จดหมายแนะนําตัว ภาษาอังกฤษ

สำหรับใครที่กำลังวางแพลนเตรียมตัวเรียนต่อต่างประเทศ เราเชื่อมากๆ เลยว่าหนึ่งในปัญหาที่กวนใจใครหลายๆ คนคงหนีไม่พ้นการเขียน Personal Statement (จดหมายแนะนำตัวเอง) หรือบางคนอาจต้องใช้ Motivational Letter แน่ๆ

 

สำหรับใครที่ยังไม่รู้ ในส่วนของจดหมายแนะนำตัวสำหรับบางมหาวิทยาลัย ที่มีการแข่งขันสูงมากๆ จดหมายความยาวไม่เกินสองหน้ากระดาษเอสี่ชิ้นนี้ เปรียบเสมือนตัวชี้เป็น-ชี้ตายเลยว่าผู้สมัครรายนั้นจะได้ไปเรียนต่อหรือเปล่าเชียวล่ะ  

 

นี่ก็เลยเป็นเหตุผลที่ผู้สมัครแต่ละคนต้องงัดทุกสิ่งอย่างออกมาเพื่อทำให้ตัวเองดู "ฉีก" ออกมาจากผู้สมัครรายอื่นให้ได้ แต่เอ๊ะ แล้วจะทำยังไงให้แน่ใจได้ว่างานเขียนของเราจะไม่ซ้ำกับชาวบ้านเขา? วันนี้ Hotcourse Thailand เลยรวบรวมวิธีการเขียน Personal Statement ที่จะทำให้งานเขียนของคุณชนะใจกรรมการได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

 

เพราะ Personal ก็คือ Personal

จดหมายแนะนําตัว ภาษาอังกฤษ

      อย่างที่เกริ่นเอาไว้ตอนต้นว่า Personal Statement และ Motivational Letter จุดประสงค์ของมันก็มีไว้เพื่อการเขียนแนะนำตัวเอง

 

      หลายคนมักจะไปตกม้าตายตรงที่ไปลอกงานเขียนตามเว็บไซต์ห้าบาทสิบบาทมามากเกินไป จนสิ่งที่เขียนอยู่ออกมาดูทื่อไม่มีเสน่ห์เอาซะเลย จริงอยู่ที่ว่าเราสามารถดูวิธีการเขียน หรือสไตล์การเล่าเรื่องของผู้สมัครรายอื่นๆ ได้

       

      แต่ท้ายที่สุดแล้ว เรื่องเล่าที่จะต้องนำมาเขียนก็ต้องเป็นประสบการณ์ “ส่วนตัว” ของเราเองอยู่ดี คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยการมองหากิจกรรมหรือความชอบที่สอดคล้องกับสาขาวิชาและมหาวิทยาลัยที่เล็งเอาไว้ พยายามนั่งลิสต์เหตุผลว่าทำไมคุณถึงเลือกสาขาและมหาวิทยาลัยแห่งนี้ แล้วทำไมถึงไม่เลือกที่อื่น (แนะนำว่าสำหรับคนที่เล็งหลักสูตรแบบการเรียน (Taught Course) ควรแวะเข้าไปดูแคตาล็อครายวิชาคร่าวๆ เพื่อนำมาเขียนเสริมว่าเราต้องการจะเข้าที่นี่จริงๆ นะ)

 

แล้วต้องเริ่มยังไงล่ะ

ว่ากันว่างานหินที่สุดสำหรับการเขียน คือประโยคแรกของพารากราฟ บางคนอาจจะติดตรงนี้เป็นชั่วโมงๆ หรือหลายวันเลยก็ได้ หากเราเข้าไปดูในเว็บไซต์หลายๆ แห่ง เราจะเจอเทมเพลทสำหรับการเขียนจดหมายแนะนำตัวเยอะแยะไปหมด ซึ่งส่วนมากจะเริ่มต้นด้วยอะไรง่ายๆ อย่าง

 

This [subject] has always been a large part of my life. From my early youth to the current me, I have always enjoyed blah blah blah

 

ฟังดูก็ไม่ได้เสียหายอะไรที่จะขึ้นต้นงานเขียนแบบนี้ เพราะอ่านๆ ดูแล้วก็ตรงไปตรงมาดี แต่หากลองนึกว่าเราเป็นคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัคร เจองานเขียนแบบนี้สักประมาณ...100 คน น่าเชื่อว่างานของเรา รวมถึงอีก 99 คนที่เหลือน่าจะมีจุดจบคล้ายๆ กันคือถังขยะเป็นแน่

 

It’s all about who you are

จดหมายแนะนําตัว ภาษาอังกฤษ

อันที่จริง หลายมหาวิทยาลัยไม่ได้อยากรู้ว่ามหาวิทยาลัยเขาดียังไง เขาอยากรู้ว่า “ทำไม” เราถึงอยากเข้ามหาวิทยาลัยเขา แล้วอะไรคือจุดเด่นที่ฉีกตัวเราออกจากผู้สมัครคนอื่น ดังนั้น Personal Statement และ Motivational Letter เลยไม่ใช่การเขียนเชิงวิชาการ (Academic Writing) อย่างที่หลายคนเข้าใจผิด แต่เป็นการเล่าเรื่องผ่านมุมมองส่วนบุคคล (Personal Narrative) ที่เราจำเป็นต้องนึกถึงประสบการณ์ที่เป็น “จุดเปลี่ยน” ให้เราเข้ามาสนใจในสายงานแบบนี้ แล้วทำไมที่นี่ถึงจะตอบโจทย์เราได้

 

เช่นว่าสมมติอยากไปเรียนต่อสายการตลาด Digital Marketing แต่ก่อนเคยคิดว่าการตลาดคือการไปนั่งค้าขายเพราะที่บ้านเป็นร้านขายของ/ธุรกิจส่วนตัวมากก่อน พอมาเรียนในสายป.ตรีจริงๆ แล้วรู้สึกว้าวกับการศึกษาตลาดด้านนี้มากๆ เราอาจจะใส่เข้าไปเป็นบทเปิดของเราก็ได้:

 

It took me years to realize you don’t have to own a shop to understand marketing.

 

สั้นๆ แล้วก็ทำให้เรารู้สึกอยากรู้ต่อแล้วว่าเอ้า! ทำไมถึงใช้เวลานานจังกว่าจะรู้ในเรื่องนี้ แล้วระหว่างทางเราเติบโตไปยังไงบ้างล่ะ? เพราะพอทุกอย่างมันกลายเป็นเรื่องส่วนตัวที่เราเปลี่ยนมาเล่าให้คนอื่นฟัง แค่นี้ก็จะทำให้งานเขียนของเราไม่เหมือนใคร (unique) ได้แล้วค่ะ

 

ใช้คำเชื่อม Delay ประโยคหลัก

จดหมายแนะนําตัว ภาษาอังกฤษ

แฟนๆ หนังสืบสวนคงเคยรู้สึกใช่ไหมคะว่า หนังแต่ละเรื่องมักจะค่อยๆ เผยข้อมูลเล็กๆ พอเป็นพิธีให้คนดูอย่างเรารู้สึกอยากอ่านตามต่อ หรือถ้าใกล้ตัวกว่านั้นก็คือการเล่าเรื่องแบบกระทู้ Pantip.com ที่บางท่านอาจจะเลือกเล่าให้เกือบถึงจุดพีค (Climax) ของเรื่องแล้วจบกระทู้ไว้ด้วยคำว่า “เดี๋ยวมาต่อนะ”

 

ถ้าเราลองยึดไอเดียการเขียนแบบนี้เป็นหลักล่ะก็ มีเหรอที่คณะกรรมการตรวจใบสมัครจะไม่อยากรู้เรื่องของเราต่อยกตัวอย่างเช่น

 

Before she entered publishing industry, before she owned her online blog, before she could gain confidence in her crafts, Sarah was a girl who had a deep hatred for writing and its rules of grammar.

  

อย่าลืมเช็คแกรมม่าร์

จดหมายแนะนําตัว ภาษาอังกฤษ

 

        ขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องเล่า การเขียนจดหมายแนะนำตัวที่เซฟตัวเองที่สุดคือการเขียนโดยใช้รูปอดีตกาล (Past Tense) แต่เรื่องเล่าก็ไม่จำเป็นต้องใช้เป็นการเล่าแบบอดีตกาลเสมอไปนะ คือข้อดีของการใช้ Past Tense ในการเขียนคือ เราไม่ต้องไปกังวลมากว่าเราจะเขียนผิดแกรมม่าร์ในเรื่องของเวลาหรือเปล่า (เพราะทุกประโยคเป็นรูปอดีตกาล) แต่การเล่าเรื่องแบบนี้ ในมุมมองของคนอ่าน โดยเฉพาะสำหรับใครที่เรียนวรรณกรรมมานั้น จะรู้สึกเหมือนไม่ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องเล่าของผู้เขียนซะเท่าไหร่

 

วิธีแก้ในส่วนนี้ให้ลอง “อ่าน” (อ่านจริงๆ นะ) แล้วรู้สึกว่าพอเราอ่านแล้วเราเริ่มต้องสูดลมหายใจเข้าไปอีกรอบเนี่ย ให้แตกประโยคยาวๆ นั่นเป็นสองประโยคแทน เพื่อที่ว่าคนอ่านจะได้รู้สึกว่ามันไม่ยืดเยื้อเกินไปด้วย

แนะนําตัวเอง ภาษาอังกฤษเขียนยังไง

ประโยคการแนะนำตัวแบบเป็นทางการ May I introduce myself? แปลว่า ฉันขออนุญาตแนะนำตัวเองนะคะ เป็นประโยคขออนุญาต My name is Samorn Jaidee. แปลว่า ฉันชื่อสมร ใจดี I'm the marketing manager from Macro company. (ข้อมูลเพิ่มเติม) แปลว่า ผมเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดจากบริษัทมาโคร

จดหมายแนะนําตัว เขียนยังไง

รูปแบบของจดหมายแนะนำตัว สิ่งที่ควรเขียนในจดหมายแนะนำตัวควรจะครอบคลุมเนื้อหาดังต่อไปนี้ค่ะ เป้าหมายและความคาดหวังทางด้านอาชีพในอนาคต เหตุผลที่ทำให้น้อง ๆ สนใจทางด้านนี้ มีอะไรบ้างที่น้อง ๆ ได้ทำและเรียนรู้เพื่อให้เข้าใกล้ความสำเร็จในเป้าหมายของตัวเองมากที่สุด

Introduce yourself มีอะไรบ้าง

แนะนำชื่อตัวเอง.
My name is… มาย เนม อิส ชื่อของฉันคือ….
I'm… ไอ แอม… ฉันคือ….
You can call me… ยู แคน คอล มี… คุณสามารถเรียก(ชื่อ)ฉันว่า….
Please call me… พลีส คอล มี… โปรดเรียกฉันว่า….
My nickname is… มาย นิคเนม อีส… ชื่อเล่นของฉันคือ….

โตขึ้นอยากทำอาชีพอะไร ภาษาอังกฤษ

What do you want to be when you grow up? แปลตรง ๆ ว่า คุณอยากเป็นอะไรเมื่อโตขึ้น หรือถามได้ว่า