แรง บันดาล ใจ ในการ เรียน กายภาพบำบัด

เปลี่ยนกระดาษ เปลี่ยนความรู้ ให้เกิดประโยชน์ต่อคนอื่นได้ เป็นการให้ที่มีคุณค่าและสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนของพวกเรา

กลุ่มนักศึกษาจากคณะกายภาพบำบัดร่วมกันสะท้อนประสบการณ์การเรียนรู้จากกิจกรรมออกชุมชน

“ในการทำกิจกรรมของนักศึกษาก็จะมีพี่ปีสามเป็นแกนนำ พี่ปีสี่เป็นคนให้คำปรึกษาและคอยช่วยเหลือ อาจารย์เป็นพี่เลี้ยง ส่วนน้องๆปีสองและปีหนึ่งด้วยความที่อาจจะยังมีความรู้ในวิชาชีพไม่เยอะมาก พี่ๆก็จะสอนให้น้องๆซึมซับไปทีละอย่าง เช่น สอนวิธีการตรวจร่างกายง่ายๆหรือว่าให้ความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ เพื่อให้น้องๆลองไปคิดหรือหาข้อมูล จะได้มีประสบการณ์เพื่อถ่ายทอดสู่ชุมชนได้ น้องๆจะถูกฝึกเรื่องการแบ่งปัน การให้ การมีใจที่จะเข้าไปช่วยเหลือคนในชุมชน ฝึกการพูดคุยกับคนอื่น เกิดความรู้สึกสนุก เกิดความชอบและในอนาคตจะได้ทำงานเพื่อชุมชนมากขึ้น กิจกรรมนี้ไม่ใช่แค่เราไปให้ชุมชนเท่านั้น อีกมุมนึง พี่ๆที่ไปทำงานก็ให้น้องๆเหมือนกัน คือให้ความรู้และแรงบรรดาลใจ ก่อให้เกิดเป็นความผูกพันเล็กๆให้แก่น้องที่พึ่งเข้ามา เป็นการต้อนรับด้วยความอบอุ่น ด้วยการสอนกัน ด้านผลตอบรับก็จะเห็นเลยว่า เราไปมีบทบาทในการช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้ที่ดูแลคนไข้อีกทีนึง ให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น ทุกบ้านที่เราไป เราก็จะได้รอยยิ้มจากเขา เป็นสิ่งที่ทำให้เราภาคภูมิใจและดีใจที่ได้ไปช่วยเหลือเขา การให้เป็นสิ่งที่ดี คนให้ก็รู้สึกดี คนรับก็รู้สึกดี เราให้ในจุดที่เราสามารถให้เขาได้ตามความสามารถเท่าที่เรามีในตอนนี้ บางทีตอนเรียนเราอาจจะยังไม่รู้ว่าตรงนี้จะมีประโยชน์อะไรบ้างเพราะเราจะเห็นแต่ชีทที่เราใช้เรียนหรือหนังสือ วันหนึ่งเราได้เอาสิ่งตรงนี้ไปทำให้มันเกิดเป็นรูปธรรมขึ้น เปลี่ยนกระดาษ เปลี่ยนความรู้ ให้เกิดประโยชน์ต่อคนอื่นได้ เป็นการให้ที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อผู้อื่นและสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนของพวกเรา”

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

นักกายภาพบำบัด

วางแผนและดำเนินการฟื้นฟูความเสื่อมสมรรถภาพหรือพิการ วิธีการทางกายภาพบำบัด เช่น ดึง ดัด ประคบ นวด

ในแต่ละวันทำอะไร?

1. วางแผนการรักษาเพื่อจัดสรีระร่างกายให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เช่น การขยับข้อต่อ การดัดกระดูก

2. รักษา และฟื้นฟูผู้ที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหว เช่น ผู้ประสบอุบัติเหตุ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

3. กายภาพบำบัดผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจและทรวงอก เช่น การเคาะปอดเพื่อขจัดเสมหะ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ

4. ดูแล กายภาพบำบัดคนในชุมชนที่ไม่สามารถเดินทางมายังโรงพยาบาลได้สะดวก เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ

5. ดูแล รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพนักกีฬาทั้งก่อนและหลังการแข่งขันด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด

แรง บันดาล ใจ ในการ เรียน กายภาพบำบัด

เรียนต่อ

- คณะกายภาพบำบัด

- คณะสหเวชศาสตร์

- คณะเทคนิคการแพทย์

- ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ

- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด

แรง บันดาล ใจ ในการ เรียน กายภาพบำบัด

รายได้

13,000 - 25,000 บาท/เดือน

ไลฟ์สไตล์การทำงาน

การประสานงานหรือนำผู้อื่น

บ่อยครั้ง

การพบปะพูดคุยกับผู้รับบริการ

ทุกวัน

การอยู่ห้องแอร์

บ่อยครั้ง

อิสระในการตัดสินใจ

สูงมาก

ลักษณะเวลาทำงาน

เวลาทำงานเป็นกิจวัตร (Regular)

ระยะเวลาที่ใช้ในการทำงาน

40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

มีความเสี่ยง

ต้องใช้ทักษะและความรู้อะไรบ้าง?

• การฟังอย่างลึกซึ้ง

การใส่ใจกับสิ่งที่ผู้อื่นกำลังพูดอย่างเต็มที่ จับประเด็นสำคัญ สอบถามในเวลาที่เหมาะสม และไม่ขัดจังหวะในการพูด

• การพูด

การพูดคุยกับผู้อื่น เพื่อสื่อสารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

• การเข้าใจผู้อื่น

การรับรู้ได้ถึงพฤติกรรมของผู้อื่น และเข้าใจได้ว่าพวกเขาแสดงออกมาเช่นนั้นเพราะอะไร

• การเขียน

การเขียนประเด็นสำคัญผ่านการเลือกใช้คำ ระดับภาษา และวิธีการเล่าเรื่องให้เข้ากับผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

• การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

การใช้เหตุผลหรือตรรกะในการระบุจุดแข็ง และจุดอ่อนของทางเลือกต่าง ๆ ที่มี เพื่อหาข้อสรุปของแนวคิดในการแก้ไขปัญหา

• การบริการ

การมีความกระตือรือร้น ใส่ใจ เพื่อหาหนทางช่วยเหลือผู้รับบริการให้พึงพอใจ

• การบริการลูกค้า

ความรู้เกี่ยวกับการประเมินปัญหาและความต้องการของลูกค้า การบริการ การประเมินความพึงพอใจ และการปรับปรุงการให้บริการแก่ลูกค้า

• การบำบัด และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

ความรู้เกี่ยวกับหลักการในการวินิจฉัย รักษา และฟื้นฟูความบกพร่องของร่างกายและจิตใจ การแนะแนวด้านอาชีพ การให้คำแนะนำต่าง ๆ

• จิตวิทยา

ความรู้เกี่ยวกับการแสดงออกของมนุษย์ และความแตกต่างของบุคคล (เช่น บุคลิกภาพ การเรียนรู้ แรงจูงใจ)

• การแพทย์ และทันตแพทยศาสตร์

ความรู้เกี่ยวกับการประเมินอาการ วินิจฉัยโรค ให้ทางเลือกในการรักษาผู้ป่วย และแนะนำปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ

• ชีววิทยา

ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของพืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ (เช่น เนื้อเยื่อ เซลล์) รวมทั้งการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

• ภาษาไทย

ความรู้เกี่ยวกับหลักภาษาไทย รวมถึงความหมาย การสะกดคำ หลักเกณฑ์การเขียน และไวยากรณ์ของภาษา