ลา ออก ไป ทํา อะไร ดี

การเริ่มต้นธุรกิจ, ขายของตลาดนัด, ขายของออนไลน์, ตกงาน, ทำธุรกิจ, ทำธุรกิจอะไรดี, ธุรกิจการเกษตร, ธุรกิจแฟรนไชส์, ยูทูเบอร์, สร้างธุรกิจ, ออกจากงาน, เชื่อว่าหลายๆ, เปิดร้านอาหาร, เพิ่งออกจากงาน

เชื่อว่าหลายๆ คนอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ไม่อยากเป็นลูกจ้าง ไม่อยากเป็นลูกน้อง แต่อยู่ที่การวางแผนว่าจะเกษียณอายุ หรือลาออกจากงานประจำเมื่อไหร่ หรือช่วงเวลาไหน ทำธุรกิจอะไรดี

ซึ่งอาจจะอยู่ที่พร้อมของแต่ละคน บางคนอาจทำงานประจำไปด้วยพร้อมกับทำอาชีพเสริม เมื่ออาชีพเสริมลงตัวเมื่อไหร่ค่อยลาออกจากงานไปทำเป็นอาชีพหลักก็มีให้เห็นบ่อยครั้ง หรือบางคนเก็บเงินมากพอสมควร ที่จะเริ่มต้นธุรกิจใหม่ด้วยตัวเอง ถึงจะลาออกงานประจำ แล้วถ้าถามว่าจะมีธุรกิจไหนบ้างที่เหมาะสำหรับคนที่เพิ่งลาออกจากงานประจำ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบเป็นแนวทางครับ

1.ธุรกิจแฟรนไชส์

ลา ออก ไป ทํา อะไร ดี

ถือเป็นวิธีการเริ่มต้นธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมาก หลังจากลาออกจากงานประจำ เพราะนอกจากจะมีเงินเก็บแล้ว คนที่สนใจลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ยังไม่ต้องเสียเวลาในการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ด้วยตัวเอง

เพราะกว่าจะสร้างแบรนด์ให้คนรู้จัก เสียทั้งเงินทุนและเวลาด้วย ดังนั้น วิธีการเริ่มต้นธุรกิจด้วยการซื้อแฟรนไชส์ดังๆ จึงเป็นทางลัดในการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี

เลือกลงทุนแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ bit.ly/2Jatqq2

2.ขายของออนไลน์

 

หลายคนที่ออกจากงานประจำ ส่วนหนึ่งออกมาทำธุรกิจขายของออนไลน์ เพราะอาจจะทำเป็นอาชีพเสริมตั้งแต่ยังทำงานอยู่ก็ได้ แต่พอธุรกิจขายของออนไลน์เริ่มไปได้ดี จึงอยากออกจากงานประจำ เพื่อมาขายของออนไลน์เต็มตัว

ใครที่ออกจากงานประจำมาขายของออนไลน์ ก็ต้องมีทักษะในการขาย การโพสต์ การพูด รวมถึงต้องมีใจรักและทุ่มเทอย่างจริงจัง รู้ว่าสินค้าหรือบริการไหนบ้าง เป็นที่ต้องการของตลาด หรือกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ที่สำคัญต้องไม่เอาเปรียบลูกค้า

คอร์สเรียนขายของออนไลน์ คลิก bit.ly/2WWD9Hk

3.เปิดร้านอาหาร

ลา ออก ไป ทํา อะไร ดี

เป็นอีกหนึ่งธุรกิจยอดฮิตของพ่อค้าแม่ค้าในยุคนี้ ไม่ว่าจะเปิดร้านขายอาหาร เครื่องดื่ม รวมถึงร้านเบเกอรี่ต่างๆ เพราะถ้าหากทำแล้วติดปากลูกค้าแล้ว เชื่อว่าเปิดร้านขายได้ทั้งชาติ

ส่งต่อให้ลูกหลานได้ด้วย รวมถึงอยากให้ธุรกิจร้านอาหารเติบโตเร็ว ก็สร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ก็ได้ อาจจะขายวัตถุดิบ อุปกรณ์ หรือจะขายสูตร หรือขายระบบก็ได้

คอร์สเรียนสร้างธุรกิจเป็นแฟรนไชส์ คลิก bit.ly/2I5cowo

4.ขายของตลาดนัด

ลา ออก ไป ทํา อะไร ดี

เป็นอีกหนึ่งอาชีพอิสระที่น่าสนใจในยุคปัจจุบัน เพราะการขายของตามตลาดนัด ไม่ว่าจะเป็นขายอาหาร ขนม เครื่องดื่ม รวมถึงเสื้อผ้าเครื่องแต่กายต่างๆ สามารถทำเงินได้เป็นอย่างดี

ถ้าหากเลือกสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ได้ ที่สำคัญต้องรู้จักเลือกทำเลในการขาย คือ เลือกตลาดที่เหมาะสม หรือมีศักยภาพในการขายของ

ทำขายของทั่วไทย คลิก bit.ly/2YZvM3a

5.ธุรกิจการเกษตร

ลา ออก ไป ทํา อะไร ดี

ภาพจาก kasettumkin.com

หลายๆ คนลาออกจากงานประจำ เพื่อมาทำธุรกิจการเกษตร เช่น ปลูกพืชผักอินทรีย์ส่งขายตามห้างสรรพสินค้า หรือปลูกผลไม้นอกฤดูกาล หรือทำการเกษตรครบวงจร

ไม่ว่าจะเลี้ยงสัตว์ ปลูกพื้นผักต่างๆ ตามดูกาล หมุนเวียนกันไป รวมถึงการเพาะพันธุ์พืช เพราะพันธุ์กล้าไม้ขาย ถือเป็นอีกธุรกิจที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจอย่างมาก สร้างรายได้มากกว่างานประจำอีก

บทความสร้างอาชีพ (เกษตร) คลิก bit.ly/2mMzYW8

6.ยูทูปเบอร์

ลา ออก ไป ทํา อะไร ดี

อีกหนึ่งธุรกิจที่จะขอนำเสนอ ก็คือ การเป็นยูทูปเบอร์ หรืออัดคลิปลงช่องยูทูป เป็นธุรกิจที่สามารถสร้างเงินล้านบาทได้ หากมีคนติดตามและชมเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันการเป็นยูทูเบอร์ทำกันได้ง่าย แต่ก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จกันทุกคน

แต่การจะเป็นยูทูปเบอร์ที่มีคนติดตามจำนวนมาก ต้องเป็นตัวของเองให้มากที่สุด ต้องอดทน ลงคลิปอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญ Content ต้องสามารถตอบโจทย์ความต้องการคนดูได้เป็นอย่างดี และคลิปต้องไม่ขัดต่อกฎเกณฑ์ของยูทูปด้วย

ยูทูปเบอร์ PEACH EAT LAEK กินแล้วดัง ดังแล้วยิ่งกิน!! คลิก bit.ly/2mLA9RA

ทั้งหมดเป็น 6 ธุรกิจสำหรับคนที่เพิ่งลากออกจากงาน หรือตกงาน ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคนที่สนใจได้เป็นอย่างดี เป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุคปัจจุบัน แต่ใครที่จะทำธุรกิจอะไร ต้องรู้ว่าธุรกิจนั้นเหมาะสมกับตัวเองหรือไม่ ที่สำคัญต้องตั้งใจทำอย่างเต็มความสามารถ แล้วคุณก็จะประสบความสำเร็จกับธุรกิจนั้นๆ

กระแสการลาออกครั้งใหญ่ หรือ The Great Resignation ในระดับโลก เกิดขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว ลากยาวมาจนถึงปีนี้ ส่งผลให้คนทำงานหลายคนอยากลาออกจากงาน บางคนขอแค่ได้หยุดพักสักหน่อยจากปีที่เหนื่อยล้า หรือบางคนบอกว่าขอเปลี่ยนสายอาชีพไปเลยก็ไม่น้อย

บทความนี้จะโฟกัสไปที่ ‘การลาออก’ โดยเฉพาะ สำหรับใครที่กำลังคิดเรื่องการโยกย้ายบริษัท ลาออกจากงาน TODAY Bizview สรุป 5 สัญญาณมาให้แล้วว่า ถ้ามีครบตามนี้ ก็ควรลาออกจากงานกันเถอะ!

1) ไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ จากงานนี้เลย

เป็นเรื่องปกติที่บริษัทที่เราทำงานอยู่ จะเกิดสภาวะสลับไปสลับมาระหว่าง ‘ช่วงที่เติบโตอย่างหวือหวา’ กับ ‘ช่วงที่ธุรกิจมั่นคงราบรื่นแต่ขาดความท้าทาย’ 

และหลายคน ‘อาจ’ รู้สึกว่า ที่นี่ไม่มีอะไรใหม่ๆ ให้เรียนรู้ 

สิ่งสำคัญคือ หากรู้สึกว่าถ้าทำงานที่นี่ต่อไป แล้วไม่มีเส้นทางให้เติบโต ก็อาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องโยกย้ายงาน 

เพราะต้องไม่ลืมว่า การทำงานที่ไร้ความท้าทาย 3 ปี ก็ไม่ต่างอะไรกับการทำงาน 1 ปี ซ้ำกันสามครั้ง

ดังนั้น ก่อนจะออกจากงานจริงๆ อาจจะลองคุยกับหัวหน้าเรื่องโอกาสเติบโตดูก่อน ว่า ในบริษัทมีโอกาสใหม่ๆ อะไรให้เราทำอีกหรือไม่ จากนั้นค่อยลองมาชั่งน้ำหนักดูว่า ถ้าเทียบกับการลาออกไปหาความท้าทายใหม่ อันไหนมันจะดีกว่ากัน

2) ต้องเสียเวลานั่งรับมือกับปัญหาในองค์กร มากกว่าฝึกฝนทักษะใหม่ๆ

หลายๆ บริษัทอาจมีอะไรให้เรียนรู้เยอะแยะมากมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกเรื่องในองค์กรที่จะควรค่าแก่การเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาภายในองค์กร

หลายครั้งที่สิ่งแวดล้อมภายในบริษัท ไม่ได้ตรงกับนิสัยหรือวิถีการทำงานของเรา จนแทนที่จะได้ทุ่มเวลาไปกับการพัฒนาเรื่องงานจริงๆ กลับต้องไปพัฒนาในสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น ทำรายงานมากเกินเหตุ ต้องเสียเวลามานั่งรับมือกับการเมืองในองค์กร หรือต้องทนทุกข์อยู่กับเพื่อนร่วมงานที่ Toxic หรือเป็นมีนิสัยเป็นพิษมากๆ

คิดๆ ดูแล้ว ถ้างานที่เรากำลังทำเข้าข่ายที่ว่ามา ก็อาจจะถึงเวลาที่ต้องลองคุยหรือปรึกษากับคนอื่นๆ ดูว่า ในมุมของคนนอก สิ่งที่เรามองว่าเป็นปัญหาภายใน มันคือปัญหาภายในจริงๆ หรือมันแค่เป็นที่เรานั้นตื่นตระหนกจนเกินไป (ยิ่งถ้าเป็นคนนอกบริษัทและทำงานในธุรกิจเดียวกันกับเราก็ยิ่งดี เพราะจะเทียบได้ใกล้เคียงมากขึ้น)

และถ้าสุดท้าย จบลงที่ว่า นี่คือปัญหาขององค์กรจริงๆ การตัดสินใจลองหางานใหม่ก็อาจเป็นหนทางที่ดี เพราะจะทำให้เราไม่ต้องมานั่งเสียเวลากับปัญหาภายในองค์กรแบบเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

3) เริ่มรู้สึกว่า ไม่อยากแนะนำให้ใครเข้ามาทำงานที่นี่

“หนีไป” น่าจะเป็นคำอธิบายที่ดีที่สุด 

ลองจินตนาการว่า ถ้าเพื่อนอยากมาสมัครงานที่บริษัทเรา แต่คำปรึกษาที่เราให้เพื่อนได้ มีเพียงแค่ถ้อยคำเดียวคือ “หนีไป” ชัดเจนว่านี่ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่า เราเองก็ควรหนีไปเหมือนกัน

แต่ที่ต้องระวังไว้ก็คือ คนที่ทำงานกับบริษัทเดิมมานานๆ บางครั้งก็จะมีอาการอิ่มตัวกับที่เดิม อะไรที่เคยแฮปปี้ในบริษัท มาวันนี้ก็ไม่แฮปปี้อีกแล้ว เข้าสำนวนของฝรั่งที่ว่า ‘สนามหญ้าบ้านของคนอื่น เขียวกว่าบ้านตัวเองเสมอ’ (The Grass is always Greener on the Other Side)

บางครั้ง คำแนะนำที่ว่า “หนีไป” อาจไม่ได้เกิดจากบริษัทไม่ดี แต่เกิดจากความอิ่มตัว เพราะฉะนั้น ทางแก้คือลองไปคุยกับหัวหน้าเกี่ยวกับความท้าทายใหม่ๆ หรือลองหาโอกาสพักเบรกสักหน่อย แล้วค่อยๆ คิดดูอีกครั้งก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี

4) ยิ่งอยู่ ยิ่งขาดความมั่นใจ

นอกจากช่วยทำให้พนักงานได้เรียนรู้ บริษัทที่ดียังต้องทำให้พนักงานมีความมั่นใจในตัวเอง เห็นคุณค่าในสิ่งที่พนักงานทำ กล้าให้งานใหญ่ที่เหมาะสมกับศักยภาพ

ถ้าเมื่อไหร่ เราเริ่มรู้สึกว่ารู้สึกถูกมองข้าม ไม่มีใครเห็นคุณค่า ได้รับผิดชอบงานไม่สมฐานะ จนเริ่มสงสัยในตัวเอง ความมั่นใจหดหาย 

นี่อาจเป็นสัญญานว่าควรต้องย้ายงาน เพราะนี่คือเรื่องใหญ่ที่พอๆ กับ การทำงานโดยไม่เกิดการเรียนรู้

แต่ก่อนจะตัดสินใจลาออก แนะนำว่าให้ลองประเมินอย่างรอบด้านและไม่อคติดูว่า สิ่งที่บ่อนเซาะความมั่นใจของเราลงไป อย่างเช่น การโดนตำหนิอย่างรุนแรงจากหัวหน้างาน ถึงที่สุดแล้ว สาเหตุของมันเกิดจากอคติที่พุ่งโจมตีตัวเรา หรือเอาเข้าจริงมันเกิดจากเนื้องานที่เราทำจริงๆ 

เพราะคำวิจารณ์ในเนื้องานที่เป็นประโยชน์ แต่อาจจะรุนแรงไปบ้าง อาจทำให้เรามองข้ามไปได้ในบางโอกาส เพราะสนใจที่เนื้องานจริงๆ แต่จะติดก็ตรงที่ว่า หากการวิจารณ์นั้นๆ ไม่ได้มีประโยชน์กับเนื้องาน แถมยังทำให้เราขาดความมั่นใจในการใช้ชีวิต นั่นก็จะนับเป็นการกระทำที่กลวงเปล่า และรังแต่จะทำลายตัวตนของเรา การเดินออกมาจากสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษแบบนั้น น่าจะเป็นทางออกที่สมเหตตุสมผลที่สุด

5) งานเริ่มทำร้ายร่างกาย สุขภาพย่ำแย่

บอกเลยว่า “งานหนักไม่เคยทำร้ายใคร” ไม่ใช่เรื่องจริง อย่างในปี 2016 องค์การอนามัยโลกประเมินเอาไว้ว่ามีคนเสียชีวิตจากการทำงานหนักกว่า 7.45 แสนคน

ยังไม่รวมคนที่ต้องเจ็บป่วยจากความเครียด เช่น ภาวะซึมเศร้า หรือทำงานหนักจนรักษาสมดุลด้านอื่น เช่น ครอบครัว เอาไว้ไม่ได้

ถ้างานหนักส่งผลถึงสุขภาพแล้ว นี่คือสัญญานสีแดงที่บ่งบอกว่าบางทีถึงเวลาที่ต้องย้ายงานแล้วก็ได้ 

ก่อนคิดจะลาออก อาจลองประเมินดูก่อนก็ได้ว่า “ถ้าจะพยายามสร้างสมดุลให้กับชีวิตด้านอื่น ด้วยการทำงานหนักน้อยลง สร้างเส้นแบ่งชัดเจนขึ้น ภายใต้วัฒนธรรมองค์กรที่เราทำงานอยู่ จะเป็นไปได้หรือไม่?” 

เพราะ Work-Life Balance หลายครั้งก็ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว องค์กรก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ถ้าสุขภาพคุณย่ำแย่เพราะงาน แต่องค์กรก็ยังชมชอบทำงานหนัก สมดุลชีวิตก็ไม่เกิด

สรุป

เราทำงานกัน 8 ชั่วโมงต่อวัน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือง่ายๆ ก็คือ ใช้เวลากว่า 1 ใน 3 ไปกับงาน

เพราะฉะนั้น ถ้าเช็ก 5 สัญญาณเหล่านี้ แล้วรู้สึกว่ากำลังเจอกับสภาวะเหล่านี้อยู่ นั่นก็อาจหมายความว่า เราใช้เวลาชีวิตกว่า 1 ใน 3 ไปกับการไม่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือเรียนรู้แต่สิ่งที่ไม่จำเป็น แถมยังทำลายความมั่นใจ และไม่ได้สร้างความก้าวหน้าในชีวิตการทำงาน จนบางรายก็ส่งผลร้ายไปถึงเรื่องสุขภาพ

ถ้าสัญญาณเหล่านี้เป็นจริงขึ้นเรื่อยๆ เราก็อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดหน้าคุยถึงโอกาสใหม่ๆ ความรับผิดชอบใหม่ๆ

จะลาออกจากงาน แต่ไม่รู้จะไปทำอะไรดี

1. หยุดฟังคำพูดของคนอื่น 2. มีขอบเขตในตัวเอง 3. ทบทวนว่าทำไมคุณถึงรู้สึกเบื่องานที่ทำ 4. วาดภาพงานในอุดมคติ 5. อย่าลังเลกับสิ่งที่รู้อยู่แล้ว 6. วางแผนให้ดี 7. ให้กำลังใจตัวเอง Sineenow. เรื่องน่ารู้ ไลฟ์สไตล์ ทำงานให้มีความสุข ลาออกจากงาน

ลาออกจากงานช่วงเดือนไหนดีสุด

ช่วงเวลาที่ยังถือว่าดี – เดือนกันยายน และเดือนตุลาคม หากเทียบช่วงเวลานี้ ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการเปลี่ยนงานใหม่ไม่แพ้เดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์เลยทีเดียว เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ผู้บริหารหรือผู้สัมภาษณ์งานกลับจากการลาพักร้อน และเริ่มนัดสัมภาษณ์งาน ซึ่งจะช่วยให้การสรรหาพนักงานใหม่จบได้เร็วยิ่งขึ้น

ลาออกจากงานประจำต้องเตรียมอะไรบ้าง

7 อย่างต้องทำ ก่อนลาออกจากงาน.
บอกล่วงหน้า เคลียร์งานที่ค้างไว้ให้เรียบร้อย ... .
หางานใหม่ หรือหาอาชีพรองรับให้ได้ก่อนลาออก ... .
เตรียมเอกสารและใบลาออกให้พร้อม ... .
ทยอยเก็บข้าวของ ... .
จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ... .
ลงทะเบียนคนว่างงาน ... .
วางแผนเรื่องเงินก่อนลาออก.

ลาออกจากงานแล้วต้องทำอะไรบ้าง

6 วิธีลาออกอย่างมืออาชีพ.
1 ให้เหตุผลที่ฟังแล้วสมเหตุสมผล ... .
2 แจ้งหัวหน้างานเป็นคนแรก ... .
3 ลาออกเป็นการส่วนตัว ... .
4 เขียนใบลาออกให้เป็นเรื่องเป็นราว ... .
5 ให้เวลาบริษัทและทีมของคุณในการปรับตัว.
6 เสนอเทรนคนใหม่ที่จะมาแทน.