชนิดในระหว่างขั้นตอนการพัฒนาอยู่เสมอ โดยให้ความสำคัญในเรื่องของการเลือกวัสดุและการออกแบบ ซัพพลายเชน บรรจุภัณฑ์ และการประหยัดพลังงานของผลิตภัณฑ์

2. Apple ประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ Apple อย่างไร

  1. ในการสร้างโมเดลขั้นตอนการผลิตนั้น เราทำการวัดชิ้นส่วนทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ทีละส่วนๆ ควบคู่ไปกับการใช้ข้อมูลการผลิตชิ้นส่วน โดยการวัดนี้ช่วยให้เราสามารถระบุขนาดและน้ำหนักของส่วนประกอบและวัสดุต่างๆ ในผลิตภัณฑ์นั้น ในขณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการผลิตและการสูญเสียผลผลิตก็ช่วยให้เราสามารถประเมินผลกระทบที่เกิดจากการผลิตได้ การประเมินวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ยังรวมไปถึงอุปกรณ์เสริมและบรรจุภัณฑ์ และการปล่อยก๊าซที่ลดลงผ่านโปรแกรมพลังงานสะอาดของซัพพลายเออร์ของ Apple และในการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นต์โดยรวมของ Apple นั้น เรายังได้รวมเครื่องที่ผ่านการซ่อมและเปลี่ยนชิ้นส่วนผ่าน AppleCare ด้วย

  2. ในการสร้างโมเดลการใช้งานของลูกค้านั้น เราวัดปริมาณพลังงานที่ผลิตภัณฑ์หนึ่งใช้ขณะทำงานในสถานการณ์ที่จำลองขึ้น โดยรูปแบบการใช้งานประจำวันจะเป็นรูปแบบเฉพาะสำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์ และเป็นการผสมกันระหว่างข้อมูลการใช้งานจริงของลูกค้ากับข้อมูลต้นแบบ ซึ่งจุดประสงค์การประเมินของเราในส่วนอายุการใช้งานโดยอ้างอิงจากเจ้าของรายแรกนั้น เราได้กำหนดค่าต้นแบบไว้เท่ากับ 4 ปี สำหรับอุปกรณ์ macOS และ tvOS และ 3 ปี สำหรับอุปกรณ์ iOS, iPadOS และ watchOS อย่างไรก็ดี ผลิตภัณฑ์ Apple ส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานยาวนานกว่านั้นและมักถูกส่งต่อ จำหน่ายต่อ หรือส่งคืนมายัง Apple จากเจ้าของรายแรกเพื่อให้ผู้อื่นได้ใช้งานต่อ ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้พลังงานของผลิตภัณฑ์ของเราได้ใน รายงานด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์

  3. สำหรับการสร้างโมเดลการขนส่ง เราใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งจากการขนส่งผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวและหลากหลายบรรจุภัณฑ์ ที่มีการขนส่งทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ โดยเราจะคำนึงถึงการขนส่งวัสดุระหว่างไซต์การผลิต การขนส่งผลิตภัณฑ์จากไซต์การผลิตไปยังศูนย์กระจายสินค้าประจำภูมิภาค การขนส่งผลิตภัณฑ์จากศูนย์กระจายสินค้าประจำภูมิภาคไปยังลูกค้าแต่ละราย และการขนส่งผลิตภัณฑ์จากลูกค้าคนสุดท้ายไปยังสถานที่รีไซเคิล

  4. ส่วนการสร้างโมเดลการสิ้นสุดอายุการใช้งาน เราใช้ข้อมูลส่วนประกอบวัสดุของผลิตภัณฑ์ของเรา และประเมินอัตราส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งไปรีไซเคิลหรือกำจัดทิ้ง ซึ่งในการส่งผลิตภัณฑ์ไปรีไซเคิลนั้น ผู้ให้บริการรีไซเคิลจะช่วยเราเก็บข้อมูลกระบวนการเบื้องต้นเพื่อจัดเตรียมผลิตภัณฑ์สำหรับคัดแยกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โลหะ พลาสติก และกระจก แต่จะไม่รวมถึงขั้นตอนการรีไซเคิลที่เกิดขึ้นถัดจากนั้น เพราะถือว่าเป็นขั้นตอนการผลิต ไม่ใช่กระบวนการเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ส่งไปกำจัดทิ้งนั้น เราก็ได้รวบรวมข้อมูลการปล่อยมลพิษที่เกี่ยวเนื่องกับการฝังกลบหรือการเผาทำลายวัสดุแต่ละประเภทเอาไว้ด้วย

  5. หลังจากที่เราเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต การใช้งาน การขนส่ง และการสิ้นสุดอายุการใช้งานแล้ว เราจะนำข้อมูลดังกล่าวไปรวมเข้ากับข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ละเอียด โดยข้อมูลการปล่อยก๊าซนี้มาจากข้อมูลเฉพาะของ Apple ที่รวมเข้ากับชุดข้อมูลที่เป็นค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมในด้านการผลิตวัสดุ กระบวนการผลิต การผลิตกระแสไฟฟ้า และการขนส่ง ซึ่งในส่วนของพลังงานหมุนเวียนที่ใช้ในซัพพลายเชน ทั้งที่ริเริ่มขึ้นเองโดยซัพพลายเออร์หรือผ่านโปรแกรมพลังงานสะอาดสำหรับซัพพลายเออร์ของ Apple ก็ล้วนถือเป็นส่วนหนึ่งในโมเดล LCA โดยที่การนำข้อมูลเฉพาะผลิตภัณฑ์มารวมเข้ากับข้อมูลการปล่อยก๊าซใน LCA ของเรานั้นก็ช่วยให้เราสามารถประมวลข้อมูลออกมาเป็นผลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างละเอียดได้ ส่วนข้อมูลและแนวทางการสร้างโมเดลก็ได้รับการตรวจสอบคุณภาพและความถูกต้อโดยสถาบัน Fraunhofer ในเยอรมนี

ข้อจำกัดในด้านข้อมูล คือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการสร้างโมเดลการปล่อยก๊าซคาร์บอน สำหรับส่วนประกอบที่เป็นต้นเหตุการปล่อยก๊าซคาร์บอนของ Apple อันดับแรกๆ นั้น Apple ได้แก้ไขปัญหาความไม่แน่นอนนี้ด้วยการพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมที่อ้างอิงตามกระบวนการอย่างละเอียดโดยใช้พารามิเตอร์เฉพาะของ Apple ส่วนคาร์บอนฟุตพริ้นต์อื่นๆ ที่เหลือที่เกิดจาก Apple นั้น เราได้ทำการอ้างอิงจากข้อมูลเฉลี่ยและสมมติฐานต่างๆ ที่มีอยู่ในอุตสาหกรรม

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระเบียบวิธีการประเมินวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (LCA) ของ Apple นั้นหาดูได้จากรายงานอย่างเป็นทางการที่นำเสนอในระหว่างการประชุม CARE Innovation Conference ปี 2018 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

3. Apple มีการรายงานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมโดยแยกเป็นแต่ละประเทศหรือไม่

มี เราได้แบ่งข้อมูลออกเป็นการปล่อยก๊าซในขอบเขตที่ 1 และ 2 รวมทั้งการใช้ก๊าซธรรมชาติและการใช้ไฟฟ้าตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ทั้งหมดอยู่ใน รายงานความก้าวหน้าด้านสิ่งแวดล้อมประจำปี 2022 (PDF) ของเรา รายงานฉบับนี้ยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้พลังงานที่ศูนย์ข้อมูลของเราอีกด้วย

4. Apple ได้รับการตรวจสอบและรับรองความเชื่อมั่นจากภายนอกสำหรับข้อมูลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่

แน่นอน เราได้รับการตรวจสอบจากภายนอกในด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1, 2 และ 3 รวมถึงการใช้พลังงาน การใช้กระดาษ การดึงน้ำมาใช้ และการจัดการของเสียในสถานที่ต่างๆ ของบริษัท (ศูนย์ข้อมูล สำนักงาน และร้านค้า) ของเราทั่วโลก โดยมี Apex Companies (Apex) เป็นผู้ให้ "การรับรองอย่างสมเหตุสมผล" สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ ของบริษัท ซึ่งถือเป็นหนึ่งในการรับรองระดับสูงสุดของอุตสาหกรรมนี้ ดู แถลงการณ์รับรองระดับบริษัทของ Apple (PDF) สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป อย่างการปล่อยก๊าซในขอบเขตที่ 1 และ 2 รวมถึงการปล่อยก๊าซในขอบเขตที่ 3 จากการเดินทางเพื่อธุรกิจและการเดินทางไปกลับที่ทำงานของพนักงาน

นอกจากนี้ การผลิตพลังงานหมุนเวียนและการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่หลีกเลี่ยงได้ในขอบเขตที่ 3 ซึ่งเกี่ยวข้องกับโปรแกรมพลังงานสะอาดสำหรับซัพพลายเออร์ของเรา ยังได้รับการตรวจสอบให้อยู่ในระดับ "การรับรองอย่างสมเหตุสมผล" โดย Apex อีกด้วย ดู แถลงการณ์รับรองโปรแกรมพลังงานสะอาดของ Apple (PDF) สำหรับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมพลังงานสะอาดของซัพพลายเออร์

ส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 3 ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของเราซึ่งคำนวณโดยใช้การประเมินวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์นั้น ได้รับการตรวจสอบเพื่อวัดคุณภาพและความถูกต้องโดยสถาบัน Fraunhofer Institute ในประเทศเยอรมนี ตามมาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14000 ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล: ได้แก่ ISO 14040 และ 14044 ดู แถลงการณ์รับรองเรื่องคาร์บอนฟุตพริ้นต์ทั้งหมดของ Apple (PDF)

6. Apple จำกัดการใช้สารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมหรือไม่

แน่นอน เรามีข้อมูลจำเพาะว่าด้วยสารควบคุม หรือ Regulated Substances Specification ของ Apple ที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับสารหลายชนิดที่ถูกจำกัดหรือห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และการผลิตของ Apple โดยผลิตภัณฑ์ของ Apple ทั้งหมดต้องเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตราย (RoHS) ของยุโรป ซึ่งจำกัดการใช้สารตะกั่ว รวมถึงสารอื่นๆ ซึ่ง Apple จะระบุว่าวัสดุเป็นไปตามมาตรฐาน RoHS เมื่อวัสดุนั้นเป็นไปตามระเบียบสหภาพยุโรป 2011/65/EU และฉบับแก้ไข รวมถึงข้อยกเว้นการใช้ตะกั่ว โดย Apple กำลังพยายามเลิกใช้สารยกเว้นเหล่านี้เมื่อมีความเป็นไปได้ทางเทคนิค และจากแนวทางที่เราใช้กับสารต่างๆ ข้อจำกัดหลายๆ ข้อของ Apple จึงสูงกว่าที่ระเบียบข้อบังคับกำหนดไว้
ดู ข้อมูลจำเพาะว่าด้วยสารควบคุมของ Apple (PDF) เพื่อดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับความพยายามของเราในการลดและหยุดใช้สารที่เป็นอันตราย

7. Apple จำกัดการใช้สารหน่วงการติดไฟกลุ่มโบรมีน (BFR) และโพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) ในผลิตภัณฑ์หรือไม่

ใช่ Apple จะถือว่าวัสดุนั้นเป็นวัสดุที่ปลอดสาร BFR และ PVC หากวัสดุนั้นมีสารโบรมีนและคลอรีนน้อยกว่า 900 ส่วนต่อหนึ่งล้าน (ppm) ซึ่ง Apple เป็นผู้นำอุตสาหกรรมในการเลิกใช้ BFR และ PVC และในปัจจุบันการจำกัดระดับของสารที่ 900 ppm ได้กลายเป็นมาตรฐานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไปแล้ว เนื่องจากตามปกติหากมีการใช้ BFR และ PVC ระดับของโบรมีนหรือคลอรีนจะต้องสูงกว่า 900 ppm อย่างมากจึงจะมีผล

การเลิกใช้ BFR และ PVC ของ Apple ครอบคลุมถึงทุกการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Apple ที่ผลิตตั้งแต่ปี 2009 ผลิตภัณฑ์ Beats ทั้งหมดที่ผลิตตั้งแต่ปี 2016 และ Beddit Sleep Monitor ที่ผลิตตั้งแต่ปลายปี 2018 และถึงแม้ว่าการเลิกใช้สารดังกล่าวของ Apple จะครอบคลุมผลิตภัณฑ์และส่วนประกอบส่วนใหญ่ แต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ Apple รุ่นก่อนๆ อาจไม่ปลอดสาร BFR และ PVC 100% อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์เหล่านี้รวมถึงชิ้นส่วนทดแทนและอุปกรณ์เสริม ยังคงได้รับการออกแบบตามที่ระเบียบข้อบังคับกำหนดไว้

ส่วนสายไฟในไทย อินเดียและเกาหลีใต้ที่ยังประกอบด้วยสาร PVC นั้นสืบเนื่องมาจากข้อกำหนดเฉพาะของประเทศดังกล่าว ซึ่งเรายังอยู่ในระหว่างการขออนุมัติการใช้วัสดุทดแทน PVC

8. REACH คืออะไร และ Apple ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ REACH อย่างไร

The Registration, Evaluation, Authorization and Restriction of Chemicals Regulation EC 1907/2006 หรือที่โดยทั่วไปเรียกว่า REACH คือระเบียบข้อบังคับของสหภาพยุโรปว่าด้วยสารเคมีและการใช้งานอย่างปลอดภัย ซึ่งองค์การจัดการสารเคมีแห่งสหภาพยุโรปได้มีการตีพิมพ์รายชื่อสารเคมีที่ต้องมีการขออนุญาต รวมถึงระบุกลุ่มสารที่ต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง (SVHC) ที่ผู้ผลิตต้องเปิดเผยข้อมูลให้ลูกค้าทราบหากใช้สารนั้นๆ ในผลิตภัณฑ์สูงกว่า 0.1% เมื่อเทียบกับน้ำหนัก

จากรายชื่อสารเคมีที่ต้องมีการขออนุญาตฉบับปัจจุบัน สามารถดูรายการผลิตภัณฑ์ Apple ที่มีสาร SVHC ที่สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดและต้องเปิดเผยได้ใน REACH SVHC Disclosure (PDF)

สาร SVHC ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกค้าภายใต้การใช้งานตามปกติแต่อย่างใด

9. Apple ใช้สารที่ทำลายชั้นโอโซนหรือไม่

Apple ไม่ใช้สารเคมีที่ทำลายชั้นโอโซน (ODC) ในกระบวนการใดๆ เพื่อผลิตส่วนประกอบ วัสดุ หรือวัสดุที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ Apple ตามที่กำหนดในพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารที่ทำลายชั้นโอโซน

10. Apple ช่วยเร่งเศรษฐกิจหมุนเวียนได้อย่างไร

อุปกรณ์ที่ทนทาน คืออุปกรณ์ที่รักษ์โลกยิ่งกว่า เพราะหากสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้น ก็หมายถึงการขุดทรัพยากรขึ้นมาจากพื้นโลกเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ก็มีความจำเป็นน้อยลง ด้วยเหตุนี้ Apple จึงมีความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดและทนทานที่สุด บวกกับบริการซ่อมโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ของเราจะสามารถใช้งานได้นานแสนนาน และเมื่อไหร่ที่ลูกค้าของเราเลิกใช้อุปกรณ์ของพวกเขาแล้ว ก็สามารถคืนอุปกรณ์ได้ง่ายๆ ผ่าน Apple Trade In อุปกรณ์เหล่านั้นจึงสามารถนำไปส่งต่อให้กับผู้ใช้รายอื่นหรือนำไปรีไซเคิลอย่างรับผิดชอบ

ในปี 2017 Apple ได้ประกาศคำมั่นสัญญาว่าวันหนึ่งเราจะผลิตสินค้าโดยใช้เพียงวัสดุหมุนเวียนและวัสดุรีไซเคิลเท่านั้น และเรายังตั้งเป้าหมายว่าจะนำวัสดุกลับมาสู่ตลาดเพื่อให้ Apple หรือผู้ประกอบรายอื่นได้ใช้ในส่วนที่จำเป็น และด้วยความล้ำหน้าที่เกิดขึ้นอย่าง Daisy และ Dave ซึ่งเป็นหุ่นยนต์แยกชิ้นส่วนใหม่ล่าสุดของเรา ก็ทำให้เราสามารถคัดแยกวัสดุได้มากขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้นกว่ากระบวนการรีไซเคิลในแบบเดิมๆ

นอกจากนี้เรายังได้ริเริ่มโครงการต่างๆ ที่ช่วยให้มั่นใจว่า วัสดุที่เราใช้ในผลิตภัณฑ์ของเรานั้นได้รับการจัดหาอย่างรับผิดชอบตามมาตรฐานที่เข้มงวด และผ่านโครงการที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าเรายังคงเดินหน้าทำตามคำมั่นสัญญา แต่เราก็ยังท้าทายตนเองเพื่อผลิตสินค้าของเราทั้งหมดโดยไม่ต้องพึ่งทรัพยากรอันมีจำกัดบนโลกของเรา และนี่คือเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ที่ต้องใช้เวลาหลายปีในการประสานความร่วมมือกับทีมงานทุกฝ่ายใน Apple รวมถึงซัพพลายเออร์ของเราตลอดจนผู้ให้บริการรีไซเคิล แต่เราก็ได้เริ่มลงมือทำมันแล้ว

หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเราในปัจจุบัน สามารถอ่านได้จาก รายงานความก้าวหน้าด้านสิ่งแวดล้อมประจำปี 2022 (PDF)

11. Apple กำลังลดการใช้พลาสติกใช่มั้ย

Apple มุ่งมั่นที่จะลดการใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์ให้ได้ภายในปี 2025 และจะหันไปใช้พลาสติกรีไซเคิลและพลาสติกแบบหมุนเวียนในผลิตภัณฑ์แทน

ความตั้งใจที่จะเลิกใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์ของเราโดยสิ้นเชิงนั้นมีความก้าวหน้าไปมากแล้ว โดยตั้งแต่ปี 2015 เราสามารถลดปริมาณพลาสติกในบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ของเราไปได้แล้วถึง 75% และในปีงบประมาณ 2021 นั้น iPhone, iPad, Apple Watch และ MacBook ที่ออกใหม่ทุกรุ่นยังได้รับการจัดส่งในบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เยื่อไม้เป็นหลักมากกว่า 90% อีกด้วย

ส่วนในเรื่องผลิตภัณฑ์ เราได้มุ่งเน้นที่การใช้พลาสติกให้น้อยลงโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของวัสดุ และการนำวัสดุหมุนเวียนหรือวัสดุรีไซเคิลมาใช้แทนพลาสติกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เราสำรวจและตรวจสอบคุณสมบัติของวัสดุรีไซเคิลและวัสดุหมุนเวียนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้พลาสติกแบบเฉพาะเกรดเดียวกับที่ Apple ใช้ ดังนั้น ไม่ว่าผลิตภัณฑ์จะต้องการพลาสติกประเภทใด เราก็สามารถระบุตัวเลือกวัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุหมุนเวียนที่นำมาใช้ทดแทนได้ โดยในปีงบประมาณ 2021 เพียงปีเดียว เรานำชิ้นส่วนที่มีสัดส่วนของพลาสติกรีไซเคิลเฉลี่ย 45% มาใช้มากกว่า 100 ชิ้น

14. Apple มีข้อเสนอด้านการรีไซเคิลหรือไม่

Apple มีโปรแกรมรับคืนและรวบรวมอุปกรณ์เพื่อนำไปรีไซเคิลใน 99% ของประเทศที่เรา
จำหน่ายผลิตภัณฑ์ รวมถึงโปรแกรมแลกอุปกรณ์ ซึ่งวันนี้มีให้บริการแล้วใน 25 ประเทศ โดย Apple Trade In เปิดโอกาสให้ลูกค้านำอุปกรณ์ Apple ทุกประเภท (รวมถึงอุปกรณ์จากแบรนด์ที่ Apple เป็นเจ้าของ) มารีไซเคิลได้ฟรี นอกจากนี้ Apple Trade In ยังครอบคลุมการรีไซเคิลแบตเตอรี่และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ ที่ลูกค้ากลุ่มพาณิชย์ การศึกษา และสถาบันสามารถขอรับบริการได้ฟรี ซึ่งเมื่อเรารับอุปกรณ์มา ก็จะมีการตรวจสอบและประเมินอย่างละเอียดเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล ส่วน iPhone ที่สิ้นสุดอายุการใช้งานที่เก็บรวบรวมมาจากบางภูมิภาคก็จะถูกส่งไปยัง Daisy ซึ่งเป็นหุ่นยนต์แยกชิ้นส่วนที่สามารถดึงเอาวัสดุอันมีค่าใน iPhone ออกมาได้อย่างล้ำหน้าและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการรีไซเคิลอุปกรณ์ รวมถึงการรีไซเคิลในประเทศที่ยังไม่มี Apple Trade In โปรดไปที่เว็บไซต์ โปรแกรมการรีไซเคิลของ Apple

15. Apple กำหนดมาตรฐานด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสิทธิแรงงานในซัพพลายเชนหรือไม่

ระเบียบปฏิบัติสำหรับซัพพลายเออร์ของ Apple ได้กำหนดมาตรฐานที่สูงไว้ ซึ่งซัพพลายเออร์จะต้องปฏิบัติตาม ไม่ว่าจะเป็นในด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน สุขภาพและความปลอดภัย การปกป้องสิ่งแวดล้อม ระบบการจัดการ และจริยธรรม โดยเราได้กำหนดให้ซัพพลายเออร์ทุกรายที่ทำธุรกิจร่วมกับ Apple ต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติสำหรับซัพพลายเออร์ และมาตรฐานด้านความรับผิดชอบของซัพพลายเออร์ที่เกี่ยวข้อง และในการบังคับใช้ระเบียบปฏิบัตินี้ เราได้จัดทำการประเมินที่เข้มงวด โดยมีการตรวจสอบเกณฑ์ต่างๆ มากกว่า 500 เกณฑ์ เมื่อพบการละเมิดระเบียบปฏิบัติ เรากำหนดให้ซัพพลายเออร์ต้องดำเนินการทันที และเรายังร่วมมือเพื่อช่วยให้ซัพพลายเออร์ปรับปรุงการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เราตั้งไว้ด้วย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่ เว็บไซต์ความรับผิดชอบของซัพพลายเออร์

16. Apple ทำงานร่วมกับ NGO ด้านสิ่งแวดล้อมหรือพันธมิตรรายอื่นหรือไม่

เราทำงานร่วมกับองค์กรไม่แสวงหากำไร อุตสาหกรรม หน่วยงานรัฐ และพันธมิตรทางธุรกิจหลายรายทั่วโลก ทั้งยังร่วมมือกับบริษัทอื่นๆ ที่เก่งที่สุดในแต่ละด้านเพื่อทำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดของเรา ผ่านการเข้าร่วมเป็นสมาชิกในองค์กรอย่าง Ceres and the World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) ส่วนในด้านความพยายามของเราเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราได้ทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆ อันได้แก่ Advanced Energy Economy (AEE), RE100, Japan Climate Leaders’ Partnership และ We Mean Business นอกจากนี้ งานของเราในการสร้างซัพพลายเชนวัสดุแบบหมุนเวียนยังได้รับการสนับสนุนจากการที่เราเป็นสมาชิกกับ Aluminum Stewardship Initiative และ Platform for Accelerating the Circular Economy (PACE) และเราก็ยังเป็นสมาชิกของ Clean Electronics Production Network (CEPN) ของ Green America รวมถึง Green Chemistry and Commerce Council (GC3) ด้วยเช่นกัน หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการร่วมมือกับพันธมิตรของเรา สามารถอ่านได้จาก รายงานความก้าวหน้าด้านสิ่งแวดล้อมประจำปี 2022 (PDF)