การฟัง การดู และการพูด หมาย ถึง

การฟัง การดู และการพูด หมาย ถึง

การฟัง การดู และการพูด หมาย ถึง

ความหมายของการฟัง การฟัง หมายถึง กระบวนการของการได้ยินเสียงโดยผู้ฟังจะต้องสนใจและตั้งใจฟังเสียงนั้นแล้วใช้สมองแปลความหมายของเสียงจนเกิดความเข้าใจ และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงนั้นได้
           การฟัง เป็นการสื่อสารที่ใช้มาก และสำคัญที่สุดในชีวิตประจำวันของมนุษย์ โดยประสาทหูรับเสียงต่าง ๆ โดยเฉพาะเสียงพูดของมนุษย์ การฟังนับเป็นทักษะขั้นพื้นฐานของชีวิตที่จะโยงใยถึงทักษะอื่น ๆ อีก 3 ทักษะ คือ การพูด การอ่าน และการเขียน
           การฟัง เป็นทักษะทางภาษาที่ต้องใช้มากกว่าทักษะอื่น ๆ ในแต่ละวัน เป็นทักษะที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะคนเราเริ่มใช้ภาษาโดยการฟังก่อน การฟังจึงเป็นพื้นฐานให้เกิดทักษะ พูด อ่าน และเขียนตามมา เป็นบ่อเกิดสำคัญของความรู้ การฟังจึงเป็นองค์ประกอบประการแรกของความเป็นนักปราชญ์ ซึ่งมี 4 อย่าง คือ ฟัง คิด ถาม และเขียน หรือที่เรียกว่าหัวใจนักปราชญ์ สุ. จิ. ปุ. ลิ. นั่นเอง

ความมุ่งหมายในการฟัง
1. ฟังเพื่อจับใจความสำคัญของสาระ และใจความรอง
2. ฟังเพื่อจับใจความอย่างละเอียดให้เข้าใจเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนปลาย เพื่อย้ำความเชื่อหรือหาเหตุผลขัดแย้ง
3. ฟังเพื่อให้เกิดสุนทรียภาพ ซาบซึ้งในคุณค่า ทางวรรณคดี ดนตรีและคติธรรมทั้งหลายทั้งปวง
4. ฟังเพื่อเสริมสร้างสติปัญญา ความรู้ จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ เป็นการฟังที่ต้องใช้วิจารณญาณ เหตุผล ความนึกคิดประกอบ เพื่อให้เกิดความรู้และความคิดริเริ่ม
5. ฟังเพื่อการสนทนา และโต้ตอบอย่างมีประสิทธิภาพ

การฟังที่ดี มีหลักดังนี้ คือ
1.ฟังอย่างมีมรรยาท คือแสดงความสนใจต่อผู้พูด ไม่แสดงอาการเฉยเมย หรือขัดจังหวะ คอยซักถามเมื่อผู้พูดให้โอกาส ฟังด้วยความอดทนและมีใจกว้าง ถ้าเป็นการฟังในที่ประชุมควรให้เกียรติ ผู้พูดด้วยการปรบมือ
2.ฟังอย่างมีวิจารญาณ คือ เอาใจจดจ่อต่อการฟัง คอยติดตามเรื่องที่ฟังและแยกแยะส่วนที่เป็นเหตุผลที่แท้จริง และความคิดเห็นส่วนตัวของผู้พูด
3.ฟังให้ได้สารประโยชน์ คือ จับสาระสำคัญให้ได้ก่อนรายละเอียดหรือพลความ อาจจดบันทึกหัวข้อความรู้สำคัญเพื่อทุ่นเวลาและช่วยความจำพร้อมกันไปด้วย
4.ฟังให้ได้คุณค่าทางจิตใจ โดยทำใจให้คล้อยไปตามเรื่องที่ฟัง เพื่อให้เกิดอารมณ์สนุกสนานเพลิดเพลิน เช่น การฟังบทละคร บทโทรศัพท์ ปาฐกถาธรรม บทเพลง เป็นต้น

ลักษณะของผู้ฟังที่ดี
1. สนใจฟังเรื่องด้วยความตั้งใจและคิดตามอย่างมีเหตุผล
2. สนใจฟังเฉพาะเรื่อง ไม่ใช่เอาใจใส่ฟังทุกเสียงที่ได้ยิน
3. ฟังอย่างพินิจพิเคราะห์ เพื่อให้รู้รายละเอียด หรือจุดสำคัญของเรื่อง รวมทั้งสำนวน ภาษา ศัพท์ และโวหารของผู้พูด
4. วางตัวเป็นกลาง ทำจิตใจให้เบิกบาน ไปกับเรื่องที่ผู้พูดพูด และไม่มีอคติใด ๆ ต่อผู้พูด
5. ขณะที่ฟัง ควรมีการจดบันทึกข้อความไว้อย่างมีระเบียบ เพื่อช่วยความจำ
6. ผู้ฟัง จะต้องรู้จุดมุ่งหมายของการฟังในครั้งนั้น ๆ ว่า ฟังเพื่อให้เกิดความรู้ หรือความเพลิดเพลิน หรือเพื่อจับใจความสำคัญ หรือฟังเพื่อหาเหตุผลโต้แย้ง
7. ขณะที่ฟัง ไม่ควรพูดคุย หรือซุบซิบกับคนที่นั่งข้างเคียง ไม่ทำเสียงเอะอะ หรือแสดงกิริยาที่เป็นการไม่ให้เกียรติผู้พูด
8. ถ้ามีตอนใดที่ฟังแล้วไม่เข้าใจ ควรซักถามผู้พูดเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่ายการถามนั้น ควรถามเมื่อผู้พูดพูดจบความแล้ว
9. เมื่อฟังแล้ว ควรจะคิดทบทวนว่า เรื่องที่ได้ฟังนั้นเป็นความจริงหรือไม่ มีเหตุผลน่าเชื่อถือเพียงใด ถ้านำไปปฏิบัติแล้วจะเกิดประโยชน์หรือไม่

ทักษะการฟังที่ดี
ฝึกฝนความอดทนในการเป็นผู้ฟังที่ดี ผู้ฟังจำนวนมากอาจเกิดอาการ "ใจลอย" เนื่องจากเบื่อหน่ายกับสิ่งที่ฟังและมีสิ่งอื่นที่น่าสนใจให้ชวนคิดมากกว่า หรือ "พูดแทรก" เนื่องจากรู้สึกว่าผู้พูดนั้นพูดช้าไม่ทันใจโดยอาจใช้วิธี "ด่วนสรุป" จากความคิดของตนแทนการฟังอย่างตั้งใจจนจบ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานที่ผิดพลาด เข้าใจผิด อันเนื่องมาจากการฟังที่ขาดประสิทธิภาพ
ฝึกฝนการมีมารยาทของผู้ฟังที่ดี เป็นหลักการสำคัญในการเรียนรู้ที่จะให้เกียรติผู้พูด ไม่เป็นคนที่เย่อหยิ่งหรือเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง คิดว่าความคิดของตนดีกว่าจนไม่ยอมรับฟังผู้ใด จนเป็นเหตุให้เราปิดกั้นการเรียนรู้จากแหล่งต่าง ๆ ไปอย่างน่าเสียดาย
ฝึกฝนการฟังอย่างกระตือรือร้น ไม่เพียงแต่มีมารยาทในการเป็นผู้ฟังที่ดีด้วยท่าทีตั้งใจฟังอย่างจดจ่อ แต่การเป็นผู้ฟังที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องมีลักษะแห่งความกระตือรือร้นอยู่ด้วย
ฝึกฝนการจับประเด็นด้วยการตั้งคำถาม ความสามารถในการจับประเด็น เป็นตัวชี้ว่าการสื่อสารที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ผู้ส่งสารสามารถบรรลุเป้าหมายในการสื่อสารที่ต้องการไปยังผู้รับสารหรือไม่ เช่น ในรูปแบบของ ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร เวลาใด และเราจะต้องทำอะไรต่อไป เป็นต้น รวมทั้งสามารถตั้งคำถามปลายเปิดต่าง ๆ เพื่อการคิดต่อยอด อันก่อให้เกิดประโยชน์ในการฝึกฝนทักษะการคิดให้กับตนเองได้ในอีกทาง
ฝึกฝนทักษะการฟังในสถานการณ์ที่ยากลำบาก โดยใช้สถานการณ์จริงต่าง ๆ ที่ทำให้การฟังเป็นไปอย่างยากลำบาก

ลักษณะการฟังที่มีประสิทธิภาพ ในทางวิชาการแล้วลักษณะการฟังที่มีประสิทธิภาพมีดังนี้
ฟังด้วยความสนใจ ไม่ว่าเรื่องที่ฟังจะเป็นเรื่องยาก สลับซับซ้อนอย่างไรก็ตาม
ฟังผู้พูดทุกคน โดยไม่เลือกว่าผู้พูดคนนั้นเป็นคนพูดดี หรือพูดเก่ง ให้เข้าใจความหมายที่ผู้พูดสื่อสารออกมา
ฟังโดยจับใจความ เรื่องที่ฟัง รู้ความหมายของคำพูด และความหมายที่ผู้พูดแสดงออกมาทางอากัปกิริยา ท่าทาง สีหน้าหรือนัยน์ตา
ฟังด้วยความอดทน
ฟังโดยสังเกตอย่างถี่ถ้วน
ฟังโดยไม่คิดตอบโต้ในขณะที่ฟัง ผู้ฟังต้องฟังอย่างมีสมาธิ
ฟังโดยการไม่ถือการเล่นสำนวนเป็นใหญ่
ฟังโดยไม่ขัดคอ
ฟังเพื่อพยายามหาข้อตกลงร่วมกับผู้พูด
ฟังโดยทำความเข้าใจให้ตรงกันกับผู้พูด ฟังด้วยจิตว่าง ปราศจากอคติต่อผู้พูด ฟังอย่างเข้าซึ้งถึงจิตผู้พูดและพยายามเข้าใจสารของผู้พูดอย่างชัดเจน

กระบวนการฟัง การฟังที่ดีต้องมีกระบวนการฟังซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กระบวนการ คือ
1.กระบวนการฟังเพื่อวิเคราะห์ ฟังอย่างละเอียด ตั้งแต่ต้นจนจบ แยกข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็นออกจากกัน ใช้ความรู้ และประสบการณ์แยกแยะส่วนที่ดี และส่วนที่บกพร่องอย่างมีเหตุผล เมื่อฟังจบต้องบอกได้ว่าเรื่องที่ฟังมีคุณค่าอย่างไร
2.กระบวนการฟังเพื่อวิจารณ์ แยกแยะข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่ฟัง ประเมินค่า ความเชื่อถือได้ของข้อมูลว่าเป็นความจริง แสดงปฏิกิริยาต่อเรื่องที่ฟัง เช่น ความประทับใจต่อเรื่องที่ฟัง การนำไปใช้ เช่น นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้หรือพัฒนา

ที่มา : https://sites.google.com/site/phasathiysuxsar/thaks

การฟัง การดู และการพูด หมาย ถึง

การฟังและการดูมีอะไรบ้าง

หลักการฟังและการดู.
ตั้งจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ของการฟังและการดู.
วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของผู้พูดและเรื่องที่ดู.
ฟังและดูสารนั้นตั้งแต่ต้นจนจบโดยไม่ขาดตอน.
จับประเด็นความหลักและสรุปสาระสำคัญให้.
หลีกเลี่ยงการจับผิดผู้พูด.
ต้องให้เกียรติและให้กำลังใจแก่ผู้พูด.

การฟังและการดูแตกต่างกันอย่างไร

การฟัง หมายถึง การรับรู้แล้วแปลความหมายของเสียงที่ได้ยิน การดู หมายถึง การรับสารโดยผ่านประสาทตาหรืออาจเป็นการทางานประสานกันระหว่างประสาท ตาและหู องค์ประกอบของการสื่อสาร

มารยาทในการฟังการดูและการพูดมีอะไรบ้าง

๑. การฟังหรือดูเฉพาะหน้าผู้ใหญ่ ควรสารวมกิริยาอาการ สบตาผู้พูด เป็นระยะ ๆ ให้พอเหมาะ ไม่ชิงพูดก่อนที่จะพูดจบความ เมื่อไม่เข้าใจให้ถามเมื่อ ผู้ใหญ่พูดจบกระแสความ ๒. การฟังหรือดูในห้องประชุม ตั้งใจฟัง จดบันทึกสาระสาคัญ ไม่ กระซิบพูดกัน ไม่ทากิจส่วนตัว ถ้าจะพูดให้ยกมือขออนุญาตจากประธานในที่ ประชุมก่อน

การฟังและการพูดมีความสำคัญอย่างไร

1. ช่วยให้ผู้พูดรู้สึกไว้วางใจและเปิดใจที่จะเล่า 2. ช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังดีขึ้น ผู้พูดรู้สึกว่าเราใส่ใจ ให้เกียรติเขา รู้สึกดีต่อเรา 3. เราในฐานะผู้ฟัง เข้าใจผู้พูดและมีความเห็นอกเห็นใจเขามากขึ้น และมีอคติต่อผู้อื่นลดลง