สิ่งประดิษฐ์ แก้ ปัญหา สิ่งแวดล้อม ง่ายๆ

จากผลงานไอเดียสร้างสรรค์เกือบ 400 ทีม ผลงาน “หุ่นยนต์ขจัดคราบสกปรกบนผิวน้ำ” ผลงานของสองหนุ่มน้อย อายุเพียง 17 ปี นายมานพ คงศักดิ์ และ นายสุรศักดิ์ ฟองหิรัญศิริ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนสตรีพัทลุง เป็นผู้ชนะเลิศสายสามัญ ส่วนรางวัลชนะเลิศสายอาชีพ ได้แก่ ผลงานClean Oyster” ของ นายนูรุดดีน เจะปี ชั้น ปวส.1 อายุ 19 ปี และ นายวัฒนพงศ์ เพชรรัตน์ ชั้นปวส.2 อายุ 20 ปี จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี

น้องมานพ และ น้องสุรศักดิ์ บอกว่า เขาใช้เวลาพัฒนาต่อยอดผลงานหุ่นยนต์ขจัดคราบสกปรกบนผิวน้ำถึง 6 ปี โดยจุดเริ่มต้นมาจากโรงเรียนจากต้นเหตุบริเวณโรงเรียนสตรีพัทลุงอยู่ติดกับคลองที่มีน้ำเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็น ทั้งเด็กนักเรียนและชาวบ้านในชุมชนต่างได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก สองหนุ่มจึงลงมือศึกษาต้นเหตุของน้ำเน่า และพบว่า ตัวการสำคัญเกิดจากคราบน้ำมันที่ถูกปล่อยทิ้งลงในคลอง

สิ่งประดิษฐ์ แก้ ปัญหา สิ่งแวดล้อม ง่ายๆ

เพราะมีแรงบันดาลใจที่จะช่วยแก้ปัญหา สองหนุ่มจึงริเริ่มประดิษฐ์หุ่นยนต์ขจัดคราบสิ่งสกปรกบนผิวน้ำที่ทำจากวัสดุที่มีการคิดค้นมาเป็นอย่างดี ว่าสามารถขจัดคราบน้ำมันได้อย่างแท้จริง โดยมีหลักการทำงานคือ ตัวหุ่นยนต์มีการติดกล้องไว้ด้านบน เพื่อใช้ตรวจสอบว่ามีคราบน้ำมันอยู่บริเวณใดบ้าง ซึ่งทำให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ที่เข้าถึงยากได้ และยังช่วยลดงานของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่เก็บสิ่งปฏิกูลบริเวณแม่น้ำอีกด้วย นอกจากนี้ ตัวหุ่นยนต์นี้มีลูกกลิ้งที่ใช้สำหรับเก็บคราบน้ำมัน ซึ่งทำงานโดยแบตเตอรี่และโซลาร์เซลล์ ทำให้หุ่นยนต์สามารถทำงานได้นานขึ้นถึงสามสิบนาที

กว่าจะมาถึงวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้ความพยายามและลองผิดลองถูกนับครั้งไม่ถ้วน วันนี้ภูมิใจในความตั้งใจของตัวเองที่ทำสำเร็จไปอีกขั้น ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่มากนัก แต่มันยิ่งใหญ่ในใจของพวกเรา เพราะมันเป็นพลังเล็ก ๆ ที่แสดงออกว่าเราห่วงใยสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมสามารถดีขึ้นได้ด้วยสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่”

สิ่งประดิษฐ์ แก้ ปัญหา สิ่งแวดล้อม ง่ายๆ

ส่วนนายนูรุดดีน และ นายวัฒนพงศ์ เจ้าของ Clean Oyster บอกว่า ได้ไอเดียการสร้างสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้เพราะต้องการจะยกระดับคุณภาพหอยนางรม สินค้าขึ้นชื่อของสุราษฎร์ธานี บ้านเกิดของตนเอง ที่ก่อนหน้านี้มียอดขายตกลงมาก เพราะมีคำเตือนเรื่องการบริโภคหอยนางรมที่อาจล้างไม่สะอาดเพียงพอปัญหานี้จึงเป็นโจทย์ที่พวกเขาอยากจะสร้างนวัตกรรมมาช่วยแก้ปัญหา จึงได้ลงพื้นที่พูดคุยกับเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยนางรม และนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาเครื่อง Clean Oyster ที่มีกลไกทำความสะอาดด้วยระบบคลื่นน้ำ ที่ทำหน้าที่หลักสองประการ คือ ทำให้หอยนางรมรู้สึกเหมือนตัวเองกำลังอาศัยอยู่ในแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ หอยนางรมก็จะเปิดปาก ให้คลื่นน้ำสามารถเข้าไปพาสิ่งสกปรกออกมาจากตัวหอยนางรม ส่วนสิ่งสกปรกที่ออกมาจากตัวหอย จะถูกกำจัดโดยระบบกรองสามชั้นที่ติดตั้งในเครื่องด้วย

สิ่งประดิษฐ์ แก้ ปัญหา สิ่งแวดล้อม ง่ายๆ

สำหรับระบบกรองสามชั้น เริ่มจากการใช้สาหร่ายพวงองุ่นที่จะช่วยดูดซับแอมโมเนียจากตัวหอย หลังจากนั้นจะมีการกรองหยาบ กรองละเอียดในบ่อที่ 1 และใช้หลักการน้ำล้นให้ไปสู่บ่อที่ 2 ซึ่งมีไบโอบอลทำหน้าที่สร้างออกซิเจนและดักจับสิ่งสกปรกเหนือผิวน้ำ ก่อนจะถูกส่งไปที่บ่อกรองที่ 3 ซึ่งเป็นบ่อพักน้ำที่มีแสงยูวีซึ่งสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและสิ่งสกปรก เพื่อนำน้ำกลับไปใช้ใหม่ ทำให้มั่นใจได้ว่าหอยนางรมที่ถูกทำความสะอาดจากเครื่องนี้สะอาดและปลอดภัยต่อการบริโภค

น้อง ๆ ทั้งสองทีมบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ที่ทำให้ผลงานของพวกเขาชนะใจกรรมการจนได้รับรางวัลก็คือ ใจที่มุ่งมั่น ไม่หยุดพยายาม และพัฒนาผลงานจนประสบความสำเร็จ.

------------------------------------------
นภาพร พานิชชาติ.

SALES & TECHNICAL SERVICE

44 Soi Somdej Prachao Taksin 27, Somdej Prachao Taksin Rd, Samre, Thonburi, Bangkok 10600

Tel: (+66)02-877-9935 auto
Tel: (+66)02-877-9009
E-mail: [email protected]

Factory & Warehouse

488 Moo 4, Tumbol Baanmai, Amphur Bangyai, Nonthaburi 11140

Tel: (+66)02-985-8388
Tel: (+66)02-983-6388
Tel: (+66)02-117-1363

สิ่งประดิษฐ์ แก้ ปัญหา สิ่งแวดล้อม ง่ายๆ

     ถ้าใครศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพลาสติก ที่จริงจะพบว่ามันถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อช่วยชีวิตของช้าง เพราะในอดีต ช่วงปี ค.ศ. 1863 ช่วงเวลานั้นกีฬาบิลเลียดนั้นกำลังได้รับความนิยมอย่างสูง งาช้างจึงถูกนำมาทำลูกบิลเลียดเป็นจำนวนมากจนเกือบสูญพันธ์ุ บริษัทผลิตลูกบิลเลียดในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงประกาศให้รางวัล 10,000 เหรียญแก่ผู้ที่สามารถหาวัสดุทดแทนงาช้างเพื่อใช้ในการทำลูกบิลเลียด

สิ่งประดิษฐ์ แก้ ปัญหา สิ่งแวดล้อม ง่ายๆ

John Wesley Hyatt  cr: Fine Art America

     John Wesley Hyatt ช่างไม้ชาวอเมริกันพยายามทดลองอยู่หลายปีและบังเอิญค้นพบโพลีเมอร์สังเคราะห์ขึ้นมา จนนำมาซึ่งวัสดุที่สามารถใช้ทดแทนงาช้างสำหรับลูกบิลเลียดและคีย์เปียโน ทำหวีแทนกระดองสัตว์ สร้างเป็นกระดุม แผ่นฟิล์มฉายหนัง ฯลฯ แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องที่ดีในการช่วยชีวิตช้างและสัตว์กระดองต่างๆ ได้จำนวนมาก


     แต่หลังจากนั้นมาก็เหมือนว่าพลาสติกจะถูกนำมาใช้จนมากเกินพอดีจนล้นหลุมขยะ สร้างความเสียหายแก่ชีวิตของสัตว์ในวงกว้างกว่าเราจะสามารถจินตนาการได้ ถึงแม้จะพยายามรณรงค์ให้รีไซเคิลมากแค่ไหน 85 เปอร์เซนต์ ของพลาสติกก็ยังถูกใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งอยู่ดี ในการใช้ชีวิตประจำวันซึ่งบางครั้งก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงลำบาก ทั้งคอมพิวเตอร์ที่ทำงาน มือถือ รถยนต์ ยานพาหนะต่างๆ เลนส์แว่นตา คอนแทคเลนส์ ฯลฯ

     ลองหันไปมองรอบๆ ตัวดูครับ พลาสติกเต็มไปหมด ทางออก? ลงทุนใช้สิ่งของที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ครับผม แน่นอนว่าราคามันอาจจะแพงกว่า แต่ถ้าคิดถึงผลประโยชน์ในท้ายที่สุดมันคุ้มค่ากว่ากันมากมาย อย่างน้อยๆ คุณก็ไม่ต้องฝันร้ายกับภาพของนกที่หัวพันอยู่ในถุงพลาสติก เต่าทะเลที่กลืนหลอดกาแฟ นี่คือ 6 สิ่งประดิษฐ์รักษ์โลกที่จะทำให้ขยะน้อยลง เพราะต้องจำเอาไว้ว่าเราไม่มีบ้านหลังที่สอง

สิ่งประดิษฐ์ แก้ ปัญหา สิ่งแวดล้อม ง่ายๆ

1) Klean Kanteen - Vacuum Insulated Bottle 

     สิ่งหนึ่งที่คอกาแฟคิดผิด คือแก้วพลาสติกทั้งหลายที่ใช้กันทุกวันนี้สามารถรีไซเคิลได้ ขอให้เอาความคิดนั้นออกไปจากหัวโดยด่วน และหันมาใช้ขวดที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่าง Klean Kanteen ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเลยทีเดียว เพราะไม่เพียงแต่ร้านกาแฟทั้งหลายจะเต็มใจเทเครื่องดื่มใส่กลับคืนมาให้ ร้านใหญ่ๆ อย่างสตาร์บัคส์ก็มีส่วนลดแถมมาให้ด้วยอีกต่างหาก


     Klean Kanteen ใช้ได้ทั้งเครื่องดื่มร้อนและเย็น สามารถใช้ได้ตลอดทั้งปี ลองคิดดูว่ามีขวดพลาสติกถูกใช้จำนวนหนึ่งล้านขวดต่อนาทีทั่วโลก การใช้ขวดที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้จะช่วยลดปริมาณขยะเหล่านั้นได้แน่นอน สำหรับคนที่กินกาแฟก็มีแก้วที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ขายตามร้านด้วย ก็อุดหนุนทางร้านเพื่อช่วยรักษ์โลกอีกแรงหนึ่ง

สิ่งประดิษฐ์ แก้ ปัญหา สิ่งแวดล้อม ง่ายๆ

2) To-Go Ware - 3-Tier Stainless Lunch Box 

     รู้จักกันดีในนามว่า “ปิ่นโต” การห่อข้าวไปกินที่ทำงานหรือการหิ้วปิ่นโตไปที่ร้านข้าวแกงเพื่อให้เขาเอาอาหารใส่ให้ถือเป็นการลดพลาสติกลงไปได้อีกเป็นจำนวนมาก ยิ่งเป็นปิ่นโตสามชั้นคอนโดทาวเวอร์ยิ่งสะดวก สามารถแยกของคาวหวานได้อย่างดีเยี่ยม ถ้าช่องใส่ไม่พอ ผมมีเทคนิคที่ใช้บ่อยตอนเป็นเด็ก หงายฝาขึ้นมาเป็นจานข้าวได้อีกต่างหาก

สิ่งประดิษฐ์ แก้ ปัญหา สิ่งแวดล้อม ง่ายๆ

3) To-Go Ware - RePEat Utensil Set


     ช้อนส้อมตะเกียบพลาสติกเป็นขยะที่มาพร้อมกับข้าวกล่องเต็มไปหมด การเตรียมอุปกรณ์สำหรับทานข้าวเหล่านี้แบบที่นำกลับมาใช้ได้ใหม่เป็นเรื่องที่ลดขยะได้อีกมาก อุปกรณ์ชุดนี้สร้างมาจากไม้ไผ่ มีทั้งส้อม ช้อน มีด และตะเกียบครบเซ็ต แถมยังมีถุงผ้าเอาไว้สำหรับพกพาไปไหนต่อไหนอีกด้วย ส้อมก็ใช้ทานจิ้มผักสลัดได้สบายๆ ช้อนก็ลื่นไม่บาดลิ้น แม้ว่ามีดจะทื่อๆ ไปหน่อยก็ตามที

สิ่งประดิษฐ์ แก้ ปัญหา สิ่งแวดล้อม ง่ายๆ

4) Simply Straws

     หลอดจำนวนกว่า 500 ล้านหลอดถูกใช้ในประเทศอเมริกาในหนึ่งวัน ปริมาณของมันมากเทียบเท่ากับรถรับส่งนักเรียนขนาดใหญ่ 125 คัน ลองหันมาใช้หลอดที่นำกลับมาใช้ได้อีกครั้งกันดีกว่ากับ Simply Straws หลอดแก้วที่ยาวพอจะใช้มันกับกาแก้วใหญ่ ไม่หักไม่งอเหมือนกับหลอดพลาสติก มีแปรงล้างทำความสะอาดและถุงใส่มาให้ด้วยพร้อมเลยทีเดียว

สิ่งประดิษฐ์ แก้ ปัญหา สิ่งแวดล้อม ง่ายๆ

5) Etee - Reusable Wrap


     เราสามารถปกป้องโลกและอาหารไปพร้อมกันได้ด้วย Etee แรปห่ออาหารที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มันถูกสร้างมาจากผ้าคอตตอนผสมกับขี้ผึ้ง ยางของต้นไม้ ไขมันถั่ว และสีผสมที่ไม่มีสารเคมี ขนาดเล็กสามารถห่อมะเขือเทศส่วนขนาดใหญ่ก็เหมาะสำหรับแซนด์วิช สามารถซักและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ถึง 150 ครั้ง และเมื่อถึงเวลาก็สามารถโยนลงถังขยะได้อย่างไม่ต้องหนักใจ

สิ่งประดิษฐ์ แก้ ปัญหา สิ่งแวดล้อม ง่ายๆ

6) ChicoBag - Mini Produce Stand Collection

     ถึงแม้ว่าการหิ้วถุงผ้าเพื่อไปซื้อของที่ซูเปอร์มาเก็ตจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็อย่าลืมว่าการซื้อของประเภทผักผลไม้ที่ต้องชั่งน้ำหนักยังคงต้องใช้ถุงพลาสติกอยู่ดี เพราะฉะนั้นการใช้ถุงที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ก็ถือเป็นการช่วยลดปริมาณขยะได้อีกมากโข อุปกรณ์ชุดนี้จะช่วยให้การแบ่งอาหารเพื่อการชั่งไม่จำเป็นต้องพึ่งพาถุงพลาสติกอีกต่อไป