ทิพย ประกันภัย โค วิด ดี ไหม

จากกรณีมีกลุ่มผู้เอาประกันภัยโควิด-19 จำนวน 280 คน รวมตัวกันที่บริเวณหน้าบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เพื่อทวงถามความเป็นธรรมและเรียกร้องให้บริษัทฯ จ่ายเคลมค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยรายวันและค่าชดเชยรายได้ ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย แต่กลุ่มผู้เอาประกันภัยและบริษัทฯ ไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกันได้ จากนั้นกลุ่มผู้เอาประกันภัยดังกล่าวได้ส่งตัวแทน มาร้องเรียนกับสำนักงาน คปภ. เพื่อขอความเป็นธรรม 

 

ทิพย ประกันภัย โค วิด ดี ไหม

ล่าสุดจากการประชุมร่วมเพื่อติดตามและพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนดังกล่า นายชัยยุทธ มังศรี รองเลขาธิการ ด้านกฎหมาย คดี และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ (รองเลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ผลการประชุมได้ข้อยุติโดยบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขในประกาศแนวปฏิบัติ และคำสั่งนายทะเบียน ทั้งนี้จะเร่งดำเนินการใน 5 ประเด็น ดังนี้

1. บริษัทฯ จะจัดตั้งทีมเฉพาะกิจขึ้นเพื่อเร่งรัดแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นให้รวดเร็วและเป็นธรรม โดยมีการประสานงานกับสำนักงาน คปภ. อย่างใกล้ชิด

2. กรณีการโต้แย้งความจำเป็นทางการแพทย์ หากบริษัทฯ ประสงค์จะตรวจสอบหรือโต้แย้งดุลพินิจความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษา เมื่อบริษัทฯ ดำเนินการแล้ว ถ้าแพทย์ผู้ทำการรักษาผู้เอาประกันภัยมีความเห็นเป็นประการใดให้บริษัทฯ ยึดปฏิบัติตามนั้น แต่ถ้าติดตามจากแพทย์ผู้ทำการรักษาผู้เอาประกันภัยแล้วยังไม่ทราบผลการพิจารณา ให้บริษัทฯ จัดส่งทีมแพทย์ของบริษัทฯ เข้าไปประสานตรวจสอบข้อเท็จจริงจากแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือโรงพยาบาลในแต่ละกรณีโดยเร็ว

3. ในการตรวจสอบรายชื่อและเอกสารประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ให้บริษัทฯ เร่งดำเนินการตรวจสอบเอกสารของผู้เอาประกันภัย หากพบว่าเอกสารยังไม่ครบถ้วนถูกต้อง ให้บริษัทฯ ประสานแจ้งผู้เอาประกันภัยให้ดำเนินการจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาโดยเร็ว ทั้งนี้สำนักงาน คปภ. จะดำเนินการตรวจสอบเอกสารของผู้เอาประกันภัยควบคู่กันไปด้วย

ผลพวงสงครามรัสเซีย-ยูเครน กระทบ "เหล็กแพง" ราคาบ้านจ่อปรับขึ้น 3-5% ในครึ่งปีหลัง

จับตา ปอ - โรเบิร์ต เข้ารายงานตัว สภ.เมืองนนทบุรี คดี "แตงโม"

4. กรณีที่ผู้เอาประกันภัยไม่มีประวัติการรักษาพยาบาล หรือมีประวัติการรักษาพยาบาลแต่ระบุรายละเอียดไม่ครบถ้วน บริษัทฯ สามารถใช้เอกสาร A01-4 ที่บริษัทฯ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เอาประกันภัย โดยผู้เอาประกันภัยสามารถยื่นเอกสารดังกล่าวแทนประวัติการรักษาได้ เพื่อประกอบการพิจารณาเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เอาประกันภัย ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าวให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทน ทั้งนี้ไม่เกินจำนวนความคุ้มครองที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ และ 5. บริษัทฯ พร้อมจะจ่ายเคลมตามสัญญาประกันภัยให้กับผู้เอาประกันภัยอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และรวดเร็ว

ยื่นฟ้อง ‘ทิพยประกันภัย’ เป็นคดีกลุ่ม กรณีผู้บริโภคเคลมประกันโควิดไม่ได้20 มีนาคม 256621 มีนาคม 2023 สภาผู้บริโภค ยื่นฟ้อง ‘ทิพยประกันภัย’ เป็นคดีกลุ่ม กรณีผู้บริโภคหลายรายเคลมประกันโควิดไม่ได้ ระบุ การยื่นฟ้องแบบกลุ่มจะทำให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายในลักษณะเดียวกันได้รับการชดเชยเยียวยาทั้งหมด

วันนี้ (20 มีนาคม 2566) โสภณ หนูรัตน์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค สภาผู้บริโภค กล่าวว่า จากการที่มีผู้บริโภคร้องเรียนกับสภาองค์กรของผู้บริโภค (สภาผู้บริโภค) กรณีได้รับความเสียหายจากการซื้อประกันภัยโควิด – 19 กับบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยบริษัทฯ ปฏิเสธการจ่ายเงินค่าชดเชยรายได้รายวันให้กับผู้เอาประกันภัยจากการติดเชื้อโควิด – 19 นอกจากนี้ตามที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ ยังพบว่ายังมีผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายในลักษณะเดียวกันอีกเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้สภาผู้บริโภคได้มีการเชิญบริษัทฯ หารือและเจรจา แต่ไม่ได้ข้อยุติ ดังนั้น สภาผู้บริโภค ในฐานะผู้แทนของผู้บริโภคตาม พ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 และตัวแทนผู้บริโภคจำนวน 5 ราย ซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดีแทนผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายในลักษณะเดียวกัน ยื่นฟ้องคดีผู้บริโภคกับบริษัททิพยประกันภัย เป็นคดีแบบกลุ่ม (Class Action) ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้

“คดียื่นฟ้องผู้ประกอบธุรกิจประกันภัยเป็นคดีสำคัญ เนื่องจากเป็นคดีที่มีผู้บริโภคได้รับความเสียหายจำนวนมากจากการถูกบริษัทฯ ปฏิเสธและทำให้ไม่สามารถเคลมประกันได้ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ดังนั้น สภาผู้บริโภคจึงยื่นฟ้องเป็นคดีแบบกลุ่ม เพื่อให้ผู้บริโภคจำนวนมากที่ได้รับความเสียหายในลักษณะเดียวกันได้รับการชดเชยเยียวยา” โสภณ กล่าว

ด้าน สมชาย อามีน ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ระบุถึงเหตุความจำเป็นในการยื่นฟ้องเป็นคดีแบบกลุ่มว่า การยื่นฟ้องของสภาผู้บริโภค และตัวแทนผู้บริโภค รวมทั้งหมด 6 คน มีการยื่นคำร้องขออนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มเพื่อคุ้มครองสมาชิกกลุ่ม ซึ่งเป็นผู้บริโภคจำนวนนับหมื่นรายที่ได้ซื้อประกันภัยคุ้มครองการติดเชื้อโควิด – 19 ของบริษัทฯ ดังกล่าว

และขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษจำนวน 5 เท่าของความเสียหายที่โจทก์และสมาชิกกลุ่มแต่ละรายได้รับจากการที่บริษัทฯ ปฏิเสธการจ่ายเงินตามกรมธรรม์ ซึ่งเข้าข่ายเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม และเพื่อป้องปรามไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจประกันภัยรายอื่นทำพฤติกรรมเอาเปรียบผู้บริโภคแบบเดียวกันอีก

“การฟ้องคดีแบบกลุ่มเป็นประโยชน์กับสมาชิกและผู้บริโภคที่เกิดความเสียหายจากการซื้อกรมธรรม์กับบริษัทฯ ดังกล่าว โดยหากมีคำพิพากษาออกมาให้บริษัทฯ ต้องเยียวยานั้นจะทำให้ผู้บริโภคทุกรายที่ซื้อกรมธรรม์กับบริษัทฯ ได้รับการชดเชยเยียวยาทั้งหมด อีกทั้งการดำเนินคดีแบบกลุ่มมีความสะดวก และมีความเป็นธรรมกว่าการดำเนินคดีแบบสามัญทั่วไป” สมชาย ระบุ            

ทั้งนี้ ศาลจะมีการนัดไต่สวนคำร้องเพื่อพิจารณาว่าจะรับคดีดังกล่าวเป็นคดีแบบกลุ่มหรือไม่ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ที่จะถึงนี้ หากมีความคืบหน้าอย่างไร สภาผู้บริโภคจะแจ้งให้ผู้บริโภคทราบอย่างต่อไป

ทิพยประกันภัยอนุมัติสินไหมแล้วรอกี่วัน

2.เมื่อบริษัทฯ ได้รับเอกสารครบถ้วนและพิจารณาค่าสินไหมทดแทนแล้ว จะนำส่งเช็คค่าสินไหม หรือ โอนเงินเข้าบัญชีผู้เอาประกันภัย ระยะเวลา 7-10 วัน

ประกันโควิด ทิพยประกันภัย ได้อะไรบ้าง

ประกันภัยไวรัสโคโรน่า (COVID-19).
เบี้ยเริ่มต้นเพียง 150 บาท / ปี เท่ากันทุกช่วงอายุ.
คุ้มครองทันที ค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 100,000 บาท.
รักษาไม่หาย ทรุดหนัก ถึงระยะโคม่า ชดเชย สูงสุด ถึง 1,000,000 บาท.

ใครถือหุ้น ทิพยประกันภัย

บริษัทฯ ได้ดำเนินการจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน จำกัด ต่อกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2538 โดยมี กระทรวงการคลัง, ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารออมสิน, และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

ประกันการเดินทางไปต่างประเทศ ที่ไหนดี

5 ค่ายประกันเดินทางต่างประเทศ ที่ไหนดี.
1.MSIG. ... .
2.Cigna. ... .
3.ทิพยประกันภัย ... .
4.TUNE Protect. ... .
5.โปะ ประกันภัย (SOMPO).