การฝากเงินกับธนาคารเป็นการลงทุนหรือไม่ อย่างไร

การฝากเงินกับธนาคารเป็นการลงทุนหรือไม่ อย่างไร

การฝากเงินกับธนาคารเป็นการลงทุนหรือไม่ อย่างไร
การฝากเงินกับธนาคารเป็นการลงทุนหรือไม่ อย่างไร
การฝากเงินกับธนาคารเป็นการลงทุนหรือไม่ อย่างไร
การฝากเงินกับธนาคารเป็นการลงทุนหรือไม่ อย่างไร

การฝากเงินกับธนาคารเป็นการลงทุนหรือไม่ อย่างไร
สมัครสมาชิกฟรี!!

การฝากเงินกับธนาคารเป็นการลงทุนหรือไม่ อย่างไร
เข้าสู่ระบบ

การฝากเงินกับธนาคารเป็นการลงทุนหรือไม่ อย่างไร
ค้นหากองทุน

การฝากเงินกับธนาคารเป็นการลงทุนหรือไม่ อย่างไร

การฝากเงินกับธนาคารเป็นการลงทุนหรือไม่ อย่างไร

เมื่อเรามีเงินเหลือใช้เป็นประจำทุกเดือน สิ่งที่เราควรคำนึงถึง คือ เราจะจัดการกับเงินเหลือใช้นั้นอย่างเหมาะสมได้อย่างไร เพื่อให้งอกเงยเพิ่มมากขึ้น โดยทั่วไปเรามักจะเก็บในรูปเงินสด หรือฝากธนาคาร บริษัทเงินทุน ซึ่งเราจะเรียกวิธีการนี้ว่า "การออม" หรือถ้าใช้วิธีการซื้อทองรูปพรรณ ทองแท่ง หรือที่ดินเก็บไว้ ซื้อพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ หุ้น หรือหลักทรัพย์อื่น ๆ ก็จะเข้าลักษณะที่เรียกว่า "การลงทุน" การเปรียบเทียบระหว่างการออมและการลงทุน


การออม การลงทุน
วัตถุประสงค์ เป็นการสะสมเงินเพื่อให้พอกพูนในระยะสั้น เผื่อไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน เป็นการสะสมเงินให้งอกเงยต่อเนื่องในระยะยาว
วิธีการสะสม เงินฝากธนาคาร และบริษัทเงินทุน ลงทุนในพันธบัตร หุ้นกู้ หุ้น กองทุนรวมกองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ความเสี่ยง ความเสี่ยงต่ำ(เนื่องจากรัฐบาลค้ำประกันเงินฝากทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวน) มีความเสี่ยงมากน้อยตามประเภทและลักษณะของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ในปัจจุบันถือว่ามีความเสี่ยงสูงกว่าการฝากเงิน
ผลตอบแทน ดอกเบี้ย ดอกเบี้ย เงินปันผล และ/หรือ ผลกำไรหรือ ขาดทุนจากการลงทุน
ข้อได้เปรียบ มีสภาพคล่องสูง ได้รับผลตอบแทนในระยะยาวสูงกว่า
ข้อเสียเปรียบ ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ มีโอกาสขาดทุนจากการลงทุนได้

ขอบคุณ เนื้อหาจาก thaimutualfund.com

แหล่งข่าว

Thai Mutual Fund

16 กรกฎาคม 2553, 14:39

​​​​​​​​​ลงทุนอะไรดี ถ้ารับความเสี่ยงได้น้อย​​

          การเก็บเงินในอดีตที่ผ่านมา เงินฝากประจำถือเป็นการเก็บเงินที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะมีความเสี่ยงที่ต่ำ ได้รับดอกเบี้ยสูง บางครั้งอาจได้ตัวเลขดอกเบี้ยถึง 2 หลักกันเลยทีเดียว จึงทำให้หลายๆ คนเคยชินกับการเก็บเงินรูปแบบนี้ แต่ปัจจุบันการเก็บเงินด้วยเงินฝากประจำได้รับดอกเบี้ยที่ต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้ใครหลายๆ คนเริ่มมองหาทางเลือกใหม่ในการเก็บเงินอย่างเช่นการลงทุนในรูปแบบอื่นๆ แต่ก็ไม่อยากที่จะลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง “กองทุนตราสารหนี้ ประเภทกำหนดอายุโครงการ” จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนค่อนข้างดี สำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ เพราะกองทุนประเภทนี้จะนำเงินลงทุนไปลงทุนในเงินฝาก ตราสารหนี้ เช่น หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูง

          แต่การลงทุนผ่านกองทุนประเภทนี้แม้จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ แต่อาจทำให้หลายคนกังวลเพราะการลงทุนผ่านกองทุนนั้นจะไม่มีการการันตีผลตอบแทน ซึ่งต่างกับการฝากเงินในเงินฝากประจำที่ให้ดอกเบี้ยที่แน่นอนหากเราปฏิบัติตามเงื่อนไข 

          K-Expert จึงอยากจะมาให้ข้อมูลความแตกต่างระหว่าง เงินฝากประจำ กับ กองทุนตราสารหนี้ ประเภทกำหนดอายุโครงการ สำหรับใครที่ยังไม่ทราบกัน

รูปแบบ

• เงินฝากประจำ

เป็นการฝากเงินกับธนาคาร ซึ่งจะมีระยะเวลากำหนดที่แน่นอน ยิ่งระยะเวลาในการฝากนาน ยิ่งได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เงินฝากประจำ 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน 24 เดือน เมื่อครบระยะเวลาที่เลือกไว้ก็จะได้ดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคาร แต่หากมีความจำเป็นต้องถอนเงินออกก่อนระยะเวลาที่กำหนดจะทำให้ผู้ฝากไม่ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่ธนาคารแจ้งไว้

• กองทุนตราสารหนี้ ประเภทกำหนดอายุโครงการ 

เป็นการซื้อ หรือลงทุนกองทุนผ่านช่องทางธนาคาร ซึ่งจะมีระยะเวลาที่แน่นอน ยิ่งระยะเวลาในการลงทุนนาน ยิ่งมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น กองทุนตราสารหนี้ ประเภทกำหนดอายุโครงการ 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน เมื่อลงทุนครบระยะเวลาที่เลือกไว้ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนตามที่ บลจ. ได้ประมาณการไว้ซึ่งระบุในหนังสือชี้ชวนฯ ระหว่างการลงทุนแม้จะมีความจำเป็นต้องใช้เงิน ผู้ลงทุนจะไม่สามารถไถ่ถอน หรือขายคืนก่อนกำหนดได้

​รายละเอียด
เงินฝากประจำ

​กองทุนตราสารหนี้ 

ประเภทกำหนดอายุโครงการ

​ผลตอบแทน

(สำหรับระยะเวลา 1 ปี จากข้อมูล ณ วันที่ 31 ก.ค. 62)

​อัตราดอกเบี้ย 1.55 % ต่อปี
​ประมาณการผลตอบแทน 1.65% ต่อปี
​รูปแบบผลตอบแทน
​ดอกเบี้ย
​กำไรส่วนต่างจากราคาซื้อขาย
​ความเสี่ยง
​ต่ำมาก (ตามเงื่อนไขสถาบันคุ้มครองเงินฝาก)
​ต่ำ (อาจได้ผลตอบแทนต่ำกว่าที่ประมาณการหรือขาดทุนได้)
​ภาษี
​ดอกเบี้ยที่ได้รับ ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
​กำไรส่วนต่างที่ได้รับ ไม่ถูกหักหรือคำนวณภาษี
​กรณีถอนก่อนกำหนด
​ผู้ฝากไม่ได้รับดอกเบี้ยหรือได้รับต่ำกว่าที่ธนาคารแจ้งไว้ ตอนวันเปิดบัญชีขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร
​ผู้ลงทุนไม่สามารถไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อนครบกำหนดได้

เหมาะกับใคร

• เงินฝากประจำ

คนที่ต้องการดอกเบี้ย หรือผลตอบแทนที่แน่นอน ไม่อยากรับความเสี่ยงจากการลงทุนในต่างประเทศ ต้องการใช้เงินเก็บในส่วนนี้เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน (เฉพาะเงินฝากประจำตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป)

• กองทุนตราสารหนี้ ประเภทกำหนดอายุโครงการ

คนที่อยากได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น และสามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศได้ หรือผู้ที่มีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินอย่างน้อย 6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนแล้ว (เช่น เงินฝากออมทรัพย์) เพื่อให้เราสามารถนำเงินสำรองส่วนนั้นมาใช้จ่ายได้ หากผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เป็นไปตามที่หวัง เพราะแม้กองทุนประเภทนี้จะมีความเสี่ยงในการลงทุนที่ต่ำ แต่ผลตอบแทนที่ได้รับจริงก็มีโอกาสจะต่างจากที่ประมาณการไว้ได้​

สำหรับคนที่กำลังจะเริ่ม หรือกำลังตัดสินใจลงทุน ก็อย่าลืมประเมินตนเองด้วยนะครับว่า เงินส่วนนี้จำเป็นต้องใช้ในช่วงเวลาดังกล่าวไหม สามารถถือลงทุนได้จนครบเงื่อนไขหรือไม่ และเรารับความเสี่ยงจากการลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้เราเลือกลงทุนได้เหมาะสมกับตนเองมากที่สุดครับ

ผลิตภัณฑ์ หรือ Tools ที่เกี่ยวข้อง :

บทความที่เกี่ยวข้อง :