พระมหากษัตริย์ที่ทรงปกครองอาณาจักรสุโขทัยจํานวน 9 พระองค์ดังนี้

           อาณาจักร สุโขทัยมีการพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองมาโดยตลอด โดยเฉพาะสมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงวาง รากฐานการปกครองแบบปิตุราชา (พ่อปกครองลูก) และในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย ได้นำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง เป็นการปกครองแบบธรรมราชา ทำให้อาณาจักรสุโขทัยมีกำลังทหารเข้มแข็ง จนกระทั่งสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจและสูญเสียอำนาจโดยถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในที่สุด เนื่องมาจากสาเหตุดังนี้

การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยมักเริ่มนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัย เป็นต้นมา หากแต่ในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบัน พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี ตลอดจนหลักฐานของอารยธรรมและรัฐโบราณเป็นจำนวนมาก

ภูมิภาคสุวรรณภูมิเคยถูกชาวมอญ เขมรและมาเลย์ปกครองมาก่อน ต่อมา คนไทยได้สถาปนาอาณาจักรของตนเอง เช่น อาณาจักรสุโขทัย  ไล่เลี่ยกันกับ ิาณษจีกรล้านนา อาณาจักรเชียงแสน และอาณาจักรอยุธยา  อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลาค่อนข้างสั้นประมาณ 200 ปี ก็ถูกผนวกรวมกับอาณาจักรอยุธยา

พระมหากษัตริย์ที่ทรงปกครองอาณาจักรสุโขทัยจํานวน 9 พระองค์ดังนี้

นครรัฐของไทยค่อย ๆ เป็นอิสระจากจักรวรรดิ์ขะแมร์  ที่เสื่อมอำนาจลง กล่าวกันว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงสถาปนาราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและมีเอกราชเมื่อ พ.ศ. 1781 อาณาจักรสุโขทัยมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช  แต่ในรูปแบบที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า ปิตุราชา หรือ พ่อปกครองลูก ที่ผู้ปกครองใกล้ชิดกับผู้ใต้ปกครอง ราษฎรสามารถสั่นกระดิ่งหน้าพระราชวังเพื่อร้องทุกข์แก่พระมหากษัตริย์ได้โดยตรง อาณาจักรสุโขทัยแผ่ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ประดิษฐ์อักษรไทย หากเป็นช่วงสั้น ๆ เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์ รัชสมัยพญาลิไท มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองมาเป็นธรรมราชา จากการรับอิทธิพลของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท แบบลังกาวงศ์ อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของรัฐไทยอีกรัฐหนึ่งที่อุบัติขึ้น คือ อาณาจักรอยุธยาในพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง

พระมหากษัตริย์ที่ทรงปกครองอาณาจักรสุโขทัยจํานวน 9 พระองค์ดังนี้

ในเวลาไล่เลี่ยกัน อาณาจักรล้านนา ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1802 โดยพญามังราย  ที่ขยายอำนาจมาจากลุ่มแม่นำ้กก และอิง สู่ลุ่มแม่นำ้ปิง พญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ และทรงมีสัมพันธ์อันดีกับพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย อาณาจักรเชียงใหม่หรือล้านนา มีอำนาจสืบต่อมาในแถบลุ่มแม่น้ำปิง เชียงใหม่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นนักกับอาณาจักรอยุธนา ที่เรืองอำนาจในพุทธศตวรรษที่ 19-20 มีการทำสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดเชียงใหม่ได้ปราชัยต่อพม่า ในปีพ.ศ. 2101  ถูกพม่ายึดครองอีกครั้งในราวปี 2310 กระทั่งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2318 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และ พระเจ้าบรมราชาบดีกาวิละ ได้ทรงขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนา โดยหลังจากนั้น พระเจ้าบรมราชาธืบดีกาวีละ ได้ทรงปกครองอาณาจักรล้านนา ในฐานะประเทศราชสยาม

อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่ง เป็นศูนย์กลางการค้าระดับนานาชาติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปฏิรูปการปกครอง ซึ่งบางส่วนใช้สืบมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังทรงตราพระราชกำหนดศักดินา ทำให้อยุธยาเป็นสังคมศักดินา อยุธยาเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตกเมื่อ พ.ศ. 2054 หลังโปรตุเกส ยึดครองมะละกา  หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2112 กรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศราช ของราชวงศ์ตองอูแห่งพม่า สมเด็ขพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพในอีก 15 ปีให้หลัง อาณาจักรอยุธยาเจริญถึงขีดสุดหลังจากนั้น ทั้งความสัมพันธ์กับต่างประเทศก็รุ่งเรืองมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมลง จนล่มสลายอย่างสิ้นเชิง ใน พ.ศ. 2310

พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราชและย้ายราชธานีมายังกรุงธนบุรี รัชสมัยของพระองค์ถือเป็นช่วงเวลาของการทำสงครามและการฟื้นฟูความเจริญของชาติ อาณาจักรธนบุรีมีพระมหากษัตริย์ปกครองพระองค์เดียว กินระยะเวลาเพียง 15 ปี แล้วพระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325

สาเหตุการเลือกอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย นักวิชาการให้เหตุผลในการเลือกเอาอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทยไว้ 2 เหตุผล ได้แก่:

  1. วิชาประวัติศาสตร์มักจะยึดเอาการที่มนุษย์เริ่มมีภาษาเขียนเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ หลักฐานประเภทลายลักษณ์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งเมื่อประกอบกับการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงเหมาะสมที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย
  2. เป็นการสะดวกในด้านการนับเวลาและเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้ นักประวัติศาสตร์มีหลักฐานความสืบเนื่องกันตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน

ขณะเดียวกันการจัดแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ของไทย ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงแสดงพระทัศนะไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง “ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร” ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เมื่อ พ.ศ. 2457  ถึงการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของไทยไว้ว่า “เรื่องพระราชพงศาวดารสยาม ควรจัดแบ่งเป็น 3 ยุค คือ เมื่อกรุงสุโขทัย เป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานียุค 1″ซึ่งการลำดับสมัยทางประวัติศาสตร์แบบเส้นตรง (Linear) โดยวางโครงเรื่องผูกกับกำเนิดและการล่มสลายของรัฐ กล่าวคือใช้รัฐหรือราชธานีเป็นศูนย์กลางเช่นนี้ ยังคงมีอิทธิพลอยู่มากต่อการเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยในปัจจุบัน

ลำดับเวลาการปกครองของกษัตริย์ของอาณาจักรไทย

สมัยอาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัย หรือ รัฐสุโขทัย เป็นอาณาจักร หรือรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่นำ้ยม เป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่ยุคเหล็กตอนปลาย จนกระทั่งสถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาว  และพ่อขุนผาเมือง  ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสมาดโขลงลำพง  ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้สุโขทัยเป็นรัฐอิสระ และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  ก่อนจะค่อย ๆ ตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา ไปในที่สุด

อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ และที่ราบลุมน้ำโขงตอนกลาง มีอาณาเขตดังนี้

  1. ทิศเหนือมีเมืองเวียงโกศัย  (ปัจจุบันคือแพร่) เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด
  2. ทิศใต้มีเมืองพระบาง  (ปัจจุบันคือนครสวรรค์ ) เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้
  3. ทิศตะวันตกมีเมืองฉอด (ปัจจุบันคือแม่สอด) เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อเข้าไปยังอาณาจักรมอญ
  4. ทิศตะวันออกถึงเมืองละโวิ ใกล้แม่น้ำโขงในเขตภาคอีสานตอนเหนือ

การแทรกแซงจากอยุธยา

หลังจากพ่อขุนรามคำแหงสวรรคตแล้ว เมืองต่างๆเริ่มแข็งเมือง ส่งผลให้ในรัชกาลพญาเลอไท และรัชกาลพญาไสลือไท ต้องส่งกองทัพไปปราบหลายครั้งแต่มักไม่เป็นผลสำเร็จ และการปรากฏตัวขึ้นของอาณาจักรอยุธยาทางตอนใต้ซึ่งกระทบกระเทือนเสถียรภาพของสุโขทัยจนในท้ายที่สุดก็ถูกแทรกแทรงจากอยุธยา จนมีฐานะเป็นหัวเมืองของอยุธยาไปในที่สุด โดยมี พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นผู้ปกครองสุโขทัยในฐานะรัฐอิสระพระองค์สุดท้าย โดยขณะนั้น ด้วยการแทรกแซงของอยุธยา รัฐสุโขทัยจึงถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ

  • เมืองสรวงสองแคว (พิษณุโลก) อันเป็นเมืองเอก มีพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นผู้ปกครอง
  • เมืองสุโขทัย เมืองรอง มี พระยาราม เป็นผู้ปกครองเมือง
  • เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) มี พระยาเชลียง เป็นผู้ปกครองเมือง
  • เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) มี พระยาแสนสอยดาว เป็นผู้ปกครองเมือง

หลังสิ้นรัชกาลพระมหาบรมธรรมราชาที่ 4 (บรมบาล) พระยายุทธิษฐิระ ซึ่งเดิมทีอยู่ศรีสัชนาลัย ได้เข้ามาครองเมืองสองแคว (พิษณุโลก) และเมื่อแรกที่สมเด็จพระบร มไตรโลกนาถ เสด็จขึ้นผ่านพิภพ เป็นพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ปรากฏว่าขณะนั้น พระยายุทธิษฐิระ เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่ได้เพียงตำแหน่งพระยาสองแคว เนื่องด้วยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงเคยดำริไว้สมัยทรงพระเยาว์ว่า หากได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ จะชุบเลี้ยงพระยายุทธิษฐิระให้ได้เป็นพระร่วงเจ้าสุโขทัย พ.ศ. 2011 พระยายุทธิษฐิระจึงเอาใจออกห่างจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ไปขึ้นกับ พระยาติโลกราช กษัตริย์ล้านนาในขณะนั้น เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการเฉลิมพระนามกษัตริย์ล้านนา จากพระยา เป็น พระเจ้า เพื่อให้เสมอศักดิ์ด้วยกรุงศรีอยุธยา พระนามพระยาติโลกราช จึงได้รับการเฉลิมเป็นพระเจ้าติโลกราช

หลังจากที่พระยายุทธิษฐิระ นำสุโขทัยออกจากอยุธยาไปขึ้นกับล้านนา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงเสด็จจากกรุงศรีอยุธยา กลับมาพำนัก ณ เมืองสรลวงสองแคว พร้อมทั้งสร้างกำแพงและค่ายคู ประตู หอรบ แล้วจึงสถาปนาขึ้นเป็นเมือง พระพิษณุโลกสองแคว เป็นราชธานีฝ่ายเหนือของอาณาจักรแทนสุโขทัย ในเวลาเจ็ดปีให้หลัง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงตีเอาสุโขทัยคืนได้ แต่เหตุการณ์ทางเมืองเหนือยังไม่เข้าสู่ภาวะที่น่าไว้วางใจ จึงทรงตัดสินพระทัยพำนักยังนครพระพิษณุโลกสองแควต่อจนสิ้นรัชกาล ส่วนทางอยุธยานั้น ทรงได้สถาปนาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3  พระราชโอรส เป็นพระมหาอุปราช ดูแลอยุธยาและหัวเมืองฝ่ายใต้

ด้วยความที่เป็นคนละประเทศมาก่อน และมีสงครามอยู่ด้วยกัน ชาวบ้านระหว่างสุโขทัยและอยุธยา จึงมิได้ปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน จึงต้องแยกปกครอง โดยพระมหากษัตริย์อยุธยา จะทรงสถาปนาพระราชโอรส หรือพระอนุชา หรือพระญาติ อันมีเชื้อสายสุโขทัย ปกครองพิษณุโลกในฐานะราชธานีฝ่ายเหนือ และควบคุมหัวเมืองเหนือทั้งหมด

การสิ้นสุดของของอาณาจักรสุโขทัย

พ.ศ. 2127  หลังจากชนะศึกที่แม่นำสะโตง แล้ว พระนเรศวรโปรดให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวง (เมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิจิตร และเมืองพระบาง) ลงมาไว้ที่อยุธยา เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้ จึงสิ้นสุดการแบ่งแยกระหว่างชาวเมืองเหนือ กับชาวเมืองใต้ และถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐสุโขทัยโดยสมบูรณ์ เพราะหลังจากนี้ 8 ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ

ในด้านวิชาการ มีนักวิชาการหลายท่านได้เสนอเพิ่มว่า เหตุการณ์อีกประการ อันทำให้ต้องเทครัวเมืองเหนือทั้งปวงโดยเฉพาะพิษณุโลกนั้น อยู่ที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ บนรอยเลื่อนวังเจ้า  ในราวพุทธศักราช 2127 แผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลให้ตัวเมืองพิษณุโลกราพณาสูญ แม้แต่แม่นำ้แควน้อย ก็เปลี่ยนเส้นทางไม่ผ่านเมืองพิษณุโลก แต่ไปบรรจบกับแม่น้ำโพ (ปัจจุบันคือแม่นำ่น่าน) ที่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไป และยังส่งผลให้พระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก หักพังทลายในลักษณะที่บูรณะคืนได้ยาก ในการฟื้นฟูจึงกลายเป็นการสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาครอบทับลงไปแทน ทั้งหมด

จากหลักฐานในศิลาจารึก พระเจ้าแผ่นดินไทย ในสมัยราชอาณาจักรสุโขทัย มีอยู่ 9 พระองค์ อยู่ในราชวงศ์เดียวกัน คือราชวงศ์พระร่วง ปกครองอาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่ พ.ศ. 1781ถึง พ.ศ. 1981 รวมระยะเวลา ประมาณ 200 ปี

ราชวงศ์พระร่วง หรือราชวงศ์สุโขทัย เป็นราชวงศ์ที่นักประวัติศาสตร์ใช้เรียกกลุ่มเจ้าผู้ปกครองแคว้นสุโขทัย ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่าเมื่อครั้งสมัยสุโขทัยเรียกชื่อว่าราชวงศ์ใดกันแน่ หากแต่เมื่อรวบรวมหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์แล้ว ก็มักพบว่าผู้คนภายในเขตสุโขทัยหรือบ้านเมืองแว่นแคว้นอื่นมักเรียกพระมหากษัตริย์ของสุโขทัยในนามว่า “พระร่วง” ซึ่งเป็นนามที่รู้จักไปอย่างกว้างขวางของผู้คนกลุ่มไทยในสมัยโบราณ เชื้อสายของวงศ์พระร่วงนี้สืบทอดยาวนานตลอดสมัยสุโขทัย จนตกอยู่ใต้ปกครองของอยุธยาแล้วก็ยังปรากฏอยู่ผ่านความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ระหว่างอาณาจักร สัญลักษณ์หรืออนุสรณ์อันศักดิ์สิทธิ์ของราชวงศ์พระร่วงที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน เชื่อกันว่าคือ รูปพระร่วง-พระลือ ในซุ้มพระร่วง-พระลือที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงราชวรวิหาร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ตามความเชื่อของคนรุ่นเก่าแก่ในจังหวัดสุโขทัย ระบุว่า ที่นี่คือนิวาสถานดั้งเดิม หรือต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

พระมหากษัตริย์ที่ทรงปกครองอาณาจักรสุโขทัยจํานวน 9 พระองค์ดังนี้

ราชวงศ์พระร่วง เป็นเชื้อสายของพระมหากษัตริย์ชนชั้นปกครองไทยที่มีอำนาจอยู่ในระยะสมัยประวัติศาสตร์ที่เรียกกันว่า “สมัยสุโขทัย” ฐานอำนาจของราชวงศ์พระร่วงก็คือ ศรีสัชนาลัยสุโขทัย ที่เป็นทั้งศูนย์การปกครองรัฐบาลและที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ ความชัดเจนในแง่ความเป็นมาของราชวงศ์นี้ไม่สามารถที่จะชี้ชัดระบุให้แน่นอนลงไปได้ เพราะมีหลักฐานหรือสิ่งที่กล่าวอ้างน้อยมาก พระร่วงในความทรงจำของคนตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางลงมาเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่าตำนานแล้ว เพราะเต็มไปด้วยเรื่องราวอภินิหารและความน่ามหัศจรรย์ ผนวกไปกับเรื่องราวของบ้านเมืองสถานที่ต่างๆ ในแถบกลุ่มอาณาจักรสุโขทัยเดิม (ได้แก่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย พิษณุโลก กำแพงเพชร ปากยม และพระบาง)

ราชวงศ์พระร่วง เป็นราชวงศ์ที่สถาปนาขึ้นเมื่อคราวพ่อขุนบางกลางหาวทรงราชาภิเษกเป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ คำว่าพระร่วงเป็นคำกลางๆ ที่ใช้เรียกกษัตริย์หรือผู้นำแห่งรัฐสุโขทัย โดยคำว่าร่วง แปลว่า รุ่ง(โรจน์) ในสำเนียงไทยกลางจึงตรงกับคำว่า รุ่ง ซึ่งไปพ้องกับสำเนียงล้านช้างที่อ่านว่า ฮุ่ง ซึ่งอาจจะสืบเนื่องกับตำนานท้าวฮุ่ง-ท้าวเจือง อันเป็นวีรบุรุษในตำนานสองฝั่งโขง อย่างไรก็ตามแต่ คำว่าพระร่วงเป็นคำที่คิดขึ้นใหม่เมื่อครั้งสถาปนาวงศ์ มิใช้ราชวงศ์เดิมที่ติดตัวพ่อขุนบางกลางหาว มาแต่ต้น ความหมายของคำว่าร่วงนี้ ต่อมาเป็นพระนามพระพุทธรูปองค์หนึ่งว่า พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธปูชนียบพิตร เป็นการย้ำความหมายให้ ร่วงโรจน์ มีความหมายไปในทางเดียวกับ รุ่งโรจน์ อีกด้วย

ด้วยเหตุความเข้าใจคลาดเคลื่อนนี้ โดยมากจึงคิดกันว่า พ่อขุนศรีนาวนำถุม พ่อขุนผาเมือง ตลอดจนพระมหาเถรศรีศรัทธา ทรงเป็นราชวงศ์พระร่วงเช่นกัน แต่อันที่จริง ทั้งสามพระองค์นี้เป็นราชวงศ์ศรีนาวนำถุม (หรือราชวงศ์นำถุม หรือราชวงศ์ผาเมือง) โดยเอกสารทางวิชาการส่วนใหญ่ยืนยันตรงกันว่า ต้นวงศ์ (ผู้สถาปนา) คือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และยังสืบเนื่องต่อมาจนถึงพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ซึ่งเชื่อกันว่าสืบมาจนถึง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่ทรงแยกมาตั้งวงศ์ใหม่ (ราชวงศ์จักรี)