ทรัพย์สินทางปัญญา ตัวอย่าง

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก ทรัพย์สินทางปัญญาอาจแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่างๆ หรือในรูปของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ กรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เป็นต้น

Show

ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา

โดยทั่วๆ ไป คนไทยส่วนมากจะคุ้นเคยกับคำว่า “ลิขสิทธิ์” และจะใช้เรียกทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยที่ถูกต้องแล้ว ในทางสากลทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) และลิขสิทธิ์ (Copyright)

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการ

สร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก เช่น สินค้าต่าง ๆ การบริการ กรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เป็นต้น

 

  1.  ทรัพย์สินทางปัญญามีกี่ประเภท

ในทางสากล ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) และ ลิขสิทธิ์ (Copyright)

 

  1.  ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) คือ อะไร

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ได้พัฒนาหรือคิดค้นขึ้นใหม่ นอกจากนี้ยังรวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์

เครื่องหมายการค้า ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า โดยรวมถึงแหล่งกำเนิดและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม

 

  1.  ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม มีกี่ประเภท

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ได้แก่ สิทธิบัตร (Patent) , แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout-Designs of Integrated Circuit),  เครื่องหมายการค้า (Trademark) ,

ความลับทางการค้า (Trade Secrets) , ชื่อทางการค้า (Trade Name)  และ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)

 

  1.  ลิขสิทธิ์ (Copyright) คือ อะไร และได้รับการคุ้มครองอย่างไร

ลิขสิทธิ์  หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นตามประเภทลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ งานวรรณกรรม

นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียง แพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบทั้งโดยจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ นอกจากนั้นกฎหมายลิขสิทธิ์ยังให้ความคุ้มครองถึงสิทธิของนักแสดงด้วย อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองลิขสิทธิ์ ไม่ครอบคลุมถึงความคิดหรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

 

  1.  สิทธิบัตร (Patent) คือ อะไร

สิทธิบัตร  คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent) สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent) และอนุสิทธิบัตร (Petty Patent) ซึ่งผู้ทรงสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร มีสิทธิเด็ดขาด หรือ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตร หรือ อนุสิทธิบัตรนั้น ภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด

 

  1.  ประเภทของสิทธิบัตร

สิทธิบัตร มี 3 ประเภท ได้แก่

–  สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองการคิดค้นเกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้าง หรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การเก็บรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์

–  สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรมได้ และแตกต่างไปจากเดิม

–  อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) คือ การให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์จากความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก โดยอาจเป็นการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงจากการประดิษฐ์ที่มีอยู่ก่อนเพียงเล็กน้อย

 

  1.  ทำไมจึงควรขอรับสิทธิบัตร

ผู้ที่ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ควรขอรับสิทธิบัตร เพื่อให้ได้รับการตอบแทนจากสังคม ได้แก่

–  การคุ้มครองสิทธิอันชอบธรรมของผู้ประดิษฐ์และผู้ออกแบบ

–  การได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตร  เพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นแสวงหาประโยชน์จากผลงานดังกล่าวนั้นโดยมิชอบ ซึ่งผู้ประดิษฐ์และผู้ออกแบบสามารถที่จะนำการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรนั้นไปผลิต จำหน่าย นำเข้ามาในราชอาณาจักร หรืออนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิบัตรนั้นโดยได้รับค่าตอบแทน

 

  1.  อายุการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตร

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี นับแต่วันขอรับสิทธิบัตรสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับแต่วันขอรับสิทธิบัตร

ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) คือผลอันเกิดจากการความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ จัดเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) อย่างหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไป เรามักจะคุ้นกับคำว่าลิขสิทธิ์ ซึ่งวามจริงแล้ว ลิขสิทธิ์จัดเป็น ทรัพย์สินทางปัญญา รูปแบบหนึ่ง โดยทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักคือ ทรัพย์สินอุตสาหกรรมและลิขสิทธิ์

บริการของเรา

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา

1.ทรัพย์สินอุตสาหกรรม คือทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม ความคิดหรืองานสร้างสรรค์ หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางอุตสาหกรรม โดยทรัพย์สินอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น

  • สิทธิบัตร (patent)
  • เครื่องหมายการค้า (trademark)
  • สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (geographical indication)
  • ความลับทางการค้า (trade secrets)
  • แบบผังภูมิวงจรรวม (Layout – Designs Of Integrated Circuit)

2.ลิขสิทธิ์

ประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญา

1.เพื่อมอบสิทธิในการเป็นเจ้าของให้กับผู้คิดค้น กล่าวคืองานสร้างสรรค์ถือเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของผู้คิดค้น ยกเว้นแต่มีการตกลงไว้เป็นอย่างอื่น เช่น การว่าจ้างหรือการเป็นลูกจ้าง

2.เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนในความทุ่มเท สร้างสรรค์ให้กับผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบ

3.เพื่อสร้างให้เกิดวัฒนธรรมในการสร้างสรรค์และประดิษฐ์สิ่งใหม่ เนื่องจากในการสร้างสรรค์ต้องมีการลงทุนและใช้งบประมาณ ดังนั้นรัฐจึงให้ผลตอบแทนกับผู้ที่ลงทุนด้วยสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในงานสร้างสรรค์ เพื่อจูงใจให้เกิดวัฒนธรรมในการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง

4.เพื่อจูงใจให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี การจะส่งมอบหรือซื้อขายงานประดิษฐ์นั้น จำเป็นต้องมีหลักฐานที่เป็นสิ่งรับประกันความเป็นเจ้าของงานประดิษฐ์นั้น

ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์คืองานสร้างสรรค์อันเกิดจากความรู้ ความสามารถ ความพยายาม โดยถูกถ่ายทอดออกมา (express) ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง กล่าวคือ งานอันมีลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองก็ต่อเมื่องานนั้นได้ถูกนำออกจากความคิดแล้ว เช่น เขียนลงบนกระดาษ วาดเป็นรูป เป็นต้น (อ่านเรื่องลิขสิทธิ์ เพิ่มเติม)

งานลิขสิทธิ์จัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทเดียว ที่ได้รับความคุ้มครองอัตโนมัติโดยไม่ต้องจดทะเบียน ซึ่งจะคุ้มครองทันทีทุกประเทศภายใต้อนุสัญญากรุงเบิร์น (Berne Convention) เมื่องานนั้นได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้น

ตัวอย่างของงานลิขสิทธิ์

  • งานวรรณกรรม  เช่น งานเขียนหนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์  
  • งานนาฎกรรม  เช่น ท่ารำ  ท่าเต้น   
  • งานศิลปกรรม เช่น งานปั้น งานเขียน ภาพพิมพ์  ภาพถ่ายและศิลปประยุกต์   
  • งานดนตรีกรรม เช่น การสร้างสรรค์ทำนองและเนื้อร้อง   
  • งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น ซีดี     
  • งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีซีดี  ดีวีดีที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง  
  • งานภาพยนตร์    
  • งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์
  • งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

รู้หรือไม่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ จัดเป็นลิขสิทธิ์ประเภทงานวรรณกรรม ซึ่งคุ้มครองอัตโนมัติทั่วโลกเมื่อมีการสร้างสรรค์

สิทธิบัตร

สิทธิบัตร คือหนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองงานประดิษฐ์ เช่น องค์ประกอบทางวิศวะกรรม สูตร กรรมวิธีการผลิตหรืองานออกแบบ ให้กับเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว ในระยะเวลาอันจำกัดโดยแลกกับการเปิดเผยสาระสำคัญของงานประดิษฐ์ (อ่านเรื่องสิทธิบัตร เพิ่มเติม)

การคุ้มครองสิทธิบัตร จะคุ้มครองเฉพาะประเทศที่จดทะเบียนเท่านั้นโดยมีระยะเวลาการคุ้มครองที่กำจัด เช่น ในประเทศไทย สิทธิบัตรคุ้มครอง 20 ปี อนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์คุ้มครอง 10ปี

ตัวอย่างงานสิทธิบัตร

  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์ ให้การคุ้มครองงานประดิษฐ์ที่เป็นองค์ประกอบทางวิศวะกรรม สูตรหรือกรรมวิธีการผลิต ที่มีความใหม่และมีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นงานประดิษฐ์ประเภท breakthrough technology เช่น การประดิษฐ์ระไฟความเร็วสูง การประดิษฐ์เครื่องพิมพ์สามมิติ เป็นต้น
  • อนุสิทธิบัตร ให้การคุ้มครองงานประดิษฐ์ที่เป็นองค์ประกอบทางวิศวะกรรม สูตรหรือกรรมวิธีการผลิต ที่มีความใหม่ โดยส่วนใหญ่จะคุ้มครองงานประดิษฐ์ที่เป็นการต่อยอดเพียงเล็กน้อย (Incremental Technology)
  • สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้กับคุ้มครองการออกแบบรูปทรง ลวดลาย สีสัน เช่น ลวดลายกระเบื้อง ลวดลายบนเสื้อผ้า รูปทรงแก้วน้ำหรือดีไซน์ของขวดโค้ก เป็นต้น

เครื่องหมายการค้า

เครื่องหมายการค้าจัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยม เพราะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อ แบรนด์ กล่าวคือ เครื่องหมายการค้าเป็นสัญลักษณ์เพื่อให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ของเราได้ โดยเครื่องหมายการค้าหมายถึง ตราสินค้าหรือส่วนหนึ่งของตราสินค้าซึ่งแสดงว่าสินค้านั้นเป็นสิทธิของเจ้าของสินค้านั้น โดยเจ้าของมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้า

ตัวอย่างเครื่องหมายการค้า

  • เครื่องหมายการค้า (Trademark) คือเครื่องหมายที่ใช้เพื่อระบุว่าสินค้านั้นเป็นของเจ้าของใด และใช้จำแนกความแตกต่างของสินค้า เช่น เครื่องหมายการค้า Homepro ไทวัสดุ BaanAndBeyond เป็นต้น
  • เครื่องหมายบริการ (Service mark) คือเครื่องหมายที่ใช้กับธุรกิจบริการ เพื่อใช้แยกแยะความแตกต่างของหน่วยงานที่ให้บริการ เช่น เครื่องหมายการค้า Thai Airway, AirAsia, NokAir เป็นต้น
  • เครื่องหมายรับรอง (Certification mark) คือเครื่องหมายที่เจ้าของให้กับรับรองกับสินค้าหรือบริการของผู้อื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพ เช่น เครื่องหมายฮาลาล, ISO เป็นต้น
  • เครื่องหมายร่วม (Coleective mark) คือเครื่องหมายที่มีการใช้เป็นกลุ่มธุรกิจ กลุ่มบุคคล เช่น กลุ่มบริษัท SCG, กลุ่มบริษัท PTT เป็นต้น
  • เครื่องหมายอื่นๆ เช่น เครื่องหมายกลิ่น เครื่องหมายเสียง เป็นต้น

ความลับทางการค้า

ความลับทางการค้า หมายถึงข้อมูลทางธุรกิจ สูตร กรรมวิธีการผลิต แผนการหรือต้นแบบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น โดยความลับทางการค้าในประเทศไทยนั้นไม่มีระบบจดทะเบียน สิ่งที่เป็นความลับทางการค้าจะได้รับความคุ้มครองก็ต่อเมื่อเจ้าของมีการจัดการข้อมูลนั้นในฐานะ ความลับ อย่างชัดเจน เช่น มีการกำหนดจำนวนคนเข้าถึงข้อมูล มีมาตรการการรักษาหรือเก็บข้อมูลไว้เป็นความลับ

ข้อมูลความลับทางการค้าจะได้รับความคุ้มครองก็ต่อเมื่อข้อมูลนั้นเป็นความลับและโดนขโมยไป แต่ข้อมูลความลับนั้นจะสิ้นสุดลงเมื่อมีบุคคลอื่นสามารถกระทำวิศวะกรรมย้อนกลับ (reverse engineer) หรือทำการทดลองแล้วได้ผลลัพธ์เป็นข้อมูลนั้น

ตัวอย่างความลับทางการค้า

  • สูตรน้ำดื่มโคคา-โคล่า
  • สูตรไก่ทอด KFC
  • สูตรเฟรนฟราย Mc Donald

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คือทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่าง ธรรมชาติและมนุษย์ กล่าวคือเป็นทรัพย์สินที่มีความจำเพาะต่อแหล่งทางภูมิศาสตร์ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ที่อื่น โดยสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นสิทธิของชุมชนไม่จำกัดเฉพาะผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งคนในชุมชนมีสิทธิในคำกล่าวอ้างในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นได้ (อ่านเรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพิ่มเติม)

โดยปกติแล้ว สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะขึ้นต้นด้วยชนิดของผลิตภัณฑ์และตามด้วยแหล่งที่มา ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

  • ไข่เค็มไชยา
  • ทุเรียนนนทบุรี
  • ส้มฟลอริดา

แบบผังภูมิวงจรรวม

แบบผังภูมิวงจรรวม จัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีคนรู้จักน้อยมาก ซึ่งให้ความคุ้มครองแบบแผนที่แสดงการเชื่อมต่อและจัดวางวงจรไฟฟ้า

ตัวอย่างแบบผังภูมิวงจรรวม

  • ตัวนำไฟฟ้า
  • ตัวต้านทางทางไฟฟ้า

องค์กรที่เกี่ยวข้องกับ ทรัพย์สินทางปัญญา

1.องค์การทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ (World Intellectual Property Oganization : WIPO) ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ (เว็บไซต์ คลิก)

2.กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ (Department of Intellectual Propoerty : DIP) ทำหน้าที่ดูแลและรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาภายในประเทศ (เว็บไซต์ คลิก)

3.หน่วยงานทรัพย์สินทางปัญญา ประจำมหาวิทยาลัย (TTO) ทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาภายในหน่วยงาน เช่น หน่วยงานทรัพย์สินทางปัญญาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน่วยงานทรัพย์สินทางปัญญามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น

สรุป

ทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งที่จับต้องไม่ได้ มีความสำคัญมากในอุตสาหกรรมปัจจุบัน เพราะเป็นสิ่งที่ลอกเลียนแบบได้ยาก เกิดขึ้นจากการลงทุน ลงงบประมาณ ความเพียรในการคิด สร้างสรรค์ ทดลองและประดิษฐ์ขึ้น โดยทรัพย์สินทางปัญญามีหลายประเภท ได้แก่ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และแบบผังภูมิวงจรรวม

ตัวอย่างทรัพย์สินทางปัญญามีอะไรบ้าง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา.
สิทธิบัตร (Patent).
สิทธิบัตรการประดิษฐ์.
อนุสิทธิบัตร.
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์.
แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout – Design of Integrated Circuits).
เครื่องหมายการค้า (Trademark).
ความลับทางการค้า (Trade Secret).
ชื่อทางการค้า (Trade Name).

ทรัพย์สินทางปัญญาควรมีลักษณะอย่างไร

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการ สร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก เช่น สินค้าต่าง ๆ การบริการ กรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เป็นต้น

ทรัพย์สินทางปัญญามีความสําคัญในด้านใดบ้าง

การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มีประสิทธิภาพช่วยสร้างแรงจูงใจให้เกิดการประดิษฐ์ คิดค้น สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพราะให้สิทธิผู้คิดค้นสามารถใช้ประโยชน์ สร้างมูลค่าจากเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเหล่านั้นได้ กลไกที่ใช้ในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า

ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญา แต่ละประเภท มีอะไรบ้าง

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง สิทธิทางกฎหมายที่ให้เจ้าของสิทธิ หรือ "ผู้ทรงสิทธิ" มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ โดยอาจแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้ 2 ประเภทหลัก คือ (1) ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมและ (2) ลิขสิทธิ์ สำหรับทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมยังแบ่งออกได้อีก 6 ประเภท ได้แก่ (1) สิทธิบัตร (2) อนุ ...