นักการภารโรง เป็นข้าราชการไหม

อยากเห็น ลูกจ้างทำงานมาแล้ว 7 ปี บรรจุเป็นข้าราชการ ข้อเสนอของ ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก

ผมมีโอกาสเห็นหนังสือฉบับหนึ่งของ สพฐ.แจ้งไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.)เมื่อ ๒๒ มกราคม ที่ผ่านมาเกี่ยวกับการจัดสรรอัตราจ้างตำแหน่งต่างๆ(ครูขาดแคลนขั้นวิกฤติ,ทำงานที่ สพท.,ดูแลนักเรียนพักนอน,Lab boy,นักการภารโรงและธุรการโรงเรียน) อ่านแล้วรู้สึกเห็นใจน้องๆอัตราจ้างที่ต้องเปลี่ยนที่ทำงานตอนปลายปีการศึกษา อันเนื่องมาจากการเกลี่ยอัตรากำลัง หลายคนต้องทำงานให้โรงเรียนเก่าและต้องรับงานโรงเรียนใหม่ด้วยและยิ่งหดหู่หนักขึ้นไปอีก เมื่อเห็นการสั่งการว่า

นักการภารโรง เป็นข้าราชการไหม

๑. ถ้าอัตราว่างลงให้ส่งคืน สพฐ. ชะลอการสรรหาทดแทน
๒. ธุรการ ๑๕,๐๐๐ บาทถ้าว่างลงให้ปรับเป็น ๙,๐๐๐ บาท
๓. การจ้างจะไม่ผูกพันที่นำไปสู่การบรรจุให้เป็น ลูกจ้างประจำ,พนักงานราชการหรือข้าราชการ
๔. จะจ้างได้ก็ต่อเมื่อได้รับแจ้งเรื่องงบประมาณก่อน

คิดว่า สพฐ.คงมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณจึงได้ สั่งการแบบนี้ แต่หารู้ไม่ว่าการสั่งการดังกล่าวได้ทำลายขวัญกำลังใจ ความมุ่งมั่น ความตั้งใจของน้องอัตราจ้างที่จะยึดตำแหน่งครูสายสนับสนุนเป็นอาชีพระยะยาวไปจนหมดสิ้น จริงๆแล้วช่วงนี้นับเป็นโอกาสทองที่จะทำให้น้องอัตราจ้างเติบโต มั่นคงในอาชีพมากที่สุด เพราะทั้งเลขาธิการ กพฐ. ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ (สพร.)และเลขาธิการ ก.ค.ศ.ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่เติบโตมาจากผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้งสิ้น รู้สภาพ ชีวิตจิตใจคนของในพื้นที่เป็นอย่างดี ประกอบกับในทศวรรษนี้มีอัตราว่างจำนวนมากเนื่องจากการเกษียณอายุของข้าราชการและโรงเรียนส่วนหนึ่งถูกยุบไปเพราะไม่มีเด็กเข้าเรียน สิ่งที่ผมปรารถนาเป็นอย่างยิ่งก็คือ

– อยากเห็นโรงเรียนบริหารอัตรากำลังบุคลากรได้เอง ไม่ต้องรอ สพฐ. และ สพท.
– อยากเห็นธุรการ ๙,๐๐๐ บาท ปรับเป็น ธุรการ ๑๕,๐๐๐ บาท อัตราค่าจ้างปรับขึ้นเป็นรายปีตามประสบการณ์และค่าครองชีพที่เปลี่ยนไป
– อยากเห็น เมื่อเป็นอัตราจ้าง ๓ ปี ได้เป็นลูกจ้างประจำ ทำงาน ๕ ปีได้เป็นพนักงานราชการ และ ทำงาน ๗ ปีได้เป็นข้าราชการ
– อยากเห็นการทำสัญญาจ้างครั้งละ ๓ ปี ไม่ใช่ปีละ ๓ ครั้งเหมือนปัจจุบัน

สิ่งที่ผมอยากเห็นข้างต้นเป็นแนวทางการแก้ปัญหาเชิงพัฒนา แต่ที่ดำเนินการอยู่เป็นการตัดปัญหา ผู้บริหารที่บริหารแบบตัดปัญหาก็มักจะมีประโยคติดปากว่า ทำไม่ได้หรอกมันผิดระเบียบฯ (ก็ทำไมไม่ขอแก้ระเบียบฯหรือขอตกลงกับผู้รักษาการตามระเบียบฯ?) สิ่งที่ผมอยากเห็นอาจจะทำยากสักหน่อยนะและถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องไม่มีกรอบคิดติดยึดหรือมโนมั่น(mindset) เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็จะยากขึ้นไปอีกที่จะสำเร็จ และผมเคยพูดหลายครั้งแล้วว่า คำว่า “ทำยาก” กับ “ทำไม่ได้” นั้นมีความหมายต่างกัน น้องๆจำได้ไหมครับว่า พวกเราเคยร่วมกัน ทำให้ค่าจ้าง จาก ๙,๐๐๐ บาทเป็น ๑๕,๐๐๐ บาทมาแล้วเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนนี้ ผมยืนยันว่าทำได้ครับ ถ้าคิดจะทำ

ขอบคุณข้อมูลจาก : ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก

นักการภารโรง เป็นข้าราชการไหม

ตัวแทน ครูธุรการ นักการภารโรง ทั่วประเทศ วอนผู้เกี่ยวข้อง
ขอโอกาสบรรจุเป็น พนักงานราชการ

สวัสดีครับ  ครูอัพเดตดอทคอม มีข่าวที่น่าสนใจมาฝากเช่นเคยครับ ด้วย สมาพันธ์เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียนแห่ง
ประเทศไทยเป็นตัวแทน ครูธุรการ นักการภารโรง ทั่วประเทศ วอนผู้เกี่ยวข้อง ขอโอกาสบรรจุเป็น พนักงานราชการ
โดยมีรายละเอียดเหตุการณ์ต่างๆ ดังนี้

นายสุรทิน พิจารณ์ ส.ส.พรรคประชาธิปไตยใหม่ รับยื่นหนังสือจาก นายวิชญ์ธพงศ์ พุ่มบุญภาคย์ ประธานสมาพันธ์เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียนแห่งประเทศไทย และคณะ เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมแก่กลุ่มลูกจ้างสถานศึกษาของรัฐ สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ที่ปัจจุบัน ได้ปฏิบัติหน้าที่ ในตำแหน่งดังกล่าวมากว่า ๑๑ ปี แต่ยังไม่มีความมั่นคงในอาชีพ ทำให้เกิดความเดือดร้อนขาดขวัญและกำลังใจ จึงขอความเป็นธรรมต่อ ส.ส. รวมถึงคณะรัฐบาล และรมว.ศึกษาธิการ ได้ช่วยเหลือแก้ไข ปัญหาดังกล่าว โดยนายสุรทิน กล่าวภายหลังรับยื่นหนังสือว่า จะนำเรื่องดังกล่าวส่งต่อไปยัง รมว.ศึกษาธิการ เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

นักการภารโรง เป็นข้าราชการไหม
ตัวแทน ครูธุรการ นักการภารโรง ทั่วประเทศ วอนผู้เกี่ยวข้อง ขอโอกาสบรรจุเป็น พนักงานราชการ

นักการภารโรง เป็นข้าราชการไหม

นักการภารโรง เป็นข้าราชการไหม

นักการภารโรง เป็นข้าราชการไหม
ตัวแทน ครูธุรการ นักการภารโรง ทั่วประเทศ วอนผู้เกี่ยวข้อง ขอโอกาสบรรจุเป็น พนักงานราชการ

นักการภารโรง เป็นข้าราชการไหม

นักการภารโรง เป็นข้าราชการไหม

นักการภารโรง เป็นข้าราชการไหม

นักการภารโรง เป็นข้าราชการไหม
ตัวแทน ครูธุรการ นักการภารโรง ทั่วประเทศ วอนผู้เกี่ยวข้อง ขอโอกาสบรรจุเป็น พนักงานราชการ

ครูอัพเดตดอทคอม ต้องขอขอบคุณ
ที่มาจากเพจ สมาพันธ์เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียนภาคอิสาน 

นักการภารโรง เป็นข้าราชการไหม