ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ช่วงปีพ.ศ.ใดและแนวคิดแบบใดบ้าง

กองยุทธศาสตร์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 ม.16 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 | โทรศัพท์ 0 4320 3671 2 | โทรสาร 0 4320 2337 | E-Mail: straplan.kku.ac.th,
©2021 strategy.kku.ac.th. All rights reserved.

ในยุคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่า “เศรษฐกิจ” ของไทยหลายภาคส่วนทั้งภาคการผลิต การบริการ รวมไปถึงการบริโภคของภาคเอกชนและประชาชนในประเทศล้วนตกอยู่ในภาวะซบเซาอย่างหนัก เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่เหลือกำลังมากพอที่จะมาช่วยทำให้เกิดการหมุนเวียนเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจได้ 

การอัดฉีดเม็ดเงินจากภาครัฐจึงกลายเป็นความหวังเพียงไม่กี่อย่างที่มีศักยภาพเพียงพอต่อการช่วยพลิกฟื้นให้เศรษฐกิจและธุรกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้ 

ดังนั้นการเข้าใจถึงทิศทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากภาครัฐจึงกลายเป็นปัจจัยที่สำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะต่อทิศทางการลงทุนว่าเราจะจัดพอร์ตเพื่อรับกับโอกาสและความท้าทายต่าง ๆ ที่เข้ามาอย่างไร

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ในฐานะหน่วยงานด้านการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ได้ออกมาเปิดเผยร่างแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ที่จะใช้เป็นกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศในช่วงปี 2566 – 2579

แม้ว่าร่างแผนดังกล่าวจะยังไม่ใช่เอกสารขั้นสุดท้าย เพราะยังต้องผ่านกระบวนการรับฟังความเห็นไปจนถึงการพิจารณาจากรัฐสภาก่อน แต่ก็ถือว่าเป็นโครงร่างที่มีรายละเอียดมากพอจะทำให้พวกเราพอเข้าใจและมองเห็นเค้าลางได้ว่าในช่วงปี 2566 – 2570 ภาครัฐกำลังให้น้ำหนักไปที่เรื่องใดบ้าง 

และนั่นก็หมายถึงว่าเม็ดเงินงบประมาณภาครัฐย่อมต้องถูกถ่ายเทไปยังส่วนนั้นมากขึ้น พี่ทุยจะมาสรุปเนื้อหาสาระสำคัญในร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับล่าสุดที่เพิ่งออกมาว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง 

แผนเชิงปฏิบัติการที่มีความชัดเจนมากขึ้น

ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 จัดทำขึ้นภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างออกไปจากแผนพัฒนาฯ ในช่วงที่ผ่านมา เพราะถือเป็นแผนเชิงปฏิบัติการที่มุ่งถ่ายทอดความคิดตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (2561 – 2580) มาทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในช่วงกรอบระยะเวลา 5 ปี (2566 – 2570)  

เนื้อหาโดยภาพรวมของร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มุ่งเน้นการพลิกโฉมหน้าโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่ขับเคลื่อนด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม แต่ก็ไม่ได้ละเลยมิติทางด้านสังคมที่ต้องลดความเหลื่อมล้ำ การกระจายโอกาสการพัฒนาอย่างทั่วถึง ไปจนถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้สามารถดำรงอยู่คู่กับการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน

ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ช่วงปีพ.ศ.ใดและแนวคิดแบบใดบ้าง

เพราะที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าการพัฒนาของไทยยังไม่ได้อยู่ในระดับที่น่าพอใจมากนัก โดยดูได้จากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยังไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 

และยิ่งมาเผชิญกับบริบทการพัฒนาของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งจากการปฏิวัติทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตอย่างมาก การเข้าสู่สังคมสูงวัย การพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประชาคมโลก ความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจ และการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  ก็ยิ่งตอกย้ำถึงความเร่งด่วนในเรื่องการพลิกโฉมโครงสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามสโลแกนว่า พลิกโฉมประเทศสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน (Thailand’s Transformation) 

13 เป้าหมายพลิกโฉม “เศรษฐกิจ” ของประเทศ

ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ช่วงปีพ.ศ.ใดและแนวคิดแบบใดบ้าง

ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 แยกประเด็นการพัฒนาออกเป็น 13 เป้าหมาย โดยแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 มิติการพัฒนา ประกอบด้วย

1. มิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย ประกอบด้วย 6 เป้าหมาย 

(1) เกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและที่ดินทำกิน 

(2) การท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน โดยเน้นไปที่การสร้างรายได้จากการนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น พัฒนาระบบการจัดการให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และได้มาตรฐานสากล พึ่งพิงนักท่องเที่ยวภายในให้มากขึ้นควบคู่ไปกับการกระจายการท่องเที่ยวไปยังเมืองรอง 

(3) ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก โดยส่งเสริมการพัฒนาทั้งโครงสร้างพื้นฐานทั้งระบบ และเพิ่มสัดส่วนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้น

(4) การแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง โดยส่งเสริมให้เพิ่มศักยภาพและมูลค่าเพิ่มของการให้บริการด้านการแพทย์สุขภาพ รวมไปถึงการวิจัยทางการแพทย์ 

(5) ประตูการค้าการลงทุนและโลจิสติกส์ เพื่อให้ไทยยังคงอยู่ในห่วงโซ่อุปทานของภูมิภาค เป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญทางเศรษฐกิจของภูมิภาค 

(6) ศูนย์กลางดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ โดยส่งเสริมให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยให้มากขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไป 

2. มิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วย 3 เป้าหมาย ได้แก่

(7) SMEs เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และแข่งขันได้ โดยสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการแข่งขัน ส่งเสริมผู้ประกอบการยุคดิจิทัล 

(8) พื้นที่และเมืองอัฉริยะ โดยพัฒนาให้แต่ละภาคเกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุนมากขึ้น โดยผ่านการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษที่กระจายอยู่ในแต่ละพื้นที่ อาทิ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง – ตะวันตก ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก และโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล   

(9) ความยากจนข้ามรุ่นและความคุ้มครองทางสังคม โดยแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้า สร้างความเสมอภาคทางโอกาส และยกระดับความคุ้มครองในทุกช่วงวัย

3. มิติความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 2 เป้าหมาย 

(10) เศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ โดยพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการที่สร้างมลภาวะและปล่อยคาร์บอนในสัดส่วนที่ต่ำ และสร้างโอกาสจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจและบริการคาร์บอนต่ำ

(11) ลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยป้องกันและลดผลกระทบในพื้นที่สำคัญ เพิ่มศักยภาพในการรับมือของประชาชนและชุมชน 

4. มิติปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ ประกอบด้วย 2 เป้าหมาย 

(12) กำลังคนที่มีสมรรถนะสูง โดยพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างเต็มศักยภาพ พัฒนากำลังคนให้ตอบโจทย์ภาคการผลิตเป้าหมาย 

(13) ภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ประชาชน โดยยกระดับคุณภาพการให้บริการภาครัฐ มุ่งสู่รัฐบาลดิจิทัล และปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ 

ต่อยอดจากจุดแข็งเดิม

พี่ทุยมองว่าจากทั้ง 13 เป้าหมายดังกล่าวไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องมาเริ่มต้นใหม่อะไรเลย หากแต่เป็นการต่อยอดจากต้นทุนเดิมที่ประเทศไทยมีจุดแข็งอยู่แล้ว อาทิ การเป็นฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงยานยนต์ 

ขณะเดียวกัน ด้วยเหตุที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ทำให้การใช้โยชน์จากทรัพยากรดังกล่าวต้องคำนึงถึงความสมดุล และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการก้าวไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่อยู่บนพื้นฐานของระบบการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน

แผนพัฒนา “เศรษฐกิจ” ฉบับใหม่ ปิดจุดอ่อนที่เคยมี

จุดที่น่าสนใจคือ ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นที่เป็นความท้าทายของไทยอย่างประเด็นความเหลื่อมล้ำทางสังคม และศักยภาพของภาครัฐ แถมยังมีการเสนอแนวทางแก้ไขที่อยู่บนพื้นฐานที่เป็นไปได้และทำได้จริงในระยะเวลาที่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบความคุ้มครองทางสังคมอย่างมีประสิทธิภาพและบูรณาการฐานข้อมูลเพื่อจัดทำระบบความคุ้มครองทางสังคม

นอกจากนี้ ยังมุ่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในเชิงพื้นที่โดยการสร้างศูนย์กลางความเจริญใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในแต่ละภาค เพราะที่ผ่านมาการพัฒนาของไทยกระจุกอยู่ในบางพื้นที่เท่านั้น โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และในจังหวัดใหญ่ ๆ บางแห่ง

เปิดรับฟังแนวทางเพื่อปรับปรุงร่างแผนพัฒนา “เศรษฐกิจ”

อย่างไรก็ดี ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับ 13 ยังคงเปิดรับความเห็นจากภาคประชาชนจนถึง ม.ค. 2565 ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของสภาพัฒน์ เพื่อทำให้แผนดังกล่าวสะท้อนความต้องการของประชาชนมากที่สุด 

โดยเฉพาะความเห็นที่มีต่อแนวกลยุทธ์ของแต่ละเป้าหมายและตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในแผน อาทิ การกำหนดรายได้ประชาชาติต่อหัวเพิ่มขึ้นเป็นไม่ต่ำกว่า 8,800 ดอลลาร์ต่อปี ค่าใช้จ่ายต่อวันของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 10% ต่อปี และการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากปกติลงอย่างน้อย 15%

จากที่พี่ทุยสรุปใจความสำคัญมาทั้งหมดคงพอจะทำให้ทุกคนพอมองออกแล้วว่าจากนี้ไปทิศทางการพัฒนาของไทยกำลังก้าวไปสู่ทิศทางใดบ้าง ซึ่งถ้าลองภาพการพัฒนาของไทยเราไปกับเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกพี่ทุยว่าเราน่าจะเดากันไม่ยากเลยว่าหุ้นอุตสาหกรรมไหนจะได้รับประโยชน์ในอีก 5 – 10 ปีข้างหน้าบ้าง

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 เป็นแผนระยะใด

สำหรับ แผนพัฒนาฉบับที่ 13 ถือเป็นแผนระดับที่ 2 ตามแผนกำหนดให้เป็นกลไกที่สำคัญในการแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติและกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ประเทศควรมุ่งเน้นในระยะ 5 ปีถัดไปคือปี 2566 – 2570.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 มีกี่มิติ

น.ส.ไตรศุลีกล่าวว่า หมุดหมายการพัฒนาของแผนพัฒนาฉบับที่ 13 มีทั้งหมด 13 หมุดหมาย จำแนกออกเป็น 4 มิติ ได้แก่ 1) มิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย จำนวน 6 หมุดหมาย ได้แก่ ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง, ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน, ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่ ...

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ใช้ปัจจุบันคือฉบับใด และมีระยะเวลาเท่าไร

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 ได้น้อมนำหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 9-11 เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยสามารถยืดหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงเกิดภูมิคุ้มกัน และมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ...

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. ฉบับนำขึ้นทูลเกล้าฯ สศช. จัดระดมความคิดเห็นระหว่างเดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2564.