พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

ในภาษาไทยมีการใช้คำว่า พอลิเมอร์ และ โพลิเมอร์ โดยปัจจุบันราชบัณฑิตยสถานกำหนดว่าให้ใช้คำว่า "พอลิเมอร์"

การเรียกชื่อพอลิเมอร์แบบมาตรฐาน

มีการเรียกชื่อพอลิเมอร์หลายวิธี พอลิเมอร์ที่ใช้ทั่วไปส่วนใหญ่ใช้ชื่อสามัญที่เคยใช้ในอดีตมากกว่าชื่อที่ ตั้งตามแบบมาตรฐาน ทั้งสมาคมเคมีอเมริกันและไอยูแพกได้กำหนดการตั้งชื่อแบบมาตรฐานซึ่งมีความ คล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกันทั้งหมด ชื่อที่เป็นมาตรฐานทั้งสองระบบเป็นชื่อที่แสดงถึงชนิดของหน่วยย่อยที่ประกอบ เป็นพอลิเมอร์มากกว่าจะบอกถึงธรรมชาติของหน่วยที่ซ้ำๆกันในสาย ตัวอย่างเช่น พอลิเมอร์ที่สังเคราะห์จากเอทิลีนเรียกว่าพอลิเอทิลีน ยังคงลงท้ายด้วย –อีน แม้ว่าพันธะคู่จะหายไประหว่างกระบวนการเกิดพอลิเมอร์

เรียกโดยเติม “Poly” นำหน้าชื่อของโมโนเมอร์ที่ใช้เตรียม

Monomer Polymer

ethylene CH2=CH2 Polyethylene

propylene CH2=CH(CH3) Polypropylene

vinyl chloride CH2=CHCl Polyvinyl chloride

styrene CH2=CH(C6H5) Polystyrene

tetrafluoroethylene CF2=CF2 Polytetrafluoroethylene

methyl methacrylate CH2=C(CH3)(COOCH3) PMMA

caprolactam NH2(CH2)5COOH Polycaprolactam



ประวัติพอลิเมอร์

  • ปี 1891 ฮิลัยลี่ เดอชาดอนเนต (Hilaire de Chardonnet) เริ่มผลิตเส้นใยเซลลูโลส (cellulose)
    สำหรับผ้าไหม(silk)ได้สำเร็จ
  • ปี 1907 ลีโอ แบเคลแลนด์(Leo Baekeland) ประดิษฐ์พอลิเมอร์สังเคราะห์ชื่อว่า เบคิไลต์(bakelite)
  • ปี 1922 เฮอร์มานน์ สตอดิงเจอร์(Hermann Staudinger) เสนอเป็นครั้งแรกว่าพอลิเมอร์ประกอบด้วยโซ่ยาวของอะตอม
    ที่ดึงดูดกันด้วยพันธะเคมีแบบโควาเลนต์(covalent bond) ซึ่งก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าพอลิเมอร์เป็นกลุ่มของโมเลกุล เล็กๆที่เรียกว่า คอลลอยด์(colloids)และดึงดูดกันด้วยที่ยังไม่ทราบ
  • ปี 1953 สตอดิงเจอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี
    (Nobel Prize in Chemistry)
  • ปี 1931 วอลลาซ คารอตเทอรส์ (Wallace Carothers) ประดิษฐ์ยางสังเคราะห์ได้เป็นครั้งแรกเรียกว่านีโอพรีน (neoprene)
  • ปี 1935 วอลลาซ คารอตเทอรส์ (Wallace Carothers) ประดิษฐ์ไนลอน (nylon)
  • ปี 1974 พอล ฟลอรี่ (Paul Flory)ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี
    (Nobel Prize in Chemistry) จากผลงานการพยากรณ์การจัดเรียงตัวของพอลิเมอร์ในสารละลาย
    ซึ่งเรียกว่าแรนดอมคอยล์ (random coil)


ความหมายของพอลีเมอร์

พอลิเมอร์ (Polymer) คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ ของสารที่อาจจะเหมือนกันหรือต่างกันมาเชื่อมต่อกันด้วย
พันธะโควาเลนต์

มอนอเมอร์ (Monomer) คือ หน่วยเล็ก ๆ ของสารในพอลิเมอร์ ดังภาพ

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

ประเภทของพอลิเมอร์ แบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้

1. แบ่งตามการเกิดเป็นเกณฑ์ เป็น 2 ชนิด คือ

ก . พอลิเมอร์ธรรมชาติ เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น โปรตีน แป้ง เซลลูโลส ไกโคเจน กรดนิวคลีอิก และยางธรรมชาติ (พอลีไอโซปรีน)
ข . พอลิเมอร์สังเคราะห์ เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากการสังเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น พลาสติก ไนลอน ดาครอน และลูไซต์ เป็นต้น

2. แบ่งตามชนิดของมอนอเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบ เป็น 2 ชนิด คือ

ก . โฮมอลิเมอร์ (Homopolymer) เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ชนิดเดียวกัน เช่น แป้ง(ประกอบด้วยมอนอเมอร์ที่เป็นกลูโคสทั้งหมด) พอลิเอทิลีน PVC (ประกอบด้วยมอนอเมอร์ที่เป็นเอทิลีนทั้งหมด)

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

ข . เฮเทอโรพอลิเมอร์ (Heteropolymer) เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ต่างชนิดกัน เช่น โปรตีน (ประกอบด้วยมอนอเมอร์ที่เป็นกรดอะมิโนต่างชนิดกัน) พอลิเอสเทอร์ พอลิเอไมด์ เป็นต้น

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

3. แบ่งตามโครงสร้างของพอลิเมอร์ แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ

ก. พอลิเมอร์แบบเส้น (Chain length polymer) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์สร้างพันธะต่อกันเป็นสายยาว โซ่พอลิเมอร์เรียงชิดกันมากว่าโครงสร้างแบบอื่น ๆ จึงมีความหนาแน่น และจุดหลอมเหลวสูง มีลักษณะแข็ง ขุ่นเหนียวกว่าโครงสร้างอื่นๆ ตัวอย่าง PVC พอลิสไตรีน พอลิเอทิลีน ดังภาพ

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

ข. พอลิเมอร์แบบกิ่ง (Branched polymer) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ยึดกันแตกกิ่งก้านสาขา มีทั้งโซ่สั้นและโซ่ยาว กิ่งที่แตกจาก พอลิเมอร์ของโซ่หลัก ทำให้ไม่สามารถจัดเรียงโซ่พอลิเมอร์ให้ชิดกันได้มาก จึงมีความหนาแน่นและจุดหลอมเหลวต่ำยืดหยุ่นได้ ความเหนียวต่ำ โครงสร้างเปลี่ยนรูปได้ง่ายเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ตัวอย่าง พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ ดังภาพ

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

ค. พอลิเมอร์แบบร่างแห (Croos -linking polymer) เป็น พอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ต่อเชื่อมกันเป็นร่างแห พอลิเมอร์ชนิดนี้มีความแข็งแกร่ง และเปราะหักง่าย ตัวอย่างเบกาไลต์ เมลามีนใช้ทำถ้วยชาม ดังภาพ

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

หมายเหตุ พอลิเมอร์บางชนิดเป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากสารอนินทรีย์ เช่น ฟอสฟาซีน ซิลิโคน



พลาสติก

พลาสติก (Plastic) คือ สารที่สามารถทำให้เป็นรูปต่าง ๆ ได้ด้วยความร้อน พลาสติกเป็นพอลิเมอร์ ขนาดใหญ่ มวลโมเลกุลมาก

สมบัติทั่วไปของพลาสติก

  • มีความเสถียรมากในธรรมชาติ สลายตัวยาก มีมวลน้อย และเบา
  • เป็นฉนวนความร้อนและไฟฟ้าที่ดี
  • ส่วนมากอ่อนตัวและหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน จึงเปลี่ยนเป็นรูปต่างๆ ได้ตามประสงค์

ประเภทของพลาสติก

1. เทอร์มอพลาสติก เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว และเมื่อเย็นลงจะแข็งตัว สามารถเปลี่ยนรูปได้ พลาสติกประเภทนี้โครงสร้างโมเลกุลเป็นโซ่ตรงยาว มีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่พอลิเมอร์น้อยมาก จึงสามารถหลอมเหลว หรือเมื่อผ่านการอัดแรงมากจะไม่ทำลายโครงสร้างเดิม ตัวอย่าง พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีนพอลิสไตรีน

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

2. พลาสติกเทอร์มอเซต จะคงรูปหลังการผ่านความร้อนหรือแรงดันเพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นลงจะแข็งมาก ทนความร้อนและความดัน ไม่อ่อนตัวและเปลี่ยนรูปร่างไม่ได้ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงก็จะแตกและไหม้เป็นขี้เถ้าสีดำ พลาสติกประเภทนี้โมเลกุลจะเชื่อมโยงกันเป็นร่างแหจับกันแน่น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแข็งแรงมาก จึงไม่สามารถนำมาหลอมเหลวได้ ตัวอย่าง เมลามีน พอลิยูรีเทน

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

ตารางแสดงสมบัติบางประการของพลาสติกบาง

ชนิดของพลาสติก

ประเภทของพลาสติก

สมบัติบางประการ

ตัวอย่างการนำไปใช้ประโยชน์

สภาพการไหม้ไฟ

ข้อสังเกตอื่น

พอลิเอทิลีน

เทอร์มอพลาสติก

เปลวไฟสีน้ำเงินขอบเหลือง กลิ่นเหมือนพาราฟิน เปลวไฟไม่ดับเอง

เล็บขีดเป็นรอย ไม่ละลายในสารละลายทั่วไป ลอยน้ำ

ถุง ภาชนะ ฟิล์มถ่ายภาพ ของเล่นเด็ก ดอกไม้พลาสติก

พอลิโพรพิลีน

เทอร์มอพลาสติก

เปลวไฟสีน้ำเงินขอบเหลือง ควันขาว กลิ่นเหมือนพาราฟิน

ขีดด้วยเล็บไม่เป็นรอย ไม่แตก

โต๊ะ เก้าอี้ เชือก พรม บรรจุภัณฑ์อาหาร ชิ้นส่วนรถยนต์

พอลิสไตรีน

เทอร์มอพลาสติก

เปลวไฟสีเหลือง เขม่ามาก กลิ่นเหมือนก๊าซจุดตะเกียง

เปาะ ละลายได้ในคาร์บอนเตตระคลอไรด์ และโทลูอีน ลอยน้ำ

โฟม อุปกรณ์ไฟฟ้า เลนส์ ของเล่นเด็ก อุปกรณ์กีฬา เครื่องมือสื่อสาร

พอลิวินิลคลอไรด์

เทอร์มอพลาสติก

ติดไฟยาก เปลวสีเหลืองขอบเขียว ควันขาว กลิ่นกรดเกลือ

อ่อนตัวได้คล้ายยาง ลอยน้ำ

กระดาษติดผนัง ภาชนะบรรจุสารเคมี รองเท้า กระเบื้องปูพื้น ฉนวนหุ้มสายไฟ ท่อพีวีซี

ไนลอน

เทอร์มอพลาสติก

เปลวไฟสีน้ำเงินขอบเหลือง กลิ่นคล้ายเขาสัตว์ติดไฟ

เหนียว ยืดหยุ่น ไม่แตก จมน้ำ

เครื่องนุ่งห่ม ถุงน่องสตรี พรม อวน แห

พอลิยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์

พลาสติกเทอร์มอเซต

ติดไฟยาก เปลวสีเหลืองอ่อน ขอบฟ้าแกมเขียว กลิ่นแอมโมเนีย

แตกร้าว จมน้ำ

เต้าเสียบไฟฟ้า วัสดุเชิงวิศวกรรม

อีพอกซี

พลาสติกเทอร์มอเซต

ติดไฟง่าย เปลวสีเหลือง ควันดำ กล่นคล้ายข้าวคั่ว

ไม่ละลายในสารไฮโดรคาร์บอนและน้ำ

กาว สี สารเคลือบผิวหน้าวัตถุ

พอลิเอสเทอร์

เทอร์มอพลาสติก

ติดไฟยาก เปลวสีเหลือง ควันกลิ่นฉุน

อ่อนตัว ยืดหยุ่น

เส้นใยผ้า

พลาสติกเทอร์มอเซต

ติดไฟยาก เปลวสีเหลือง ควันดำ กลิ่นฉุน

เปราะ หรือแข็งเหนียว

ตัวถังรถยนต์ ตัวถังเรือ ใช้บุภายในเครื่องบิน



พลาสติกรีไซเคิล (Plastic recycle)

ปัจจุบันเราใช้พลาสติกฟุ่มเฟือยมาก แต่ละปีประเทศไทยมีขยะพลาสติกจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของโลก จึงมีความพยายามคิดค้นทำพลาสติกที่ย่อยสลายทางชีวภาพ (Biodedradable) มาใช้แทน แต่พลาสติกบางชนิดก้ยังไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ ในทางปฏิบัติยังคงกำจัดขยะพลาสติกด้วยวิธีฝังกลบใต้ดิน และเผา ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมา วิธีที่ดีที่สุดในการดูแลสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับขยะพลาสติก คือ ลดปริมาณการใช้ให้เหลือเท่าที่จำเป็น และมีการนำพลาสติกบางชนิดกลับไปผ่านบางขั้นตอนในการผลิต แล้วนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ตามเดิม

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง
พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติก ประเทศสหรัฐอเมริกา (The Society of Plastics Industry ; SPI) ได้กำหนดสัญลักษณ์เพื่อบ่งชี่ประเภทของพลาสติกรีไซเคิล ซึ่งจะกำกับไว้ในผลิตภัณฑ์สินค้าที่ทำด้วยพลาสติก ดังภาพในตาราง

ตาราง แสดงสัญลักษณ์เพื่อบ่งชี่ประเภทของพลาสติกรีไซเคิล

ประเภทของพลาสติก

ชื่อย่อ

สัญลักษณ์

มอนอเมอร์

การนำไปใช้งาน

Polyethylene Terephthalate

PETE

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

High Density Polyethylene

HDPE

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

Polyvinyl Chloride (PVC)

V

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

Low Lensity Polyethylene

LDPE

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

Polypropylene

PP

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

Polystyrene

PS

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

Polycarbonate

PC

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

Polymethyl-Methacrylate

PMMA

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

Nylon-66

N-66

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง



เส้นใย

เส้นใย (Fibers) คือ พอลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างของโมเลกุลสามารถนำมาเป็นเส้นด้าย หรือเส้นใย จำแนกตามลักษณะการเกิดได้ดังนี้

ประเภทของเส้นใย

  • เส้นใยธรรมชาติ ที่รู้จักกันดีและใกล้ตัว คือ

    - เส้นใยเซลลูโลส เช่น ลินิน ปอ เส้นใยสับปะรด
    - เส้นใยโปรตีน จากขนสัตว์ เช่น ขนแกะ ขนแพะ
    - เส้นใยไหม เป็นเส้นใยจากรังไหม

  • เส้นใยสังเคราะห์ มีหลายชนิดที่ใช้กันทั่วไปคือ

    - เซลลูโลสแอซีเตด เป็นพอลิเมอร์ที่เตรียมได้จากการใช้เซลลูโลสทำปฏิกิริยากับกรดอซิติกเข้มข้น โดยมีกรอซัลฟูริกเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา การใช้ประโยชน์จากเซลลูโลสอะซีเตด เช่น ผลิตเป้นเส้นใยอาร์แนล 60 ผลิตเป็นแผ่นพลาสติกที่ใช้ทำแผงสวิตช์และหุ้มสายไฟ
    - ไนลอน (Nylon) เป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์จำพวกเส้นใย เรียกว่า “ เส้นใยพอลิเอไมด์” มีหลายชนิด เช่น ไนลอน 6,6 ไนลอน 6,10 ไนลอน 6 ซึ่งตัวเลขที่เขียนกำกับหลังชื่อจะแสดงจำนวนคาร์บอนอะตอมในมอนอเมอร์ของเอมีนและกรดคาร์บอกซิลิก ไนลอนจัดเป็นพวกเทอร์มอพลาสติก มีความแข็งมากกว่าพอลิเมอร์แบบเติมชนิดอื่น (เพราะมีแรงดึงดูดที่แข็งแรงของพันธะเพปไทด์) เป็นสารที่ติดไฟยาก (เพราะไนลอนมีพันธะ C-H ในโมเลกุลน้อยกว่าพอลิเมอร์แบบเติมชนิดอื่น) ไนลอนสามารถทดสอบโดยผสมโซดาลาม (NaOH + Ca(OH) 2) หรือเผาจะให้ก๊าซแอมโมเนีย
    - ดาครอน (Dacron) เป็นเส้นใยสังเคราะห์พวกพอลิเอสเทอร์ ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Mylar มีประโยชน์ทำเส้นใยทำเชือก และฟิล์ม
    - Orlon เป็นเส้นใยสังเคราะห์ ที่เตรียมได้จาก Polycrylonitrile



ยาง

ยาง (Rubber) คือ สารที่มีสมบัติยืดหยุ่นได้ ทำให้เป็นรูปร่างต่างๆ ได้ เป็นสารประกอบพอลิเมอร์ ประโยชน์ใช้ทำยางลบ รองเท้า ยางรถ ตุ๊กตายาง

ประเภทของยาง

1. ยางธรรมชาติ ได้จากต้นยางพารา น้ำยางที่ได้เป็นของเหลวสีขาว ชื่อ พอลิไอโซปริน

พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

สมบัติ มีความยืดหยุ่น เพราะโครงสร้างโมเลกุลของยางมีลักษณะม้วนงอขดไปมาปิดเป็นเกลียว ได้ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเป็นแรงแวนเดอร์วาลส์ สมบัติเปลี่ยนง่ายคือเมื่อร้อนจะอ่อนตัวเหนียว แต่เย็นจะแข็งและเปราะ

2. ยางสังเคราะห์ เป็นพอลิเมอร์ที่สังเคราะห์ขึ้นจากสารผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เช่น


พอลิเมอร์อนินทรีย์ ตัวอย่าง

กระบวนการวัลคาไนเซชัน (Vulcanization process) คือ กระบวนการที่ใช้ในการเพิ่มคุณภาพของยางธรรมชาติ ( ยางดิบ) ให้มีความยืดหยุ่นได้ดีขึ้น มีความคงตัวสูง ไม่สึกกร่อนง่าย และไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ สมบัติเหล่านี้จะยังคงอยู่ ถึงแม้ว่าอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงก็ตาม



พอลิเมอร์สังเคราะห์

การสังเคราะห์พอลิเมอร์เป็นกระบวนการของการรวมโมเลกุลขนาดเล็กๆ ที่เป็นหน่วยย่อยเข้าด้วยกันด้วยพันธะโควาเลนต์ ในระหว่างกระบวนการเกิดพอลิเมอร์ หมู่ทางเคมีบางตัวจะหลุดออกจากหน่วยย่อย หน่วยย่อยในพอลิเมอร์จะเป็นหน่วยซ้ำๆกัน

  • การสังเคราะห์ในห้องแลบ วิธีการในห้องแลบแบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือการสังเคราะห์
    แบบควบแน่นและการสังเคราะห์แบบเติม อย่างไรก็ตาม วิธีการทีใหม่กว่าเช่นการสังเคราะห์แบบของเหลว ไม่สามารถจัดเข้าในกลุ่มใดได้ ปฏิกิริยาการสังเคราะห์พอลิเมอร์อาจเกิดขึ้น
    โดยมีหรือไม่มีตัวเร่งก็ได้ ในปัจจุบันมีการศึกษาทาง
    ด้านการสังเคราะห์พอลิเมอร์ธรรมชาติ เช่นโปรตีนในห้องแลบ
  • การสังเคราะห์ทางชีวภาพ พอลิเมอร์ธรรมชาติมีสามกลุ่มคือ พอลิแซคคาไรด์ พอลิเปบไทด์ และพอลินิวคลีโอไทด์ ในเซลล์ พอลิเมอร์เหล่านี้ถูกสังเคราะห์ด้วยเอนไซม์ เช่นการสร้างดีเอ็นเอด้วย เอนไซม์ดีเอ็นเอ พอลิเมอเรส การสังเคราะห์โปรตีนเกี่ยวข้องกับการใช้เอนไซม์ที่ซับซ้อนและ
    เกี่ยวข้องกับการถอดรหัสทางพันธุกรรมในดีเอ็นเอ แล้วจึงถ่ายทอดรหัสจากดีเอ็นเอเป็นข้อมูลของลำดับกรดอะมิโน โปรตีนอาจถูกดัดแปลงหลังจากการแปลรหัสเพื่อให้มีโครงสร้าง
    เหมาะสมกับการทำงาน
  • การดัดแปลงพอลิเมอร์ธรรมชาติ พอลิเมอร์ที่มีความสำคัญในทางการค้าหลายชนิดสังเคราะห์
    จากการดัดแปลงพอลิเมอร์ธรรมชาติทางเคมี ตัวอย่างเช่นปฏิกิริยาระหว่างกรดไนตริกกับเซลลูโลส เกิดเป็นไนโตรเซลลูโลส และการทำให้ยางธรรมชาติแข็งตัวโดยการเติมกำมะถัน


คุณสมบัติของพอลิเมอร์

ชนิดของคุณสมบัติของพอลิเมอร์แบ่งอย่างกว้างๆได้เป็นหลายหมวดขึ้น
กับความ ละเอียด ในระดับนาโนหรือไมโครเป็นคุณสมบัติที่อธิบายลักษณะของสายโดยตรงโดย
เฉพาะโครงสร้างของพอลิเมอร์ ในระดับกลาง เป็นคุณสมบัติที่อธิบายสัณฐานของพอลิเมอร์เมื่ออยู่ในที่ว่าง ในระดับกว้างเป็นการอธิบายพฤติกรรมโดยรวมของพอลิเมอร์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติในระดับการใช้งาน

  • คุณสมบัติในการขนส่ง เป็นคุณสมบัติของอัตราการแพร่หรือโมเลกุลเคลื่อนไปได้เร็วเท่าใดในสารละลายของพอลิเมอร์มีความสำคัญมากในการนำพอลิเมอร์ไปใช้เป็นเยื่อหุ้ม
  • จุดหลอมเหลว คำว่าจุดหลอมเหลวที่ใช้กับพอลิเมอร์ไม่ใช่การเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลวแต่เป็นการเปลี่ยนจากรูปผลึกหรือกึ่งผลึกมาเป็นรูปของแข็ง บางครั้งเรียกว่าจุดหลอมเหลวผลึก ในกลุ่มของพอลิเมอร์สังเคราะห์จุดหลอมเหลวผลึกยังเป็นที่ถกเถียงในกรณีของเทอร์โมพลาสติกเช่นเทอร์โมเซตพอลิเมอร์ที่สลายตัวในอุณหภูมิสูงมากกว่าจะหลอมเหลว
  • พฤติกรรมการผสม โดยทั่วไปส่วนผสมของพอลิเมอร์มีการผสมกันได้น้อยกว่าการผสมของโมเลกุลเล็กๆผลกระทบนี้เป็นผลจากข้อเท็จจริงที่ว่าแรงขับเคลื่อนสำหรับการผสมมักเป็นแบบระบบปิด ไม่ใช่แบบใช้พลังงาน หรืออีกอย่างหนึ่ง วัสดุที่ผสมกันได้ที่เกิดเป็นสารละลายไม่ใช่เพราะปฏิสัมพันธ์ระหว่างโมเลกุลที่ชอบทำปฏิกิริยากัน แต่เป็นเพราะการเพิ่มค่าเอนโทรปีและพลังงานอิสระที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มปริมาตรที่ใช้งานได้ของแต่ละส่วนประกอบ การเพิ่มขึ้นในระดับเอนโทรปีขึ้นกับจำนวนของอนุภาคที่นำมาผสมกัน เพราะโมเลกุลของพอลิเมอร์มีขนาดใหญ่กว่าและมีความจำเพาะกับปริมาตรเฉพาะ มากกว่าโมเลกุลขนาดเล็ก จำนวนของโมเลกุลที่เกี่ยวข้องในส่วนผสมของพอลิเมอร์มีค่าน้อยกว่าจำนวนใน ส่วนผสมของโมเลกุลขนาดเล็กที่มีปริมาตรเท่ากัน ค่าพลังงานในการผสมเปรียบเทียบได้ต่อหน่วยปริมาตรสำหรับ
    ส่วนผสมของพอลิเมอร์ และโมเลกุลขนาดเล็ก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นของพลังงานอิสระใน การผสมสารละลายพอลิเมอร์ และทำให้การละลายของพอลิเมอร์เกิดได้น้อย สารละลายพอลิเมอร์ที่เข้มข้นพบน้อยกว่าที่พบในสารละลายของโมเลกุลขนาดเล็ก ในสารละลายที่เจือจาง คุณสมบัติของพอลิเมอร์จำแนกโดยปฏิกิริยาระหว่างตัวทำละลายและพอลิเมอร์ ในตัวทำละลายที่ดี พอลิเมอร์จะพองและมีปริมาตรมากขึ้น แรงระหว่างโมเลกุลของตัวทำละลายกับหน่วยย่อยจะสูงกว่าแรงภายในโมเลกุล ในตัวทำละลายที่ไม่ดี แรงภายในโมเลกุลสูงกว่าและสายจะหดตัว ในตัวทำละลายแบบธีตา หรือสถานะที่สารละลายพอลิเมอร์ซึ่งมีค่าของสัมประสิทธิ์วิเรียลที่สองเป็นศูนย์แรงผลักระหว่างโมเลกุลของพอลิเมอร์กับตัวทำละลายเท่ากับแรงภายในโมเลกุล ระหว่างหน่วยย่อย ในสภาวะนี้ พอลิเมอร์อยู่ในรูปเกลียวอุดมคติ
  • การแตกกิ่ง การแตกกิ่งของสายพอลิเมอร์มีผลกระทบต่อคุณสมบัติทั้งหมดของพอลิเมอร์ สายยาวที่แตกกิ่งจะเพิ่มความเหนียว เนื่องจากการเพิ่มจำนวนของความซับซ้อนต่อสาย ความยาวอย่างสุ่มและสายสั้นจะลดแรงภายในพอลิเมอร์ เพราะการรบกวนการจัดตัวโซ่ข้างสั้นๆลดความเป็นผลึก เพราะรบกวนโครงสร้างผลึก การลดความเป็นผลึกเกี่ยวข้องกับการเพิ่มลักษณะโปร่งใสแบบกระจกเพราะแสงผ่านบริเวณที่เป็นผลึกขนาดเล็ก ตัวอย่างที่ดีของผลกระทบนี้เกี่ยวข้องกับขอบเขตของลักษณะทางกายภาพของพอลิเอทิลีน พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูงมีระดับการแตกกิ่งต่ำ มีความแข็งและใช้เป็นเหยือกนม พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ มีการแตกกิ่งขนาดสั้นๆจำนวนมาก มีความยืดหยุ่นกว่า และใช้ในการทำฟิล์มพลาสติก ดัชนีการแตกกิ่งของพอลิเมอร์ เป็นคุณสมบัติที่ใช้จำแนกผลกระทบของการแตกกิ่ง
  • สายยาวต่อขนาดของโมเลกุลที่แตกกิ่งในสารละลาย เดนไดรเมอร์เป็นกรณีพิเศษของพอลิเมอร์ที่หน่วยย่อยทุกตัวแตกกิ่ง ซึ่งมีแนวโน้มลดแรงระหว่างโมเลกุลและการเกิดผลึก พอลิเมอร์แบบเดนดริติกไม่ได้แตกกิ่งอย่างสมบูรณ์แต่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ เดนไดรเมอร์เพราะมีการแตกกิ่งมากเหมือนกัน
  • การเติมพลาติซิเซอร์ การเติมพลาสติซิเซอร์มีแนวโน้มเพิ่มความยืดหยุ่นของพอลิเมอร์ พลาสติซิเซอร์โดยทั่วไปเป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่มีคุณสมบัติทางเคมีคล้ายกับพอลิเมอร์และเข้าเติมในช่องว่างของพอลิเมอร์ที่เคลื่อนไหวได้ดีและลดปฏิกิริยา ระหว่างสายตัวอย่างที่ดีของพลาสติซิเซอร์เกี่ยวข้องกับพอลิไวนิลคลอไรด์หรือพีวีซี พีวีซีที่ไม่ได้เติมพลาสติซิเซอร์ใช้ทำท่อ ส่วนพีวีซีที่เติมพลาสติซิเซอร์ใช้ทำผ้าเพราะมีความยืดหยุ่นมากกว่า


รูปแบบการใช้งานของพอลิเมอร์

พอลิเมอร์ที่เรามีการใช้งานในชีวิตประจำวันนั้น สามารถแบ่งออกตามลักษณะทางกายภาพได้ออกมากว้าง ๆ ได้ 4 แบบ ก็คือ

  1. เส้นใย เป็นพอลิเมอร์กลุ่มที่แข็งแรงที่สุด เนื่องจากพื้นที่หน้าตัดของเส้นใยนั้นมีขนาดที่เล็กมาก ตัวพอลิเมอร์เองจึงจำเป็นต้องรับแรงในแนวแกนเส้นใยให้ได้สูงสุด เส้นใยจึงมีลักษณะทางกายภาพที่ดูเบาบาง แต่มีความแข็งแรงสูง
  2. พลาสติก มีความแข็งแรงรองจากเส้นใย แม้ว่าการใช้งานพลาสติกนั้น จะมีมิติความกว้าง ยาว สูง มากกว่าเส้นใยหลายเท่า ทำให้ดูเหมือนว่าแข็งแรงกว่าเส้นใย แต่ถ้าลองนำพลาสติกไปฉีดให้มีความบางเท่าเส้นใย จะพบว่ามันแข็งแรงน้อยกว่ามาก
  3. ยาง มีจุดเด่นคือความยืดหยุ่นสูง เราจึงไม่เปรียบเทียบเรื่องความแข็งแรง แต่มักจะคำนึงถึงค่าเปอร์เซ็นต์การยืดตัวก่อนขาด (elongation at break) และแรงดึงที่จุดขาด (load at break) แทน นอกจากนี้พอลิเมอร์ในกลุ่มนี้จำเป็นต้องมีการคืนตัวกลับได้ดีด้วย (recovery property) จึงต้องมีการเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโซ่โมเลกุลด้วยการเชื่อมขวาง (crosslink) ซึ่งจุดที่เชื่อมขวางนี้ควรจะอยู่ห่างกันในระยะที่เหมาะสม เนื่องจากหากถี่เกินไป ยางที่ได้จะมีลักษณะแข็งไม่ยืดหยุ่น ในขณะที่ถ้าห่างเกินไป ก็จะได้ยางที่มีลักษณะนิ่มเกินไป
  4. สารละลายและลาเทกซ์ ใช้งานในรูปของพอลิเมอร์ที่กระจายตัวในของเหลวอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวทำละลายของพอลิเมอร์เอง หรือกระจายตัวเป็นอิมัลชันในน้ำ ลักษณะการใช้งานคือเป็น กาว สีทาบ้าน เชลแล็ค หรือ สารเคลือบผิวอื่น ๆ พอลิเมอร์ในกลุ่มนี้ควรจะกระจายตัวได้ดี และมีความสามารถในการเชื่อมขวางได้ในสภาวะที่มีแสง หรือแก๊ซออกซิเจนได้ หรือไม่ก็สามารถที่จะนำตัวเองไปเกี่ยวพัน (entanglement) กับวัสดุอื่น ๆ ได้

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์สังเคราะห์

เทคโนโลยีของการผลิตพอลิเมอร์มีความก้าวหน้าและพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่การเตรียมมอนอเมอร์การเตรียมพอลิเมอร์การศึกษาสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของพอลิเมอร์ การปรับปรุงสมบัติของพอลิเมอร์รวมทั้งการแปรรูปพอลิเมอร์เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีรูปร่างแพร่หลาย สามารถแปรรูปให้เป็นชิ้นงานได้หลายรูปแบบการขึ้นรูปชิ้นงานจะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับประเภทของพลาสติกว่าเป็นเทอร์มอพลาสติกหรือพลาสติกเทอร์มอเซต นอกจากนี้ยังมีการเติมสารบางชนิดลงไปเพื่อให้พลาสติกมีสมบัติดีขึ้น เช่น เติมสีให้มีความสวยงาม เติมใยแก้วเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและทนต่อแรงกระแทกซึ่งมีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ไฟเบอร์กลาส นอกจากนี้ยังมีการเติมผงแกรไฟต์เพิ่มให้มีสมบัตินำไฟฟ้าได้ในปัจจุบันใช้พอลิเมอร์หลายชนิดทำสารเคลือบผิวของวัสดุต่าง ๆ

การใช้ประโยชน์จากพลาสติกในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวาง เช่น ทางการแพทย์ใช้พอลิไวนิลคลอไรด์ผลิตถุงใส่เลือด เส้นเลือดเทียม พอลิสไตรีนใช้ทำหลอดฉีดยา พอลิโพรลีนใช้ทำกระดูกเทียม เอ็นเย็บแผล พอลิเอทิลีนใช้ทำอวัยวะเทียม เช่น ฟันปลอม ลิ้นหัวใจ กระเพาะปัสสาวะและท่อน้ำดี พอลิเมทิลเมทาคริเลตใช้ทำเลนส์สัมผัสทั้งชนิดแข็งและชนิดอ่อน ซิลิโคนจัดเป็นพอลิเมอร์อนินทรีย์ที่ใช้ทำแม่พิมพ์และใช้ในด้านศัลยกรรมตกแต่ง

พอลิเมอร์สังเคราะห์หลายประเภทนำมาใช้เป็นสารช่วยยึดติดโดยใช้ทั้งในสภาพของแข็งและของเหลว เช่น กาวพอลิไวนิลแอซีเตต หรือที่รู้จักกันดีในชื่อกาวลาเท็กซ์ กาวอะคริลิก กาวไซยาโนอะคริเลต ที่รู้จักกันในชื่อของกาวอิพอกซี

โดยทั่วไปพอลิเมอร์มีสมบัติเป็นฉนวนกันไฟฟ้า แต่มีพอลิเมอร์บางประเภทแสดงสมบัติเป็นสารกึ่งนำหรือนำไฟฟ้าได้ โครงสร้างทางเคมีที่สำคัญของพอลิเมอร์กลุ่มนี้ได้แก่ อะตอมของคาร์บอนต่อกันอยู่ด้วยพันธะเดี่ยวสลับกับพันธะคู่ หรือมีวงแหวนอะโรมาติก หรือมีอะตอมของกำมะถันและไนโตรเจนอยู่ในวงแหวน จึงทำให้มีการกระจายของอิเล็กตรอนได้เช่นเดียวกับโลหะ ตัวอย่างโครงสร้างของพอลิเมอร์นำไฟฟ้า ได้แก่

ซิส–พอลิอะเซทิลีน

ทรานส์–พอลิอะเซทิลีน

พอลิไพรอท

พอลิไทโอฟีน

พอลิพาราฟินิลีน

นอกจากนี้ยังมีการนำพอลิเมอร์มาใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ใช้พอลิสไตรีน–บิวทาไดอีน–สไตรีน (Styrene–Butadiene–Styrene = SBS) ผสมกับยางมะตอยเป็นวัสดุเชื่อมรอยต่อของคอนกรีต เพื่อทำหน้าที่รองรับการขยายตัวของคอนกรีตเมื่อได้รับความร้อน ช่วยให้ยางมะตอยไม่เหลวมากในฤดูร้อนและไม่แห้งแตกจนหลุดออกจากรอยต่อในฤดูหนาว

ด้านการเกษตร

ใช้พลาสติกพีวีซีคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้น และป้องกันการถูกทำลายของผิวดินใช้ทำตาข่ายกันแมลงในการปลูกผักปลอดสารพิษ ใช้พอลิเอทิลีนปูพื้นดินที่เป็นดินร่วนหรือดินปนทรายเพื่อช่วยให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ และยังใช้เม็ดพลาสติกผสมในดินเหนียวเพื่อช่วยให้ดินร่วนขึ้นด้วย

โฟม (Foam)

เป็นพลาสติกที่ผ่านกระบวนการเติมแก๊สเพื่อทำให้เกิดฟองอากาศจำนวนมากแทรกอยู่ระหว่างเนื้อพลาสติก โฟมชนิดแรกคือฟองน้ำยางซึ่งมีใช้มานานกว่า 60 ปีแล้ว ทำได้โดยผสมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตกับน้ำยางและให้ความร้อนจะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แทรกอยู่ในเนื้อยาง จึงทำให้เนื้อยางฟูและเป็นรูพรุน โฟมทุกชนิดจะต้องมีสารที่ทำให้เกิดโฟม เช่น อากาศหรือสารเคมีที่สลายให้แก๊สเมื่อได้รับความร้อน เพื่อช่วยให้มีแก๊สแทรกอยู่ในเนื้อโฟม และทำให้โฟมมีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่น กันหรือเก็บความร้อนได้ดี โฟมบางชนิดที่มีสาร CFC แทรกอยู่เป็นฉนวนกันความร้อนและฉนวนไฟฟ้าที่ดีมาก จึงนิยมใช้ทำเป็นกล่องสำหรับบรรจุอาหารต่างๆ เช่น กล่องใส่ไอศกรีม กล่องใส่อาหารร้อน นอกจากนี้ยังใช้บุฝาผนังห้องเย็นอีกด้วย ในปัจจุบันที่ทราบแล้วว่าสาร CFC ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก และทลายแก๊สโอโซนในบรรยากาศ จึงมีการศึกษาวิจัยเพื่อใช้สารอื่นทดแทน ซึ่งพบว่าแก๊สเพนเทนและบิวเทนสามารถนำมาใช้ผลิตโฟมแทน CFC ได้ในปัจจุบันสามารถผลิตโฟมได้จากพอลิเมอร์หลายชนิด เช่น พีวีซี พอลิเอทิลีน และพอลิสไตรีน



ชนิดของพอลิเมอร์

เมื่อพิจารณาการเชื่อมโยงระหว่างสายโซ่โมเลกุล (crosslinking) เราสามารถแบ่งชนิดของพอลิเมอร์ได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้

  1. Thermoplastic polymers เป็นพอลิเมอร์สายตรงหรือกิ่ง ไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างสายโซ่โมเลกุล ส่งผลให้สายโซ่โมเลกุลขยับตัวง่ายเมื่อได้รับแรงหรือความร้อน สามารถหลอมและไหลได้เมื่อได้รับความร้อน เป็นส่วนประกอบหลักในพลาสติกอ่อน เช่น Polyethylene ในถุงพลาสติก
  2. Elastomers เป็นพอลิเมอร์ที่มีการเชื่อมโยงระหว่างสายโซ่โมเลกุลเล็กน้อย ซึ่งทำหน้าที่ดึงสายโซ่โมเลกุลกลับมาให้อยู่ในสภาพเดิม เมื่อปล่อยแรงกระทำ
  3. Thermosetting polymers เป็นพอลิเมอร์ที่มีการเชื่อมโยงระหว่างสายโซ่โมเลกุลอย่างหนาแน่น ส่งผลให้สายโซ่โมเลกุลขยับตัวยากเมื่อได้รับแรงหรือความร้อน วัสดุที่มีพอลิเมอร์ชนิดนี้เป็นองค์ประกอบหลัก จึงรับแรงได้ดี และไม่หลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน อย่างไรก็ตาม เมื่อความร้อนสูงถึงอุณหภูมิสลายตัว (Degradation temperature) วัสดุจะสลายตัวไปเนื่องจากพันธะเคมีแตกหัก พอลิเมอร์ชนิดนี้ เป็นส่วนประกอบหลักในพลาสติกแข็ง เช่น ถ้วยชามเมลามีน หลังคาไฟเบอร์ (Thermosets เสริมใยแก้ว)


ประเภทของพอลิเมอร์

พอลิเมอร์เป็นสารที่มีอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งในแต่ละชนิดก็จะมีสมบัติและการกำเนิดที่แตกต่างกัน ดังนั้นการจัดจำแนกประเภทพอลิเมอร์จึงสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับว่าใช้ ลักษณะใดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา เราสามารถจำแนกประพอลิเมอร์ได้ โดยอาศัยลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. พิจารณาตามแหล่งกำเนิด

เป็นวิธีการพิจารณาโดยดูจากวิธีการกำเนิดของพอลิเมอร์ชนิดนั้น ซึ่งจะสามารถจำแนกพอลิเมอร์ได้เป็น 2 ประเภท คือ พอลิเมอร์ธรรมชาติ และพอลิเมอร์สังเคราะห์
1) พอลิเมอร์ธรรมชาติ (Natural Polymers) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สามารถพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โดยพอลิเมอร์ธรรมชาติเหล่านี้เป็นสิ่งที่สิ่งมีชีวิตผลิตขึ้นโดยอาศัยกระบวน การทางเคมีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ และมีการเก็บสะสมไว้ใช้ประโยชน์ตามส่วนต่าง ๆ ดังนั้นพอลิเมอร์ธรรมชาติจึงมีความแตกต่างกันไปตามชนิดของสิ่งมีชีวิตและ ตำแหน่งที่พบในสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างพอลิเมอร์ธรรมชาติ ได้แก่ เส้นใยพืช เซลลูโลส และไคติน เป็นต้น
2) พอลิเมอร์สังเคราะห์ (Synthetic Polymers) เกิดจากการสังเคราะห์ขึ้นโดยมนุษย์ ด้วยวิธีการนำสารมอนอเมอร์จำนวนมากมาทำปฏิกิริยาเคมีภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ทำให้มอนอเมอร์เหล่านั้นเกิดพันธะโคเวเลนต์ต่อกันกลายเป็นโมเลกุลพอลิเมอร์ โดยสารมอนอเมอร์ที่มักใช้เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการสังเคราะห์พอลิเมอร์ คือ สารไฮโดรคาร์บอนที่เป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบและการแยกแก๊ส ธรรมชาติ เช่น เอททีลีน สไตรีน โพรพิลีน ไวนิลคลอไรด์ เป็นต้น

2. พิจารณาตามมอนอเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบ

เป็นวิธีการพิจารณาโดยดูจากลักษณะมอนอเมอร์ที่เข้ามาสร้างพันธะร่วมกัน โดยจะสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1) โฮโมพอลิเมอร์ (Homopolymer) คือ พอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ชนิดเดียวกันทั้งหมด เช่น แป้ง พอลิเมอร์ และพีวีซี เป็นต้น
2) โคพอลิเมอร์ (Copolymer ) คือ พอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์มากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป เช่น โปรตีน ซึ่งเกิดจากกรดอะมิโนที่มีลักษณะต่าง ๆ มาเชื่อมต่อกันและพอลิเอสเทอร์ เป็นต้น



การนำไฟฟ้าของโพลีเมอร์ (Conducting Polymer) หรือ Conductive Plastics

พลาสติกนำไฟฟ้าถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2519 โดย ศาสตราจารย์ อลัน เจ ฮีเกอร์ (Alan J. Heeger) ศาสตราจารย์ อลัน จี แมคไดอาร์มิด (Alan G. MacDiarmid) และ ศาสตราจารย์ ฮิเดกิ ชิรากาวา (Hideki Shirakawa) โดยท่านทั้งสามได้รับ รางวัลโนเบลสาขาเคมี เมื่อ ค.ศ. 2000 ซึ่งเหมือนกับจะเป็นการบอกว่า ในศตวรรษใหม่ โลกจะเคลื่อนย้าย จากศาสตร์แบบแข็งๆ ไปสู่ศาสตร์แบบอ่อนๆ จากศตวรรษของฟิสิกส์ ไปสู่ศตวรรษของโมเลกุล และชีววิทยา การค้นพบของท่านทั้งสาม กำลังนำมาสู่อุตสาหกรรมเกิดใหม่ และเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า Organic Economy

การทำงานของพลาสติกนำไฟฟ้านั้นสามารถอธิบายได้ดัง นี้ พลาสติกนำไฟฟ้าประกอบด้วยสายโซ่ของโมเลกุลเส้นยาวๆ ลองนึกภาพของ ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ที่มีเส้นแบนบางและยาวมากๆ หากเราขึงเส้นก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่นี้ให้ตึง และรีดจากหัวไปท้ายของเส้น เราก็จะได้เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่บิดเบี้ยวเลย กล่าวคือทั้งเส้นนั้นมีระนาบเดียวกันหมด หากสิ่งนี้เกิดขึ้นกับโมเลกุลของพอลิเมอร์ หรือพลาสติกนำไฟฟ้า ผลก็คืออิเล็กตรอน หรือประจุบวกจะสามารถวิ่งไป-กลับบนสายโซ่โมเลกุล ได้ตลอดทั้งเส้น เราเรียกโครงสร้างแบบนี้ว่าเป็นโครงสร้างแบบผลึก (Crystalline Structure) ซึ่งมักจะไม่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เพราะธรรมชาติชอบความยุ่งเหยิงมากกว่า ดังนั้นสายโซ่โมเลกุลจึงมักจะบิดเป็นเกลียวบ้าง เหมือนเส้นริบบิ้นห่อของขวัญ ที่มักจะบิดโค้งงอ ทำให้อิเล็กตรอนเดินทางไป-มาได้เฉพาะส่วนที่ตรง เป็นระนาบเดียวกันเท่านั้น เราเรียกระยะทาง ที่สายโซ่โมเลกุลอยู่ในระนาบเดียวกัน และไม่บิดโค้งเป็นเกลียวนี้ว่า “ระยะคอนจูเกต” (Conjugation Length)

สายโซ่โมเลกุลของพลาสติกนำไฟฟ้าเส้นหนึ่งๆ ในธรรมชาตินั้นจะไม่อยู่ในสภาพขึงตรง แต่จะบิดเป็นเกลียวบ้าง ทำให้ความสามารถในการนำไฟฟ้า ของพลาสติกนำไฟฟ้านั้นลดลง สมบัติเชิงแสงก็จะเปลี่ยนไปด้วย เราจึงต้องนำศาสตร์ของ “วิศวกรรมโมเลกุล” (Molecular Engineering) เข้ามาช่วยปรับ “ระยะคอนจูเกต” ของโมเลกุลให้ยาวขึ้น หรือสั้นลงตามต้องการ ซึ่งก็จะทำให้สมบัติทางไฟฟ้า และทางแสงของพลาสติกนำไฟฟ้าชนิดนั้นๆ ปรับเปลี่ยนไปได้ ในการใช้งานพลาสติกนำไฟฟ้านั้น ก็มักจะนำมาขึ้นรูปให้อยู่ในสภาพของฟิล์ม ซึ่งประกอบจากสายโซ่ของโมเลกุลพอลิเมอร์ พันซ้อนกันไปมานับไม่ถ้วน การเดินทางของอิเล็กตรอนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งจะซับซ้อนมาก โดยอิเล็กตรอนจะวิ่งบนสายโซ่ของโมเลกุล ตามระยะคอนจูเกต จากนั้นหากไปต่อบนโมเลกุลเดียวกันไม่ได้ ก็จะกระโดดข้ามไปยังสายโซ่โมเลกุลที่อยู่ข้างเคียง ดังนั้น การทับซ้อนกันไปมาของสายโซ่โมเลกุล ก็จะทำให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่กระโดดไปมาระหว่างสายโซ่ จนไปถึงจุดหมายปลายทางได้ ลองจินตนาการถึงสปาเก็ตตี้ขี้เมา ที่พร้อมเสิร์ฟสักหนึ่งจาน หากเราวางส้อมไว้ที่ขอบจานด้านหนึ่ง แล้ววางช้อนไว้ขอบจานฝั่งตรงข้าม สมมติให้เส้นสปาเก็ตตี้เป็นสายโซ่โมเลกุลของพลาสติกนำไฟฟ้า หากเราผ่านกระแสไฟไปบนส้อม ประจุไฟฟ้าจะพยายามวิ่งไปฝั่งตรงข้าม โดยเคลื่อนไปบนสายโซ่โมเลกุล (เส้นสปาเก็ตตี้) หากมันไปต่อไม่ได้มันก็จะกระโดดไปยังเส้นอื่นๆที่อยู่ติดกัน จนในที่สุดกระแสไฟฟ้าจะเดินทางมาถึงฝั่งตรงกันข้ามได้ นี่คือข้อได้เปรียบของพลาสติกนำไฟฟ้าที่มีเหนือสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิกอน เนื่องจากพลาสติกนำไฟฟ้า สามารถนำประจุได้ทั้งๆที่ตัววัสดุอยู่ในสภาพไร้ระเบียบ ในขณะที่ซิลิกอนจะสูญเสียสภาพการนำไฟฟ้าหากอยู่ในสภาพไร้ระเบียบ ดังนั้นการเตรียมสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิกอนนั้น จะต้องกระทำภายใต้ความแม่นยำสูงเท่านั้น นั่นคือซิลิกอนเวเฟอร์ จะต้องมีความบริสุทธิ์ถึง 99.9999999 เปอร์เซ็นต์ นั่นคือในหนึ่งพันล้านอะตอมนั้น จะมีอะตอมของธาตุอื่นปลอมปนมาได้ไม่เกินหนึ่งอะตอมเท่านั้น

พลาสติกนำไฟฟ้า เป็นวัสดุประเภทสารกึ่งตัวนำ (semiconductor) กล่าวคือเป็นตัวนำไฟฟ้าได้ไม่ดีนัก เนื่องจากมันเป็นโมเลกุล ระดับพลังงานจึงไม่เป็นแถบติดกัน แต่จะแยกออกจากกัน (รูปบน: ขั้นพลังงาน ทางด้านขวามือ) โดยระดับพลังงานบนสุดที่มีอิเล็กตรอนบรรจุอย (Highest Occupied Molecular Orbital หรือ HOMO) และระดับพลังงานล่างสุดที่ไม่มีอิเล็กตรอนบรรจุ (Loweest Unoccupied Molecular Orbital หรือ LUMO) จะเกี่ยวข้องกับสมบัติเชิงแสง และเชิงไฟฟ้าของโมเลกุล โดย HOMO-LUMO energy gap จะเป็นค่าที่สามารถ นำไปใช้บ่งบอกสมบัติดังกล่าว เช่น PPV มี energy gap ประมาณ 2.5 eV จะเปล่งแสงสีเหลือง ในขณะที่ PFO ซึ่งมี energy gap ประมาณ 3.7 eV จะเปล่งแสงสีฟ้า ดังนั้นวิศวกรรมโมเลกุล ส่วนใหญ่ก็จะเล่นอยู่กับ การปรับเปลี่ยน energy gap โดยการปรับเปลี่ยนหมู่แทนที่ (side chain) ที่เกาะอยู่กับสายโซ่หลัก ซึ่งจะมีผลทำให้สายโซ่โมเลกุล มีการหมุนง่ายลง หรือ ยากขึ้น เป็นผลให้สมบัติการนำไฟฟ้าเปลี่ยนไป นอกจากนั้น การปรับหมู่แทนที่ยังไปมีผลทำให้ สมบัติการละลายเปลี่ยนไปด้วย เช่น สายโซ่ของหมู่ไฮโดรคาร์บอน ที่เป็นหมู่แทนที่ จะช่วยทำให้การละลายในพวก common solvents เป็นไปได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยให้นำไปทำฟิล์มอุปกรณ์โดยวิธีเคลือบปั่น (spin coat) ทำได้ง่ายขึ้น

รูปบน เป็นการอธิบายแนวคิดเรื่อง conjugation length โดยอิเล็กตรอนจะวิ่งไปบนสายโซ่ ที่ออร์บิทัลไพ (pi orbitals) ต่อเนื่องกัน นั่นคือ สายโซ่อยู่ในระนาบเดียวกัน หากสายโซ่มีการบิดออกจากระนาบ จะทำให้ conjugation length ขาดออกจากกัน เกิดเป็น เกาะของการนำไฟฟ้า (island) เป็นหย่อมๆ ถึงแม้พอลิเมอร์นำไฟฟ้า จะมีสายโซ่ที่ยาวมากๆ เช่น อาจมีหน่วยย่อย (monomers) นับพัน หรือ หมื่นหน่วยย่อย แต่ปรกติแล้ว conjugation length กลับสั้นมากๆ เช่น อาจยาวเพียง 7-15 หน่วยย่อยเท่านั้น conjugation length จะเป็นตัวกำหนดสมบัติเชิงแสง และ เชิงไฟฟ้า ของพลาสติกนำไฟฟ้า พลาสติกนำไฟฟ้า 2 ชนิด ถึงจะมีสายโซ่หลัก (main chain หรือ backbone) ที่เหมือนกัน แต่หากมีหมู่แทนที่ (side chain) ที่มาต่อด้านข้างแตกต่างกัน ก็อาจทำให้มีสมบัติทางแสง และไฟฟ้าที่ต่างกันได้ เช่น โมเลกุล PPV ที่ไม่มีหมู่แทนที่จะมีสีเหลือง แต่โมเลกุล MEH-PPV ซึ่งมีหมู่แทนที่เป็นพวก alkoxy จะมีสีแดง

จากการใช้การคำนวณทางกลศาสตร์ควอนตัมบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะสร้างแบบจำลองโครงสร้างเชิงอิเล็กตรอน ของโมเลกุลพอลิเมอร์ ทำให้ทราบว่าพลังงานที่ใช้สำหรับการหมุนสายโซ่ ออกจากระนาบ ของ PPV จะมีค่าสูงกว่า MEH-PPV ทั้งนี้เพราะหมู่แทนที่ alkoxy ใน MEH-PPV มีอันตรกริยาอ่อนๆ กับสายโซ่หลัก ทำให้การหมุนทำได้ยากกว่า แล้วการหมุนของสายโซ่ออกจากระนาบ มาเกี่ยวอะไรกับสีของมันล่ะ ???

จากรูปบน PPV เปลี่ยนสีจากสีเหลืองไปสู่สีแดง หรือเกิด red shift หากสังเกตสายโซ่หลักของ PPV จะพบว่าไม่มีหมู่แทนที่ด้านข้าง แต่เมื่อนำหมู่แทนที่ด้านข้างมาใส่เข้าไป จนเป็น MEH-PPV สีก็จะเปลี่ยนไปเป็นสีแดง การที่ HOMO-LUMO gapของพอลิเมอร์มีพลังงานต่ำลง อาจอธิบายได้ว่า หมู่แทนที่ด้านข้างที่เข้ามานั้น มาช่วยเพิ่มอิเล็กตรอนให้แก่สายโซ่หลัก นอกจากนั้น จากการพิจารณาเกี่ยวกับการหมุนของสายโซ่หลัก จะพบว่า MEH-PPV หมุนรอบสายโซ่ได้ยากกว่า PPV เนื่องจากอะตอม oxygen ในหมู่แทนที่ด้านข้าง เกิดอันตกริยาอย่างอ่อนๆ กับ hydrogen ที่อยู่บนสายโซ่หลัก ณ ตำแหน่งของ vinyl group (พันธะคู่ที่เชื่อมหมู่ benzene ในสายโซ่หลัก เข้าด้วยกัน) การหมุนรอบสายโซ่หลักที่ยากขึ้นของ MEH-PPV นี้จะช่วยให้พอลิเมอร์อยู่ในระนาบได้มากขึ้น ทำให้มี conjugation length ที่ยาวขึ้น เป็นการลดพลังงานของ HOMO-LUMO gap ทำให้เกิด red shift นั่นเอง

ภาพสารละลาย Polyfluorene ที่สังเคราะห์ได้เมื่อต้องแสง UV

การสังเคราะห์พลาสติกนำไฟฟ้า ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญ หากประเทศไทยคิดจะก้าวไปเป็น ผู้นำทางด้าน พลาสติกอิเล็กทรอนิกส์ อันที่จริง ประเทศไทยมีกลุ่มวิจัยทางด้านเคมีสังเคราะห์ที่มีความสามารถสูง อยู่หลายๆ กลุ่ม ในมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่กลุ่มวิจัยเหล่านั้นมีประเพณีดั้งเดิม ในการสังเคราะห์สารที่เรียกว่า Natural Products คือ หาสารออกฤทธิ์ที่มีในต้นไม้ ใบหญ้า ต่างๆ แล้วพยายามสังเคราะห์ให้ได้มากๆ ซึ่ง งานประเภทนั้นจะว่าไปแล้ว ยากกว่า การสังเคราะห์พลาสติกนำไฟฟ้าเสียอีก เท่าที่ผ่านมา วิทยาการทางด้านนั้นก็ไม่ได้ช่วยทำให้ ประเทศไทยมีความก้าวหน้า ทางด้านการผลิตยาขึ้นมาเท่าใดนัก หากกลุ่มวิจัยดังกล่าว ยอมหันมาทำงานด้านสังเคราะห์สารอินทรีย์ ที่มีสมบัติทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ และโฟตอนิกส์ ก็จะเกิดคุณูปการต่อพัฒนาการทางด้าน อินทรีย์อิเล็กทรอนิกส์ ในบ้านเราอย่างมาก โดยตลอด 2-3 ปีมานี้ ทางคณะทำงานได้พยายามเชิญชวน ให้ท่านเหล่านั้น สนใจงานทางด้านนี้ ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ๆ