พระ บร ท ราโชวาท ร. ร. 9 การศึกษา

บีบีซีไทยขออัญเชิญ 9 พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานในวาระต่าง ๆ ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมไปตั้งแต่ การทำความดี การศึกษา การธำรงวัฒนธรรม จนไปถึงการบริหารบ้านเมือง ที่ยังคงประทับอยู่ในใจของคนไทยทั้งปวง

"การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมาก ไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้"

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

"ผู้หนักแน่นในสัจจะ พูดอย่างไรทำอย่างนั้น จึงจะได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธา เชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญจากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือพูดจริงทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด"

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่มาของภาพ, AFP/Getty Images

"การมีเสรีภาพนั้น เป็นของที่ดีอย่างยิ่ง แต่เมื่อจะใช้ จำเป็นต้องใช้ด้วยความระมัดระวังตามความรับผิดชอบมิให้ล่วงละเมิดเสรีภาพของผู้อื่นที่เขามีอยู่เท่าเทียมกัน ทั้งมิให้กระทบกระเทือนถึงสวัสดิภาพและความเป็นปกติสุขของส่วนร่วมด้วย"

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ

"ประเทศชาติของเราจะเจริญหรือเสื่อมลงนั้นย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชน แต่ละคนเป็นสำคัญ ผลการศึกษาอบรมในวันนี้จะเป็นเครื่องกำหนดของชาติในวันข้างหน้า ท่านทั้งหลายจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้น เมื่อท่านออกไปเป็นครู ท่านต้องพยายามทำหน้าที่ของท่านให้สำเร็จโดยสมบูรณ์"

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร

5) การส่งเสริมการศึกษาศิลปะและวิทยาศาสตร์

"การศึกษาด้านศิลปะวัฒนธรรมเป็นการศึกษาที่สำคัญ และควรจะดำเนินควบคู่กันไปกับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เพราะความเจริญของบุคคล ตลอดจนถึงความเจริญของประเทศและของโลกโดยส่วนรวมด้วยนั้นมีทั้งทางวัตถุและจิตใจ ความเจริญทั้งสองทางนี้ จะต้องมีประกอบกัน เกื้อกูลและส่งเสริมกันพร้อมมูล จึงจะเกิดความเจริญที่แท้จริงได้ ประเทศทั้งหลายจึงต่างพยายามส่งเสริมการศึกษาด้านศิลปะวัฒนธรรมนี้ พร้อมกันไปกับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์"

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

"เศรษฐกิจพอเพียง...จะทำความเจริญให้แก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน ต้องไม่พูดมาก ต้องไม่ทะเลาะกัน ถ้าทำโดยเข้าใจกัน เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้..."

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2541

"ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุข เรียบร้อยจึงมิใช้การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้"

พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี

"ความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับความรักใคร่เผื่อแผ่ช่วยเหลือกันฉันญาติพี่น้อง สองประการนี้ คือคุณลักษณะสำคัญของไทย ที่ช่วยให้ชาติบ้าน เมืองอยู่รอดเป็นอิสระ และเจริญมั่นคง มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน"

พระราชดำรัสเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2532

"การกีฬานั้น นอกจากจะให้ความสนุกสนานและความสมบูรณ์แก่ร่างกายแล้วยังให้ผลดีทางจิตใจได้อย่างมากมาย นักกีฬาที่ได้รับการฝึกหัดอบรมอย่างดีแล้วย่อมมีใจแน่วแน่ ตัดสินใจได้รวดเร็ว มีความเพียรพยายามไม่ท้อถอย และมีความหนักแน่นรู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักให้อภัย ผู้มีใจเป็นนักกีฬา จึงเป็นผู้ที่มีประโยชน์ต่อสังคม และน่าคบหาสมาคมด้วยอย่างยิ่ง"

คงไม่ผิด หากจะบอกว่าทุกคนมี ‘พ่อ’ เป็นไอดอล ดังนั้น ทุกปรัชญาที่พ่อคอยพร่ำสอนจึงเป็นเหมือนแนวทางให้ลูกๆ อย่างเราเจริญรอยตาม เพื่อใช้ชีวิตอย่างเป็นสุข แม้จะทำตามไม่ได้ทั้งหมด แต่ถ้าทำได้หรืออย่างน้อยๆ ตระหนักถึง 20 พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทตามนี้ก็คงเป็นผลดีต่อทั้งตัวเราและสังคมแน่ๆ และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งในพระบรมราโชวาทมากมายอันเป็นประโยชน์ต่อเราทั้งผองจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่เราขอน้อมอัญเชิญมา เพื่อเตือนใจชาวไทยทุกคน…

#1

“พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง” 

– พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล สวนจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2541

 #2

“ความสามัคคีนั้นอาจหมายความถึงเห็นชอบเห็นพ้องกันโดยไม่แย้งกัน ความจริงงานทุกอย่างหรือการอยู่เป็นสังคมย่อมมีความขัดแย้งกัน ความคิดต่างกัน ซึ่งไม่เสียหาย แต่อยู่ที่จิตใจของเรา ถ้าเราใช้หลักวิชาและความปรองดองด้วยการใช้ปัญญา การแย้งต่างๆ ย่อมเป็นประโยชน์”

– พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2517

 #3

“การใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเอง และครอบครัวช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ที่ประหยัดเท่านั้น ยังเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย”

– ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2502

#4

“คนดีทำให้คนอื่นดีได้ หมายความว่าคนดีทำให้เกิดความดีในสังคม คนอื่นก็ดีไปด้วย ความเลวนั้นจะทำให้คนดีเป็นคนเลวก็ยาก แต่เป็นไปได้ ถ้าคนดีเข้มแข็งในความดีจะทำให้คนเลวมาทำให้คนดีเป็นคนเลวยาก สำคัญอยู่ที่ความเข้มแข็งของคนดี”

– พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2539

#5

“การทำความดีนั้น โดยมากเป็นการเดินทวนกระแสความพอใจและความต้องการของมนุษย์ จึงทำได้ยาก และเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ ความชั่วซึ่งทำได้ง่ายจะเข้ามาแทนที่ แล้วจะพอกพูนอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้สึกตัว”

– พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตรแก่ว่าที่ร้อยตำรวจตรีที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุด จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ประจำปีการศึกษา 2528 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2529

 #6

“หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้ และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้”

– พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2514

 #7

“คุณสมบัติพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับทุกคนนั้น ที่สำคัญได้แก่ความรู้จักผิดชอบชั่วดี ความละอายชั่วกลัวบาป ความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งในความคิดและการกระทำ ความไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ความไม่มักง่ายหยาบคาย กับอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญเป็นพิเศษคือความขยันหมั่นเพียร”

– พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ณ สวนอัมพร วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2522

 #8

“ผู้ที่ทำงานให้เกิดประโยชน์ส่วนรวมย่อมได้รับประโยชน์เป็นส่วนของตนด้วย ผู้ที่ทำงานโดยเห็นแก่ตัว เบียดเบียนประโยชน์ส่วนรวม ย่อมบั่นทอนทำลายความมั่นคงของประเทศชาติ และที่สุดตนเองก็จะเอาตัวไม่รอด”

– พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร และอนุปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2512

 #9

“สติคือความระลึกได้ว่าอะไรเป็นอะไรนั้นสำคัญมากที่จะช่วยทำให้บุคคลหยุดคิดพิจารณาก่อนที่จะพูด จะทำ หรือแม้จะคิดอ่านในเรื่องใดๆ อีกหนึ่งข้อที่จะช่วยให้ระลึกได้ถูกจุดถูกต้อง ก็คือจิตใจที่ตั้งมั่นและหนักแน่นเป็นกลางเพราะไม่มีอคติ สองสิ่งนี้เป็นคุณสมบัติสำคัญที่สุดของการศึกษาดี มีหน้าที่สูง ที่จะต้องเป็นบุคคลชั้นนำในวงงานต่างๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต”

– พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่สามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์เพื่อเชิญไปอ่านในการประชุมสามัญประจำปี ระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน พ.ศ.2527

 #10

“การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมากไม่ค่อยชอบการปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้”

– พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2506

 #11

“ผู้มีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อย ก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ”

– พระราชดำรัส ในโอกาสที่คณะผู้อำนวยการและอาจารย์ใหญ่จากโรงเรียนต่างๆ ในเขตอำเภอดุสิต ‘กลุ่มจิตรลดา’ เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2523

 #12

“ความสุขความเจริญนี้แม้เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง แต่ในวิถีชีวิตของคนเรานั้น ย่อมต้องมีทั้งสุขและทุกข์ ทั้งความสมหวังและผิดหวัง เป็นปรกติธรรมดา ทุกคนจึงต้องเตรียมตัว เตรียมใจ และเตรียมการให้พร้อม อย่าประมาท”

– พระราชดำรัส พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย ในโอกาสขึ้นปีใหม่พุทธศักราช 2559

 #13

“เมืองไทยของเราประกอบด้วยคนหลายจำพวก หลายวัย หลายความคิด หลายหน้าที่ ซึ่งทั้งหมดจะต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ว่าคนใดคนหนึ่งจะอยู่ได้โดยลำพัง”

– พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2517

 #14

“คนเราถ้าพอใจในความต้องการก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข”

– พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2541

 #15

“ความสุขความเจริญแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น”

– พระราชดำรัส ในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี พ.ศ.2539

 #16

“คนเราอยู่คนเดียวไม่ได้ จะต้องอยู่เป็นหมู่คณะ และถ้าหมู่คณะนั้นมีความสามัคคี คือเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือในทุกเมื่อ ช่วยกันคิดว่าสิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควร สิ่งใดที่จะทำให้นำมาสู่ความเจริญ ความมั่นคง ความสุขก็ทำ สิ่งที่นำมาซึ่งความหายนะหรือเสียหายก็เว้น และช่วยกันปฏิบัติหน้าที่ทางกาย ทั้งหน้าที่ทางใจ”

– พระราชดำรัส พระราชทานในพิธีพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้าน จังหวัดสระบุรี วันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2539

 #17

“การดำรงชีวิตที่ดีจะต้องปรับปรุงตัวตลอดเวลา การปรับปรุงตัวจะต้องมีความเพียรและความอดทนเป็นที่ตั้ง ถ้าคนเราไม่หมั่นเพียร ไม่มีความอดทน ก็อาจจะท้อใจไปโดยง่าย เมื่อท้อใจไปแล้ว ไม่มีทางที่จะมีชีวิตเจริญรุ่งเรืองแน่ๆ”

– พระราชดำรัส พระราชทานแก่ครูและนักเรียนโรงเรียนจิตรลดา วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2523

 #18

“ความคิดนั้นเป็นแม่บทใหญ่ของการพูดและกระทำ เพราะกิจที่จะทำคำที่จะพูดทุกอย่างล้วนสำเร็จมาจากความคิด การคิดก่อนพูดและก่อนทำจึงช่วยให้บุคคลสามารถยับยั้งคำพูดที่ไม่สมควร ยับยั้งการกระทำที่ไม่ถูกต้อง”

– พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2540

 #19

“บ้านเมืองไทยสามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ได้โดยดี เพราะว่าจิตใจสามัคคีและแสดงออกซึ่งสามัคคี ถ้าตราบใดเรารักษาความสามัคคี ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันไว้ได้ เราก็จะอยู่ได้อย่างมีความสุขตราบนั้น”

– พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะประชาชนจังหวัดราชบุรีที่เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2531

 #20

“ผู้ที่จะรักษาความเป็นไทยได้มั่นคงที่สุด ดี และเหมาะสมที่สุด ไม่มีใครอื่นนอกจากคนไทย เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะอยู่ ณ แห่งใด คนไทยมีหน้าที่ต้องรักษาความเป็นไทยเสมอ”