ภาษาที่ใช้ในระบบจัดการฐานข้อมูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาสอบถาม (อังกฤษ: query language, data query language หรือ database query language; DQL) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับสอบถามหรือจัดการกับข้อมูลใน DBMS โดยภาษาประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง (Structured Query Language: SQL) คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็มในทศวรรษที่ 1970 มีรูปแบบคำสั่งที่คล้ายกับ ประโยคในภาษาอังกฤษมาก ซึ่งปัจจุบันองค์กร แอนซี ได้ประกาศให้ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง เป็นภาษามาตรฐานสำหรับระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database management System หรือ RDBMS) เป็นระบบ DBMS แบบที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน ระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ทุกระบบจะใช้คำสั่งพื้นฐานของภาษา SQL ได้เหมือน ๆ กัน แต่อาจมีคำสั่งพิเศษที่แตกต่างกันบ้าง เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตแต่ละรายก็พยายามที่จะพัฒนา RDBMS ของตนเองให้มีลักษณะที่เด่นกว่าระบบอื่นโดยเพิ่มคุณสมบัติที่เกินข้อกำหนดของ แอนซี ซึ่งคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้เข้าไป

ตัวอย่างคำสั่ง และผลลัพธ์
  • DELETE ใช้สำหรับลบข้อมูลหรือลบเรคอร์ดใดในฐานข้อมูล
  • INSERT ใช้สำหรับเพิ่มข้อมูลหรือเพิ่มเรคอร์ดใดเข้าไปในฐานข้อมูล
  • SELECT ใช้สำหรับเลือกข้อมูลหรือเลือกเรคอร์ดที่ต้องการจากฐานข้อมูล
  • UPDATE ใช้สำหรับแก้ไขหรือแก้ไขเรคอร์ดใดในฐานข้อมูล

ตัวอย่างภาษาสอบถาม[แก้]

  • MDX
  • OQL
  • QUEL
  • SQL

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) หรือที่เรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (DBMS) เป็นกลุ่มโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในระบบติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล เพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้อง ความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่าง ๆ ภายในฐานข้อมูล ซึ่งต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่หน้าที่เหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ ในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการใช้คำสั่งในกลุ่มดีเอ็มแอล (DML) หรือ ดีดีแอล (DDL) หรือจะด้วยโปรแกรมต่าง ๆ ทุกคำสั่งที่ใช้กระทำกับข้อมูลจะถูกดีบีเอ็มเอสนำมาแปล (คอมไพล์) เป็นการปฏิบัติการ (Operation) ต่าง ๆ ภายใต้คำสั่งนั้น ๆ เพื่อนำไปกระทำกับตัวข้อมูลภายในฐานข้อมูลต่อไป สำหรับส่วนการทำงานตางๆ ภายในดีบีเอ็มเอสที่ทำหน้าที่แปลคำสั่งไปเป็นการปฏิบัติการต่าง ๆ กับข้อมูลนั้น ประกอบด้วยส่วนการปฏิบัติการดังนี้

  • ตัวจัดการฐานข้อมูล (Database Manager) : เป็นส่วนที่ทำหน้าที่กำหนดการกระทำต่าง ๆ ให้กับส่วน File Manager เพื่อไปกระทำกับข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูล (ตัวจัดการไฟล์ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่บริหารจัดการกับข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลในระดับกายภาพ)
  • ตัวประมวลผลสอบถาม (Query Processor) : เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปลงกำหนดคำสั่งของ ภาษาสอบถาม (Query Language) ให้อยู่ในรูปแบบของคำสั่งที่ตัวจัดการฐานข้อมูลเข้าใจ
  • ตัวแปลภาษาจัดดำเนินการข้อมูลล่วงหน้า (Data Manipulation Language Precompiler) : เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปลประโยคคำสั่งของกลุ่มคำสั่งในดีเอ็มแอล ให้อยู่ในรูปแบบที่ส่วนรหัสเชิงวัตถุของโปรแกรมแอปพลิเคชัน ใช้นำเข้าเพื่อส่งต่อไปยังส่วนตัวจัดการฐานข้อมูลในการแปลประโยคคำสั่งของกลุ่มคำสั่งของดีเอ็มแอลของส่วน ตัวแปลภาษาจัดดำเนินการข้อมูลล่วงหน้านี้จะต้องทำงานร่วมกับส่วนตัวประมวลผลข้อคำถาม
  • ตัวแปลภาษานิยามข้อมูลล่วงหน้า (Data Definition Language Precompiler) : เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปลประโยคคำสั่งของกลุมคำสั่งในภาษานิยามข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบของเมทาเดตา (MataData) ที่เก็บอยู่ในส่วนพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ของฐานข้อมูล (เมทาเดตาคือ รายละเอียดที่บอกถึงโครงสร้างต่าง ๆ ของข้อมูล)
  • รหัสจุดหมายของโปรแกรมแอปพลิเคชัน (Application Programs Object Code) : เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปลงคำสั่งต่าง ๆ ของโปรแกรม รวมทั้งคำสั่งในกลุ่มคำสั่งภาษาจัดดำเนินการข้อมูล หรือดีเอ็มแอลที่ส่งต่อมาจากส่วนตัวแปลภาษาจัดดำเนินการข้อมูลล่วงหน้าให้อยู่ในรูปแบบของรหัสจุดหมาย (Object Code) ที่จะส่งต่อไปให้ตัวจัดการฐานข้อมูลเพื่อกระทำกับข้อมูลในฐานข้อมูล

หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล[แก้]

  • แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบที่ฐานข้อมูลเข้าใจ
  • นำคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้ว ไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้ (Retrieve) จัดเก็บ (Update) ลบ (Delete) เพิ่มข้อมูล (Add) เป็นต้น
  • ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้ และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำงานได้
  • รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอ
  • เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลไว้ในพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้มักจะถูกเรียกว่า เมทาเดตา (MetaData) ซึ่งหมายถึง "ข้อมูลของข้อมูล"
  • ควบคุมให้ฐานข้อมูลทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
  • ควบคุมสถานะภาพของคอมพิวเตอร์ในการแปลสถาพฐานข้อมูล ส.ท

รายชื่อระบบจัดการฐานข้อมูล[แก้]

ระบบจัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

  • ออราเคิล (Oracle)
  • ไอบีเอ็ม ดีบีทู (IBM DB2)
  • ไมโครซอฟท์ ซีควลเซิร์ฟเวอร์ (Microsoft SQL Server)
  • ไซเบส (Sybase)
  • แคเช่ (Cache')
  • PostgreSQL
  • Progress
  • มายเอสคิวแอล (MySQL)
  • Interbase
  • Firebird
  • Pervasive SQL
  • แซพ ดีบี (SAP DB)
  • ไมโครซอฟท์ แอคเซส (Microsoft Office Access)

อ้างอิง[แก้]

  • ระบบจัดการฐานข้อมูล Archived 2009-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • คุณสมบัติของระบบจัดการฐานข้อมูล Archived 2009-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ภาษาที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูลคืออะไร

ภาษา SQL เป็นภาษามาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับและมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ ในการจัดการข้อมูลของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ และเป็นภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง(Structured Query Language) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่าเอสคิวแอล (SQL) ซึ่งรูปแบบของ SQL ที่ใช้ในระบบจัดการฐานข้อมูลแต่ละชนิด จะแตกต่างกันไป ทั้งนี้เพื่อเป็นการ ...

ภาษาที่ใช้ DBMS ใช้ภาษาอะไร

ภาษา SQL เป็นส่วนประกอบหนึ่งของ DBMS มักพบใน DBMS เชิงสัมพันธ์หลายตัวและเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ภาษา SQL ง่ายต่อการเรียนรู้ การใช้งานในภาษา SQLแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ภาษา SQL ที่โต้ตอบได้ (interactive SQL)และภาษา SQL ที่ฝังในโปรแกรม (embedded SQL)

ภาษาใดที่มีความสามารถในการติดต่อกับฐานข้อมูล

ภาษา SQL (Structured Query Language) เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมส าหรับ ใช้ในการจัดการ หรือ ใช้ในการติดต่อกับฐานข้อมูล เป็นภาษามาตรฐานบนระบบ ฐานข้อมูลที่ใช้ในการสั่งให้ฐานข้อมูลกระท าการใด ๆ ตามค าสั่ง เช่นการสร้าง การ แก้ไข การบ ารุงรักษา การจัดการ การควบคุม และการเข้าถึงฐานข้อมูล ภาษา SQL เป็นภาษาที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับ ...

โปรแกรมใดที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล

โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เป็น โปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่ช่วยจัดการข้อมูลหรือรายการต่าง ๆ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ การเรียกใช้ การปรับปรุงข้อมูลโปรแกรมจัดการ ฐานข้อมูลที่นิยมใช้มีอยู่ด้วยกันหลายตัว เช่น Microsoft Access, FoxPro, Clipper, dBase, FoxBASE, Oracle, Microsoft SQL Server, MySQL.