อาการกินข้าวไม่ลง คลื่นไส้

อาการกินข้าวไม่ลง คลื่นไส้

สาเหตุ

มักเกิดจากการรับเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายจนเกิดการติดเชื้อในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก

  1. เชื้อไวรัส เช่น โนโรไวรัส (Norovirus) และโรต้าไวรัส (Rotavirus)
  2. เชื้อแบคทีเรีย เช่น อีโคไล (E.coli) ซาลโมเนลลา (Salmonella)และชิเกลลา (Shigella)
  3. ปรสิต เช่น ไกอาเดีย (Giardia) และคริปโตสปอริเดีย(Cryptosporidia)

สาเหตุการติดเชื้อ

  • บริโภคอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยเฉพาะอาหารทะเลปลาดิบ หรือปลาที่ปรุงไม่สุกดี
  • สัมผัสวัตถุหรือพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่นใช้เครื่องครัวหรือของใช้ภายในบ้านที่สกปรก
  • ไม่ล้างมือหลังเข้าห้องน้ำ หรือหลังเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก
  • ใกล้ชิดหรือได้รับเชื้อจากผู้ป่วยโรคนี้

อาการ

อาการหลัก คือ ท้องเสีย และอาจมีอาการอื่นๆ ได้แก่

  • คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาเจียนพุ่งอย่างแรง
  • ปวดท้อง ท้องเกร็ง ท้องอืด และมีเสียงโกรกกราก
  • มีไข้ต่ำๆ
  • เหนื่อยล้า อ่อนแรง เบื่ออาหาร
  • ปวดศีรษะ หรือปวดกล้ามเนื้อ

การรักษา

ยังไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับกรณีที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส โดยทั่วไปร่างกายของผู้ป่วยมักฟื้นตัวและหายดีได้เองภายใน 1 สัปดาห์

แต่หากติดเกิดจากการติดชื้อชนิดอื่นผู้ป่วยอาจต้องไปพบแพทย์เพื่อรับยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือปรสิต

ข้อเสนอแนะ

ผู้ป่วยอาจบรรเทาอาการได้ด้วยตนเองในเบื้องต้น ดังนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มเกลือแร่ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ
  • รับประทานอาหารร้อนๆ
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน

อาการผิดปกติที่มาพบแพทย์

ปวดท้อง อาเจียนมาก มีไข้ อ่อนเพลียมาก

รู้สึกเบื่ออาหาร สัญญาณเตือนของโรคร้ายที่ระวัง

อาการกินข้าวไม่ลง คลื่นไส้

เขียนเมื่อวันที่ 17/07/2021

โรคร้ายจากอาการเบื่ออาหารมีอะไรบ้าง ?

สำหรับใครที่กำลังมีอาการเบื่ออาหาร รวมถึงทานได้น้อยลง ถือเป็นสัญญาณเตือนการมาของโรคร้ายที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ โดยสาเหตุมาจากภาวะเบื่ออาหารเนื่องจากปัญหาสุขภาพกาย และปัญหาสุขภาพจิต อีกทั้งเสี่ยงเกิดโรคร้ายที่ไม่คาดฝัน หากปล่อยไว้จะทำให้น้ำหนักลดลง ขาดสารอาหาร และอาการแย่ลงตามลำดับ เพราะฉะนั้นควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยจะได้รักษาทันท่วงที 

อาการเบื่ออาหารเกิดจากอะไร 

อาการเบื่ออาหารเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ มีความเครียดสะสม ปัญหาสุขภาพจิต รวมถึงการใช้ยาที่ทำให้กระเพาะอาหารทำงานช้าลง อาทิ ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวดโคเดอีน หรือมอร์ฟีน นอกจากนี้ปัญหาด้านสุขภาพก็เป็นชนวนเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเบื่ออาหารเช่นกัน ที่ร้ายแรงไปกว่านั้นคือเสี่ยงเป็นโรคร้ายที่ไม่คาดฝัน 

อาการเบื่ออาหารจากปัญหาสุขภาพ

ระวัง! 7 โรคร้ายจากอาการเบื่ออาหาร 

  1. โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

อาการของมะเร็งลำไส้เบื้องต้นที่สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเองคือท้องเสียสลับกับท้องผูก อุจจาระลีบและมีเลือดสดปนออกมา รู้สึกอ่อนเพลีย และน้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่อง

  1. โรคมะเร็งรังไข่

อาการที่บ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่คือรู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ คลื่นไส้อาเจียน อาหารไม่ย่อย ท้องเสียหรือท้องผูกบ่อย รวมถึงปัสสาวะบ่อย มีเลือดออกที่ช่องคลอด รู้สึกอึดอัดในท้อง ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน แลเหนื่อยง่าย 

  1. โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร 

หากรู้สึกเบื่ออาหารควบคู่ไปกับมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แสบร้อนที่บริเวณหน้าอก อุจจาระมีเลือดปน ปวดท้องและอ่อยเพลีย รวมถึงน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ ให้สันนิษฐานได้เลยว่าอาจเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

  1. โรคมะเร็งตับอ่อน 

อาการของโรคมะเร็งตับอ่อนคือรู้สึกเบื่ออาการ น้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง คลื่นไส้อาเจียน ปวดในท้องบริเวณส่วนบน รู้สึกอ่อนแรง และมีภาวะตัวเหลือง ซ้ำร้ายไปกว่านั้นคือมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย เนื่องจากมะเร็งไปยับยั้งการผลิตอินซูลิน

  1. โรคไตวายเรื้อรัง 

โรคไตวายเรื้อรังถือเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่ควรเฝ้าระวัง โดยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน หรืออาเจียนเป็นเลือด อ่อนเพลีย โลหิตจาง ปัสสาวะบ่อยเวลากลางคืน ผู้ชายจะหมดสมรรถภาพทางเพศ ส่วนผู้หญิงประจำเดือนขาด

  1. ไวรัสตับอักเสบ

มีอาการคือเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ปัสสาวะสีเข้ม ตาเหลือง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และรู้สึกจุกแน่นที่ชายโครงขวาเนื่องจากมีอาการตับโต 

  1. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ในระยะแรกไม่แสดงอาการแต่ถ้าปอดถูกทำลายมากขึ้นจะเกิดอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมากหลังตื่นนอน อีกทั้งรู้สึกเหนื่อยหอบ ไม่มีแรง หายใจลำบาก รวมถึงมีอาการเจ็บหน้าอก ไอเป็นเลือด ปากและเล็บมีสีม่วง หากโรคลุกลามมากขึ้นจะมีปัญหาน้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่อง ร้ายแรงไปกว่านั้นคือติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เกิดภาวะหัวใจวาย และหัวใจด้านขวาล้มเหลว

หากตกอยู่ในภาวะเบื่ออาหารและมีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว ไม่เช่นนั้นอาจเกิดอาการรุนแรงที่อยากต่อการรักษา 

ภาวะแทรกซ้อนจากอาการเบื่ออาหารที่ต้องระวัง

- รู้สึกเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน และอาเจียนมากกว่า 24 ชั่วโมง

- น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ 

- รู้สึกเจ็บเวลากลืนอาหาร 

- มีอาการท้องผูกไม่ได้ขับถ่ายมา 2 วัน หรือมากกว่านั้น

- ไม่ได้ปัสสาวะทุกวันหรือปัสสาวะน้อย ปัสสาวะสีเข้มและมีกลิ่นแรง 

- ดื่มน้ำหรือกลืนของเหลวลงคอไม่ได้

- มีอาการปวดที่ไม่สามารถหายเองได้ 

- ประจำเดือนขาด

ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง จากอาการเบื่ออาหาร

นอกจากนี้อาการเบื่ออาหารยังมีภาวะแทรกซ้อนที่ต้องเฝ้าระวัง และอาจทำให้อาการแย่ลงหรือรุนแรงขึ้น ถ้าไม่รีบทำการรักษา ดังนี้ 

  1. รู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ 
  2. หัวใจเต้นเร็วมากหรือเต้นช้าผิดปกติ 
  3. ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำลงทำให้มีไข้ 
  4. รู้สึกไม่สบายตัว 
  5. มีภาวะขาดสารอาหาร

โรคร้ายต่าง ๆ สามารถป้องกันได้เพียงใส่ใจดูแลสุขภาพ และหมั่นตรวจเช็คสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญคือควรทำประกันภัยสุขภาพเพื่อคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วยในอนาคต ฮักส์มีประกันภัยสุขภาพที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ เบี้ยเริ่มต้นเพียง 2,160 บาท / ปี ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2975 5855 พร้อมให้คำปรึกษาด้วยความเต็มใจ 

อ้างอิงข้อมูล : paolohospital, samitivejhospitals, bumrungrad, paolohospital