เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

อะตอม (Atom) หมายถึง อนุภาคที่เล็กที่สุดของสสารที่ยังคงมีคุณสมบัติทางเคมีของธาตุนั้นๆอยู่ โครงสร้างของอะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสซึ่งอยู่ตรงกลางและมีอิเล็กตรอนโคจรอยู่รอบๆนิวเคลียส ภายในนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนซึ่งในสภาวะปกติโครงสร้างของอะตอมจะมีจำนวน อิเล็กตรอนเท่ากับจำนวนโปรตอน

โปรตอน (Proton;p) หมายถึง อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวกหนึ่งหน่วย มีมวลประมาณ 1,837 เท่า ของอิเล็กตรอนซึ่งโปรตอนเป็นองค์ประกอบในนิวเคลียสของธาตุทุกชนิด

นิวตรอน (Neutron;n) หมายถึง อนุภาคที่ไม่มีประจุไฟฟ้า มีมวลมากกว่าโปรตอนเล็กน้อย

อิเล็กตรอน (Electron) หมายถึง อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบ โดยแต่ละอะตอมจะมีอิเล็กตรอน จำนวนหนึ่งอยู่ล้อมรอบนิวเคลียสของอะตอมนั้น

นิวตรอนและโปรตอนภายในนิวเคลียสถูกยึดให้อยู่ด้วยกันได้ด้วยแรงนิวเคลียร์ ซึ่งในสภาวะปกติภาย ในนิวเคลียสจะมีความเสถียร (Stable) จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียส หากภายในนิวเคลียส มีจำนวนโปรตอนหรือนิวตรอนที่มากหรือน้อยเกินไป เรียกสถานะเช่นนี้ว่าเกิดความไม่เสถียร (Unstable) นิวเคลียสจะปรับตัวเองเพื่อให้อยู่ในสภาวะเสถียรและมีการปล่อยพลังงานออกมาในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็น ที่มาของคำว่าพลังงานปรมาณู

พลังงานปรมาณู คือ พลังงานที่ถูกปล่อยมาจากนิวเคลียสของอะตอมซึ่งเกิดขึ้นจาก 3 กรณี

1. เกิดจากการสลายตัวของนิวเคลียส (Decay)

2. เกิดจากการแตกตัวของนิวเคลียสออกเป็นส่วน (Fission)

3. เกิดจากการรวมตัวกันของนิวเคลียส (Fusion)

นิวไคลด์

นิวไคลด์ (Nuclide) หมายถึง คำที่ใช้เรียกแทนนิวเคลียสของอะตอมของธาตุใดๆ โดยการใช้ สัญลักษณ์แทนเพื่อทำให้ทราบคุณสมบัติของธาตุนั้นๆได้โดยง่าย

เลขเชิงอะตอม (Atomic number;Z) หมายถึง จำนวนของโปรตอนภายในนิวเคลียสของอะตอมใดๆ

เลขมวล (Mass number;A) หมายถึง ผลรวมของจำนวนโปรตอนและนิวตรอนภายในนิวเคลียส

พลังงานปรมาณู

พลังงานปรมาณูเป็นพลังงานที่ได้มาจากพฤติกรรมของนิวเคลียสภายในอะตอม ดังนั้นหลักการ ที่แท้จริงของพลังงานปรมาณูก็จะอยู่ที่การนำเอาพลังงานที่เกิดจากนิวเคลียสมาใช้งาน โดยเกิดขึ้นจาก กรณีใดกรณีหนึ่งจากทั้ง 3 กรณีตามที่กล่าวไปแล้ว ในปัจจุบันมักพบการใช้งานส่วนใหญ่อยู่ 2 กรณี คือ การสลายตัวของนิวเคลียสซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม เป็นต้น อีกแบบหนึ่งคือการแตกตัวของนิวเคลียสในอะตอมของธาตุหนักซึ่งนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับ ผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือการใช้งานเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย เป็นต้น สำหรับการรวมตัวกันของนิวเคลียส นั้นอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย กระบวนการที่นิวเคลียสของอะตอมธาตุหนักเกิดการแตกตัวนั้นเรียกว่า ปฏิกิริยาฟิชชันซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

ปฏิกิริยานิวเคลียร์

ปฏิกิริยาที่ใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยทั่วไปนั้นเป็นปฏิกิริยาฟิชชัน คือเมื่อยิงอนุภาคนิวตรอน เข้าไปชนนิวเคลียสของธาตุหนักเช่นยูเรเนียมแล้วเกิดการแตกตัวของธาตุหนักนั้นซึ่งการแตกตัวนี้จะทำ ให้มีการปลดปล่อยความร้อนพร้อมทั้งอนุภาคนิวตรอนเกิดขึ้นมาใหม่จำนวนหนึ่ง ( 2-3 ตัว) โดยการแตก ตัวนี้จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเรียกว่าปฏิกิริยาลูกโซ่ (Chain reaction) อย่างไรก็ตามวัสดุที่สามารถนำมา เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้นั้นเรียกว่าวัสดุฟิสไซล์ (Fissile material) ซึ่งการเลือกใช้วัสดุ ฟิสไซล์ใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับประเภทของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เช่นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบ PWR หรือ BWR ใช้ยูเรเนียม-235 ความเข้มข้น 2-4 % ส่วนแบบ CANDU นั้นใช้ยูเรเนียมที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

อย่างไรก็ตามเงื่อนไขในการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่นั้นนิวตรอนที่ทำให้เกิดการแตกตัวต่อไปได้นั้นต้องเป็น นิวตรอนพลังงานต่ำหรือนิวตรอนช้าแต่ว่านิวตรอนที่เกิดขึ้นใหม่จากการแตกตัวนั้นเป็นนิวตรอนเร็ว หรือ Fast neutron ซึ่งข้อจำกัดนี้เกิดจากเหตุผลทางฟิสิกส์ของปฏิกิริยาฟิชชัน ดังนั้นภายในเครื่องปฏิกรณ์จึง ต้องมีสารหน่วงนิวตรอนเพื่อลดความเร็วของนิวตรอนให้อยู่ในย่าน Thermal energy เพื่อให้เกิดปฏิกิริยา ต่อไปได้ ซึ่งสารหน่วงนิวตรอนโดยทั่วไปมักใช้น้ำธรรมดาหรือน้ำมวลหนักแล้วแต่ประเภทของโรงไฟฟ้า อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตุว่าปฏิกิริยาฟิชชันนี้สามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติเพียงแต่ว่าโอกาส ที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่นั้นมีโอกาสน้อยมาก

กำเนิดเอกภพเริ่มนับจากจุดที่เรียกว่า"บิกแบง (BigBang)" บิกแบงเป็นชื่อที่ใช้เรียกทฤษฎีกำเนิดเอกภพทฤษฎีหนึ่ง ปัจจุบันบิกแบงเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเพราะมีปรากฏการณ์หลายอย่างที่สอดคล้องหรือเป็นไปตามทฤษฎีบิกแบงก่อนการเกิดบิกแบงเอกภพเป็นพลังงานล้วนๆ ภายใต้อุณหภูมิที่สูงยิ่ง จุดบิกแบงจึงเป็นจุดที่พลังงานเริ่มเปลี่ยนเป็นสสารครั้งแรก เป็นจุดเริ่มต้นของเวลาและเอกภพ

ปัจจุบันเอกภพประกอบด้วยกาแล็กซีจำนวนเป็นแสนล้านแห่ง ระหว่างกาแล็กซีเป็นอวกาศที่เวิ้งว้างกว้างไกลเอกภพจึงมีขนาดใหญ่มากโดยมีรัศมีไม่น้อยกว่า 15,000 ล้านปีแสง และมีอายุประมาณ 15,000 ล้านปีแสงภายในกาแล็กซีแต่ละแห่งประกอบด้วยดาวฤกษ์จำนวนมากรวมทั้งแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ที่เรียกว่า เนบิวลา และที่ว่าง โลกของเราเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะซึ่งเป็นสมาชิกหนึ่งของกาแล็กซีของเรา

บิกแบงเป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงการระเบิดใหญ่ที่ทำให้พลังงานส่วนหนึ่งเปลี่ยนเป็นเนื้อสาร มีวิวัฒนาการต่อเนื่องจนเกิดเป็นกาแล็กซี เนบิวลา ดาวฤกษ์ ระบบสุริยะ โลก ดวงจันทร์ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ

ขณะเกิดบิกแบง มีเนื้อสารเกิดขึ้นในรูปของอนุภาคพื้นฐานชื่อ ควาร์ก (Quark) อิเล็กตรอน (Electron) นิวทริโน (Neutrino) และโฟตอน (Photon) ซึ่งเป็นพลังงาน เมื่อเกิดอนุภาคก็จะเกิดปฏิอนุภาค (Anti-particle) ที่มีประจุไฟฟ้าตรงกันข้าม ยกเว้นนิวทริโนและแอนตินิวทริโน ไม่มีประจุไฟฟ้า เมื่อปฏิอนุภาคพบกับอนุภาคชนิดเดียวกัน จะหลอมรวมกันเนื้อสารเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจนหมดสิ้น ถ้าเอกภพมีจำนวนอนุภาคเท่ากับปฏิอนุภาคพอดี เมื่อพบกันจะกลายเป็นพลังงานทั้งหมด ก็จะไม่เกิดกาแล็กซี ดาวฤกษ์และระบบสุริยะ โชคดีที่ในธรรมชาติ มีอนุภาคมากกว่าปฏิอนุภาค ดังนั้นเมื่อปฏิอนุภาคพบอนุภาค นอกจากจะได้พลังงานเกิดขึ้นแล้ว ยังมีอนุภาคเหลืออยู่ และนี่คืออนุภาคก่อกำเนิดเป็นสสารของเอกภพในปัจจุบัน

หลังบิกแบงเพียง 10-6วินาที อุณหภูมิของเอกภพลดลงเป็นสิบล้านล้านเคลวิน ทำให้ควาร์กเกิดการรวมตัวกันเป็นโปรตอน (นิวเคลียสของไฮโดรเจน)และนิวตรอน

หลังบิกแบง 3 นาที อุณหภูมิของเอกภพลดลงเป็นร้อยล้านเคลวิน มีผลให้โปรตรตอนและนิวตรอนเกิดการรวมตัวเป็นนิวเคลียสของฮีเลียม ในช่วงแรกๆนี้เอกภพขยายตัวอย่างเร็วมาก

หลังบิกแบง 300,000ปี อุณหภูมิลดลงเหลือ 10,000 เคลวิน นิวเคลียสของไฮโดรเจนและฮีเลียมดึงอิเล็กตรอนเข้ามาอยู่ในวงโคจร เกิดเป็นอะตอมไฮโดรเจนและฮีเลียมตามลำดับ

กาแล็กซีต่างๆเกิดหลักบิกแบงอย่างน้อย 1,000 ล้านปี ภายในกาแล็กซีมีธาตุไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นสารเบื้องต้นซึ่งก่อกำเนิดเป็นดาวฤกษ์รุ่นแรกๆ ส่วนธาตุต่างๆที่มีมวลมากกว่าฮีเลียมเกิดจากดาวฤกษ์ขนาดใหญ่

ข้อสังเกตที่สนับสนุนทฤษฎีบิกแบง ปรากฏการณ์อย่างน้อย 2 อย่าง ที่สนับสนุนทฤษฎีบิกแบง ได้แก่

1. การขยายตัวของเอกภพฮับเบิล นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันค้นพบว่า กาแล็กซีเคลื่อนที่ไกลออกไปด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นตามระยะห่าง กาแล็กซีที่อยู่ไกลยิ่งเคลื่อนที่ห่างออกไปเร็วกว่ากาแล็กซีที่อยู่ใกล้ นั่นคือ เอกภพกำลังขยายตัวจากความเข้าใจในเรื่องนี้ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถคำนวณอายุของเอกภพได้

2. อุณหภูมิพื้นหลังอวกาศซึ่งปัจจุบันลดลงเหลือ 2.73 เคลวินการค้นพบอุณหภูมิของเอกภพในปัจจุบัน หรืออุณหภูมิพื้นหลังเป็นการค้นพบโดยบังเอิญโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกา 2 คน คือ อาร์โน เพนเซียส และโรเบิร์ต วิลสัน แห่งห้องปฏิบัติการเบลเทเลโฟน เมื่อปีพ.ศ.2508 ขณะนักวิทยาศาสตร์ทั้งสองคน กำลังทดสอบระบบเครื่องรับสัญญาณของกล้อง โทรทรรศน์วิทยุปรากฏว่ามีสัญญาณรบกวนตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน หรือฤดูต่างๆ แม้เปลี่ยนทิศทาง และทำความสะอาดสายอากาศแล้วก็ยังมีสัญญาณรบกวนอยู่เช่นเดิม ต่อมาทราบภายหลังว่าเป็นสัญญาณที่เหลืออยู่ในอวกาศเทียบได้กับพลังงานของการแผ่รังสีของวัตถุดำ ที่มีอุณหภูมิประมาณ2.73เคลวินหรือประมาณ – 270 องศาเซลเซียส

ในขณะเดียวกัน โรเบิร์ต ดิกกี พี.เจ.อีพี เบิลส์ เดวิด โรลล์ และ เดวิด วิลคินสัน แห่งมหาวิทยาลัยปรินซ์ตันได้ทำนายมานานแล้วว่า การแผ่รังสีจากบิกแบงที่เหลืออยู่ในปัจจุบันน่าจะตรวจสอบได้ โดยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ

ดังนั้นการพบพลังงานจากทุกทิศในปริมาณที่เทียบได้กับพลังงานการแผ่รังสี ของวัตถุดำที่ประมาณ2.73เคลวินจึงเป็นอีกข้อหนึ่งที่สนับสนุน ทฤษฎีบิกแบงได้เป็นอย่างดี

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

บิกแบงและวิวัฒนาการของเอกภพ

http://talklikeaphysicist.com

ที่มา

http://www.chaiyatos.com/sky_lesson1.htm

http://astroschool.science.cmu.ac.th/th/content

http://pixshark.com/big-bang-universe.htm

http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/278/cosmos/14.htm


Return to contents

 แสงแรกของเอกภพ

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

การขยายตัวของเอกภพหลังการระเบิดครั้งใหญ่
http://sunflowercosmos.org/gallery/new_gallery_7_images/big_bang_expansion.jpg

เอกภพมีจุดเริ่มต้นจากการระเบิดครั้งใหญ่ หลังจากการระเบิดพลังงานมหาศาลได้เปลี่ยนไปเป็นมวล กระจายออกทุกทิศทาง ทำให้เราเห็นกลุ่มกาแลกซี่กระจายตัวอยู่ทุกทิศทาง อย่างสม่ำเสมอ ตามทฤษฎีบิกแบงแล้วหลังจากการระเบิดเพียงเสี้ยววินาที (10−36วินาที)จะเกิดการพองตัว (Inflation) หรือการขยายตัวอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นเอกภพเริ่มเย็นตัวลง และอนุภาคมูลฐานเริ่มกำเนิดขึ้น ได้แก่ควาร์ก (Quark) อิเล็กตรอน (Electron) นิวทริโน (Neutrino) และโฟตอน (Photon) ซึ่งเป็นพลังงาน เมื่อเกิดอนุภาคก็จะเกิดปฏิอนุภาค (Anti-particle) ที่มีประจุไฟฟ้าตรงกันข้าม ยกเว้นนิวทริโนและแอนตินิวทริโน ไม่มีประจุไฟฟ้า เมื่อปฏิอนุภาคพบกับอนุภาคชนิดเดียวกัน จะหลอมรวมกันเนื้อสารเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจนหมดสิ้น ถ้าเอกภพมีจำนวนอนุภาคเท่ากับปฏิอนุภาคพอดี เมื่อพบกันจะกลายเป็นพลังงานทั้งหมด ก็จะไม่เกิดกาแล็กซี ดาวฤกษ์และระบบสุริยะ โชคดีที่ในธรรมชาติ มีอนุภาคมากกว่าปฏิอนุภาค ดังนั้นเมื่อปฏิอนุภาคพบอนุภาค นอกจากจะได้พลังงานเกิดขึ้นแล้ว ยังมีอนุภาคเหลืออยู่ และนี่คืออนุภาคก่อกำเนิดเป็นสสารของเอกภพในปัจจุบัน

หลังบิกแบง 300,000ปี อุณหภูมิลดลงเหลือ 10,000 เคลวิน นิวเคลียสของไฮโดรเจนและฮีเลียมดึงอิเล็กตรอนเข้ามาอยู่ในวงโคจร เกิดเป็นอะตอมไฮโดรเจนและฮีเลียมตามลำดับ ซึ่งในการหลอมรวมนิวเคลียสจะมีพลังงานส่วนหนึ่งเกิดขึ้นในรูปของคลืนแม่เหล็กไฟฟ้า ในรูปของพลังงานแสงถือเป็นแสงแรกของเอกภพปัจจุบันนักดาราศาสตร์สามารถวัดหรือสังเกตการณ์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เก่าแก่นี้ได้ เรียกว่า CMBหรือCosmic-microwaveBackgroundRadiation

หลังจากบิกแบง แล้วเอกภพก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราเกิดความสังสัยเกี่ยวกับขอบของจักรวาล เอกภพของเราในปัจจุบันกว้างขนาดไหน แต่เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีความเร็วจำกัดที่3x108เมตรต่อวินาทีดังนั้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างไกลนั้นต้องอาศัยเวลาในการเดินทางเราจึงเห็นภาพ ดาวในอดีตบนท้องฟ้ายกตัวอย่างเช่นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากดาวซิริอุสในกลุ่ม ดาวสุนัขใหญ่ที่เราเห็นคืออดีตของมันเมื่อ8ปีที่แล้วเนื่องจากดาวซิริอุสอยู่ห่างจากเราเป็นระยะทาง8ปีแสงเช่นเดียวกับกาแลกซี่แอนโดรเมดาที่อยู่ ห่างไปประมาณ2.9ล้านปีแสงก็คือภาพในอดีตเมื่อประมาณ2.9ล้านปีล่วงมาแล้วแม้แต่ดวงอาทิตย์เองก็เป็นภาพเมื่อ8นาทีก่อนจากความรู้นี้ประกอบกับ ทฤษฎีบิ๊กแบงที่กล่าวว่าเอกภพมีจุดเริ่มต้นและมีอายุจำกัดที่ ประมาณ14,000ล้านปีดังนั้นเวลาที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใช้ในการเดินทางมา ยังโลกจะต้องไม่มากไป กว่า14,000ล้านปีนักฟิสิกส์เรียกระยะทาง14,000ล้านปีแสงนี้ว่า "ขอบฟ้า ของจักรวาล (CosmicHorizon) 

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

แผนภาพแสดงการแตกตัวสมมาตร (Symmetric Breaking)

จากทฤษฎีสนามรวม (GrandUnificationTheory:GUT) ซึ่งกล่าวว่าเอกภพประกอบด้วย อันตรกริยาทั้งหมดสี่แรงคือแรงทางแม่เหล็กไฟฟ้า,แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม, แรงนิวเคลียร์แบบอ่อนและแรงโน้มถ่วงโดยแรงทั้งสี่ชนิดจะเป็นอันตรกริยา รวมทั้งหมดที่พลังงานสูงมาก ๆ เรียกว่า Supergavity หลังจากที่พลังงานต่ำลง จาก"การขยายตัวออกอย่างรุนแรงของเอกภพ อันตรกริยารวมทั้งหมดได้แยกออกจากกันจนมาเป็นอันตรกริยาทั้งสี่เช่นในปัจจุบันดังรูป

พบว่าแรงทางแม่เหล็กไฟฟ้าเริ่มแยกตัวออกมาเมื่อประมาณ 10-10 วินาที หลังจากบิ๊กแบงแต่เอกภพที่มีอายุประมาณ 300,000 ปี หลังบิ๊กแบงนั้นมีความหนาแน่นมากจนกระทั่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีเส้นทางเดินอิสระเฉลี่ย (Meanfreepath) ต่ำมากดังรูปหมายความว่าก่อนหน้านั้น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ายังไม่สามารถหลุดออกจากเอกภพในยุคนั้นได้เลย 

ทฤษฎี CMB มีการศึกษาครั้งแรกในปี 1948 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียชื่อจอร์จกามอฟ (GeorgeGamow) ได้เสนอภาพของเอกภพในช่วงต้น (EarlyUniverse) มีอุณหภูมิ และความหนาแน่นสูงมากทำให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าขณะนั้นอยู่ในช่วงรังสี คอสมิกแต่เนื่องจากเอกภพมีการขยายตัวทำให้ความยาวคลื่นของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันถูกยืดออกให้มีความยาวคลื่นในช่วง ไมโครเวฟซึ่งสอดคล้องกับการคำนวณอุณหภูมิของเอกภพโดยกามอฟได้ ประมาณ 2.7 เคลวิน

ดังนั้นเมื่อสังเกตการณ์จากโลกในปัจจุบัน ก็ควรจะตรวจพบคลื่นไมโครเวฟกระจายเต็มเอกภพในทุกทิศ ทุกทาง การสังเกตการณ์ CMB ได้เริ่มขึ้นในปี ค.ศ.1965 โดยอาร์โนเพนเซียส (ArnoPenzias) และโรเบิร์ตวิลสัน (RobertWilson) ได้สังเกตพบแหล่งกำเนิดคลื่นไมโครเวฟจากทุกทิศทุกทางโดยใช้สายอากาศขนาดใหญ่ติดกับดาวเทียมเพนเซียส และวิลสัน สามารถคำนวณอุณหภูมิของเอกภพในปัจจุบันได้ 2.73 เคลวิน ต่อมาในปี 1991 องค์การนาซาได้ส่งดาวเทียม COBE (Cosmic Background Explorer) ขึ้นไปวัด CRB ด้วยอุปกรณ์ที่ดีกว่าและคำนวณได้อุณหภูมิ 2.725 เคลวิน

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

ภาพถ่ายของเพนเซียสและวิลสัน ซึ่งได้ค้นพบแหล่งกำเนิดคลื่นไมโครเวฟจากทั่วทุกทิศ

สเปกตรัมของ CRB ที่ได้จากข้อมูลการสังเกตการณ์ของดาวเทียม COBE มีลักษณะเป็นเส้นโค้งการแผ่รังสีของวัตถุดำที่อุณหภูมิ 2.725 เคลวิน ซึ่งเกิดจากแหล่งกำเนิดแสงความยาวคลื่นในช่วงไมโครเวฟสอดคล้องกับการคำนวณที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าถูกยืดออกจากความยาวคลื่นเดิมจากการขยายตัวของเอกภพไม่มีการขยายตัว

เส้นโค้งการแผ่รังสีของวัตถุดำที่สังเกตการณ์ได้ดังกล่าวจะไม่ถูกยืดออก และสามารถวัดอุณหภูมิของแหล่งกำเนิดแสงได้ค่ามากกว่า 3,000 เคลวินซึ่งสอดคล้องกับแหล่งกำเนิดแสง ความยาวคลื่นในช่วงรังสีคอสมิกทำให้นักฟิสิกส์สามารถทำนายได้ว่าเอกภพในช่วงรอยต่อที่เวลา 300,000 ปี หลังจากเกิดบิ๊กแบงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร แม้ว่าจะไม่สามารถตรวจวัดแสงก่อนหน้ายุคนั้นได้เลย

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

แสดงสเปกตรัมของ CMB ซึ่งเป็นลักษณะสเปกตรัมการแผ่รังสีของวัตถุดำ

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

ภาพวาดแสดงการสังเกตุการณ์ของดาวเทียม COBE เพื่อค้นหาความลับของเอกภพ

แบบจำลองอันหนึ่ง ที่เป็นไปได้สำหรับเอกภพในช่วงก่อนหน้าเวลา 300,000 ปี หลังจากเกิดบิ๊กแบงคือแบบจำลองที่เอกภพในเวลานั้นประกอบไปด้วยก๊าซที่มีสถานะร้อนจัดจน อิเล็กตรอนแยกออกมาจากอะตอมไฮโดรเจนเรียกสถานะดังกล่าวว่าพลาสมา (Plasma) ซึ่งเป็นสถานะที่ไม่มีอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้ามีแต่ประจุของก๊าซไฮโดรเจนและ อิเล็กตรอนอิสระที่มีความหนาแน่นมากจนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าถูกดูดกลืนตลอดเวลา และมีเส้นทางเดินอิสระเฉลี่ยของโฟตอน (Meanfreepathofphoton) ต่ำมากแต่เมื่ออุณหภูมิของ

เอกภพต่ำลงเรื่อยๆจนมา ถึงช่วงรอยต่อที่เวลา 300,000 ปี หลังจากเกิดบิ๊กแบงแล้วทำให้พลังงานรวมของ เอกภพต่ำลงจนประจุของก๊าซไฮโดรเจนและอิเล็กตรอนอิสระฟอร์มตัวกันกลายเป็น อะตอมของก๊าซไฮโดรเจนที่เป็นกลางทางไฟฟ้าดังปฏิกริยา

โปรตอน+อิเล็กตรอน<--->ไฮโดรเจนเรียกปฏิกริยาดังกล่าวว่ารีคอมบิเนชั่น (Recombination)

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

สถานะของก๊าซก่อนรีคอมบิเนชั่น

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

ภายหลังจากรีคอมบิเนชั่นแล้วมีการฟอร์มตัวเป็นอะตอม 

หลังจากประจุของ ก๊าซไฮโดรเจนและอิเล็กตรอนอิสระฟอร์มตัวจนกลายเป็นก๊าซไฮโดรเจนที่เป็นกลาง ทางไฟฟ้าทั่วไปในเอกภพแล้วจะทำให้อิเล็กตรอนอิสระมีจำนวนน้อยลงโฟตอนจึงมี เส้นทางเดินอิสระเฉลี่ยมากขึ้นเนื่องจากไม่ค่อยถูกอิเล็กตรอนอิสระดูดกลืน อีกเป็นเหตุให้มีโฟตอนหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหลงเหลือมาในโลกปัจจุบันและ ถูกยืดความยาวคลื่นออก(เนื่องจากเอกภพมีการขยายตัว)จนกลายเป็นคลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้าในช่วงคลื่นไมโครเวฟ

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

CMB ที่ถ่ายได้โดย WMAP จะสังเกตเห็นความสม่ำเสมอของอุณภูมิฉากหลัง
http://en.wikipedia.org/wiki/Cosmic_microwave_background#/media/File:Ilc_9yr_moll4096.png


ที่มา
http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/278/cosmos/14.htm
http://www.chaiyatos.com/sky_lesson1.htm


Return to contents

เอกภพกำลังขยายตัว

ช่วงกลางศตวรรษที่ 20 (ราวๆห้าสิบปีก่อน) มีการต่อสู้ระหว่างสองแนวคิดหลักๆที่อธิบายว่าเอกภพเกิดขึ้นมาอย่างไรและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

1.เอกภพแบบคงที่ (Steady State model) ที่เชื่อว่าเอกภพไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดจบ

2.ทฤษฎีบิ๊กแบง (Big Bang model) ที่เชื่อว่าเอกภพมีจุดเริ่มต้น

เฟรด ฮอยล์ หนึ่งในผู้นำของแนวคิดเอกภพแบบคงที่เอ่ยคำว่าบิ๊กแบงขึ้นมาในรายการวิทยุ ซึ่งคำนี้กลายเป็นคำกล่าวที่ติดหูและทุกคนใช้เรียกต่อๆกันมาตลอด

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

เฟรด ฮอยล์

http://en.wikipedia.org/wiki/Fred_Hoyle#/media/File:Fred_Hoyle.jpg

ทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อถือทฤษฎีบิ๊กแบงที่เชื่อว่าเอกภพกำลังขยายตัวมากกว่า คำถามคือทำไมนักวิทยาศาสตร์เชื่อล่ะ?

ในปี 1929 เอ็ดวิน ฮับเบิล (Edwin Hubble) ได้พิสูจน์ให้โลกเห็นว่ากาแล็กซียิ่งอยู่ไกลจากเราออกไปวิ่งหนีออกจากกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราด้วยอัตราเร็วสูง ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเอกภพกำลังขยายตัวอยู่ทำให้กาแล็กซีที่กระจายตัวอยู่บนเอกภพขยายตัววิ่งหนีออกจากกันไปด้วย

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน
เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

เอ็ดวิน ฮับเบิล (Edwin Hubble) และการขยายตัวของเอกภพ

http://www.atnf.csiro.au/outreach/education/senior/cosmicengine/hubble.html

คนทั่วไปฟังแล้วมักคิดว่าในเมื่อเราอยู่บนโลก และเราเห็นกาแล็กซีไกลๆวิ่งหนีจากเราออกไปก็แปลว่า โลกเราเป็นจุดศูนย์กลางของการขยายตัว หมายความว่าโลกเราน่าจะอยู่เฉยๆไม่ได้วิ่งไปไหน แต่จริงๆแล้วต่อให้เราไปอยู่ในกาแล็กซีอื่นเราก็เห็นแบบเดิมอยู่ดี สิ่งนี้คือความสับสนพื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีบิ๊กแบง

จริง ๆ แล้วบิ๊กแบงไม่ใช่การระเบิดออกมาสู่ที่ว่าง มันไม่ใช่การระเบิดอะไรทั้งสิ้น มันคือการขยายตัวของ space ออกไปอย่างรวดเร็วโดยไม่มีจุดใดเป็นจุดศูนย์กลางหรือจุดพิเศษ การขยายตัวที่ว่านี้เกิดขึ้นทุกหนทุกแห่งในเอกภพ

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

CMB รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของเอกภพ เป็นร่องรอยที่หลงเหลือจาก Big Bang

http://en.wikipedia.org/wiki/Cosmic_microwave_background 

หลักฐานอื่นที่สนับสนุนว่าบิ๊กแบงเกิดขึ้นจริงคืออะไรนอกจากการเห็นกาแล็กซีวิ่งหนีออกจากกัน?

คำตอบคือ สิ่งที่เรียกว่ารังสีไมโครเวฟพื้นหลัง (cosmic microwave background)ซึ่งเรียกย่อๆว่า ซีเอ็มบี (CMB) นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าเอกภพของเรามีคลื่นไมโครเวฟกระจายตัวอยู่ทั่วไปหมด โดยคลื่นดังกล่าวมีอุณหภูมิ 2.725 เคลวินเท่านั้น ซึ่ง นี่คือความร้อนจางๆที่หลงเหลืออยู่จากบิ๊กแบงทำให้เรามองเห็นรังสีไมโครเวฟ จากทุกทิศทุกทางด้วยอุณภูมิเท่ากันด้วยความสม่ำเสมอสูงมากๆ จะแตกต่างกันบ้างก็เพียงหนึ่งในหมื่นเท่านั้น นั่นแปลว่าในอดีตที่ผ่านมา space ทั้งหมดเชื่อมต่อกันมาก่อน

แล้วก่อนหน้าบิ๊กแบงล่ะมีอะไร?

ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปบ่งชี้ว่าจุดเริ่มต้นของเวลาคือตอนเกิดบิ๊กแบง ซึ่งถ้าเชื่อตามนี้ทุกอย่างก็จบครับ ได้คำตอบเรียบร้อยว่าคำว่าก่อนหน้าบิ๊กแบงนั้นไม่มีความหมายอะไรในเมื่อเวลาเริ่มต้นจากบิ๊กแบง เอาเข้าจริงตอนเกิดบิ๊กแบงก็ไม่มีใครสามารถบอกได้แล้วว่าตอนนั้นเอกภพมีสภาพอย่างไรเพราะเอกภพมีสภาพร้อนและแน่นมากๆ สภาพเอกภพในตอนนั้นมีขนาดเล็กสุดๆซึ่งต้องการทฤษฎีในลักษณะควอนตัมมาอธิบาย แถมมวลสารมากมายขนาดนั้นทำให้เราต้องการทฤษฎีในลักษณะทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปมาอธิบาย แต่ในปัจจุบันเรายังไม่มีทฤษฎีที่มีสมบัติของทฤษฎีที่ยิ่งใหญ่ทั้งสองนี้รวมกันอยู่

อย่างไรก็ตามนักฟิสิกส์พบว่าหลังจากบิ๊กแบงเกิดขึ้นได้เพียงพริบตา ราวๆ 10−36วินาที เอกภพเกิดการขยายตัวแบบรุนแรงเป็นพิเศษเรียกว่า อินเฟลชัน (inflation) ซึ่งการขยายตัวอย่างรุนแรงนี้เกิดขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆก็หยุดลง หลังจากเกิดบิ๊กแบงไปได้ราวๆ 10−33วินาที จากนั้นเอกภพก็ขยายตัวต่อมาด้วยอัตราที่ต่ำกว่าตอนเกิดอินเฟลชัน

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

ช่วงสีเทาคือช่วงที่เกิด อินเฟลชัน

http://www.oswego.edu/~kanbur/a100/lecture23.html

อินเฟลชันเป็นแนวคิดที่เกิดมาเพื่อตอบปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นเช่น ปัญหาที่ว่าทำไมเอกภพจึงดูสม่ำเสมอเหมือนกันไปหมดในภาพรวม สังเกตจากรังสีไมโครเวฟพื้นหลังก็พบว่ามันมีความสม่ำเสมอกันอย่างมากจนน่าตกใจทั้งๆที่เอกภพเราใหญ่โตมโหฬารขนาดนี้ รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาได้ว่าทำไมทุกวันนี้เราไม่เคยเห็นแม่เหล็กขั้วเดี่ยวๆเลย รายละเอียดของเรื่องอินเฟลชันนั้นขอข้ามไปก่อนนะครับเพราะค่อนข้างเยอะและยืดยาวมาก

ทุกวันนี้นักฟิสิกส์พยายามมองหาว่าหลักฐานสนับสนุนการเกิดอินเฟลชันมากขึ้นๆ เช่น หากเอกภพเกิดการขยายตัวอย่างรุนแรงขนาดนั้นแม้ในช่วงสั้นๆ เราน่าจะตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วง (Gravitational wave) ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นบ้าง นักฟิสิกส์หลายคนเชื่อว่าคลื่นความโน้มถ่วงอาจส่งผลต่อรังสีไมโครเวฟพื้นหลังโดยทำให้มันเกิดการโพลาไรส์เล็กน้อย (โพลาไรส์อธิบายง่ายๆได้ว่ามันคือการสั่นของคลื่นในทิศทางบางทิศ ไม่ใช่สั่นแบบมั่วซั่วไปหมดทุกทิศทาง) เรียกแบบเฉพาะว่า B-mode polarization พูด ง่ายๆว่ามันน่าจะมีรูปแบบบางอย่างเกิดขึ้นซึ่งถ้าเราตรวจสอบมันได้มันจะน่า ทึ่งมากๆเพราะมะนเหมือนเรามองหาหลักฐานของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตอัน ไกลโพ้น

คำถามต่อมาคือแล้วเราอยู่ที่จุดศูนย์กลางการขยายตัวของเอกภพหรือไม่?

นับตั้งแต่สมัยของโคเปอร์นิคัสเชื่อว่าโลกไม่ใช่ศูนย์กลางที่ทุกสิ่งในเอกภพต้องมาโคจรรอบ เราต้องหมั่นเตือนตัวเองว่าเวลาเรานึกว่าเราเป็นศูนย์กลางของอะไรสักอย่าง บางทีมันอาจไม่ใช่ความจริงแต่เกิดจากขีดจำกัดของการรับรู้และมุมมองของเรา เพื่อให้เข้าใจภาพการขยายตัวของเอกภพ เราอาจต้องลองลดมิติของเอกภพเราลงให้เหลือเพียงสองมิติ โดยมองว่า space ทั้งเอกภพเป็นเหมือนผิวลูกโป่งที่กำลังถูกเป่าจนพองออก

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

การขยายตัวของเอกภพ

http://www.ctc.cam.ac.uk/outreach/origins/inflation_zero.php

ดังนั้นทุก ๆ จุดบนแผ่นยางจึงยืดตัวออกไปพร้อมๆกันและเท่าๆกันหมด อย่าลืมนะครับว่าเอกภพเราคือผิวลูกโป่ง ดังนั้นด้านนอกลูกโป่ง หรือ ภายในลูกโป่งจึงไม่มีความหมายอะไรเพราะเอกภพเรากระจายอยู่บนผิวลูกโป่ง

แล้วเอกภพมีขอบหรือไม่?

ทฤษฎีทุกวันนี้ของเราบ่งว่าเอกภพไม่มีขอบ เอกภพเราอาจจะมีขนาดใหญ่โตไร้ที่สิ้นสุดหรือมีขนาดจำกัดค่าหนึ่งก็ได้แต่มันต้องไม่มีขอบ เอกภพอาจมีขนาดจำกัดแต่ไม่มีขอบได้นะครับ เปรียบได้กับผิวลูกโป่งเมื่อสักครู่ หากเราเป็นมดที่อยู่บนผิวลูกโป่ง พอเราวิ่งไปเรื่อยๆ(แต่เร็วกว่าอัตราการขยายตัวของลูกโป่ง) สักพักเราจะสามารถกลับมายังจุดเริ่มต้นได้ทั้งนี้เพราะผิวลูกโป่งมีขนาดจำกัดอยู่ค่าหนึ่งนั่นเอง (ลองนึกถึงเกมงูในมือถือรุ่นเก่าก็ได้ครับ พอวิ่งไปชนด้านหนึ่งมันจะโผล่ออกมาอีกด้านหนึ่ง กรณีนี้เอกภพของงูก็จะไม่มีขอบให้วิ่งชนแต่มีขนาดจำกัด มันเลยวิ่งกลับมาที่เดิมได้)แต่ถ้าเอกภพเรามีขนาดใหญ่เป็นอนันต์ ไม่ว่าเราจะวิ่งบนผิวลูกโป่งด้วยความเร็วแค่ไหนหรือนานแค่ไหนเราก็จะไม่กลับมายังจุดเริ่มต้น

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

อย่างไรก็ตามเอกภพเราอาจไม่ได้มีรูปทรงเป็นผิวแบบลูกโป่งก็ได้ นักฟิสิกส์หลายคนเชื่อว่าเอกภพเรามีรูปร่างแบนๆแบบแผ่นกระดาษ , บางคนเชื่อว่าเราเป็นมดที่ไต่อยู่บนผิวแบบโดนัท! และทุกวันนี้นักฟิสิกส์ยังไม่รู้ว่าเอกภพมีขนาดจำกัดหรือไม่

อันที่จริงแล้วเอกภพที่มนุษย์เราสามารถสังเกตได้มีขอบเขตจำกัดอยู่ สาเหตุมาจากแสงเดินทางด้วยความเร็วจำกัดทำให้เราไม่สามารถมองเห็นแสงหรือข้อมูลใดๆจากกาแล็กซีที่อยู่ไกลเกินกว่าระยะทางค่าหนึ่งได้

สมมติว่าเรามองไปยังกาแล็กซีที่อยู่ห่างจากเราออกไป 1 ปีแสงก็แปลว่าภาพกาแล็กซีที่เราเห็นในปัจจุบันจริงๆแล้วเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 1 ปีมาแล้วเพราะแสงใช้เวลาในการเดินทาง ดังนั้นยิ่งเรามองกาแล็กซีที่อยู่ไกล เราก็ยิ่งเห็นเหตุการณ์ย้อนอดีตมากเท่านั้น แต่ถ้าเรามองออกไปไกลมากๆไกลสุดๆจนแสงจากกาแล็กซียังเดินทางมาไม่ถึงเรา! เราย่อมไม่สามารถสังเกตการณ์หรือล่วงรู้ข้อมูลของเอกภพของขอบเขตนี้ได้ เราเรียกขอบเขตเอกภพที่เราสามารถสังเกตได้นี้ว่า observable universe ซึ่งห่างจากเราออกไปทุกทิศทุกทางสี่หมื่นหกพันล้านปีแสงโดยประมาณ

ถึงแม้รัศมีการสังเกตเอกภพของเราจะไปไกลถึงระยะสี่หมื่นหกพันล้านปี แต่น่าแปลกที่เอกภพเราเกิดมาได้เพียงหนึ่งหมื่นสามพันล้านปีเท่านั้น (พูดแบบละเอียดๆคือ13.77 พันล้านปี) ทั้งนี้เพราะเอกภพมีการขยายตัวทำให้ space ยืดออกซึ่งจะอธิบายโอยละเอียดในครั้งต่อไปครับ

ข้อมูลจาก

http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-article/549-2013-07-08-09-45-26

http://www.ctc.cam.ac.uk/outreach/origins/inflation_zero.php

http://www.oswego.edu/~kanbur/a100/lecture23.html

http://en.wikipedia.org/wiki/Cosmic_microwave_background

http://www.atnf.csiro.au/outreach/education/senior/cosmicengine/hubble.html

http://en.wikipedia.org/wiki/Fred_Hoyle#/media/File:Fred_Hoyle.jpg


Return to contents

วิวัฒนาการของเอกภพ (Evolution Of The Universe)

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

ภาพถ่ายกลุ่มกาแลกซีที่กระจายอยู่ทั่วเอกภพ
http://maconkidsmagazine.com/2014/05/08/creation-vs-evolution-special/

เอกภพ หรือ จักรวาล (Universe) เป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดและไร้ขอบเขต และเป็นห้วงอวกาศที่เต็มไปด้วยดวงดาวจำนวนมหาศาล ซึ่งเราจะเรียกดวงดาวที่เกาะกันเป็นกลุ่มว่า กาแล็กซี และในแต่ละกาแล็กซี ก็จะมีระบบของดาวฤกษ์ กระจุกดาว เนบิวลา หลุมดำ อุกกาบาต ฝุ่นผง กลุ่มก๊าซ และที่ว่างอยู่รวมกันอยู่ ซึ่งก็โลกอยู่ในกาแล็กซีหนึ่ง ที่เรียกกันว่า กาแล็กซีทางช้างเผือก นั่นเอง

สำหรับต้นกำเนิดที่แท้จริงของเอกภพนั้น ที่จริงมีอยู่หลายทฤษฎี แต่ทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับจากนักดาราศาสตร์มากที่สุดในปัจจุบัน ก็คือ ทฤษฎีบิ๊กแบง (Big Bang Theory) ของ จอร์จ เลอแมตร์ ที่เชื่อกันว่า เอกภพเริ่มต้นจากความเป็นศูนย์ ไม่มีเวลา ไม่มีแม้แต่ความว่างเปล่า และเอกภพกำเนิดขึ้นโดยการระเบิด ซึ่งหลังจากการระเบิดนั้นเอกภพก็ เริ่มขยายตัวออกไป ก่อนที่จะเกิดอนุภาคมูลฐาน อะตอม และโมเลกุล ต่าง ๆ ขึ้นตามมาหลังจากนั้น ทั้งแรงระเบิดดังกล่าว ยังทำให้เกิดแรงดันระหว่างกาแล็กซีต่าง ๆ ให้ห่างกันออกไปเรื่อย ๆ ซึ่งแรงดันที่ถือว่าเป็นวิวัฒนาการของเอกภพมีอยู่แรง 2 แรง คือ แรงดันออกหลังจากการระเบิดครั้งใหญ่ และแรงโน้มถ่วงดึงดูดให้เอกภพเข้ามารวมตัวกัน ซึ่งทั้ง 2 แรงดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดลักษณะของเอกภพ

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

วิวัฒนาการของเอกภพ
http://en.wikipedia.org/wiki/Universe

วิวัฒนาการของเอกภพ

จากหลักฐานทางดาราศาสตร์ในปัจจุบัน คาดกันว่าเอกภพน่าจะมีอายุประมาณ 15000 ล้านปี โดยมีกำเนิด ณ จุดเริ่มต้น เรียกว่า บิ๊กแบง (Big Bang) ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของอวกาศและเวลา!

ขณะนี้เรียกได้ว่า เรากำลังอยู่ในระหว่าง “ขาขึ้น” คือ ขนาดของเอกภพใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในที่สุดเอกภพจะมี “จุดจบ” ได้ 3 แบบ ใหญ่ ๆ ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นโดยรวมของเอกภพ (the universe’s overall density) ซึ่งนักดาราศาสตร์ใช้สัญลักษณ์ว่า

ค่านี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดลักษณะของเอกภพ ดังนี้

- เอกภพปิด (Closed Universe): ถ้าค่านั่นคือ เอกภพมีความหนาแน่นของมวลสารและพลังงาน มากเพียงพอ จนแรงโน้มถ่วงสามารถเอาชนะการขยายตัวได้ ในที่สุดเอกภพจะหดตัวกลับ และถึงจุดจบที่เรียกว่า บิ๊กครันช์ (Big Crunch) (คำว่า crunch หมายถึง บดเคี้ยว)

- เอกภพแบน (Flat Universe)

- เอกภพเปิด (Open Universe)

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

แสดงกราฟลักษณะวิวัฒนาการของเอกภพทั้งสามแบบ

http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2010/03/X8962620/X8962620.html

ค่าความหนาแน่น ?0 นี้ แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่สามารถวัดได้อย่างแน่นอน แต่ก็มีหลักฐานบางประการชี้ให้เห็นว่า อาจมีค่าประมาณ 0.2 ถึง 0.3 ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ก็หมายความว่า เรากำลังอยู่ในเอกภพแบบเปิด แต่ถ้าหากมีหลักฐานใหม่ ๆ ที่ขัดแย้งข้อมูลนี้ ข้อสรุปที่ได้ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ถ้าหากพบว่านิวตริโน หรือ ดาวแคระสีน้ำตาลทั้งหมดมีมวลรวมกันมากพอ หรือ พบสสารมืด (dark matter) ในรูปแบบอื่น เอกภพก็อาจจะเป็นเอกภพปิดก็เป็นได้

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

ภาพ เอกภพเปิด (Open Universe) และ เอกภพปิด (Closed Universe)

ยุคต่าง ๆ ของเอกภพแบบเปิด

ในที่นี้ เราจะลองพิจารณาความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นต่อจากนี้ ภายใต้สมมติฐานว่า เอกภพเป็นแบบเปิด (open universe) ทั้งนี้ เนื่องจากเอกภพเปิดมีช่วงอายุขัยยาวนานเพียงพอที่จะเกิดเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจจำนวนมาก

เราจะลองมองอนาคตไปข้างหน้าไกลแสนไกลราว 10100 ปี นับจากจุดเริ่มต้น แต่เพื่อให้ได้ภาพที่ครบถ้วนสมบูรณ์ จะขอเริ่ม ณ จุดตั้งต้น คือ บิ๊กแบง ผ่านยุคต่าง ๆ ได้แก่ ยุคอินเฟลชัน ยุครังสี ยุคดวงดาว ยุคดีเจนเนอเรต ยุคหลุมดำ และสุดท้ายคือ ยุคมืด

- ยุคอินเฟลชัน (The Inflation Era)

เชื่อกันว่าจุดกำเนิดของเอกภพ หรือ บิ๊กแบง (Big Bang) เริ่มต้น ณ เวลาเศษเสี้ยวของวินาทีที่ 10-43 วินาที ซึ่งเรียกว่า เวลาของแพลงค์ (Planck’s time) จากนั้นในช่วงเวลา 10-37 ถึง 10-32 วินาที เอกภพได้เกิดการพองตัวอย่างรวดเร็ว เรียกว่า อินเฟลชัน (inflation) ทฤษฎีอินเฟลชันสามารถใช้อธิบายว่า ทำไมเอกภพที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันถึงได้มีขนาดใหญ่โตมโหฬาร และดูเหมือนว่า จะมี ความหนาแน่นพอ ๆ กันในทุก ๆ ตำแหน่ง (homogeneous) และทุก ๆ ทิศทาง (isotropic) รวมทั้งลักษณะทางกายภาพอื่น ๆ เช่น “ความแบน” ของเอกภพ

ในช่วงเวลาอันแสนสั้นแต่น่ามหัศจรรย์นี่เอง ณ บางตำแหน่ง อาจมีการกระจายของความหนาแน่นของพลังงานสูงกว่า บริเวณอื่น ๆ เล็กน้อย บริเวณเหล่านี้ คือ บริเวณที่จะเกิดเป็นดวงดาวและกาแลกซีในอนาคต

- ยุครังสี (The Radiation-dominated Era)

ในช่วงเวลาถัดมา ตั้งแต่ 10-32 วินาที ถึงราว 10,000 ปี เป็นยุคที่เอกภพเต็มไปด้วยรังสีอย่างหนาแน่นทุกหนทุกแห่ง แต่ในช่วงนี้ยังไม่มีอะตอม!

สสารและปฏิสสารจะเกิดการทำลายล้างกัน (annihilation) อย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากในเอกภพ มีสสารมากกว่าปฏิสสาร อยู่เล็กน้อย ทำให้เหลือเป็นสสารอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ต่อจากนั้นได้เกิดนิวเคลียสของธาตุที่ง่ายที่สุด คือ นิวเคลียสของไฮโดรเจน (โปรตอนตัวเดียว) และดิวทีเรียม (โปรตอน 1 ตัว + นิวตรอน 1 ตัว)

ในช่วงรอยต่อระหว่างยุครังสีนี้กับยุคถัดไป มีเหตุการณ์ที่สำคัญอย่างมากเกิดขึ้นได้แก่ การเกิดไฮโดรเจนอะตอมแรกของเอกภพ เมื่อเอกภพมีอายุได้ประมาณ 300,000 ปี ก่อนหน้านี้ ไม่มีอะตอมใด ๆ เกิดขึ้นได้ เพราะเอกภพมีอุณหภูมิสูงมาก ทำให้อิเล็กตรอน ไม่สามารถอยู่ร่วมกับโปรตอนกลายเป็นอะตอมของไฮโดรเจนได้

วิวัฒนาการของเอกภพจากบิ๊กแบงจนถึงยุคดวงดาว

- ยุคแห่งดวงดาว (The Stelliferous Era)

คำว่า stelliferous แปลว่า เต็มไปด้วยดวงดาว ในยุคแห่งดวงดาวนี้ ดาวฤกษ์ทั้งหลายเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไป ตามขั้นตอน ต่าง ๆ ตามทฤษฎีวิวัฒนาการของดวงดาว (stellar evolution) ใครสนใจ โปรดดูกล่องอธิบาย “วิวัฒนาการของดวงดาว”

เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน

วิวัฒนาการของดวงดาว

ถ้าเริ่มนับจากดาวฤกษ์ (star) ในภาพ เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนถูกใช้ไปเรื่อย ๆ จนหมด ดาวฤกษ์จะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นดาวยักษ์แดง (red giant)

ถ้าหากดาวฤกษ์นั้นมีมวลน้อยกว่า 1.4 ของมวลของดวงอาทิตย์ มันก็จะเปลี่ยนแปลง ไปตามเส้นทาง 1 คือ กลายไปเป็นเนบิวลา (planetary nebula) ดาวแคระขาว (white dwarf) และ ดาวแคระดำ (black dwarf) ตามลำดับ

แต่ถ้าหากดาวฤกษ์มีขนาดใหญ่ คือมีมวลมากกว่า 1.4 เท่าของดวงอาทิตย์ มันก็จะเดินตามเส้นทาง 2 กลายไปเป็นอภิมหาดาวยักษ์แดง (super red giant) ซึ่งอาจ ระเบิดทั้งหมดกลายเป็นซูเปอร์โนวา (supernova) (เส้นทาง 3) โดยจากซูเปอร์โนวา ถ้าหากมวลต่ำกว่า 3 เท่าของดวงอาทิตย์ ก็จะกลายไปเป็นดาวนิวตรอน (neutron star) แต่ถ้าหากมวลมากกว่า 3 เท่าของดวงอาทิตย์ ก็จะกลายไปเป็นหลุมดำ (black hole) แต่ถ้าอภิมหาดาวยักษ์แดง ระเบิดเฉพาะที่ผิวจะเรียกว่า โนวา (nova) (เส้นทาง 4)

อย่างดวงอาทิตย์ของเรานี่ซึ่งตอนนี้มีอายุประมาณ 4.5 พันล้านปีแล้ว แต่ในอีกราว 1.1 พันล้านปีข้างหน้า เมื่อเชื้อเพลิง ไฮโดรเจนถูกใช้ไปเรื่อย ๆ จนหมด ดวงอาทิตย์จะขยายใหญ่ขึ้น ถึงตอนนั้น โลกที่แสนจะน่าอยู่ของเรา ก็คงจะอยู่ไม่ได้อีกต่อไป เพราะร้อนจัด และอีกราว 7 พันล้านปีก็จะกลายเป็นดาวยักษ์แดง (red giant)

ในยุคแห่งดวงดาวนี้ มีเหตุการณ์ที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น กาแลกซีต่าง ๆ จะมากระจุกรวมตัวกัน อย่างกาแลกซีทางช้างเผือก ของเรานั้น คาดว่าน่าจะรวมกับกาแลกซีแอนโดรเมดาในอีก 6 พันล้านปีข้างหน้านู่น!

ยุคแห่งดวงดาวสิ้นสุดลงเมื่อดาวแคระแดง (red dwarf) หมดลง ถึงตอนนี้เอกภพมีอายุราว 1014 ปี

ยุคดีเจนเนอเรต (The Degenerate Era)

ในยุคนี้ เอกภพจะประกอบไปด้วยดาวแคระน้ำตาล (brown dwarf) ดาวแคระขาว (white dwarf) และดาวนิวตรอน (neutron star) รวมทั้งหลุมดำจำนวนมาก

ยุคนี้เอกภพจะมืดและแสนเยือกเย็น เพราะไม่มีดาวฤกษ์ใด ๆ เหลือส่องแสงอีกต่อไป หลุมดำแต่ละหลุมจะมีมวลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเที่ยวไปเก็บมวลสารที่เหลืออยู่โดยรอบ

ในช่วงนี้นี่เองที่ อนุภาคอย่างโปรตอนซึ่งเดิมเชื่อกันว่ามีอายุยืนยาวไม่มีวันตายนั้นก็จะเริ่มสลายตัว บางทฤษฎีในปัจจุบัน ประมาณอายุของโปรตอนไปไว้ที่ 1030 ปี ถึง 1040 ปี โปรตอนสลายตัวกลายเป็นโพสิตรอน นิวตริโน พายออน และรังสีแกมมา

ยุคดีเจนเนอเรตสิ้นสุดลงเมื่อโปรตอนตัวสุดท้ายสลายไป ถึงตอนนี้ดาวแคระประเภทต่าง ๆ ก็หมดไปเหลือแต่หลุมดำ

ยุคหลุมดำ (The Black Hole Era)

ในยุคนี้เรียกได้ว่ามองไปทางไหนก็จะ “เห็น” แต่หลุมดำ หลุมดำ และหลุมดำ แต่หลุมดำก็ไม่จีรังครับ เพราะในนี่สุดแล้ว มันก็จะระเหย (evaporate) ไปได้เหมือนกัน ตามทฤษฎีของฮอว์กิ้งที่เรียกว่า การแผ่รังสีฮอว์กิ้ง (Hawking radiation)

จากการคำนวณ ประมาณกันว่า หลุมดำที่มีมวลพอ ๆ กับดวงอาทิตย์ของเรานั้น จะมีอายุขัยยาวนานราว 1065 ปี ส่วนหลุมที่มีมวลพอ ๆ กับกาแลกซี จะมีอายุยืนยาวกว่านั้นคือราว 1098 ถึง 10100 ปี และเมื่อหลุมดำขนาดใหญ่หลุมสุดท้ายสลายตัวไป ก็สิ้นสุดยุคหลุมดำ

ยุคมืด (The Dark Era)

ยุคสุดท้าย หรือ ยุคมืดนี่ ฟังเผิน ๆ แล้วเหมือนกับบ้านเราตอนนี้เลยนะครับ (อุ๊บ! ห้ามวิจารณ์การเมืองเดี๋ยว วารสาร MTEC ถูกสั่งปิด!)

ในยุคนี้ แม้แต่หลุมดำก็ไม่อยู่เสียแล้ว จะมีเพียงแต่โฟตอน และอนุภาคอย่างนิวตริโน โพสิตรอน และอิเล็กตรอน ซึ่งแต่ละตัว อยู่ห่างกันไกลแสนไกล เพราะเอกภพขยายตัวไปเรื่อย ๆ ตามสมมติฐานตั้งต้น

นักฟิสิกส์บางท่านจินตนาการไปไกลขนาดว่า เป็นไปได้ที่อิเล็กตรอนและโพสิตรอนจะมากจับคู่กัน (ชั่วคราว) เรียกว่า โพสิโทรเนียม (positronium) แต่ระยะห่างเหลือเชื่อครับคือ ไกลกว่าขนาดของเอกภพในปัจจุบัน! (ผมอดสงสัยไม่ได้จริง ๆ ว่า ไกลขนาดนั้นแล้ว จะใช้แรงอะไรดึงดูดกัน?)

โปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกันเกิดจากอะไร

1. นิวเคลียสของฮีเลียม เกิดจากโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกัน 2. พลังงาน เกิดจากอนุภาคและปฏิอนุภาครวมตัวกัน 3. โปรตอนและนิวตรอน เกิดจากควาร์กบางชนิดรวมตัวกัน 4. กาแล็กซีรุ่นแรก เกิดจากธาตุไฮโดรเจนและฮีเลียมรวมกัน

อะไรที่เกิดจากอนุภาคและปฏิอนุภาครวมตัวกัน

เมื่ออนุภาคมูลฐานและปฏิอนุภาค หรือ ปฏิยานุภาค (antiparticle) ของอนุภาคมูลฐานประเภทเดียวกัน เกิดการรวมตัวกัน จะเกิดกระบวนการประลัย (anihilation) ทำให้ทั้งอนุภาคและปฏิอนุภาคกลาย เป็นพลังงานซึ่งอยู่ในรูปโฟตอนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แต่เนื่องจากเอกภพมีอนุภาคมากกว่า ปฏิอนุภาค เอกภพหลังจากนั้นจึงเหลือเฉพาะอนุภาคมูลฐาน เมื่อ ...

กาแล็กซี่เกิดมาพร้อมกับอะไร

เมื่อมีหลักฐานสำคัญหลายประการสนับสนุนให้ทฤษฎีบิแบง ( Big Bang ) เป็นคำอธิบายการเกิดเอกภพที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อว่ากาแล็กซีเกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังจากเหตุการณ์บิแบงประมาณ 1,000 ล้านปี โดยเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มแก๊สและฝุ่นต่าง ๆ วิวัฒนาการเป็นกลุ่มดวงดาว หรือกลายเป็นองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ ...

กาแล็กซี่เกิดจากธาตุใดเป็นองค์ประกอบหลัก

กาแล็กซีต่างๆ เกิดหลักบิแบงอย่างน้อย 1,000 ล้านปี ภายในกาแล็กซีมีธาตุไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นสารเบื้องต้นซึ่งก่อกำเนิดเป็นดาวฤกษ์รุ่นแรกๆ ส่วนธาตุต่างๆที่มีมวลมากกว่าฮีเลียมเกิดจากดาวฤกษ์ขนาดใหญ่