หัวใจเต้นผิดจังหวะ รักษา หาย ไหม

“สำหรับผู้ป่วยที่หัวใจเต้นผิดจังหวะควรมาพบแพทย์ตามนัด 1 – 2 เดือน เพื่อติดตามผลการรักษาและอาการอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ป่วยที่ติดเครื่องกระตุ้นหัวใจจะต้องมีการเช็กเครื่องและแผลทุกครั้ง เพื่อดูว่าแบตเตอรี่เหลือเท่าไร สัญญาณไฟฟ้าเป็นอย่างไร เพราะเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปอยู่ในร่างกาย และสำหรับคนที่มีอาการแปลก ๆ ตามที่กล่าวไปข้างต้น อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบมาพบอายุรแพทย์โรคหัวใจ เพื่อจะได้คัดกรองกลุ่มอาการของโรคได้ถูกต้องและทำการรักษาอย่างเหมาะสม เพราะหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำงานต่อเนื่องตลอดเวลา อย่าละเลยที่จะดูแลหัวใจของคุณให้เต้นถูกจังหวะ”

ขณะเกิดอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ควรตรวจวัดชีพจรดูว่ามีอัตราการเต้นอยู่ที่เท่าไรและมีจังหวะการเต้นสม่ำเสมอหรือไม่ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่จะบอกได้แต่วิธีที่ดีที่สุด คือ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ขณะที่มีอาการ ซึ่งนอกจากจะบอกได้ว่าความรู้สึกที่หัวใจเต้นผิดปกตินั้นใช่ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่ ยังสามารถบอกชนิดของหัวใจเต้นผิดปกติได้อีกด้วย

 

อย่างไรก็ตามภาวะหัวใจเต้นผิดปกติมักเป็นๆ หายๆ ช่วงสั้นๆ เมื่อมาถึงโรงพยาบาลในบางรายก็จะหายเป็นปกติแล้ว บ่อยครั้งเราจึงไม่สามารถตรวจพบได้

  • ในรายที่อาการหัวใจเต้นผิดปกติเกิดบ่อยๆ และเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แพทย์จะสั่งให้ตรวจบันทึกการเต้นของหัวใจชนิดพกพา ซึ่งเรียกเครื่องนี้ว่า Holter monitoring เป็นการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง ไว้กับตัว โดยที่สามารถกลับไปพักที่บ้านหรือทำงานได้ตามปกติ โดยไม่ต้องเสียเวลานอนพักค้างที่โรงพยาบาล
  • ในรายที่อาการหัวใจเต้นผิดปกติเกิดนานๆ ครั้ง และเป็นเวลาไม่นาน อาจไม่สามารถพบได้จากการตรวจ ECG หรือ การใช้เครื่อง Holter monitoring ได้ แพทย์จะสั่งให้ตรวจด้วยเครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจชนิดพกพา แบบบันทึกเฉพาะเวลาที่มีอาการ ซึ่งเรียกเครื่องนี้ว่า Event recorder มีขนาดเล็ก จึงสามารถพกพาไว้ในกระเป๋า โดยไม่จำเป็นต้องห้อยติดตัวตลอดเวลา เมื่อใดที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติเกิดขึ้น ผู้ป่วยสามารถนำเครื่องมาวางบริเวณหัวใจ เพื่อให้เครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจได้ทันที และนำมาให้แพทย์แปลผล ก็จะสามารถวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
 

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยต้องไม่มีอาการหมดสติขณะเกิดอาการ เพราะเครื่องจะไม่สามารถบันทึกการเต้นของหัวใจด้วยตัวเองได้
 

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีวิธีการรักษาอย่างไร?

การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้ แพทย์จะเลือกรูปแบบการรักษา โดยพิจารณาตามสาเหตุ อาการ ตำแหน่ง และระดับความรุนแรงของโรค เนื่องจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด คนไข้อาจไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่ในบางชนิดจะต้องรับการรักษาให้ทันท่วงที เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ซึ่งแนวทางในการรักษาสามารถทำได้ดังต่อไปนี้<

  • การรักษาด้วยยา ยารักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะช่วยควบคุมหัวใจของผู้ป่วยให้เต้นตามปกติ การใช้ยาจะได้ผลดีกับภาวะหัวใจเต้นบางชนิด จะช่วยลดความถี่ของภาวะนี้ และลดความรุนแรงได้ แต่จะไม่ช่วยให้หายขาด
  • การช็อกหัวใจ (Cardioversion) หรือการใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ จะใช้เมื่อผู้ป่วยมีอาการหัวใจเต้นเร็วเกินไป ซึ่งมีโอกาสเป็นอันตรายต่อชีวิต โดยแพทย์จะใช้แผ่นแปะบริเวณหน้าอกของผู้ป่วย แล้วส่งกระแสไฟฟ้าจากเครื่องส่งเข้าไปยังหัวใจ เพื่อปรับจังหวะการเต้นหัวใจให้เป็นปกติ
  • การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) เป็นการฝังเครื่องมือตรวจจับจังหวะการเต้นของหัวใจ เป็นเครื่องมือที่มีขนาดเล็กฝังไว้ใต้ผิวหนัง ใต้กระดูกไหปลาร้า จากนั้นจึงสอดสายนำไฟฟ้าไปยังหัวใจ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุม และกระตุ้นหัวใจให้เต้นตามปกติ เมื่อตรวจพบว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (Implantable Cardioverter Defibrillator : ICD) วิธีนี้จะช่วยปรับอัตราการเต้นของหัวใจให้เป็นไปตามปกติ นิยมใช้กับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเรื่องหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติ โดยอุปกรณ์ชนิดนี้จะทำหน้าที่กระตุ้นหัวใจ หากหัวใจเต้นช้าเกินไป และปล่อยพลังงานไฟฟ้าหากหัวใจเต้นเร็ว เพื่อให้จังหวะการเต้นของหัวใจกลับมาเป็นปกติ
  • การใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจที่นำไฟฟ้าผิดปกติด้วยคลื่นวิทยุ (Radiofrequency Ablation Therapy) เป็นวิธีการรักษาต่อจากการตรวจระบบนำไฟฟ้าในหัวใจ โดยแพทย์จะสอดสายสวนเข้าไปยังจุดที่คาดว่าเป็นสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ แล้วปล่อยคลื่นวิทยุความถี่สูง เพื่อทำลายเนื้อเยื่อหัวใจตรงส่วนที่เป็นสาเหตุ โดยปล่อยเป็นจุดเล็กๆ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะให้หายขาดได้โดยไม่ต้องใช้ยา และยังมีภาวะแทรกซ้อนต่ำอีกด้วย

ป้องกันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้อย่างไร?

ถึงแม้ว่าโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจจะไม่สามารถป้องกันได้โดยตรง แต่ก็มีวิธีที่จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคนี้ให้น้อยลงได้ โดยมีแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อบำรุงหัวใจดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีโปรตีนและโอเมก้า 3 เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า รวมไปถึงผัก ผลไม้ และธัญพืชต่างๆ เพื่อบำรุงหัวใจให้แข็งแรง ให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
  • ควบคุมอาหาร ลดอาหารที่มีไขมันสูง เพื่อควบคุมความดันโลหิต และช่วยรักษาระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นระบบหมุนเวียนโลหิต ทำให้หัวใจแข็งแรง และช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ใช้ยาเสพติด หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณคาเฟอีนสูงมากเกินไป เพราะเป็นการกระตุ้นหัวใจให้เต้นเร็วขึ้น
  • ตรวจสุขภาพและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ หากพบความปกติก็จะรักษาได้อย่างทันท่วงที

รักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ไหนดี?

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด iCATH โรงพยาบาลเทพธารินทร์มีความทันสมัยและได้มาตรฐานสูง พร้อมประกอบไปด้วยทีมแพทย์ที่มีความสามารถ รักษาแบบองค์รวม สหสาขาวิชาชีพ เสริมความมั่นใจในการดูแลรักษาสุขภาพหัวใจของคุณได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะถือเป็นโรคหัวใจไหม

โดยทั่วไปแล้วโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ถือเป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่ง เกิดจากมีจุด หรือตำแหน่งบางตำแหน่งในหัวใจที่กำเนิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติ หรือมีจุดวงจรลัดไฟฟ้าเล็กๆ ภายในหัวใจ เนื่องจากความผิดปกติดังกล่าวมีขนาดเล็กจึงไม่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ แตกต่างจากโรคหัวใจชนิดอื่นที่มักมีพยาธิสภาพขนาดใหญ่ เช่น ที่ลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ...

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะดูแลอย่างไร

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป แต่สามารถลดโอกาสเกิดให้น้อยลงได้ ดังนี้ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด การสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ กี่ครั้ง

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหัวใจ หรือไฟฟ้า ในหัวใจลัดวงจร โดยปกติ ที่หัวใจจะเต้นด้วยอัตรา 60 - 100 ครั้งต่อนาที ก็อาจเต้นช้า (น้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที) หรือเร็วกว่าปกติ (มากกว่า 100 ครั้งวินาที) หรือเต้นอย่างไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวเต้นเดี๋ยวหยุด หรือ เต้นเร็วสลับกับเต้นช้า ...

จะรู้ได้อย่างไรว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะ

คือภาวะที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ อาจจะเร็วเกินไปหรือช้าเกินไปหรือว่าเต้นไม่เป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ อาการของหัวใจเต้นผิดจังหวะ ►ส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการใจสั่น ใจหวิวๆ เป็นลมหน้ามืดหมดสติ หรือมีอาการเนื่อยร่วมด้วย หรือมีอาการหัวใจกระตุก รู้สึกไม่สะบายในอก