ก ค 0402.2/ว 100 ลง วัน ที่ 28 กันยายน 2561


������ҹ��Ǩ�ͺ�����дѺ��� �ӹѡ�ҹ��Ѵ��з�ǧ��Ҵ��
��� � �Ҥ�ô�ç�Ҫҹ��Ҿ �����ɮҧ�� ��ا෾� �����
�� �-����-���� ����� �-����-����
Hotline : �����-�

ก ค 0402.2/ว 100 ลง วัน ที่ 28 กันยายน 2561

���ͤ����дǡ㹡����Ҫ���§ҹ�����ҹ˹����� ��á�˹���������´�ͧ���Ҿ�� 1024 x 768 pixels

หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการรับเงินเบิกเกินส่งคืน และเงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืนของส่วนราชการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ด่วนที่สุด ที่ กค 0402.2/ว 100 ลงวันที่ 28 กันยายน 2561)

หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0402.2/ว 100 ลงวันที่ 28 กันยายน 2561

สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. ... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานศาลยุติธรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่ สคบ. เสนอ เป็นการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการ (มติคณะรัฐมนตรี 21 พฤศจิกายน 2560) เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อความชำรุดบกพร่องของการขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าบางประเภท ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล และสินค้าอื่นที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคในกรณีที่สินค้าเกิดความชำรุดบกพร่องให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดย สคบ. ได้นำร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ไปดำเนินการตามแนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมกับการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายให้ประชาชนได้รับทราบแล้ว

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

1. กำหนดบทนิยามตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่

1.1 ?ผู้ประกอบธุรกิจ? หมายความว่า

(1) ผู้ผลิตเพื่อขาย หรือผู้ว่าจ้างให้ผลิตเพื่อขาย

(2) ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย

(3) ผู้ขายหรือผู้ให้เช่าซื้อสินค้าที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ผลิตผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้

1.2 ?ผู้บริโภค? หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้เช่าซื้อสินค้าจากผู้ประกอบธุรกิจอันมิใช่เพื่อการแสวงหาประโยชน์โดยตรงในทางการค้าหรือการประกอบธุรกิจ

2. กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกับสัญญาซื้อขายหรือสัญญาเช่าซื้อระหว่างผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภคในสินค้า ดังนี้

2.1 เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในการทำงาน

2.2 รถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

2.3 สินค้าอื่นที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

3. กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้

3.1 การขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าใช้แล้ว

3.2 การขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าตามสภาพ ซึ่งผู้ขายหรือผู้ให้เช่าซื้อระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าตามสภาพ

3.3 การขายทอดตลาด

4. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่

4.1 ประโยชน์ของสินค้าที่มุ่งหมายโดยสัญญา

4.2 ประโยชน์อันจะมุ่งใช้สินค้าเป็นปกติ

4.3 ประโยชน์อันจะมุ่งใช้สินค้าซึ่งผู้บริโภครู้จากข้อมูลของสินค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้แทนของผู้ประกอบธุรกิจได้เผยแพร่ให้สาธารณชนทราบ ซึ่งมีอยู่ในเวลาส่งมอบและปรากฏขึ้นภายในสองปีนับแต่วันส่งมอบสินค้าไม่ว่าผู้ประกอบธุรกิจจะรู้ถึงความชำรุดบกพร่องของสินค้าหรือไม่ก็ตาม โดยในกรณีที่สินค้าชำรุดบกพร่องภายในหนึ่งปี นับแต่วันส่งมอบสินค้า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสินค้านั้นชำรุดบกพร่องในเวลาส่งมอบสินค้า นอกจากนี้ ผู้ประกอบธุรกิจยังต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ติดตั้งหรือประกอบสินค้านั้น หรือในกรณีที่ผู้บริโภคเป็นผู้ติดตั้งหรือประกอบสินค้าตามคู่มือที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้แต่คู่มือนั้นกำหนดวิธีติดตั้งหรือประกอบสินค้าโดยไม่ถูกต้องหรือครบถ้วน

5. กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องในกรณีดังต่อไปนี้

5.1 ผู้บริโภคได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่าสินค้านั้นมีความชำรุดบกพร่อง

                               5.2 ผู้บริโภคได้ดัดแปลงสินค้าโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบธุรกิจอันเป็นเหตุให้                 เกิดความชำรุดบกพร่องดังกล่าว

5.3 ผู้บริโภคไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่จำเป็นและสมควรเพื่อการบำรุงรักษาสินค้าที่ระบุในคู่มือการใช้งาน อันเป็นเหตุให้เกิดความชำรุดบกพร่องดังกล่าว

6. กำหนดสิทธิของผู้บริโภคต่อผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่อง ดังนี้

6.1 เรียกให้ผู้ประกอบธุรกิจซ่อมแซมสินค้า

6.2 เรียกให้ผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนสินค้า

6.3 ขอลดราคาสินค้า

6.4 เลิกสัญญา

โดยการใช้สิทธิดังกล่าวไม่กระทบต่อสิทธิในการเรียกค่าเสียหายอื่นจากผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัตินี้               ยังกำหนดรายละเอียดและขั้นตอนการใช้สิทธิดังกล่าวไว้ด้วย
                     7. กำหนดให้ข้อตกลงที่ได้ตกลงไว้ล่วงหน้าก่อนที่ผู้บริโภคจะพบว่าสินค้านั้นชำรุดบกพร่อง                ซึ่งแตกต่างจากบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัตินี้และเป็นผลเสียหรือภาระแก่ผู้บริโภคให้ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ

8. กำหนดให้สิทธิของผู้บริโภคตามร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นอันขาดอายุความเมื่อพ้นสองปีนับแต่เวลาที่ผู้บริโภคได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องของสินค้าหรือเมื่อผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิเสธที่จะดำเนินการตามที่ผู้บริโภคร้องขอ ทั้งนี้ ในระหว่างที่ผู้ประกอบธุรกิจยอมรับที่จะซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสินค้าให้อายุความสะดุดหยุดลง

9. กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบต่อการที่ผู้บริโภคจะเรียกให้ผู้ประกอบธุรกิจรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายอื่น

10. กำหนดให้สินค้าใดที่ได้ขายหรือให้เช่าซื้อแก่ผู้บริโภคก่อนวันที่ร่างพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ไม่อยู่ภายใต้บังคับของร่างพระราชบัญญัตินี้

2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา รวม 4 ฉบับ

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้

                     1. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติ                   การอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา    ( ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....                          ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..)                 พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ) รวม 4 ฉบับ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ให้สอดคล้องกับผลการประชุมหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16               การปฏิรูปประเทศของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                     2.  ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปรับปรุงแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้สอดคล้องกับผลการพิจารณาทบทวนของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตามข้อ 1.                  แล้วส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาในสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาตามความต้องการของประเทศ และด้านการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ พัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างนวัตกรรมร่วมกับนักวิชาการ สถาบันวิชาการ และองค์กรชั้นนำของโลก ส่งเสริมการเชื่อมโยงการเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างนวัตกรรมกับสถานประกอบการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมทั้งสนับสนุนการใช้ความรู้ในการพัฒนาสมรรถนะของชุมชนและสังคม โดยกำหนดให้มีสำนักงานบริหารกองทุนซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นในสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อทำหน้าที่บริหารกองทุนดังกล่าว

                     โดยที่กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) ยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบของสำนักงานบริหารกองทุน คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกองทุน การกำหนดระยะเวลาจัดทำรายงานการเงิน และการเสนอรายงานการเงินตาม                         ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ควรสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 ซึ่ง อว. ได้เห็นชอบตามข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) ด้วย รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี จึงได้มีคำสั่งให้ อว. รับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อยุติตามประเด็นดังกล่าว ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่ง อว. ได้ดำเนินการตามคำสั่งของรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) แล้ว โดยได้ประชุมหารือร่วมกับผู้แทนของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและกระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 และที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้มีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในประเด็นการกำหนดรูปแบบของสำนักงานบริหารกองทุน ซึ่งไม่มีลักษณะเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (SDU) การกำหนดระยะเวลาจัดทำรายงานการเงินและการเสนอรายงานการเงิน ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน                  50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ...

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทเชิงพาณิชย์และเครื่องทอดน้ำมันท่วมเชิงพาณิชย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วและให้ดำเนินการต่อไปได้

                     ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ อก. เสนอ เป็นการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาลและผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการและมาตรฐานระหว่างประเทศที่ใช้ในปัจจุบันอันจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดแก่ประชาชน ซึ่ง อก. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าด้วยแล้ว โดยได้แก้ไขชื่อ               ร่างกฎกระทรวงฯ เป็น ?ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทเชิงพาณิชย์และเครื่องทอดน้ำมันท่วมเชิงพาณิชย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....? เพื่อให้เกิดความชัดเจนและกระชับยิ่งขึ้น

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

1. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 60335 เล่ม 2 (37) - 2564

2. กำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ผลกระทบ

1. ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมาย

ผู้ทำ ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200

2. ผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่บุคคล

(1) ด้านเศรษฐกิจ เป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ในประเทศซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวจะมีคุณภาพ มีความปลอดภัย และทันสมัย

(2) ด้านสังคม ทำให้ผู้บริโภคได้ใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และทันสมัย

3. สิทธิเสรีภาพของบุคคลที่ต้องถูกจำกัด

ผู้ทำหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุด 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามมาตรฐานที่กำหนดใหม่ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 และผู้จำหน่ายจะต้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวที่ได้รับอนุญาต และเป็นไปตามมาตรฐาน

4. ประโยชน์ที่ประชาชนและสังคมจะได้รับ

เป็นการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ทำและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าว โดยทำให้ประชาชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยและทันสมัย

4. เรื่อง  รายงานการดำเนินการตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวง              การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ผลการดำเนินการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และการคงสถานะ วช. เป็นส่วนราชการ เพื่อขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญตามแนวทางการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต่อไป

สาระสำคัญของเรื่อง

อว. รายงานว่า

                    1. ปัจจุบัน วช. เป็นส่วนราชการภายใน อว. ตามมาตรา 8 (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 โดยเมื่อครบกำหนดสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ครบกำหนดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565) ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป            การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม1 ประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการตามหน้าที่และอำนาจของ วช. และในกรณีที่เห็นว่า ผลการปฏิบัติราชการดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงโครงสร้างและกลไกในการบริหารเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้อย่าง                 มีประสิทธิภาพ ให้มีอำนาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้ง วช. เป็นองค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชนโดยเสนอพร้อมร่างพระราชกฤษฎีกาด้วย (ตามมาตรา 37)
                    2. คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ได้มีมติเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 เห็นชอบผลการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการตามหน้าที่และอำนาจของ วช. และข้อเสนอของคณะกรรมการกำกับ              การประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช.2  พร้อมทั้งมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ (สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) จัดทำแผนและระยะเวลาการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กรของ วช. ทั้งนี้ ได้เสนอผลการประเมินและข้อเสนอดังกล่าวข้างต้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565                      สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

2.1 ผลการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช.

                    15.           เรื่อง            ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 - 2566
                    16.          เรื่อง           ขออนุมัติใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็น                                                  ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และการเลือกสมาชิกสภา                                                  เกษตรกรแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566



ต่างประเทศ
                    17.            เรื่อง            กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อม                                                  และการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on                                                   Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี
                    18.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบให้ไทยร่วมรับรองข้อมติเรื่อง ?Investing in the Core                                                   Structure of IOM? ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานและการ                                        ยืนยันข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ่ายค่าบำรุงสมาชิกองค์การระหว่าง                                                  ประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน
                    19.           เรื่อง           เอกสารผนวกท้ายตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายการติดตาม                                                  ตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (EANET) (Text for                                         the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for                                                   Strengthening the EANET)
                    20.            เรื่อง           ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง                                         ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับกลุ่ม                                        หุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27
                    21.            เรื่อง            ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย
0

? วัฒนธรรมการทำงานในภาพรวมเป็นการสั่งการจากผู้บริหารค่อนข้างมากและขาดกระบวนการที่ชัดเจนในการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชาอย่างเป็นระบบ ? ผู้บริหารมีความเข้าใจนโยบายและตอบสนองต่อพลวัตของระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้เป็นอย่างดีแต่ในระดับบุคลากรยังมีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจนโยบายและทิศทางการเปลี่ยนแปลงในภาพใหญ่ของระบบ รวมถึงช่องทางและโอกาสที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับบุคลากรของหน่วยงานระดับนโยบายและหน่วยบริหารและจัดการทุนเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาความเข้าใจในงานร่วมกัน 4. การประสานและร่วมมือกับ หน่วยงานระดับต่าง ๆ (Coordination & Collaboration)

? ผู้บริหารมีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานนโยบายและหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

                    15.           เรื่อง            ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 - 2566
                    16.          เรื่อง           ขออนุมัติใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็น                                                  ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และการเลือกสมาชิกสภา                                                  เกษตรกรแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566



ต่างประเทศ
                    17.            เรื่อง            กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อม                                                  และการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on                                                   Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี
                    18.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบให้ไทยร่วมรับรองข้อมติเรื่อง ?Investing in the Core                                                   Structure of IOM? ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานและการ                                        ยืนยันข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ่ายค่าบำรุงสมาชิกองค์การระหว่าง                                                  ประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน
                    19.           เรื่อง           เอกสารผนวกท้ายตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายการติดตาม                                                  ตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (EANET) (Text for                                         the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for                                                   Strengthening the EANET)
                    20.            เรื่อง           ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง                                         ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับกลุ่ม                                        หุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27
                    21.            เรื่อง            ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย
1

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้

1. ความคืบหน้าการดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG

2. การขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG จากระยะเวลา 3 เดือน (1 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2565) เป็นระยะเวลา 9 เดือน (1 กรกฎาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566)

สาระสำคัญของเรื่อง

อว. รายงานว่า

1. โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG เป็นการต่อยอดการดำเนินการจาก ?โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ? (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)1 โดยจะใช้ข้อมูลจาก Thailand Community Big Data (TCD)2 ที่ได้ดำเนินการมาใช้ในการบ่งบอกถึงศักยภาพและความพร้อมของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนารายพื้นที่ ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG รวมถึงการเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

                    15.           เรื่อง            ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 - 2566
                    16.          เรื่อง           ขออนุมัติใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็น                                                  ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และการเลือกสมาชิกสภา                                                  เกษตรกรแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566



ต่างประเทศ
                    17.            เรื่อง            กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อม                                                  และการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on                                                   Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี
                    18.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบให้ไทยร่วมรับรองข้อมติเรื่อง ?Investing in the Core                                                   Structure of IOM? ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานและการ                                        ยืนยันข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ่ายค่าบำรุงสมาชิกองค์การระหว่าง                                                  ประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน
                    19.           เรื่อง           เอกสารผนวกท้ายตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายการติดตาม                                                  ตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (EANET) (Text for                                         the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for                                                   Strengthening the EANET)
                    20.            เรื่อง           ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง                                         ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับกลุ่ม                                        หุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27
                    21.            เรื่อง            ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย
2

1.2 กลุ่มเป้าหมาย : ได้แก่ บัณฑิตใหม่ ไม่เกิน 5 ปี ผู้ที่ถูกเลิกจ้าง/ประชาชนในพื้นที่ ครอบคลุม 7,435 ตำบล ทั่วประเทศ (ตำบลพื้นที่ที่เคยดำเนินการ ?โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ? จำนวน 3,000 ตำบล และตำบลพื้นที่ใหม่ จำนวน 4,435 ตำบล)

                    15.           เรื่อง            ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 - 2566
                    16.          เรื่อง           ขออนุมัติใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็น                                                  ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และการเลือกสมาชิกสภา                                                  เกษตรกรแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566



ต่างประเทศ
                    17.            เรื่อง            กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อม                                                  และการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on                                                   Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี
                    18.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบให้ไทยร่วมรับรองข้อมติเรื่อง ?Investing in the Core                                                   Structure of IOM? ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานและการ                                        ยืนยันข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ่ายค่าบำรุงสมาชิกองค์การระหว่าง                                                  ประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน
                    19.           เรื่อง           เอกสารผนวกท้ายตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายการติดตาม                                                  ตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (EANET) (Text for                                         the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for                                                   Strengthening the EANET)
                    20.            เรื่อง           ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง                                         ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับกลุ่ม                                        หุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27
                    21.            เรื่อง            ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย
3

1.4 กิจกรรมหลัก

                    15.           เรื่อง            ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 - 2566
                    16.          เรื่อง           ขออนุมัติใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็น                                                  ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และการเลือกสมาชิกสภา                                                  เกษตรกรแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566



ต่างประเทศ
                    17.            เรื่อง            กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อม                                                  และการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on                                                   Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี
                    18.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบให้ไทยร่วมรับรองข้อมติเรื่อง ?Investing in the Core                                                   Structure of IOM? ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานและการ                                        ยืนยันข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ่ายค่าบำรุงสมาชิกองค์การระหว่าง                                                  ประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน
                    19.           เรื่อง           เอกสารผนวกท้ายตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายการติดตาม                                                  ตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (EANET) (Text for                                         the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for                                                   Strengthening the EANET)
                    20.            เรื่อง           ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง                                         ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับกลุ่ม                                        หุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27
                    21.            เรื่อง            ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย
4

1.5 การบริหารงบประมาณ :

                    15.           เรื่อง            ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 - 2566
                    16.          เรื่อง           ขออนุมัติใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็น                                                  ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และการเลือกสมาชิกสภา                                                  เกษตรกรแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566



ต่างประเทศ
                    17.            เรื่อง            กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อม                                                  และการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on                                                   Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี
                    18.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบให้ไทยร่วมรับรองข้อมติเรื่อง ?Investing in the Core                                                   Structure of IOM? ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานและการ                                        ยืนยันข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ่ายค่าบำรุงสมาชิกองค์การระหว่าง                                                  ประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน
                    19.           เรื่อง           เอกสารผนวกท้ายตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายการติดตาม                                                  ตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (EANET) (Text for                                         the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for                                                   Strengthening the EANET)
                    20.            เรื่อง           ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง                                         ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับกลุ่ม                                        หุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27
                    21.            เรื่อง            ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย
5

(3) ค่าบริหารจัดการและกิจกรรมส่วนกลาง รวมทั้งสิ้น 139.66 ล้านบาท เช่น (1) การดำเนินการจัดทำ TCD และการจัดทำการวิเคราะห์ข้อมูล [ต่อยอดจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ครอบคลุมพื้นที่ 7,435 ตำบลทั่วประเทศ] จำนวน 10 ล้านบาท (2) การสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาในฐานหน่วยดำเนินงานระดับจังหวัด จำนวน 10 ล้านบาท และ (3) การพัฒนา Platform เพื่อผลักดันผลที่ได้รับจากการดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG สู่การพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการผลักดันสินค้าและบริการออกสู่ตลาดผ่านช่องทางการจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับตำบล (U2T Market Place Platform) จำนวน 70 ล้านบาท

2. ผลการดำเนินการ

2.1 ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 64,428 คน คิดเป็นร้อยละ 94.26 จากเป้าหมาย 68,350 คน โดยแบ่งเป็นบัณฑิตจบใหม่ จำนวน 32,420 คน และประชาชน จำนวน 32,008 คน