รายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้ใหญ่บ้าน

ขอเชิญตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรีเมืองสุรินทร์
เทศบาลเมืองสุรินทร์ โดยนายอัครพนธ์ เกตุสังข์พันธ์ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเทศบาลเมืองสุรินทร์ ได้ประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรีเมืองสุรินทร์ ตามแบบ ส.ถ./ผ.ถ. 1/5 (ตามมาตรา 43) และได้ปิดประกาศไว้ที่
1. สถานที่ปิดประกาศเกี่ยวกับการเลือกตั้งฯ ที่สำนักงานเทศบาลเมืองสุรินทร์
2. ที่ว่าการอำเภอเมืองสุรินทร์
3. ที่หน่วยเลือกตั้ง 52 หน่วย (ที่หน่วยเลือกตั้งจะปิดประกาศเฉพาะบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรีเมืองสุรินทร์ ที่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยนั้นๆ)
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรีเมืองสุรินทร์ ในวันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม 2564 เวลา 08.00 - 17.00 น. ที่หน่วยเลือกตั้งที่ท่านมีชื่ออยู่
เทศบาลเมืองสุรินทร์ จึงขอเชิญประชาชนในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ ได้ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ได้ที่สถานที่ปิดประกาศดังกล่าวข้างต้น
หรือ ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งทางเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หรือตามลิงค์ https://stat.bora.dopa.go.th/Election/enqelectloc/
สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองสุรินทร์ จะได้จัดทำหนังสือแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปยังเจ้าบ้าน แต่ละบ้านทราบก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน ตามแบบ ส.ถ./ผ.ถ. 1/6
กรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือเจ้าบ้านผู้ใดเห็นว่า ตนหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของตนไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งของหน่วยเลือกตั้งที่ตนหรือผู้นั้นสมควรมีชื่อเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งนั้น ให้นำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้ มายื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อ ตามแบบ ส.ถ./ผ.ถ. 1/7 ต่อนายทะเบียนท้องถิ่นก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน (ตามมาตรา 44) ภายในวันที่ 17 มีนาคม 2564
กรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งเห็นว่า ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งของหน่วยเลือกตั้งมีชื่อผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งปรากฎอยู่ ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นยื่นคำร้องขอถอนชื่อผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งดังกล่าวออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต่อนายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองสุรินทร์ ไม่น้อยกว่า 10 วัน (ตามมาตรา 45) ภายในวันที่ 17 มีนาคม 2564
และหากผู้มีสิทธิเลือกตั้งท่านใด ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งฯ ในวันที่ 28 มีนาคม 2564 ขอให้ท่านแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้ง 7 วัน คือตั้งแต่วันที่ 21 - 27 มีนาคม 2564
หรือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หลังวันเลือกตั้ง 7 วัน คือตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม - วันที่ 4 เมษายน 2564
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่ได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จะถูกจำกัดสิทธิ ดังต่อไปนี้
1. สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา
2. สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
3. เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
4. ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองและข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
5. ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหาร ท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น
6. ดำรงตำแหน่งเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น และ เลขานุการรองประธานสภาท้องถิ่น
การจำกัดสิทธิ กำหนดเวลาครั้งละ 2 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง แม้มีการเลือกตั้งครั้งหน้าแล้วไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ก็ไม่ทำให้สิทธิต่าง ๆ กลับมา
เหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
- เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
- มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
- ได้รับคำสั่งจากทางการราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง
- มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นตามที่ กกต.กำหนด
 เลือกตั้งท้องถิ่น ร่วมกันใช้สิทธิ อย่างสุจริตโปร่งใส 
--------------------------------

ชวนพิศ สืบสังข์....บก.ข่าว
กรรณิการ์ ศรีขาว....ข่าว/พิมพ์/ทาน

ข่าว ณ. วันที่ 3 มี.ค. 2564 เวลา 10.44 น. โดย กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐ ในหมวด ๔หน้าที่ของปวงชนชาวไทย มาตรา ๕๐ บุคคลมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๗) ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระโดยคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสําคัญ       นั่นหมายถึงปวงชนชาวไทยมีหน้าที่ที่จะต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

อย่างไรก็ตามปวงชนชาวไทยที่มีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ว่าผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามไม่มีสิทธิเลือกตั้ง เราก็ต้องมาดูที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป

ดังนั้นเมื่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ.๒๕๖๐ ยังไม่ประกาศบังคับใช้จึงยังทำให้ไม่อาจทราบได้ว่า พ.ร.บ.การเลือกตั้งซึ่งเป็นกฎหมายประกอบรับธรรมนูญที่จะกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งกำหนดไว้อย่างไร บทความนี้จึงนำเอาข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและลักษณะต้องห้าม ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดไว้ซึ่งยังมีผลบังคับใช้จนกว่าจะมี พ.ร.บ.การเลือกตั้งฉบับใหม่ออกมาประกาศบังคับใช้

ประเทศไทยมีการเลือกตั้งหลายระดับตั้งแต่  การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร,การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร,การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด,การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล,การเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาและสมาชิกสภาเมืองพัทยามาจนถึงการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นที่เป็นพื้นที่เล็กที่สุดคือการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล การเลือกตั้งเหล่านี้ รวมไปถึงการเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กฎหมายได้กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ดังนี้

  1. มีสัญชาติไทย หรือแปลงสัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า  5  ปี
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในปีที่มีการเลือกตั้ง(กำลังมีการแก้ไขเปลี่ยนเป็น มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง)
  3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง กรณีที่ย้ายทะเบียนบ้านจากเขตเลือกตั้งหนึ่งไปยังอีกเขตเลือกตั้งภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกันแต่ย้ายไปเขตใหม่ยังไม่ถึง 1  ปี บุคคลนั้นสามารถกลับไปใช้สิทธิที่เขตเลือกตั้งเดิมได้

ส่วนข้อห้ามหรือคุณลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งกฎหมายได้กำหนดดังนี้

  1. วิกลจริต หรือมีจิตฟั่นเฟือน
  2. เป็นพระภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช  บวชชี
  3. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
  4. อยู่ระหว่างเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

ทั้งหมดนี้เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและลักาณะต้องห้ามที่เราควรรู้

ใครเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด หรือแปลงสัญชาติเป็นไทยมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง

ใครมีสิทธิเลือกตั้งกทม

พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 38 นั้นกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ดังนี้ มีสัญชาติไทย หรือมีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุกี่ปี

ไทย กำหนดไว้ที่ 18 ปี โดยเป็นผู้มีสัญชาติตั้งแต่เกิดหรือแปลงสัญชาติมาไม่น้อยกว่า 5 ปี

เลือกตั้งนายกวันไหน 2565

การเลือกตั้งนายกเมืองพัทยา พ.ศ. 2565 เป็นการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาครั้งที่ 5 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาครั้งแรกในรอบ 10 ปี นับตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2555 ล่าช้าไปเพราะการทำรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2557.