โรคลิ้นหัวใจรั่วอันตรายไหม

โรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (ASD : Atrial Septal Defect) เกิดจากการที่มีรูรั่วบริเวณผนังกั้นหัวใจห้องบน ส่งผลให้เลือดแดงไหลจากหัวใจห้องบนซ้ายไปห้องบนขวาในจังหวะที่หัวใจบีบตัว ส่งผลให้หัวใจมีโอกาสโตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในเด็กเล็กอาจจะไม่ปรากฏอาการ แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้นอาจตรวจพบจากการตรวจเช็กสุขภาพหัวใจโดยบังเอิญ ซึ่งอายุรแพทย์หัวใจจะฟังได้ยินเสียงหัวใจที่ผิดปกติ ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น หรือบางรายมาด้วยอาการของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) โรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่วชนิด Secundum Type พบได้ประมาณ 75% ของผู้ป่วยโรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่วทั้งหมด

Show

โรคลิ้นหัวใจรั่วอันตรายไหม

การตรวจวินิจฉัย

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว สามารถทำได้โดยการฟังเสียงหัวใจและการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจความถี่สูง หรือ Echocardiogram ที่ใช้หลักการส่งคลื่นเสียงเข้าไปในทรวงอกแล้วแปลงเป็นภาพ โดยสามารถตรวจหาภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดที่อาจเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยง่ายหรือแน่นหน้าอก ซึ่งการตรวจที่ได้รับความนิยมมี 2 แบบ ได้แก่ 

  1. การทำ Echocardiogram ผ่านทางผนังหน้าอก (Transthoracic Echocardiogram)
    ผู้ป่วยไม่ต้องเตรียมตัวมาก สะดวก ภาพให้รายละเอียดได้ดี แต่หากผู้ป่วยมีผนังหน้าอกหนา ผนังหน้าอกผิดรูป หรือช่องระหว่างซี่โครงแคบอาจได้ภาพที่ไม่ชัดเจน ควรตรวจในลักษณะส่องกล้องจะแน่ชัดกว่า
  2. การทำ Echocardiogram ส่องกล้องผ่านทางหลอดอาหาร (Transesophageal Echocardiogram)
    ตรวจหัวใจจากด้านในทางเดินอาหารที่อยู่ด้านหลังหัวใจเพื่อให้ได้ภาพการเคลื่อนไหวของหัวใจที่ชัดเจน ช่วยให้การวินิจฉัยได้ชัดเจนและต้องทำในทุกรายก่อนส่งผู้ป่วยมาปรึกษา 

โรคลิ้นหัวใจรั่วอันตรายไหม

รักษาโรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่วชนิด Secundum Type

หากผู้ป่วยมีรูรั่วขนาดเล็กมาก มีโอกาสที่รูจะปิดได้เอง ซึ่งมีเพียงส่วนน้อย ถ้ารูขนาดเล็กแล้วไม่มีอาการหรือส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันก็ไม่ต้องทำการรักษาเพิ่มเติม แต่หากรูรั่วมีขนาดปานกลางตั้งแต่ 1 เซนติเมตรจนถึงขนาดตั้งแต่ 3 เซนติเมตรขึ้นไป ซึ่งเป็นรูขนาดใหญ่ต้องรีบมาพบแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจหรืออายุรแพทย์หัวใจเพื่อตรวจเช็กสุขภาพหัวใจทันที หากพบว่าจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาสามารถทำได้ด้วยเทคนิคสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด (Transcatheter ASD Closure) โดยนำอุปกรณ์ที่เป็นโลหะเข้าไปปิดรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจผ่านทางสายสวนหัวใจที่เข้าทางหลอดเลือดดำที่ขา เมื่อถึงบริเวณรูรั่วอุปกรณ์จะถูกปล่อยไปวางยังตำแหน่งรูรั่วเพื่อปิดรูรั่ว หลังจากนั้นร่างกายจะสร้างเนื้อเยื่อมาคลุมภายใน 3 – 6 เดือน โดยอุปกรณ์ที่เลือกใช้จะขึ้นอยู่กับลักษณะและขนาดของรูรั่วเป็นสำคัญ ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีคือ เลี่ยงความเสี่ยงและลดความเจ็บปวดจากการผ่าตัด แผลมีขนาดเล็ก ใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน ประมาณ 48 ชั่วโมง ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว หลังทำการรักษาผู้ป่วยต้องเข้ารับการตรวจติดตามผลด้วยการตรวจ Echocardiogram เป็นระยะ ๆ ทุก 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปีตามคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจ ซึ่งการใช้เทคนิคสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด (

โรคลิ้นหัวใจรั่ว (Valve Heart Disease)
      เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก แต่จะเริ่มแสดงอาการเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นแต่มีอาการไม่รุนแรง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ตั้งแต่แรกเริ่ม โรคลิ้นหัวใจรั่วเมื่อเกิดกับใครแล้วจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หรือรบกวนชีวิตประจำวันของคนๆ นั้น เวลาทำอะไรก็จะรู้สึกเหนื่อยง่าย ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น
โรคลิ้นหัวใจรั่วอันตรายไหม

โรคลิ้นหัวใจรั่ว จะแสดงอาการรุนแรงเมื่ออายุประมาณ 40 – 50 ปี ขึ้นไป ทำให้ผู้ป่วยเหนื่อย และอ่อนเพลียมากขึ้นเกือบๆ จะทุกการเคลื่อนไหว ซึ่งบางรายก็อาจเสียชีวิตได้เนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว โรคลิ้นหัวใจรั่ว มักมีสาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิด ส่งผลให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป โรคลิ้นหัวใจรั่วที่พบบ่อยในคนไทย คือ ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องบน และห้องล่างด้านซ้าย โรคลิ้นหัวใจรั่ว ที่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิดมักไม่แสดงอาการในวัยเด็ก แต่จะเริ่มเหนื่อยง่าย ใจสั่น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น มีผลให้ออกกำลังกายได้น้อย ทำงานได้น้อยลง หรือแม้กระทั่งบางคนเพียงเดินขึ้น เดินลงบันได 1-2 ชั้น ก็รู้สึกเหนื่อย นอนราบไม่ได้ หายใจไม่ออก เป็นต้น

สาเหตุการเกิดลิ้นหัวใจรั่ว

  • มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด อาจไม่มีอาการใดๆ ในวัยเด็ก หรือ ตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์
  • ลิ้นหัวใจเสื่อมตามอายุ เนื่องจากเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหว และรับแรงจากเลือดตลอดเวลา ดังนั้น จึงเกิดการเสื่อม ลิ้นหัวใจจะหนาตัวขึ้น และเริ่มมีหินปูน (calcium) เข้าไปสะสมในเนื้อเยื่อทำให้ปิดไม่สนิท
  • โรคหัวใจรูห์มาติค (rheumatic heart disease) เริ่มต้นจากการติดเชื้อ streptococcus ในคอ พบบ่อยในเด็ก ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาต่อต้านหัวใจตนเอง เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ ผลที่ตามมาคือลิ้นหัวใจหนาตัวขึ้นมาก เกิดลิ้นหัวใจตีบ และรั่ว โรคนี้ยังจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ พบมากในผู้ป่วยเศรษฐานะต่ำ หรืออยู่ในชุมชนแออัด
  • เกิดจากการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจอักเสบเป็นรู เชื้อโรคอาจมาจากช่องปาก เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด (ในผู้ติดยาเสพติด) การเจาะตามร่างกาย เช่น เจาะลิ้น เจาะอวัยวะเพศ เป็นต้น

ลักษณะอาการโรคลิ้นหัวใจรั่ว    อาการของโรคลิ้นหัวใจรั่วไม่รุนแรง แต่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป อาจยาวนานจนกระทั่ง 40 ปีผ่านไป จึงเริ่มแสดงอาการรุนแรง จากการที่ลิ้นหัวใจเสื่อมมากขึ้น จนทำให้ร่างกายเหนื่อย อ่อนเพลียง่ายกับทุกอิริยาบถของการเคลื่อนไหว บางรายที่เป็นมากอาจเสียชีวิต เนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว

การตรวจหาลิ้นหัวใจรั่ว      การตรวโรคลิ้นหัวใจรั่วที่ให้ผลแม่นยำและเป็นมาตรฐาน จะตรวจโดยการใช้คลื่นเสียงสะท้อน หรือเครื่องอัลตราซาวด์ ส่วนใหญ่การตรวจแบบใช้เครื่องอัลตราซาวด์สามารถใช้เวลาเพียง 30 นาที ก็สามารถรู้ผลการตรวจหัวใจว่ามีความผิดปกติ หรือไม่ และสภาพการทำงานเป็นอย่างไร เช่น ทิศทางการไหลเวียนของเลือด จังหวะการสูบฉีดเลือดของหัวใจ เมื่อมีการหายใจเข้า ออก การปิดเปิดของลิ้นหัวใจ เมื่อเลือดสูบฉีดว่ามีการรั่ว หย่อนยาน หรือปูดขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้ แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับอาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่

การดูแลรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่ว

      สำหรับผู้ป่วยรายที่ลิ้นหัวใจรั่วมาก จนกระทั่งกล้ามเนื้อที่พยุงการปิด-เปิด ลิ้นหัวใจเกิดการหย่อนยาน ปูด หรือหนา แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าสมควรได้รับการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจที่เกิดการชำรุด หรือไม่ ทั้งนี้ การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจรั่ว ผลการรักษาในบางรายอาจดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติ และบางรายอาจมีการซ่อมแซมซ้ำได้เช่นกัน โดยมากแพทย์จะผ่าตัดเฉพาะในรายที่ลิ้นหัวใจชำรุดมากเท่านั้น หากชำรุดเพียงเล็กน้อย หรือปานกลาง แพทย์มักจะแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวและเฝ้าระวังติดตามอาการ เพราะการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจมีค่าใช้จ่ายสูง และการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจไม่สามารถรับประกันได้ทุกรายว่าจะหายเป็นปกติได้ตลอดชีวิตหลังการผ่าตัด บางรายอาจต้องมีการผ่าตัดซ่อมแซมซ้ำ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการตอบสนอง และการดูแลตัวเองของผู้ป่วยแต่ละราย นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดซ่อมแซมบางราย หากเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกตัว หรือไตวาย ซึ่งพบได้น้อย แพทย์ก็จะแนะนำให้เปลี่ยนลิ้นหัวใจทันที การรักษาสำหรับผู้ป่วยลิ้นหัวใจเสื่อม หรือเสียมาก แพทย์จะแนะนำให้เปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบธรรมชาติที่ได้จากเนื้อเยื่อของหัวใจวัว หรือเนื้อเยื่อหัวใจหมู และลิ้นหัวใจเทียมจากสารสังเคราะห์ ทั้งนี้ การรักษาในช่วงที่ลิ้นหัวใจรั่วไม่รุนแรงมาก แพทย์มักจะแนะนำให้ป้องกันการติดเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด เช่น การหลีกเลี่ยงการทำฟันเมื่อมีแผลอักเสบในช่องปาก หรือควรแจ้งข้อมูลการเจาะตามร่างกาย เช่น ผู้ที่ชอบเจาะลิ้น อวัยวะเพศ เป็นต้น

การปฏิบัติตัวเมื่อพบว่าเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว      โรคลิ้นหัวใจรั่ว หากเป็นระยะไม่มาก อาการที่แสดงจะเป็นปกติ ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิต และมีกิจกรรมปกติของตัวเองได้เหมือนอย่างคนทั่วไป แต่ถ้าลิ้นหัวใจรั่วมาก เช่น หอบเหนื่อยมาก แม้จะทำงานเพียงเล็กน้อย ก็ต้องทำกิจกรรม หรือทำงานให้น้อยลง หรือหากเป็นมากควรงดกิจกรรม งด หรือลดการดื่มแอลกอฮอลล์ สูบบุหรี่ รวมทั้งอาหารที่มีรสเค็มจัด มันจัด เป็นต้น นอกจากนี้ การออกกำลังกายแบบหักโหม มักจะอันตรายต่อผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่วที่มีอาการรุนแรง เพราะอาจทำให้หัวใจล้มเหลวได้ ส่วนผู้ป่วยที่ต้องการตรวจรักษาฟัน เช่น ถอนฟัน ขูดหินปูน ที่จะทำให้เกิดแผลในช่องปาก ก็ควรระมัดระวัง และควรต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบ เพื่อวางแผนป้องกันการติดเชื้อ หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยที่ต้องทำการผ่าตัดใดๆ ก็ควรปฏิบัติเช่นเดียวกัน


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร.0-2271-7000 ต่อ ศูนย์หัวใจ

โรคลิ้นหัวใจรั่วอันตรายไหม

ลิ้นหัวใจรั่ว กี่ระยะ

ลิ้นหัวใจรั่วจะแบ่งระดับความรุนแรงตั้งแต่ รั่วน้อย รั่วปานกลาง รั่วมาก ในกรณี รั่วปานกลางร่วมกับอาการแสดง หรือรั่วมาก จะต้องพิจารณาว่าจะต้องทำการรักษา เช่น การผ่าตัด หรือการรักษาแบบอื่น

ลิ้นหัวใจรั่วดูแลตัวเองยังไง

โรคลิ้นหัวใจรั่ว หากเป็นระยะไม่มาก อาการที่แสดงจะเป็นปกติ ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิต และมีกิจกรรมปกติของตัวเองได้เหมือนอย่างคนทั่วไป แต่ถ้าลิ้นหัวใจรั่วมาก เช่น หอบเหนื่อยมาก แม้จะทำงานเพียงเล็กน้อย ก็ต้องทำกิจกรรม หรือทำงานให้น้อยลง หรือหากเป็นมากควรงดกิจกรรม งด หรือลดการดื่มแอลกอฮอลล์ สูบบุหรี่ รวมทั้งอาหารที่มีรสเค็มจัด ...

โรคหัวใจรั่วอยู่ได้นานไหม

การรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่วสามารถทําได้โดยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเพื่อทดแทนลิ้นเดิม ด้วยลิ้นที่เป็นโลหะหรือจากเยื่อหุ้มหัวใจหมูหรือวัว ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ผลการรักษาที่ดีมาก และผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยมีอายุการใช้งานประมาณ 10-15 ปี แต่ผู้ป่วยจําเป็นต้องรับประทานยาเพื่อป้องกันเลือดแข็งตัวอย่างต่อ ...

โรคลิ้นหัวใจรั่ว รักษาหายไหม

ปัจจุบันผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่วสามารถรับการรักษาได้ด้วยการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจ ซึ่งให้ผลการรักษาดี มีผลข้างเคียงน้อยและผู้ป่วยมีอัตราการมีชีวิตที่ยืนยาวกว่าการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ดังนั้นการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจจึงเป็นการรักษาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว