โหลดกระเป๋าใต้เครื่อง ของเหลว

ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป ประกาศเรื่อง “หลักเกณฑ์การตรวจค้นของเหลว เจล สเปรย์ ที่จะนำขึ้นบนห้องโดยสารอากาศยาน หรือนำเข้าไปในเขตหวงห้ามของสนามบินสาธารณะ พ.ศ. 2562” จะเริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ

Show

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ในฐานะผู้ออกกฎดังกล่าว จึงต้องออกมาย้ำชัดๆ อีกครั้งว่า สรุปแล้วของเหลวประเภทไหนพกขึ้นเครื่องได้บ้าง และต้องอยู่ในบรรจุภัณฑ์แบบไหนจึงถูกต้อง ไม่โดนตีตกลงถังขยะ ก่อนจะได้ออกเดินทาง

โหลดกระเป๋าใต้เครื่อง ของเหลว

สำหรับนิยามคำว่าของเหลว เจล สเปรย์ (Liquids,Aerosols ang Gel ; LAGs) ตามประกาศใหม่ของ กพท. ก็คือของเหลวในรูปแบบต่างๆ เช่น น้ำ เครื่องดื่ม หรือ “อาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก” อย่างซุป น้ำเชื่อม แยม น้ำจิ้ม น้ำพริก ตลอดจน “เครื่องสำอาง” ครีม โลชั่น เจลใส่ผม สเปรย์ น้ำหอม รวมถึง “วัตถุหรือสารที่มีส่วนผสมทั้งของแข็งและของเหลว” เช่น มาสค่าร่า ลิปสติก ยาหม่อง

ใครจะนำของเหลวขึ้นเครื่องต้องจำ 3 ข้อ!

  1. ของเหลว เจล สปรย์ ที่สามารถนำติดตัวขึ้นเครื่องได้ ต้องมีปริมาตรความจุต้องไม่เกิน 100 มิลลิลิตร หรือ 100 กรัม หรือ 3.4 ออนซ์
  2. บรรจุภัณฑ์ต้องข้อความระบุปริมาตรและต้องปิดสนิท
  3. ผู้โดยสารสามารถนำบรรจุภัณฑ์ที่มีของเหลวติดตัวไปได้มากกว่า 1 ชิ้น แต่ต้องมีปริมาตรรวมกันสูงสุดคนละไม่เกิน 1 ลิตร หรือ 1,000 มิลลิลิตร
โหลดกระเป๋าใต้เครื่อง ของเหลว
ขอบคุณภาพจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้ กพท. แนะนำว่า ผู้โดยสารควรนำบรรจุภัณฑ์ที่มีของเหลวทุกชิ้นใส่ในถุงพลาสติกใส ที่มีปริมาตรความจุของถุงไม่เกิน 1 ลิตร หรือ 1,000 มิลลิลิตร โดยขนาดถุงนั้นต้องไม่เกิน 20 เซนติเมตร × 20 เซนติเมตร และนำไปได้คนละ 1 ถุง

ก่อนเข้าจุดตรวจค้นสัมภาระในสนามบิน ผู้โดยสารควรแยกบรรจุภัณฑ์หรือถุงพลาสติกใสที่มีบรรจุของเหลว ออกจากสัมภาระติดตัวอื่น เพื่อแสดงให้พนักงานตรวจค้นได้ง่าย

ส่วนบรรจุภัณฑ์ที่มีปริมาตรของเหลวเกินกว่าที่กำหนด บรรจุภัณฑ์ที่ไม่มีข้อความบอกปริมาตร รวมถึง “อาหารท้องถิ่นหรืออาหารพื้นเมือง” ที่มีของเหลวเป็นส่วนผสมในปริมาณมากกว่า 100 มิลลิลิตร ต้องลงทะเบียน โหลดลงใต้ท้องเครื่องบินเท่านั้น

โหลดกระเป๋าใต้เครื่อง ของเหลว

อย่างไรก็ตาม มีของเหลวบางประเภทที่ได้รับการยกเว้น ไม่ถูกจำกัดปริมาณ ได้แก่ ยา ที่มีใบรับรองแพทย์ ฉลาก หรือเอกสารกำกับยาที่ระบุชื่อผู้โดยสารที่จำเป็นต้องใช้ยานั้น ยกเว้นแต่เป็นยาสามัญประจำบ้าน, อาหารหรือนมสำหรับเด็กทารก และ อาหารที่ต้องพกพาตามข้อกำหนดทางการแพทย์หรือเพื่อวัตถุประสงค์ทางโภชนาการ แต่ทั้งหมดก็ต้องมีปริมาณเหมาะสมกับระยะเวลาการเดินทางในแต่ละเที่ยวบินด้วย

ส่วนขาช้อปต้องฟังทางนี้! สำหรับของเหลวที่ซื้อจากร้านค้าปลอดอากร (Duty Free Shop) จะต้องบรรจุไว้ในถุงพลาสติกที่สามารถบ่งชี้ร่องรอยการแกะหรือการเปิดปากถุง (Security Tampered-Evident Bags : STEBs) ซึ่งมีหลักฐานแสดงว่า ผู้โดยสารซื้อในวันที่เดินทาง และไม่มีร่องรอยการแกะหรือเปิดปากถุง

ในกรณีที่ผู้โดยสารแวะพักหรือเปลี่ยนเครื่องบิน (Transfer and Transit) ระหว่างการเดินทาง ผู้โดยสารก็ควรตรวจสอบข้อมูลเรื่องหลักเกณฑ์การนำของเหลวขึ้นเครื่องบินจากร้านดิวตี้ฟรีภายในสนามบินที่แวะพักและสนามบินปลายทางทุกครั้ง เพื่อจะได้ช้อปปิ้งและเดินทางได้อย่างสบายใจในทุกๆ ทริป

       การเดินทางครั้งหน้า อย่าลืมตรวจสอบสิ่งที่คุณจะพกติดตัวขึ้นเครื่องบิน จะได้ไม่ต้องโดนตรวจยึดหรือต้องทิ้งสิ่งของที่ไม่เป็นไปตามมาตรการความปลอดภัยในการเดินทางด้วยเครื่องบิน และเพื่อความถูกต้องครบถ้วนคุณสามารถติดต่อสอบถามกับสายการบินที่คุณใช้เดินทางโดยตรง เพื่อรับทราบรายละเอียดที่ครบถ้วนก่อนเดินทางทุกครั้ง นอกจากนี้เรายังสามารถเพิ่มความปลอดภัยให้สัมภาระสำคัญ ๆ ของคุณได้ ด้วยประกันการเดินทางต่างประเทศ เพื่อความสบายใจหายห่วงตลอดการเดินทาง

สำหรับนักท่องเที่ยวมือใหม่ มักมีคำถามในใจว่า สิ่งของที่ห้ามนำขึ้นเครื่องบิน มีอะไรบ้าง ซึ่งเป็นหนึ่งในคำถามที่ต้องนึกถึงเสมอเมื่อต้องเดินทางด้วยเครื่องบินว่าจะจัดกระเป๋าอย่างไรให้เช็คอินผ่านฉลุย

สิ่งของที่ห้ามนำขึ้นเครื่องบิน หรือสิ่งใด ๆ ที่ห้ามนำขึ้น สิ่งใดผิดกฎของสายการบินหรือไม่ เราจะมารวบรวมรายการสิ่งของต่าง ๆ ที่ไม่อนุญาตให้พกติดตัวขึ้นเครื่องบิน มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

เนื่องจากเราบินไปยังสนามบินที่มีการตรวจสอบความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารทั้งหมด ต้องตรวจดูให้มั่นใจว่ากระเป๋าสัมภาระของท่านไม่มีสิ่งของต้องห้ามหรือเปล่า หากมีอาจถูกยึดได้ หากสิ่งของนั้นไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้

กฎระเบียบสำหรับสิ่งของที่ห้ามนำขึ้นเครื่องบิน

เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารของทุกท่าน สายการบิน ไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารนำพาสิ่งของที่เป็นวัตถุอันตรายบนทุกเที่ยวบิน ไม่ว่าจะบรรจุในสัมภาระ หรือ พกติดตัว ซึ่งวัตถุอันตรายนั้น หมายถึง วัตถุหรือสารซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ความปลอดภัย ทรัพย์สิน หรือ สภาพแวดล้อม แบ่งวัตถุอันตรายออกเป็น 9 ประเภทดังนี้

  1. วัตถุระเบิด
  2. ก๊าซ
  3. ของแข็งไวไฟ
  4. ของเหลวไวไฟ
  5. สารออกซิไดส์ และออร์แกนิคเปอร์ออกไซด์
  6. สารพิษและสารติดเชื้อ เช่นยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้าสารหนู
  7. วัตถุกัมมันตรังสี
  8. สารกัดกร่อน เช่น ปรอท
  9. วัสดุหรือสารอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นอันตรายขณะการขนส่งทางอากาศ รวมถึงสารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

รายการสิ่งของที่ไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารนำติดตัวหรือใส่ไว้ในสัมภาระ

1. กระเป๋าสัมภาระที่มีแบตเตอรี่ชนิดลิเธียม

อุปกรณ์ส่วนควบมีปริมาณสารลิเธียมเกิน 0.3 กรัม สำหรับแบตเตอรี่ลิเธียมเมทัล หรือมีกำลังไฟเกิน2.7 วัตต์-ชั่วโมง และ แบตเตอรี่นั้นไม่สามารถถอดแยกออกจากตัวกระเป๋าได้

2. แบตเตอรี่ชำรุด

แบตเตอรี่ที่ชำรุด หรือ ถูกเรียกคืนจากผู้ผลิตเนื่องจากสินค้ามีปัญหาด้านความปลอดภัย รวมถึงที่บรรจุอยู่ในอุปกรณ์อิเลกโทรนิกส์ รวมไปถึงโทรศัพท์มือถือ หรือ คอมพิวเตอร์พกพาที่สินค้ามีปัญหาด้านความปลอดภัย
สารเคมีต่าง ๆ

3. สารเคมีต่างๆ

สารเคมีชนิดผง หรือ ของเหลว สำหรับใช้เพื่อการค้าหรือใช้งานส่วนตัว ยกเว้นแต่ที่ระบุในตาราง รายการสิ่งของที่สายการบินอนุญาตให้ผู้โดยสารสามารถนำติดตัวหรือใส่ไว้ในสัมภาระได้

4. อุปกรณ์ป้องกันตัว

อุปกรณ์ป้องกันตัว เช่น สเปรย์พริกไทย แก๊สน้ำตา หรือ สารที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่าง ๆ

5. ดอกไม้ไฟ พลุ ไฟเย็น

ดอกไม้ไฟ พลุ หรือไฟเย็น มีฉนวนและดินปืน ที่สามารถทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้

6. อาวุธช๊อตไฟฟ้า

อาวุธช๊อตไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ เช่น ปืนไฟฟ้า กระบองไฟฟ้า รวมถึงไม้ช๊อตยุงไฟฟ้า

7. อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย

อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย เช่นกล่องเงินสด ถุงเงินสด ที่มีส่วนประกอบเป็นแบตเตอรี่ลิเธียม หรือ เชื้อปะทุต่าง ๆ

8. ไม้ขีดไฟ

ไม้ขีดไฟที่สามารถจุดติดได้ทุกที่ ไฟแช็กที่ให้เปลวเพลิงสีฟ้า ไฟแช็กสำหรับซิการ์ ไฟแช็กที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ลิเธียมและไม่มีฝาครอบป้องกันการทำงานโดยไม่ได้ตั้งใจ

9. ถังออกซิเจน

ถังออกซิเจน หรือ ถังอัดอากาศ หรือ ออกชิเจนเหลง ทุกประเภทสำหรับใช้กับผู้ป่วย ไม่อนุญาตให้นำขึ้นเครื่องในทุกกรณี แต่หากผู้โดยสารมีความจำเป็นต้องใช้งาน การบินไทยมีอุปกรณ์ดังกล่าวให้บริการ โปรดติดต่อที่สำนักงานขายเพื่อแจ้งความประสงค์

10. เครื่อมดื่ม และเครื่องสำอาง

ของเหลวทุกชนิดที่มีความจุต่อชิ้นเกิน 100 มล. รวมไม่เกิน 1 ลิตร หรือ 1000 มล. เช่นเจล น้ำหอม สบู่เหลว สเปรย์ ห้ามพกติดตัวขึ้นเครื่องบิน แต่สามารถนำใส่กระเป๋าที่จะโหลดได้ กรณีเป็นยาน้ำ ยาประจำตัว ต้องขออนุญาต โดยการแจ้งล่วงหน้ากับทางสายการบินก่อนเสมอว่าจะมียาน้ำ ยาประจำตัว ยาโรคความดัน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรืออื่น ๆ อะไรบ้างที่ต้องพกติดตัวขึ้นเครื่อง

11. ยานพาหนะส่วนบุคคล

ยานพาหนะส่วนบุคคล หรือ สเก็ตไฟฟ้า สเก็ตบอร์ดไฟฟ้า หรือยานพาหนะขนาดเล็กอื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงใช้กำลังไฟจากแบตเตอรี่ลิเธียม รวมทั้งอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ซึ่งไม่ถือเป็นอุปกรณ์ช่วยสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนที่

12. แบตเตอรี่สำรอง

แบตเตอรี่สำรอง Power Bank ไม่สามารถนำแบตเตอรี่สำรองทุกชนิดใส่กระเป๋าที่นำไปเช็คอิน แต่สามารถพกพาใส่กระเป๋าถือขึ้นไปได้ โดยต้องมีค่าความจุไฟฟ้าไม่เกิน 32,000 mAh ไม่เกินคนละ 2 ชิ้น

13. อาวุธ

ปืน และอาวุธทุกชนิด รวมถึงอาวุธโดยสภาพ เช่น มีด สนับมือ ดาบ ทวน กระบอง และสิ่งเทียมอาวุธ เช่น ปืนไฟแช็ก ปืนเด็กเล่น

14. ของมีคมต่างๆ

ไม้บรรทัดเหล็ก คัตเตอร์ กรรไกรตัดเล็บ เข็มเย็บผ้า ที่อาจทำให้เกิดอันตราย แต่หากเป็นของใช้จำเป็น อาจอนุญาตให้เก็บไว้ในกระเป๋าใบใหญ่ที่โหลดใต้เครื่องบินได้ แต่ไม่อนุญาตให้พกพาขึ้นเครื่องบิน

15. อาหารที่ส่งกลิ่นรุนแรง หรือรบกวนผู้อื่น

อาหารต่าง ๆ ที่มีกลิ่นแรง เช่น อาหารทะเล เนื้อสัตว์สด ทุเรียน ปลาร้า ต้องแพ็คมาอย่างเหมาะสม

16. สัตว์เลี้ยง

สัตว์มีพิษ สัตว์ดุร้าย รวมถึงสัตว์ขนาดใหญ่ สัตว์สงวน เพราะถือว่าผิดกฎหมาย

หมายเหตุ : ข้อกำหนดอาจแตกต่างกันตามกฎหมายของแต่ละประเทศ หรือกฎระเบียบของแต่ละสนามบิน

ต้องขออนุญาต หมายถึง ผู้โดยสารจำเป็นต้องแจ้งกับสายการบินล่วงหน้า เพื่อแสดงความประสงค์และขออนุญาตในการนำพาวัตถุดังกล่าวไปบนเที่ยวบิน

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 16 สิ่งของที่ห้ามนำขึ้นเครื่องบิน เมื่อทราบกันดีแล้วถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ก็อย่านำขึ้นเครื่องเลย เพราะจะต้องเสียเวลาต่อตัวเองและผู้อื่นด้วยในการเช็คอินที่ต้องต่อแถวยาวเหยียด

ทั้งนี้สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่อยากแนะนำคือ ประกันเดินทางต่างประเทศ เพราะการทำประกันเดินทางต่างประเทศ ก็เพื่อช่วยคุ้มครองได้ในหลาย ๆ เรื่องในขณะที่อยู่ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ดีเลย์ การเจ็บป่วย อุบัติเหตุ รวมถึงของหาย กระเป๋าเดินทางหาย เสียชำรุด เรียกว่าอุ่นใจตลอดเส้นการเดินทางกันเลย

โหลดกระเป๋าใส่น้ำได้ไหม

ของเหลวทุกชนิดที่มีความจุต่อชิ้นเกิน 100 มล. รวมไม่เกิน 1 ลิตร หรือ 1000 มล. เช่นเจล น้ำหอม สบู่เหลว สเปรย์ ห้ามพกติดตัวขึ้นเครื่องบิน แต่สามารถนำใส่กระเป๋าที่จะโหลดได้ กรณีเป็นยาน้ำ ยาประจำตัว ต้องขออนุญาต โดยการแจ้งล่วงหน้ากับทางสายการบินก่อนเสมอว่าจะมียาน้ำ ยาประจำตัว ยาโรคความดัน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรืออื่น ๆ อะไร ...

โหลดกระเป๋าของเหลวได้เท่าไร

ขนาดบรรจุภัณฑ์ไม่เกิน 100 มิลลิลิตร หรือในหน่วยวัดปริมาตรอื่นที่เท่ากัน และต้องมีข้อความระบุปริมาตรของบรรจุภัณฑ์ สามารถนำไปได้มากกว่า 1 ชิ้น แต่ต้องมีปริมาตรรวมกันสูงสุดไม่เกินคนละ 1,000 มิลลิลิตร

เครื่องสำอาง โหลดใต้เครื่องได้ ไหม

ท่านสามารถนำของเหลว สเปรย์ และเจลขึ้นเครื่องบินในลักษณะของสัมภาระพกพาขึ้นเครื่องได้โดยต้องบบรจุในภาชนะที่มีขนาดความจุไม่เกิน 100 มิลลิลิตร ต่อชิ้น โดยใส่รวมไว้ในถุงพลาสติกใสแบบเปิด-ปิดผนึกได้ โดยถุงพลาสติกใสต้องมีขนาดไม่เกิน 1 ลิตรต่อผู้โดยสารหนึ่งท่าน โปรดดูรายละเอียดที่ด้านล่าง

โลชั่นโหลดกระเป๋าได้ไหม

เหมือนพี่ๆ ข้างบนบอกเลยค่ะ ถ้าโหลดได้เครื่องไม่จำกัดปริมาตรค่ะ หนูเอาโลชั่นไปทีละ 3 ขวด เบบี้ออย และน้ำหอมอีก ไม่มีปัญหาเลยค่ะ แค่เช็คของที่จะนำขึ้นไปนั่งบนเครื่องด้วยแค่นั้นค่ะว่าต้องไม่มีของเหลวเกินปริมาณกำหนด และต้องไม่มีวัตถุแหลมคมนะคะ 0.