การเสด็จประพาสยุโรปของรัชกาลที่ 5

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงริเริ่มการเสด็จเยือนต่างประเทศทั้งในทวีปเอเชียและยุโรปทั้งอย่างเป็นทางการและเป็นการส่วนพระองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศด้วยพระราชประสงค์เช่นเดียวกับพระราชบิดา คือ เสด็จไปเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศกับการเสด็จไปรักษาพระวรกายของพระองค์ มิเพียงแต่เท่านั้นยังทรงขยายเส้นทางไปสู่อินโดจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและแคนาดา และทุกครั้งยังมีสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จเคียงคู่เสมอ

ในระยะเวลา 9 ปีแห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468-2477) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ได้เสด็จประพาสต่างประเทศรวม 4 ครั้ง ดังนี้

การประพาสต่างประเทศครั้งที่ 1 ในปีที่ 5 ของการครองราชสมบัติ พ.ศ. 2472 ระหว่างวันที่ 31กรกฎาคม- 11 สิงหาคม พ.ศ.2472 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสิงคโปร์ ชวา และบาหลี ซึ่งขณะนั้นอยู่ในการปกครองของประเทศอังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้เพื่อเจริญทางพระราชไมตรีและทอดพระเนตรภูมิสถานบ้านเมืองและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศเหล่านั้น

การประพาสต่างประเทศครั้งที่ 2 ในปีที่ 6 ของการครองราชสมบัติ ระหว่าง พ.ศ. 2473 ระหว่างวันที่ 6เมษายน –8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน (เฉพาะส่วนที่เป็นประเทศเวียดนาม และกัมพูชาปัจจุบัน) ซึ่งขณะนั้นอยู่ในการปกครองของประเทศฝรั่งเศส เพื่อเจริญพระราชไมตรีและก้าวข้ามจากความบาดหมางทั้งกับเจ้านายพื้นเมืองเดิมและสร้างสัมพันธภาพที่ดีเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูต

-การประพาสต่างประเทศครั้งที่ 3 ในปีที่ 7 ของการครองราชสมบัติ ระหว่างวันที่ 6 เมษายน – 28 กันยายน พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และแคนาดา การเสด็จฯครั้งนี้นอกจากเพื่อกระชับสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศแล้วยังเพื่อรักษาพระเนตรที่สหรัฐอเมริกาด้วย เป็นเวลานานถึง 3 เดือนเต็ม และในพระราชวโรกาสที่เสด็จฯถึงกรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่28 เมษายน พ.ศ. 2474 นั้นเอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์นิวยอร์ค ไทม์ แสดงพระราชประสงค์จะทรงจำกัดพระราชอำนาจของพระองค์ และพระราชทานอำนาจนั้นแก่ราษฎรในการปกครองประเทศในรูปแบบเทศบาลขึ้นก่อนเพื่อเป็นฐานก้าวไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในโอกาสต่อไป

4 ในปีที่ 8-9 ของการครองราชสมบัติ และ ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 แล้ว ทั้งสองพระองค์เสด็จประพาสยุโรป 9 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส อิตาลี (นครรัฐวาติกัน) อังกฤษ เดนมาร์ก เยอรมนี เบลเยี่ยม เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี และสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ และเพื่อทรงรักษาพระเนตรอีกครั้งในประเทศอังกฤษ จนกระทั่งถึงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477ซึ่งเป็นวันสละราชสมบัติ ณ ประเทศอังกฤษ

อาจกล่าวได้ว่าการเสด็จประพาสต่างประเทศ ทั้ง 4 ครั้งในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นไปเพื่อการเจริญสัมพันธไมตรี การทอดพระเนตรความเจริญของต่างประเทศเพื่อนำมาประยุกต์ในการพัฒนาประเทศสยามสืบต่อจากการปฏิรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 อนึ่ง การเสด็จไปรักษาพระสุขภาพ โดยการผ่าตัดพระเนตรครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาในพ.ศ. 2474 และรักษาพระเนตรครั้งที่ 2 และรักษาพระทนต์ในประเทศอังกฤษ พ.ศ.2476

ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของทั้งสองพระองค์ในต่างประเทศสะท้อนให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงเคียงข้างกันทั้งในยามสุขและยามทุกข์ ทั้งการเสด็จประพาสในประเทศ ภูมิภาคต่างๆทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จนกระทั่งวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484

30 ก.ค. 2560 ครบรอบ 120 ปี ของการเสด็จเยือนอังกฤษของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มารู้จักทับโลว์คอร์ท (Taplow Court) คฤหาสน์ใกล้ลอนดอนที่รัชกาลที่ 5 พร้อมด้วยพระราชโอรส 11 พระองค์เสด็จไปประทับ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี เสด็จจากท่าราชวรดิษฐ์เมื่อวันที่ 7 เม.ย. ร.ศ. 116 หรือ พ.ศ. 2440 รวมระยะเวลาเสด็จประพาสทั้งสิ้น 253 วัน การเสด็จประพาสครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่พระองค์ได้เสด็จไปเจริญพระราชไมตรีกับนานาประเทศกว่า 10 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศเหล่านั้นได้รู้ว่าสยามเป็นประเทศกำลังพัฒนา เพื่อส่งเสริมความเป็นเอกราชของสยามท่ามกลางยุคล่าอาณานิคม

หนึ่งในประเทศปลายทางคืออังกฤษ โดยพระองค์เสด็จมาถึงกรุงลอนดอนวันที่ 30 ก.ค. 2440 เพื่อทรงร่วมเฉลิมฉลองพระราชพิธีพัชราภิเษก (ครองราชย์ครบ 60 ปี) ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียของอังกฤษ และทรงประทับอยู่ที่พระราชวังบักกิงแฮมเป็นเวลา 1 สัปดาห์ก่อนเสด็จพระราชดำเนินต่อไปยังเมืองอื่น ๆ และเสด็จเยี่ยมพระราชโอรสหลายพระองค์ที่ทรงศึกษาอยู่ที่อังกฤษในขณะนั้นด้วย ข้อมูลจากคลังเอกสารระบุว่า พระองค์ตรัสภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ล่ามแต่อย่างใด

หลังเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจในกรุงลอนดอนและเมืองอื่น ๆ พระองค์พร้อมด้วยพระราชโอรส 11 พระองค์เสด็จไปประทับอยู่ที่คฤหาสน์ทับโลว์คอร์ท (Taplow Court) ของวิลเลียมและเอ็ตตี เกรนเฟลล์ (ภายหลังดำรงยศลอร์ดและเลดี้เดสเบอระห์) ในเมืองเมเดนเฮด ตลอดช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน และทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีพระราชพิธีฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพในวันที่ 22 กันยายน (วันคล้ายวันพระราชสมภพตรงกับวันที่ 21 กันยายน) ณ บริเวณสวนหน้าคฤหาสน์ โดยมีวงดุริยางค์ทหารเรือบรรเลงดนตรีตลอดงาน

นอกจากนี้พระองค์พระราชทานถ้วยทองให้แก่สโมสรกีฬาของโรงเรียนเซนต์นิโคลัส ซึ่งเป็นโรงเรียนท้องถิ่นในเขตทับโลว์ โดยถ้วยทองพระราชทานดังกล่าวถูกใช้เป็นถ้วยรางวัลสำหรับนักกีฬายอดเยี่ยมประจำปีของโรงเรียนต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

ทั้งนี้ ชื่อของทับโลว์มีประวัติมายาวนาน โดยช่วงศตวรรษที่ 7 พื้นที่ตรงนี้เป็นสุสานชาวแองโกล-แซกซอน ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 11 มีหลักฐานปรากฏว่าเริ่มมีการสร้างคฤหาสน์หลายหลังบนพื้นที่ดังกล่าว ถัดมาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 มีการขุดสุสานและพบทรัพย์สมบัติจำนวนมาก ส่วนคฤหาสน์ทับโลว์คอร์ทนั้นถูกสร้างขึ้นช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ด้วยสถาปัตยกรรมวิกตอเรีย ต่อมาใน พ.ศ. 2395 (ค.ศ. 1852) ตระกูลเกรนเฟลล์ซื้อคฤหาสน์ทับโลว์คอร์ทไว้เพื่อใช้เป็นสถานที่สังสรรค์ของกลุ่มขุนนางและชนชั้นสูง และภายหลังได้ต่อเติมปรับปรุงโดยการตกแต่งภายนอกเป็นแบบสถาปัตยกรรมทิวดอร์ช่วงต้น ส่วนการตกแต่งภายในเป็นสถาปัตยกรรมโรมัน

คำบรรยายภาพ,

จากซ้ายไปขวา - เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร, พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ, เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย, เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ, พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ, เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์, เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร, พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์, พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์, พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร, พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช และ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

คำบรรยายภาพ,

คฤหาสน์ทับโลว์คอร์ทถูกสร้างขึ้นกลางศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันเป็นสำนักงานใหญ่ของเอสจีไอ-ยูเค (SGI-UK) องค์กรด้านพุทธศาสนาของญี่ปุ่น

นับแต่ พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา ทับโลว์คอร์ทเป็นสำนักงานใหญ่ของเอสจีไอ-ยูเค (SGI-UK) องค์กรด้านพุทธศาสนาของญี่ปุ่น คฤหาสน์นี้กลายเป็นศูนย์พุทธศึกษาพร้อมห้องสมุดเกี่ยวกับพุทธศาสนาและปรัชญาเอเชียที่สำคัญแห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักร เมื่อปี 2534 ทับโลว์คอร์ท ถูกใช้เป็นสถานที่จัดงาน The Land of Gentle Smiles ซึ่งเป็นนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

เนื่องในวาระครบรอบ 120 ปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินเยือนสถานที่แห่งนี้ สถานเอกอัครราชทูตไทยกรุงลอนดอนร่วมกับเอสจีไอ-ยูเค โดยการประสานงานของตัวแทนจากแองโกลไทยโซไซตี้จัดงานรำลึกความสัมพันธ์ของราชวงศ์ไทยและทับโลว์คอร์ท