การเปลี่ยนแปลงของเพศชายและเพศหญิง

  เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้าน ร่างกาย ด้านจิตใจหรืออารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ซึ่งพอจะกล่าวได้ ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย

   ในช่วงวัยรุ่นเด็กหญิง เด็กชาย จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ด้านร่างกายทั้งรูปร่าง เสียง ความสูง และน้ำหนัก กล่าวคือ ทั้งสองเพศจะมีความสูงและน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างเห็นได้ชัด เด็กหญิงจะเริ่มมีประจำเดือน สะโพกขยายออก เอวคอด หน้าอกโตขึ้น เสียงหวานแหลม มีขนขึ้นที่อวัยวะเพศ

     ส่วนเด็กชายจะเริ่มมีน้ำอสุจิ มีการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง มีหนวดเครา มีขนขึ้นที่อวัยวะเพศ รักแร้ เสียงแตกพร่า กล้ามเนื้อแข็งแรง หน้าอกและไหล่กว้างขึ้น วัยรุ่นชาย จะตัวสูงขึ้นและน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กล้ามเนื้อแข็งแรง หน้าอกและไหล่กว้างขึ้น มีหนวดเครา มีขนขึ้นที่อวัยวะเพศและรักแร้ วัยรุ่นหญิง จะตัวสูงขึ้นและ น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สะโพกขยาย เอวคอด และ หน้าอกโตขึ้น

การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์

    จากการเปลี่ยนด้านร่างกายที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้วัยรุ่นเกิดความรู้สึกวิตกกังวล ในรูปร่างหน้าตาของตน และยิ่งเกิดปัญหาสิวหนุ่มสิวสาว ความวิตกกังวลก็จะยิ่งมีมากขึ้น พ่อแม่ ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษา ความสะอาดใบหน้า สำหรับลูกสาววัยรุ่น แม่ควรแนะนำ วิธีดูแลรักษาความสะอาดในช่วงของการมีประจำเดือนด้วย ลักษณะทางอารมณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของวัยรุ่น คือ การมีอารมณ์ที่เรียกว่า พายุบุแคม คือ มีความรุนแรงแต่ อ่อนไหวไม่มั่นคง ถ้าต้องการจะทำอะไรก็ต้องทำให้ได้ ถ้าถูกขัดขวางจะตอบโต้อย่างรุนแรง แต่ความต้องการนั้น จะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย หันเหไปสู่ความต้องการความสนใจ ใหม่ ๆ อยู่เสมอ พ่อแม่ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ของวัยรุ่น รู้จัก โอนอ่อนผ่อนตามอย่างเหมาะสม เมื่อเห็นน้ำเชี่ยวก็อย่าเอาเรือ ไปขวาง แต่จงใช้ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ เป็นเครื่องค้ำจุน ให้วัยรุ่น สามารถผ่าน พ้นอันตราย อันเกิดจากลักษณะทางอารมณ์ ของวัยนี้ไปได้อย่างปลอดภัย

การเพิ่มความต้องการทางเพศ

      การเพิ่มความต้องการทางเพศ ทำให้วัยรุ่นเกิดความ สนใจในเพื่อนต่างเพศ ต้องการให้ตนเป็นที่รู้จัก เป็นที่สนใจ ของต่างเพศ ต้องการความรู้เพศศึกษา และการแนะนำในการเตรียม ตัวเข้าสังคมวัยรุ่นชายและหญิง

 การเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา

      ความเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญาของวัยรุ่น จะพัฒนาขึ้น อย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับด้านร่างกาย ขนาดของมันสมองจะ ขยายออกมากขึ้น วัยรุ่นจึงเป็นผู้ชอบคิด อยากรู้อยากเห็น ช่างซักถาม ใช้เหตุผล และแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ วัยรุ่นจะชอบ แก้ปัญหา และตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบ บิดามารดาต้องให้การสนับสนุน ปล่อยให้ลูกได้ใช้ความคิดเป็นของตนเอง และความคิดสร้างสรรค์ก็จะสูงขึ้นได้

การเปลี่ยนแปลงความต้องการทางสังคม

         เมื่อวัยรุ่นพบความแปลกใหม่ในร่างกายของตน ก็จะมีความ ไม่แน่ใจ มีความทุกข์ ต้องการปรับตัวให้เหมาะสม จึงหันหน้าเข้า หาผู้ที่มีปัญหาเดียวกัน คือ เพื่อนรุ่นเดียวกัน วัยรุ่นจึงเห็นความสำคัญ ของเพื่อนวัยรุ่น เชื่อเพื่อนมาก และเชื่อพ่อแม่น้อยลงในการเล่นของวัยรุ่น อาจทำตัวอ่อนกว่าวัยเพราะในจิตใจวัยรุ่นต้องการกลับเป็นเด็กอีก ไม่อยากเติบโต ไม่อยากเข้าสังคมใหม่ ความสัมพันธ์ระหว่างวัยรุ่น กับพ่อแม่จะเปลี่ยนรูปแบบไป วัยรุ่นไม่ต้องการให้พ่อแม่บังคับ ควบคุมตนเองอย่างแต่ก่อน แต่ต้องการผู้ช่วยคิดช่วยแนะนำและอยาก ให้พ่อแม่เป็นเพื่อนที่ดีของตนวัยรุ่นต้องการความเป็นอิสระและ การเป็นหัวหน้าครอบครัวและหัวหน้างานต่อไป พ่อแม่จึงต้องเปลี่ยน เป็นผู้แนะนำมากกว่าผู้ออกคำสั่งและ ควบคุมเข้มงวดอย่างแต่ก่อน วัยรุ่นจะเปรียบเทียนคุณสมบัติของพ่อแม่กับผู้ใหญ่อื่น ๆ พ่อแม่ ขาดคุณสมบัติใด วัยรุ่นก็จะไปหาได้จากครูหรือผู้มีชื่อเสียงในสังคม เป็นบุคคลทดแทน

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์

   ในช่วงวัยรุ่นอาจกลับไปมีลักษณะใจเร็วด่วนได้ อดไม่ได้ รอไม่ได้ จะเอาเดี๋ยวนี้ทันที ทั้ง ๆ ที่เมื่อเป็นเด็กเคยใจเย็นและ พูดกันรู้เรื่อง นอกจากนั้นในบางครั้งวัยรุ่นอาจรู้สึกเกียจคร้าน อยากอยู่เฉย ๆ ไม่ทำงาน ไม่หยิบจับช่วยงานในบ้านเพราะสาเหตุ ทางร่างกายและอารมณ์ ถ้าเป็นอยู่เพียงบางครั้ง ผู้ปกครองก็ ไม่ควรเร่งเร้าดุด่าว่ากล่าว แต่ถ้าจะติดเป็นนิสัยก็ไม่เหมาะสม ต้องตักเตือนกัน

4.1 การแบ่งช่วงอายุของวัยรุ่น

    วัยรุ่นแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุ ได้แก่

    4.1.1 วัยแรกรุ่น (11-13 ปี) เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทุกระบบ วัยนี้จะมีความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายซึ่งส่งผลกระทบไปยังจิตใจ ทำให้อารมหงุดหงิดและแปรปรวนง่าย

    4.1.2 วัยรุ่นตอนกลาง (14-16 ปี) เป็นช่วงที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ของร่างกาย มีความคิดที่ลึกซึ้งในการหาเอกลักษณ์ของตนเอง

    4.1.3 วัยรุ่นตอนปลาย (17-19 ปี) เป็นช่วงที่สภาพทางร่างกายเปลี่ยนแปลงเติบโตโดยสมบูรณ์เต็มที่ และบรรลุนิติภาวะในเชิงกฎหมาย เป็นช่วงเวลาที่จะมีความผูกพันกับเพื่อนต่างเพศ

การเปลี่ยนแปลงของเพศชายและเพศหญิง


4.2 การเปลี่ยนแปลงในวัยรุ่น

    การเปลี่ยนแปลงในวัยรุ่นใน 3 ด้าน ได้แก่

    4.2.1 การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย

        1) ขนาดและความสูง เด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายจะมีความกว้างของไหล่และสะโพกใกล้เคียงกัน แต่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นผู้ชายจะมีการเจริญเติบโตของไหล่ ทำให้มีไหล่กว้าง ในขณะที่วัยรุ่นผู้หญิงมีการเจริญเติบโตของสะโพก ความสูง คอ แขน ขา การเจริญเติบโต หรือ การขยายขนาดของร่างกายในแต่ละส่วน อาจเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน

        2) ไขมันและกล้ามเนื้อ เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงมีความหนาของไขมันที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนังใกล้เคียงกัน จนกระทั่งอายุประมาณ 8 ปี ร่างกายจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว วัยรุ่นชายจะมีกำลังของกล้ามเนื้อและพละกำลังของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่ขาน่องและแขน สำหรับวัยรุ่นหญิงมีการเพิ่มขึ้นของกล้ามเนื้อน้อยกว่า แต่จะมีการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังร้อยละ 25 ของน้ำหนัก โดยเฉพาะบริเวณเต้านมและสะโพก

        3) โครงสร้างใบหน้า วัยรุ่นชายช่วงกระดูกของจมูกจะโตขึ้นทำให้จมูกโด่ง เป็นสันกระดูกขากรรไกรบนและขากรรไกรล่าง กล่องเสียง ลำคอ และกระดูกอัลลอยด์ เจริญเติบโตเร็วกว่าวัยรุ่นหญิงอย่างชัดเจน เป็นเหตุให้วัยรุ่นชายเสียงแตก

        4) ระดับฮอร์โมน ทั้งฮอร์โมนการเติบโต ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ และฮอร์โมนทางเพศ จะมีผลโดยตรงต่อความเจริญเติบโตทางอารมณ์ การเรียนรู้ และอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนโดยเฉพาะต่อมไขมันใต้ผิวหนังและต่อมเหงื่อจะทำหน้าที่เพิ่มขึ้นเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสิวและกลิ่นตัว

การเปลี่ยนแปลงของเพศชายและเพศหญิง

ต่อมที่ผลิตฮอร์โมนที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

การเปลี่ยนแปลงของเพศชายและเพศหญิง

ส่วนประกออบของสมอง

                        สมองประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

                (1) สมองส่วนหน้า (forebrain) ประกอบด้วย เซรีบรัม(Cerebrum) ทาลามัส(thalamus) และไฮโพทาลามัส(hypothalamus)

 สมองส่วนหน้า  หน้าที่
 เซรีบรัม ทำหน้าที่ด้านความคิด ความจำ เชาว์ปัญญา เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานด้านต่างๆ การสัมผัส การพูด การมองเห็น การรับรส การได้ยิน การดมกลิ่นและการทำงานของกล้ามเนื้อ
 ทาลามัส ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวบรวมกระแสประสาทที่ผ่านเข้าออก ในแยกกระแสประสาทไปยังสมอง
 ไฮโพทาลามัส เป็นศูนย์ควบคุมกระบวนการต่างๆ ของร่างกาย เช่น การทำงานพื้นฐานของร่างกาย ได้แก่ ความหิว ความดันโลหิต ความต้องการทางเพศ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อและการแสดงอารมณ์ความรู้สึก

            (2) สมองส่วนกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น การได้ยิน และการสัมผัส

            (3) สมองส่วนท้าย ประกอบด้วยพอนส์ (pons) เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblonggata) และเซรีบรัม (cerebellum)

  สมองส่วนหน้า  หน้าที่
 พอนส์

ทำหน้าที่ควบคุมการเคี้ยวอาหารการหลั่งน้ำลายการเคลื่อนไหวของใบหน้าและการควบคุมการหายใจ

 เมดัลลาออบลองกาตา

ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติเช่นการหายใจความดันโลหิตการกลืนการจามการฝึกและการอาเจียน
 ซีรีเบลลัม หน้าที่การเคลื่อนไหวของร่างกายและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย

            5) ระบบประสาท เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นระบบประสาททางเพศหญิงและเพศชายจะเจริญเติบโตต่อเนื่องจากวัยเด็ก จนโตเต็มที่เมื่ออายุ 18-20 ปี ระบบประสาททำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆของร่างกายให้ประสานสัมพันธ์กับการรับรู้ความรู้สึก ความทรงจำ ความคิด อารมณ์ โครงสร้างของระบบประสาทแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมองไขสันหลัง และระบบประสาทส่วนปลาย ได้แก่ เส้นประสาทสมอง เส้นประสาทอัตโนมัติเส้นประสาทไขสันหลัง

            6) ระบบสืบพันธุ์ วัยรุ่นหญิงมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เต้านมเริ่มขยายเมื่ออายุประมาณ 9-13 ปี ช่วงอายุ 11-13 ปี จะมีประจำเดือนแสดงให้เห็นว่ามดลูกและช่องคลอดเจริญเติบโตเต็มที่ แต่ในระยะ 1-2 ปีแรก การมีประจำเดือนจะไม่สม่ำเสมอหรือขาดหาย และมีอาการปวดท้องน้อยเมื่อมีประจำเดือนแล้วความสูงจะส่งต่อไปในลักษณะที่ช้าลงและการเจริญเติบโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 15-17 ปี

            การเจริญเติบโตของวัยรุ่นชาย เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 10-13 ปี ระบบสืบพันธุ์จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและจะใช้เวลา 2-4 ปี จึงจะเจริญเติบโตเต็มที่ ในขณะที่รูปร่างภายนอกมีการเจริญเติบโตช้ากว่าวัยรุ่นผู้หญิง

        4.2.2 การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจะทำให้เกิดผลกระทบต่ออารมณ์ ทำให้เกิดความวิตกกังวล หงุดหงิดไม่พอใจในรูปร่างที่เปลี่ยนไป กังวลในเรื่องความสวย ความหล่อ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนทางเพศจะส่งผลทำให้วัยรุ่นเกิดอารมณ์เพศบ่อยครั้ง

        4.2.3 การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจะทำให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจ วัยรุ่นจะเกิดความรู้สึกอยากที่จะถูกรักต้องการเอาใจใส่ แต่มักจะมีข้อแม้ว่าจะต้องไม่ใช่การแสดงออกของพ่อแม่ที่ให้ความรักราวกับเด็กเล็กๆ อย่าทำในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าดี อยากที่จะทำตัวห่างจากพ่อแม่ บางครั้งอาจเกิดความรู้สึกสับสน ลังเลต้องการเป็นตัวของตัวเอง อยากรู้อยากลอง อยากเห็นสิ่งแปลกใหม่ ตื่นเต้น ท้าทายกับการที่กระทำผิดต่อกฎเกณฑ์ต่างๆ

การเปลี่ยนแปลงในข้อใดที่หญิงต่างจากชาย

ผู้หญิงมักมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายก่อนผู้ชาย บางคนอาจเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงร่างกายตั้งแต่อายุ 8 ขวบ โดยการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่นหญิงที่พบได้ เช่น เต้านมเริ่มขยาย รูปร่างและส่วนสูงเปลี่ยนแปลง อวัยวะเพศเปลี่ยนแปลงหรือเจริญเติบโตขึ้น

เพศชายมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

การเปลี่ยนแปลงของวัยหนุ่มสาว เพศชาย ขนาดอัณฑะจะโตขึ้น นมแตกพาน เสียงแหบห้าว กล้ามเนื้อเป็นมัด มีกลิ่นตัว องคชาติมีขนาดโตขึ้น มีขนบริเวณรักแร้และอวัยวะเพศ

เพศหญิงมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

เมื่ออายุ 10-15 ปี เด็กหญิงกำลังเข้าสู่วัยสาว ร่างกายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เช่น หน้าอกขยาย สะโพกผายขึ้น เสียงเปลี่ยน (บางคน)เป็นสิว มีขนขึ้นที่รักแร้และอวัยวะเพศ เป็นต้น หน้าอกและหัวนม

เพศชายและเพศหญิงมีการเจริญเติบโตเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร

วัยรุ่นชาย ส่วนใหญ่เริ่มมีพัฒนาการทางเพศตั้งแต่อายุ 10-14 ปี และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนอายุประมาณ 16 ปี ซึ่งการเจริญเติบโตของเด็กผู้ชายมักช้ากว่าผู้หญิง 2 ปี โดยส่วนใหญ่เมื่อผู้ชายอายุ 16 ปี ร่างกายจะหยุดเติบโตแต่กล้ามเนื้อยังคงพัฒนาต่อไป โดยการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของผู้ชาย ได้แก่ องคชาตและอัณฑะมีขนาดใหญ่ขึ้น