ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

วิธี ประกอบคอมพิวเตอร์ แบบเบื้องต้นด้วยตัวเอง ในการ ประกอบคอม หลายคนอาจสงสัยว่า ต้องมีความรู้เรื่องอะไรบ้าง ต้องศึกษาเรื่องอะไรเป็นพิเศษ วันนี้เรามีข้อมูลมาแนะนำ ใครสนใจเลื่อนลงไปดูกันเลย

Show

- เตรียมอุปกรณ์

สิ่งๆแรกๆในการ ประกอบคอมพิวเตอร์ให้เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการประกอบเครื่องคอม อาทิ ไขควงสี่แฉก ไขควงปากแบน กล่องสำหรับใส่น็อต คู่มือเมนบอร์ด คีมปากจิ้งจก ตัวคีบสกรู บล็อคหกเหลี่ยมขนาดเล็ก และ หัวมะเฟือง เป็นต้น

- เริ่มต้นที่ซีพียู

ในการประกอบคอมพิวเตอร์ ให้เริ่มจากการติดตั้งซีพียูก่อน โดยการง้างขาล็อคของซ็อกเก็ตขึ้นมาจากนั้น นำซีพียูมาใส่ลงไปในซ็อกเก็ตโดยให้วางตำแหน่งขาที่ 1 ของซีพียูและซ็อกเก็ตให้ตรง กัน ซึ่งสังเกตว่าที่ขาที่ 1 ของซีพียูจะทำเครื่องหมายเป็นจุดเล็กไว้ที่มุมด้านบนของ เมื่อวางซีพียูตรงล็อคกับซ็อกเก็ตแล้ว จากนั้นให้กดขาล็อกลงไปเหมือนเดิม แล้วนำซิลิโคนมาทาตรงบริเวณคอร์ ของซีพียู และไม่ควรทาซิลิโคนให้ หนา หากเห็นว่าหนาเกินไปให้ใช้กระดาษหรือแผ่นพลาสติกมาปาดออกเสียบ้าง

- ต่อแรม

นำแรมมาเสียบเข้ากับซ็อกเก็ตแรมโดยให้ตรงกับร่องของซ็อกเก็ต จากนั้น จึงกดลงไปจนด้านล็อกทั้ง 2 ด้านดีดขึ้น

- ตามด้วยเมนบอร์ด

เอาเมนบอร์ดที่ได้ติดตั้งซีพียูและแรมวางลงไปบนเคส จากนั้นขันน็อตยึดเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคสให้ครบทุกตัว

- เชื่อมต่อสายสัญญาณต่างๆ ภายในเครื่อง

ขั้นตอนต่อมาให้เชื่อมต่อสายสัญญาณต่างๆ ภายในเครื่อง เสียบสายเพาเวอร์ซัพพลายเข้ากับขั้วต่อบนเมนบอร์ด โดยควรเสียบให้ปลั๊กของสายเพาเวอร์ซัพพลายตรงล็อกกับขั้วต่อบนเมนบอร์ด เสียบสายสัญญาณต่างๆ จากเคส เช่น สวิตช์เปิดปิดเครื่อง ไฟบอก สถานะเปิดเครื่อง ไฟบอกสถานะฮาร์ดดิสก ปุ่ม Reset ลำโพง ลงบนเมนบอร์ด ควรดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบด้วย โดยต้องเสียบขั้วให้ถูกหากผิดขั้ว คอมพิวเตอร์ จะไม่ติดหรือมีไฟค้างตลอดเวลา วิธีแก้ไขคือให้เราลองสลับขั้วและเปิดเครื่องขึ้น มาใหม่

- ติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ ไดร์ฟ ซีดีรอม และการ์ดต่าง ๆ

จากนั้นให้ติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ ไดร์ฟ ซีดีรอม และการ์ดต่าง ๆ เสียบการ์ดแสดงผลลงไปในสล็อต AGP เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส และเสียบการ์ดเสียงลงไปในสล็อต PCI เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส

- ตรวจสอบน็อต

เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ตรวจสอบดูว่ามีน็อตหรืออุปกรณ์อื่นๆ ตกค้างอยู่บนเมนบอร์ดหรือไม่ เนื่องจากอาจทำให้เกิดกระแสไฟลัดวงจรจนเกิดความ เสียหายต่อเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ดได้ นอกจากนี้ควรตรวจสอบ การติดตั้งทั้งหมดว่าเรียบร้อยดีแล้ว เช่น การ์ดต่างๆ หรือสายสัญญาณเสียบ แน่นหนาดีหรือยัง โดยเฉพาะฮีทซิงค์และพัดลมต้องแนบสนิทกับซีพียู พร้อมทั้งล็อก ติดกันอย่างแน่นหนา

- ปิดเคส

เมื่อเรียบร้อยดีแล้วปิดฝาเคส ขันน็อต และต่ออุปกรณ์ภายนอกให้เรียบร้อย เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ฉบับเบื้องต้น โดยหากต้องการ ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม ก็ให้ย้อนกลับไปทำวิธีข้างต้นใหม่

และใครที่อยากซื้อ ประกอบคอมihavecpu ร้านรับจัดสเปคคอมชื่อดัง มีทีมงานพร้อมให้บริการลูกค้าทุกท่าน ประกอบเร็ว มีประกัน ส่งถึงหน้าบ้าน สนใจติดต่อเรามาได้เลย ทั้งสาขา รามอินทรา และ สาขานครนายก

สนใจ ประกอบคอมเกม คลิ๊ก http://m.me/CPUCore2Duo หรือโทร 021054757

หรือเข้าไปเลือกซื้อด้วยตัวเองได้เลยที่ https://www.ihavecpu.com/category

ขั้นตอนการประกอบเครื่อง

            หลังจากได้เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ไว้พร้อมแล้ว จากนั้นก็เป็นการจัดลำดับขั้นตอนในการประกอบเครื่องโดยเริ่มต้นจากการติดตั้ง cpu เข้ากับ Socket บนเมนบอร์ดก่อน (รวมทั้งติดตั้งฮีทซิงค์สำหรับระบายความร้อนบนตัว cpu ด้วย) จากนั้นจึงทำการติดตั้ง

พร้อมสายเคเบิลต่างๆ แนะนำเมนบอร์ดติดตั้งเข้ากับเคส ตามด้วยการติดตั้งไดรว์  และการ์ดต่างๆ สุดท้ายจึงเป็นการเชื่อมต่อ

อุปกรณ์ภายนอก (สามารถสลับกันได้ตามความสะดวก)

1.  ติดตั้งซีพียู

2. ติดตั้งแรมและสายเคเบิ้ล

3. ติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับเคส

4. ต่อสายไฟและสายสัญญาณ

5. ติดตั้งไดร์ต่างๆ ดีวีดีไดรว์ ฮาร์ดดิสก์ไดรว์

6. ติดตั้งการ์ดแสดงผลและการ์ดเสียง

7. ติดตั้งอุปกรณ์ภายนอก

ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

             การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง ปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปซึ่งเราสามารถหัดประกอบด้วยตนเองได้ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นแรกให้เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์  เช่น ไขควงสี่แฉก กล่องสำหรับใส่น็อต คู่มือเมนบอร์ด คีมปากจิ้งจก

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

2. เริ่มจากการติดตั้งซีพียูก่อน โดยง้างขาล็อคของซ็อกเก็ตขึ้นมาจากนั้นนำซีพียูมาใส่ลงไปในซ็อกเก็ตโดยให้วางตำแหน่งขาที่ 1 ของซีพียูและซ็อกเก็ตให้ตรงกัน โดยสังเกตว่าที่ขาที่ 1 ของซีพียูจะทำเครื่องหมายเป็นจุดเล็กไว้ที่มุมด้านบนของซีพียู

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

 

3. เมื่อวางซีพียูตรงล็อคกับซ็อกเก็ตแล้ว จากนั้นให้กดขาล็อกลงไปเหมือนเดิม แล้วนำซิลิโคนมาทาตรงบริเวณคอร์ (แกน) ของซีพียู และไม่ควรทาซิลิโคนให้หนา หากเห็นว่าหนาเกินไปให้ใช้กระดาษหรือแผ่นพลาสติกมาปาดออกเสียบ้าง

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

 

4. ติดตั้งฮีทซิงค์และพัดลมลงไปบนคอร์ของซีพียู ติดล็อกให้เรียบร้อยในขั้นตอนนี้มีจุดที่ต้องระวังอยู่ 2 จุดคือ การติดตั้งฮีทซิงค์ของพัดลมจะต้องแนบสนิทกับคอร์ของซีพียู อย่าพยายามกดแรงไป บางทีคอร์ของซีพียูอาจบิ่นได้ ส่วนขาสปริงที่ยึดพัดลมบางทีมันแข็งเกินไป บางคนใช้ไขควงพยามยามกดขาสปริงให้เข้าล็อก ซึ่งอาจทำให้พลาดไปขูดเอาลายปริ้นบนเมนบอร์ดขาดทำให้เมนบอร์ดอาจเสียหายได้

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

5. เสียบสายไฟของพัดลมเข้ากับขั้ว CPU FAN โดยดูจากคู่มือเมนบอร์ด

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

6. นำแรมมาเสียบเข้ากับซ็อกเก็ตแรมโดยให้ตรงกับร่องของซ็อกเก็ต จากนั้นจึงกดลงไปจนด้านล็อกทั้ง 2 ด้านดีดขึ้นมา (บางเมนบอร์ดตัวล็อกทั้งสองด้านอาจไม่จำเป็นต้องดีดขึ้นมาก็ได้ให้ดูว่าเข้าล็อกกันก็พอ)

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

7. ขันแท่นรองน็อตเข้ากับเคส

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

8. นำเมนบอร์ดที่ได้ติดตั้งซีพียูและแรมวางลงไปบนเคส จากนั้นขันน็อตยึดเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคสให้ครบทุกตัว

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

9. เสียบการ์ดแสดงผลลงไปในสล็อต AGP เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

10. เสียบการ์ดเสียงลงไปในสล็อต PCI เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

11. เสียบสายเพาเวอร์ซัพพลายเข้ากับขั้วต่อบนเมนบอร์ด โดยควรเสียบให้ปลั๊กของสายเพาเวอร์ซัพพลายตรงล็อกกับขั้วต่อ         บนเมนบอร์ด

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

12. สอดไดรฟ์ซีดีรอมเข้ากับช่องว่างหน้าเคส แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคสให้แน่น

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

13. เสียบสาย IDE เข้ากับไดรฟ์ซีดีรอมโดยให้แถบสีแดงตรงกับขาที่ 1หรือด้านที่ติดกับขั้วสายไฟ จากนั้นจึงเสียบสายไฟและสายสัญญาณเสียงเข้าไปด้วย

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

14. เสียบสาย IDE อีกด้านเข้ากับขั้วต่อ Secondary IDE บนเมนบอร์ดโดยแถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

15. สอดฮาร์ดดิสก์เข้ากับช่องติดตั้ง แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคสให้แน่น

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

16. เสียบสาย IDE เข้ากับฮาร์ดดิสก์โดยให้แถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 หรือด้านที่ติดกับขั้วสายไฟ จากนั้นจึงเสียบสายไฟเข้าไปด้วย

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

17. เสียบสาย IDE อีกด้านเข้ากับขั้วต่อ Primary IDE บนเมนบอร์ด โดยแถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

18. สอดไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์เข้าไปในช่องติดตั้ง แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคสให้แน่น

19. เสียบสายไฟเข้ากับขั้วต่อสายไฟของฟล็อบปี้ดิสก์ ให้สังเกตสายไฟของฟล็อบปี้ดิสก์จะมีหัวขนาดเล็กกว่าสายไฟของซีดีรอมและฮาร์ดดิสก์

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

20. เสียบสายแพขนาด 34 เส้น (เส้นเล็กกว่าสายแพของฮาร์ดดิสก์และซีดีรอม) ให้ด้านที่มีการไขว้สายเข้ากับขั้วต่อไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์ โดยแถบสีแดงของสายแพต้องตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย หากใส่ผิดด้านไฟของไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์จะติดตลอด วิธีแก้ไขคือให้หันสายแพกลับด้านเพราะไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์บางยี่ห้ออาจต้องใส่สลับด้านกัน

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

 

21. เสียบสายแพอีกด้านเข้ากับขั้วต่อฟล็อบปี้ดิสก์บนเมนบอร์ด โดยให้สายสีแดงตรงกับขาที่ 1 หรือ pin1 ของขั้วต่อด้วย

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

 

22. เสียบสายสัญญาณต่างๆ จากเคส เช่น สวิตช์เปิดปิดเครื่อง ไฟบอกสถานะเปิดเครื่อง ไฟบอกสถานะฮาร์ดดิสก ปุ่ม Reset ลำโพง ลงบนเมนบอร์ดควรดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบด้วย โดยต้องเสียบขั้วให้ถูกหากผิดขั้ว คอมพิวเตอร์จะไม่ติดหรือมีไฟค้างตลอดเวลา วิธีแก้ไขคือให้เราลองสลับขั้วและเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

 

 23. เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เราลองสำรวจดูว่ามีน็อตหรืออุปกรณ์อื่นๆตกค้างอยู่บนเมนบอร์ดหรือไม่ เพราะอาจทำให้เกิดกระแสไฟลัดวงจรจนเกิดความเสียหายต่อเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ดได้ นอกจากนี้ควรตรวจสอบการติดตั้งทั้งหมดว่าเรียบร้อยดีแล้ว เช่น การ์ดต่างๆ หรือสายสัญญาณเสียบแน่นหนาดีหรือยัง โดยเฉพาะฮีทซิงค์และพัดลมต้องแนบสนิทกับซีพียู พร้อมทั้งล็อกติดกันอย่างแน่นหนา

ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

 

24. เมื่อเรียบร้อยดีแล้วปิดฝาเคสและขันน็อตให้เรียบร้อย ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการประกอบเครื่องอย่างถูกต้องและสมบูรณ์แบบแล้ว

 ****************************************************************************      

 ที่มา: http://www.bpic.ac.th/computer/pest13.html