ในตลาด ใดที่ผู้ขาย มัก รวมหัว กันได้ดี

    เมื่อกล่าวถึงการบริหารธุรกิจแบบผูกขาดนี้ อาจจะไกลตัวมาก ๆ สำหรับผู้ประกอบการรายเล็กถึงกลางอย่างพวกเรา เพราะตลาดที่เรามีส่วนร่วมส่วนใหญ่จะเป็นตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligipoly) เช่น ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ, เครื่องบิน, น้ำมัน, รถยนต์ เป็นต้น และตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition) เช่น สบู่, อุปกรณ์ช่าง, เสื้อผ้า, ปากกา, ระบบออนไลน์, เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

ราคาสินค้าในตลาดผู้ขายน้อยรายมักถูกกำหนดไว้ตายตัว (Price rigidity) ไม่เปลี่ยนแปลงตามการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์และอุปทาน เนื่องจากใช้เส้นอุปสงค์หักมุม (Kinked demand curve) ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นตรงหักมุม ณ ระดับราคาตลาด เป็นไปตามข้อสมมติที่ว่า ถ้าผู้ผลิตคนใดลดราคาสินค้า ผู้ผลิตอื่นจะลดตาม ทำให้จำนวนขายไม่เพิ่มขึ้นมากนักเพราะจำนวนขายที่เพิ่มขึ้นจะถูกเฉลี่ยระหว่างผู้ผลิตทั้งหมดในตลาด ในทางตรงข้าม ถ้าผู้ผลิตคนใดขึ้นราคาสินค้า ผู้ผลิตอื่นจะไม่ขึ้นตาม ทำให้จำนวนขายลดลง และเช่นเดียวกับผู้ผลิตในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ประเภทอื่น ที่ในระยะสั้น ผู้ผลิตอาจประสบกับสภาวะกำไรเกินปกติ กำไรปกติ หรือขาดทุนให้น้อยที่สุดได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเส้นต้นทุนเฉลี่ย (AC) ของผู้ผลิตแต่ละรายเมื่อเทียบกับราคาที่กำหนดขึ้น ส่วนในระยะยาว ปริมาณผลผลิตและราคาของผู้ขายนอกจากจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงขนาดของกิจการแล้วยังขึ้นอยู่กับความยากง่ายที่ผู้ผลิตรายใหม่จะเข้ามาสู่ตลาด

              การกำหนดราคาในรูปแบบอื่นๆ
              ในทางปฏิบัติผู้ผลิตมักจะมีการตั้งราคาตามผู้นำ (Price Leadership) หรือรวมตัวกันกำหนด

ราคา (Collusion) โดยไม่มีการแข่งขันในเรื่องราคาสินค้าเพราะจะทำลายผลประโยชน์ของผู้ผลิตทุกรายในตลาด
              การตั้งราคาตามผู้นำ (Price Leadership) เมื่อผู้ผลิตในตลาดผู้ขายน้อยรายได้กำหนดราคาและปริมาณการผลิตของตนแล้วอาจไม่มั่นใจว่าผู้ผลิตรายอื่นจะตอบโต้อย่างไร จึงต้องมีการชักจูงให้ผู้ผลิตรายอื่นเห็นด้วยกับราคาสินค้าที่ตนกำหนดขึ้นและยอมรับราคาดังกล่าวเป็นราคาขายใน

ตลาด จึงถือว่า ผู้ผลิตรายนั้นได้ตั้งตนขึ้นเป็นผู้นำด้านราคา เพื่อขจัดปัญหาการแข่งขันและการโต้ตอบที่จะเกิดขึ้น

              การรวมตัวกันของผู้ผลิต (Collusion) เป็นการรวมตัวเข้าด้วยกัน (Collusion) ของผู้ผลิตในตลาดเสมือนว่ามีผู้ผลิตในตลาดรายเดียวและทำการตกลงดำเนินนโยบายร่วมกัน รวมถึงการกำหนดราคาของสินค้าร่วมกันเพียงราคาเดียวโดยราคาที่กำหนดนี้จะทำให้กลุ่มได้รับกำไรรวมสูงสุด ปริมาณผลผลิตทั้งหมดของกลุ่มจะทำให้ต้นทุนเพิ่ม (MC) ของกลุ่มเท่ากับรายรับเพิ่ม (MR) ของกลุ่ม ผู้ผลิตแต่ละรายจะได้รับการจัดสรรการผลิตตามข้อตกลงของกลุ่มและขายสินค้าในราคาที่กำหนดขึ้นเท่านั้น การรวมตัวนี้เรียกว่าคาร์เทล (cartel) ซึ่งถือว่าเป็นการรวมตัวกันอย่างสมบูรณ์ (perfect collusion)

              ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition Market)
              ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition Market) มีลักษณะคือ มีจำนวนผู้ขายมาก ปราศจากสิ่งกีดขวางผู้ผลิตรายใหม่ที่จะเข้ามาทำการผลิต, ไม่มีการรวมตัวกันของผู้ซื้อหรือผู้ขาย และสินค้าของผู้ผลิตแต่ละคนแตกต่างกัน ความแตกต่างนี้อาจเป็นได้ทั้งด้านรูปร่าง คุณภาพ หรือความรู้สึกของผู้บริโภค จากลักษณะเหล่านี้ทำให้ผู้ผลิตแต่ละรายในตลาดมีอำนาจผูกขาดในสินค้าของตน ยิ่งสามารถทำให้สินค้าของตนแตกต่างจากของผู้ผลิตอื่นได้มาก อำนาจผูกขาดก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วยแต่สินค้าของผู้ผลิตอื่นก็สามารถใช้แทนกันได้ ดังนั้น หากตั้งราคาสินค้าสูงกว่าของผู้ผลิตอื่นมากเกินไปจะประสบกับการเสียลูกค้าให้กับผู้ผลิตอื่น ทำให้เส้นอุปสงค์ของผู้ผลิตแต่ละคนมีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูง

              ดุลยภาพของผู้ผลิตแต่ละราย
              ดุลยภาพในระยะสั้นของผู้ผลิตแต่ละรายในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดเหมือนกับในตลาดอื่นๆ คือ ณ ระดับการผลิตที่ต้นทุนเพิ่มเท่ากับรายรับเพิ่ม (MC=MR) เส้นอุปสงค์ของผู้ผลิตจะเป็นเส้นลาดจากซ้ายไปขวาเพราะสินค้าใช้แทนกันได้ดี เส้นรายรับเพิ่มจะอยู่ใต้เส้นอุปสงค์ซึ่งเป็นเส้นเดียวกับเส้นรายรับเฉลี่ย แต่หน่วยผลิตอาจประสบกับการขาดทุนได้ ถ้าราคาสินค้าต่ำกว่าต้นทุนเฉลี่ย (AC) หน่วยผลิตจะผลิตต่อไปถ้าราคาสูงกว่าต้นทุนแปรผันเฉลี่ย (AVC) โดยผลิต ณ ระดับผลผลิตซึ่งมี MC=MR ซึ่งจะขาดทุนน้อยที่สุด (loss minimization) ในทำนองเดียวกัน ผู้ผลิตอาจได้รับพียงกำไรปกติ (Normal Profit) โดยผู้ผลิตจะผลิต ณ จุดที่ MC=MR ในตลาดนี้จะนิยมการโฆษณาและการส่งเสริมการขายเพื่อเพิ่มอุปสงค์ของผู้บริโภคเพราะถ้าประสบความสำเร็จ อุปสงค์จะเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องลดราคาสินค้า ดังนั้น กำไรจึงมากขึ้นตามไปด้วย ในระยะยาว หน่วยผลิตในตลาดมีแนวโน้มที่จะได้รับเพียงกำไรปกติ นั่นคือ ราคาดุลยภาพเท่ากับต้นทุนเฉลี่ยเพราะผู้ผลิตใหม่สามารถเข้ามาทำการผลิตแข่งขันได้โดยเสรีตราบเท่าที่หน่วยผลิตยังมีกำไรเกินปกติ จากการที

สินค้าของแต่ละหน่วยผลิตในตลาดมีความแตกต่างกันทำให้เส้นอุปสงค์ของหน่วยผลิตแต่ละรายลดลงเรื่อยๆ จนในที่สุดสัมผัสกับเส้นต้นทุนเฉลี่ยก่อนจุดต่ำสุด ดังนั้น ราคาจึงเท่ากับต้นทุนเฉลี่ย หน่วยผลิตจึงได้รับเพียงกำไรปกติเท่านั้น


 ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ = Perfectly competitive market

ในตลาด ใดที่ผู้ขาย มัก รวมหัว กันได้ดี
  ตลาดสินค้าหรือบริการประเภทหนึ่งที่มีลักษณะดังนี้ คือ 1) มีหน่วยผลิตหรือผู้ขายรายเล็กๆ จำนวนมากจนกระทั่งไม่มีรายใดมีอิทธิพลต่อการกำหนดปริมาณและราคาในตลาด ผู้ขายแต่ละรายจึงเป็นผู้รับราคา (price taker) คือ ต้องขายสินค้าตามราคาตลาดเท่านั้น  2) สินค้าหรือบริการของผู้ผลิตแต่ละรายมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ จึงสามารถทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ นั่นคือ ถ้าผู้ขายรายใดขายสินค้าในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด ผู้บริโภคจะไม่ซื้อสินค้าจากผู้ขายรายนั้นเลย 3) การเข้าและออกจากตลาดของผู้ผลิตแต่ละรายเป็นไปอย่างเสรี ไม่มีอุปสรรคหรือการกีดกัน 4) การเคลื่อนย้ายทรัพยากรการผลิตและสินค้าเป็นไปอย่างเสรี สะดวกรวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างน้อย โดยนัยของลักษณะในข้อนี้  ราคาสินค้าในแต่ละท้องที่จะมีแนวโน้มเท่ากัน 5) ผู้ซื้อและผู้ขายมีความรอบรู้เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารอย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าด้านราคา ปริมาณ คุณภาพ แหล่งซื้อขาย ฯ ล ฯ ในโลกของความเป็นจริง ไม่มีสินค้าหรือบริการชนิดใดที่มีโครงสร้างตลาดที่มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง 5 ประการนี้ อย่างไรก็ตาม หากตลาดนั้นมีคุณสมบัติอย่างน้อย 3 ประการแรก ก็พอจะอนุโลมได้ว่า ตลาดดังกล่าวใกล้เคียงกัลป์ตลาดแข่งขันสมบูรณ์มากที่สุด เช่น โครงสร้างของตลาดข้าวเปลือกในประเทศไทย เป็นต้น ตามแบบจำลองของตลาดแข่งขันสมบูรณ์นั้น ในระยะยาวผู้ผลิตแต่ละรายจะมีกำไรปกติเท่านั้น เพราะถ้ารายใดมีกำไรเกินปกติ จะชักนำให้มีผู้ผลิตรายใหม่ เข้ามาในตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้อุปทานสินค้าในตลาดมีมากขึ้น ส่งผลให้ราคาหรือรายรับเฉลี่ยลดลง และกำไรจะค่อยๆ หดหายไปในที่สุด
   การแบ่งประเภทของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์ •
          จำแนกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆคือ
  ตลาดแข่งขันสมบูรณ์(perfect competitive market)
  ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (imperfect competitive market)

        ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1. ตลาดผูกขาด (monopoly) มีผู้ขายรายเดียวขายสินค้าไม่สามารถทดแทนได้
2. ตลาดผู้ขายน้อยราย (oligopoly) ผู้ขายมีน้อยรายขายสินค้าคล้ายกัน หรือแตกต่างกันแต่ทดแทนกันได้
3. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (monopolistic competition) ตลาดที่มีผู้ซื้อเป็นจำนวนมาก แต่ผู้ขายมีความพอใจจะขายให้แก่ผู้ซื้อบางคนเท่านั้น
1. ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ (competitive market) หรืออาจเรียกว่าตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ (perfect or pure competition) ตลาดประเภทนี้มีอยู่น้อยมากในโลกแห่งความเป็นจริง อาจกล่าวได้ว่าเป็นตลาดในอุดมคติ (ideal market) ของนักเศรษฐศาสตร์ ตลาดชนิดนี้เป็นตลาดที่ราคาสินค้าเกิดขึ้นจากแรงผลักดันของอุปสงค์และอุปทาน โดยแท้จริง ไม่มีปัจจัยอื่นๆมาผลักดันในเรื่องราคา ลักษณะสำคัญของตลาดประเภทนี้ คือ
1. มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก (many buyers and sellers) แต่ละรายมีการซื้อขายเป็นส่วนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ซื้อและผู้ขาย ทั้งหมดในตลาด การซื้อขายสินค้าของผู้ซื้อหรือผู้ขายแต่ละรายไม่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา ในตลาด กล่าวคือ ถึงแม้ผู้ซื้อหรือผู้ขายจะหยุดซื้อหรือขายสินค้าของตนก็จะไม่กระทบกระเทือน ต่อปริมาณสินค้าทั้งหมดในตลาด เพราะผู้ซื้อหรือผู้ขายแต่ละคนจะซื้อสินค้าหรือขายสินค้าเป็นจำนวนเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณสินค้าทั้งหมดที่มีอยู่ในตลาด
2. สินค้าที่ซื้อหรือขายจะต้องมีลักษณะเหมือนกัน (homogeneity) สามารถที่จะใช้แทนกันได้อย่างสมบูรณ์ในทรรศนะหรือสายตาของผู้ซื้อ ไม่ว่าจะซื้อสินค้าประเภทเดียวกันนี้จากผู้ขายคนใดก็ตามผู้ซื้อจะได้รับความ พอใจเหมือนกัน เช่น ผงซักฟอก ถ้าตลาดมีการแข่งขันกันอย่างแท้จริงแล้ว ผู้ซื้อจะไม่มีความรู้สึกว่าผงซักฟอกแต่ละกล่องในตลาดมีความแตกต่างกัน คือใช้แทนกันได้สมบูรณ์ แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ผู้ซื้อมีความรู้สึกว่าสินค้ามีความแตกต่าง เมื่อนั้นภาวะของความเป็นตลาดแข่งขันอย่างสมบูรณ์ก็จะหมดไป
3. ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีความรอบรู้ในภาวะของตลาดอย่างสมบูรณ์ คือ มีความรู้ภาวะของอุปสงค์ อุปทาน และราคาสินค้าในตลาด สินค้าชนิดใดมีอุปสงค์เป็นอย่างไร มีอุปทานเป็นอย่างไร ราคาสูงหรือต่ำก็สามารถจะทราบได้
4. การติดต่อซื้อขายจะต้องกระทำได้โดยสะดวก หมายความว่าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถทำการติดต่อค้าขายกันได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว รวมถึงการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตจะต้องเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วด้วย
5. หน่วยธุรกิจสามารถเข้าหรือออกจากธุรกิจการค้าโดยเสรี ตลาดประเภทนี้จะต้องไม่มีข้อจำกัดหรือข้อกีดขวางในการเข้ามาประกอบธุรกิจของ นักธุรกิจรายใหม่ หมายความว่าหน่วยการผลิตใหม่ๆจะเข้ามาประกอบกิจการแข่งขันกับหน่วยธุรกิจที่ มีอยู่ก่อนเมื่อใดก็ได้ หรือในทางตรงกันข้ามจะเลิกกิจการเมื่อใดก็ได้
ตลาดที่มีการแข่งขันอย่างไม่สมบูรณ์ พิจารณาในด้านผู้ขาย แบ่งออกเป็น
1. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (monopolistic competition) ตลาดประเภทนี้มีลักษณะที่สำคัญ คือ มีผู้ซื้อและผู้ขายเป็นจำนวนมาก และทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างมีอิสระเต็มที่ในการที่จะวางนโยบายการขายและการ ซื้อของตนโดยไม่กระทบกระเทือนคนอื่น แต่สินค้าที่ผลิตมีลักษณะหรือมาตรฐานแตกต่างกันถือเป็นสินค้าอย่างเดียวกัน แต่ก็มีหลายตรา หลายยี่ห้อ การบรรจุหีบห่อ การโฆษณาต่างกัน เป็นเหตุให้ผู้ซื้อชอบหรือพึงใจในสินค้ายี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งโดยเฉพาะทำให้ ผู้ขายสามารถกำหนดราคาสินค้าของตนได้ทั้ง ๆ ที่ผู้ขายในตลาดชนิดนี้ต้องแข่งขันกับผู้ขายรายอื่น เช่น สินค้าผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน ฯลฯ
2. ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย (oligopoly) ตลาดประเภทนี้จะมีผู้ขายเพียงไม่กี่ราย และผู้ขายแต่ละรายจะขายสินค้าเป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับปริมาณสินค้าทั้งหมดในตลาด ถ้าหากว่าผู้ขายรายใดเปลี่ยนราคาหรือนโยบายการผลิตและการขายแล้วก็จะกระทบ กระเทือนต่อผู้ผลิตรายอื่น ๆ เช่น บริษัทผู้ขายน้ำมันในประเทศไทยซึ่งมีเพียงไม่กี่ราย ผู้ขายแต่ละบริษัทจะต้องวางนโยบายของตนให้สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทอื่น ๆ เพื่อที่จะดำเนินการค้าร่วมกันอย่างราบรื่น และผู้ขายทุกคนก็มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาและปริมาณสินค้าในตลาด ถ้าบริษัทใดเปลี่ยนนโยบายการขายย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อสินค้าชนิดนั้น ๆ ทั้งหมด เช่น ถ้าบริษัทใดบริษัทหนึ่งลดราคา สินค้าของคู่แข่งขัน ก็จะลดราคาลงด้วยเพื่อรักษาระดับการขายไว้
3. ตลาดผูกขาด (monopoly) คือตลาดที่มีผู้ขายอยู่เพียงคนเดียว ทำให้ผู้ขายมีอิทธิพลเหนือราคาและปริมาณสินค้าอย่างสมบูรณ์ในการที่จะเพิ่ม หรือลดราคาและควบคุมจำนวนขายทั้งหมด (total supply) ได้ตามต้องการ ส่วนมากจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ใช้เงินลงทุนมาก มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กรายอื่น ๆ ไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้ ตลาดประเภทนี้ ได้แก่ บริษัทผลิตเครื่องบิน เครื่องจักรกล หรือกิจการสาธารณูปโภค เช่น การเดินรถประจำทาง โรงงาน ยาสูบ ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ เป็นต้น
บทบาทของรัฐในการแทรกแซงเศรษฐกิจ
การประกันราคามี 2 แบบ คือ
การประกันราคาขั้นต่ำ คือการที่รัฐบาลออกกฎหมายควบคุมราคมไม่ให้มีการซื้อขายกันต่ำกว่าราคาที่ กำหนด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรมักมีราคาต่ำ
การ ประกันราคาขั้นสูง การที่รัฐบาลออกกฎหมายควบคุมราคมไม่ให้มีการซื้อขายกันเกินกว่าราคาที่กำหนด เพื่อช่วยผู้บริโภค เวลาที่เศรษฐกิจมีภาวะเงินเฟ้อ
การพยุงราคา คือ การแทรกแทรงโดยรัฐบาลโดยใช้นโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อทำให้ราคาสินค้าไม่ให้ลดลงหรือสูงขึ้น
การให้เงินอุดหนุนคือ การที่รัฐบาลกำหนดราคาขั้นต่ำไว้ แล้วปล่อยให้มีการซื้อขายตามกลไกตามตลาดไปก่อน จากนั้นรัฐบาลจึงจ่ายเงินอุดหนุนให้เกษตกรเท่ากับส่วนต่างของราคาประกับกับ ราคาตลาด
การลดปริมาณการผลิต
ข้อดี รายได้เกษตรกรเพิ่ม รัฐไม่รับภาระในผลผลิตส่วนเกิน
ข้อเสีย ผู้บริโภคซื้อสินค้าในราคาที่สูงขึ้น

การกำหนดราคาขั้นสูง เป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความ ช่วยเหลือผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนจากการที่สินค้าที่จำเป็นแก่การ ดำรงชีวิตมีราคาสูงขึ้น การควบคุมราคาขั้นสูงรัฐบาลจะกำหนดราคาขายสูงสุดของสินค้านั้นไว้และห้ามผู้ ใดขายสินค้าเกินกว่าราคาที่รัฐบาลกำหนด
ผลที่ตามมา คือ
เกิดการขายแบบใครมาก่อนได้ก่อน รอคิวยาว สูญเสียด้านเวลา
เกิดการลดคุณภาพสินค้า เพื่อลดต้นทุน
เกิดการลักลอบซื้อขายสินค้า โดยราคาซื้อขายจะสูงกว่าราคาขั้นสูง
ต้องใช้ร่วมกับมาตรการอื่น เพื่อกระจายสินค้าให้ครอบคลุม เช่น การแจกคูปอง

การรวมหัวกันของผู้ผลิตมักเกิดในตลาดใด

การรวมตัวกันของผู้ผลิต (Collusion) เป็นการรวมตัวเข้าด้วยกัน (Collusion) ของผู้ผลิตในตลาดเสมือนว่ามีผู้ผลิตในตลาดรายเดียวและทำการตกลงดำเนินนโยบายร่วมกัน รวมถึงการกำหนดราคาของสินค้าร่วมกันเพียงราคาเดียวโดยราคาที่กำหนดนี้จะทำให้กลุ่มได้รับกำไรรวมสูงสุด ปริมาณผลผลิตทั้งหมดของกลุ่มจะทำให้ต้นทุนเพิ่ม (MC) ของกลุ่มเท่ากับ ...

การรวมกลุ่มแบบ (cartel) เกิดขึ้นในตลาดใด

การรวมกลุ่มในตลาดผู้ขายน้อยราย (1) การรวมกลุ่มแบบเป็นทางการเรียกว่า คาร์เทล (Cartel) คือผู้ผลิต ทุกรายจะตกลงร่วมมือกันที่จะดาเนินนโยบายเดียวกันในทุกเรื่อง หน่วยธุรกิจจะได้รับการจัดสรรโควตาการผลิต ในกรณีที่ต้นทุนแตกต่าง กันและกาไรต่อหน่วยแตกต่างกัน

ตลาดในข้อใดที่ผู้ขายเป็น Price Maker

ตลาดผูกขาด คือ ตลาดที่ไม่มีคู่แข่งขันในตลาดเลย เพราะมีหน่วยธุรกิจหรือ ผู้ขายรายเดียว ในตลาด ไม่มีสินค้าทดแทนกันได้หรือ ทดแทนกันได้ยาก และไม่สามารถเข้า มาแข่งขันได้ ผู้ขายจึงมีอ านาจ ในการก าหนดราคา สินค้าหรือปริมาณผลผลิตได้ตาม ต้องการ หรือเรียกว่า “Price Maker

ตลาดใดที่ผู้ผลิตจะได้รับกำไรเกินปกติ

ดุลยภาพในระยะยาวของผู้ผลิตในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด - ระยะสั้น ผู้ผลิต มีแนวโน้มจะได้รับกำไรเกินปกติ