กลยุทธ์ของ มาร์ค ซั ค เค อ ร์ เบิร์ก

เรียนรู้วิธีการทำงานอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างไรตามแบบ Mark Zuckerberg เจ้าของ Facebook

กลยุทธ์ของ มาร์ค ซั ค เค อ ร์ เบิร์ก
ภาพจาก Shutterstock

Mark Zuckerberg CEO ของ Facebook เป็นหนึ่งในมหาเศรษฐีระดับโลก ด้วยปริมาณทรัพย์สินกว่า 9.81 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.94 ล้านล้านบาท เป็นคนร่ำรวยที่สุดในอันดับ 5 ของโลก ตามการจัดอันดับของนิตยสาร Forbes

เรื่องเล่าความสำเร็จของ Mark Zuckerberg ที่เรามักได้ยินกันคงเป็น การเรียนไม่จบ ลาออกจากมหาวิทยาลัย Harvard กลางคันเพื่อมาก่อตั้ง Facebook จนประสบความสำเร็จกลายเป็นหนึ่งในมหาเศรษฐีคนสำคัญของโลกแบบง่ายๆ แต่ในความจริงแล้วสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ Mark Zuckerberg ไม่มีอะไรง่ายเสมอไป ทุกๆ อย่างล้วนมีที่มา

อย่าสนใจกับเรื่องไม่สำคัญ สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิต

ที่ผ่านมา Mark Zuckerberg เคยพูดถึงวิธีการทำงานให้ได้ประสิทธิภาพของตัวเองอยู่บ่อยครั้ง บางอย่างเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน แต่กลับส่งผลอย่างมหาศาลกับการทำงาน

วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างแรกของ Mark Zuckerberg คือ การไม่ให้ความสนใจกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้มีความจำเป็นในชีวิตต้องตัดออกไปให้หมด เราจึงมักเห็น Mark Zuckerberg ในลุคการทำงานที่เหมือนเดิมทุกวัน คือ เสื้อยืดสีเทา กางเกงยีนส์ และรองเท้าผ้าใบคู่เดิม

เขาเคยให้เหตุผลที่แต่งตัวในลุคเดิมทุกวันจากการสัมภาษณ์ในปี 2014 ว่าเป็นเพราะ “เขาต้องการเคลียร์เรื่องต่างๆ ในชีวิตออกไปให้หมด และต้องการตัดสินใจให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ในทุกๆ เรื่อง” ซึ่งไม่ใช่แค่การแต่งกายเท่านั้น ยังรวมถึงการเลือกอาหารเช้าในแต่ละวันด้วย โดยเขาจะเลือกกินอะไรก็ได้ที่รู้สึกอยากในวันนั้น แน่นอนว่าเป็นเพราะเขาต้องการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ให้น้อยที่สุดนั่นเอง

ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง ทำงานได้ตลอดเวลา

ในด้านชีวิตการทำงานแบบจริงจังของ Mark Zuckerberg เขาให้ความสนใจกับการทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเขาเคยตอบคำถามให้กับคนทั่วไปทาง Facebook ส่วนตัวของเขาเองว่า เขาทำงานในสำนักงานคิดเป็นเวลา 50-60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือเฉลี่ย 10-12 ชั่วโมงต่อวัน

แต่ความจริงแล้ว Mark Zuckerberg ไม่ได้ทำงานแค่ในสำนักงานเท่านั้น เพราะทุกๆ ที่ สามารถทำงานได้หมด โดยเฉพาะการใช้เวลาไปกับการอ่าน และคิด ด้วยตัวคนเดียว ดังนั้นหากถามว่าเขาทำงานตอนไหนบ้าง เขาจะตอบว่า เขาทำงานตลอดเวลาในชีวิต

นอกจากนี้ Mark Zuckerberg ยังตั้งคำถามกับตัวเองในทุกๆ วันด้วยว่า “เขาได้ทำสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่เขาสามารถทำได้แล้วหรือยัง” เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการผัดวันประกันพรุ่ง

ตั้งเป้าหมายเป็นประจำทุกปี

Mark Zuckerberg เป็นคนที่ให้ความสำคัญกับการตั้งเป้าหมายใหญ่ๆ เป็นประจำทุกปี ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ การที่เขาเคยตั้งเป้าหมายที่จะอ่านหนังสือ 1 เล่ม ทุกๆ 2 สัปดาห์ ตลอดระยะเวลา 1 ปีเต็มๆ ในปี 2015 เขาได้เปิดเพจ Facebook ในชื่อ A Year of Books เพื่อบอกเล่าหนังสือที่เขาอ่านอยู่ในขณะนั้น

แทนที่จะอ่านหนังสือเฉพาะช่วงเวลาที่ว่างเท่านั้น Mark Zuckerberg ใช้วิธีเดียวกับการทำงาน ที่เขาบอกว่าเขาสามารถทำงานได้ตลอดเวลามาใช้กับการอ่านหนังสือด้วย

ทำในสิ่งที่ง่าย แล้วค่อยเริ่มทำสิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

ในหนังสือ Mark Zuckerberg: 10 Lessons In Leadership ตัว Mark Zuckerberg เคยยกคำพูดของตัวเองไว้ว่า “กฎง่ายๆ ของการทำธุรกิจคือ ให้เริ่มทำในสิ่งที่ง่ายๆ ก่อน แล้วหลังจากนั้นคุณจะสามารถก้าวไปข้างหน้าได้”

แนวคิดนี้ของ Mark Zuckerberg ตรงกับแนวคิดการทำธุรกิจของบริษัทเทคโนโลยีใน Silicon Valley ที่จะเน้นการทดลองทำ Minimal Viable Product หรือสินค้าที่มีฟีเจอร์น้อยๆ ขึ้นมาก่อนเป็นการทดลองตลาด แทนที่จะต้องรอสินค้าตัวเต็มที่อัดแน่นไปด้วยฟีเจอร์ครบทุกอย่างแล้วปล่อยสินค้าตัวเต็มตัวเดียว

ที่มา – inc (1), (2), business insider

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

Mark Zuckerberg ถูกยกให้เป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จระดับโลกตั้งแต่อายุยังน้อย อย่างที่ทราบกันว่าเขากับเพื่อนเริ่มสร้าง Facebook ตั้งแต่ปี 2004 สมัยยังเรียนที่ Harvard และนักศึกษากว่า 2 ใน 3 แห่กันมาสมัครเป็นสมาชิก Facebook อย่างรวดเร็ว จนถึงตอนนี้ Facebook มีทรัพย์สินในบริษัทอยู่กว่า $3.5 แสนล้านเหรียญฯ และมีรายได้ในปีที่ผ่านมาประมาณ 1.8 หมื่นล้านเหรียญฯ

สำหรับวิดีโอนี้ เป็นโปรเจคสัมภาษณ์แบบซีรีส์ “How to Build the Future” จาก *Y Combinator ซึ่งมันน่าสนใจมาก โดยเลือก Zuckerberg  มาเป็นแขกสัมภาษณ์พิเศษคนแรก สัมภาษณ์โดย Sam Altman ประธานบริษัท Y Combinator และด้านล่างคือคีย์สำคัญ 5 ข้อที่คุณสามารถเรียนรู้ได้จากบทวิดีโอสัมภาษณ์จาก Mark Zuckerberg ชิ้นนี้

*Y Combinator (YC) ก่อตั้งเมื่อปี 2005 เป็นบริษัท seed accelerator จากสหรัฐอเมริกา ที่เฟ้นหา และบ่มเพาะ startup ที่มีศักยภาพมาแล้วทั่วโลก และ Fast Company ถึงกับขนานนาม YC ว่าเป็น “the world’s most powerful start-up incubator” เลยทีเดียว

“ในโลกที่ทุกอย่างเปี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดคือการไม่ยอมเสี่ยงกับอะไรเลย“

ปี 2006  Yahoo ยื่นข้อเสนอซื้อกิจการจาก Zuckerberg  เหตุการณ์นั้นคือจุดเปลี่ยนสำคัญของ Facebook 

“หนึ่งในเรื่องที่ยากที่สุดสำหรับผมคือตอนที่ Yahoo มายื่นข้อเสนอขอซื้อบริษัทเราด้วยเงินจำนวนมหาศาล มันเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของบริษัทเลยก็ว่าได้ แล้วดูเหมือนจะเป็นครั้งแรกที่เราเริ่มมองถึงอนาคตของบริษัทตัวเอง แล้วแบบ… ว้าว!  นี่สิ่งที่เราสร้างอยู่ มันกำลังจะมีความหมายจริงๆขึ้นมาแล้วใช่มั้ยเนี่ย?”

ซึ่งในขณะนั้นพนักงานเฟซบุ๊ครุ่นบุกเบิกล้วนแต่ตื่นเต้นและยินดีกับข้อเสนอของ Yahoo เป็นอย่างมากเพราะ Yahoo เสนอซื้อ Facebook ในราคามากถึง $1 พันล้านเหรียญ  ถือว่า ‘home run’ เลยทีเดียวสำหรับบริษัทที่เพิ่งตั้งได้เพียง 2 ปีแต่  Zuckerberg เชื่อว่า Facebook มีเป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้นเขาจึงตัดสินใจไม่ขาย

Facebook เข้าซื้อกิจการ Oculus เพราะต้องการมืออาชีพ

Facebook ประกาศซื้อ ‘Oculus’ บริษัท virtual reality (VR) ที่เพิ่งก่อตั้งได้ไม่นาน เทคโอเวอร์มาในราคา $2 พันล้านเหรียญ เป็นการซื้อก่อนที่ Oculus จะปล่อย product ตัวแรกออกสู่ตลาด ซึ่งการลงทุนในครั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเขาจะโดดลงไปเป็นผู้เชี่ยวชาญในสนาม VR แต่  Zuckerberg บอกว่า “ถ้าเราสามารถผลักดันและส่งเสริมมืออาชีพให้สร้างสรรค์และพัฒนาในสิ่งที่พวกเขาถนัดได้ เราก็อาจจะไม่ต้องลงมือทำเอง”

Zuckerberg เชื่อว่าบริษัทไม่ควรตั้งอยู่บนสถานะใดสถานะหนึ่งตลอดไป  “ผมคิดว่าหากคุณทำบางสิ่งได้ดีแล้วคุณไม่จำเป็นต้องบ้าทำแต่สิ่งนั้นเพียงอย่างเดียว เพราะกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนบริษัทคือ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้”

อย่างการปรับเปลี่ยน Newsfeed ครั้งใหญ่ของ Facebook ที่เราประกาศไปล่าสุด ก็มีการถกเถียงคัดค้านกันไม่น้อย เพราะมันดูเหมือนจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ Facebook ซึ่ง Zuckerberg  ยังคงยืนยันที่จะดำเนินตามนโยบายการปรับ Newsfeed ครั้งนี้ต่อไป เพราะฟีเจอร์บน Newsfeed แบบใหม่นี้ พัฒนาขึ้นจากพฤติกรรมการเล่นเฟซบุ๊คของผู้ใช้แต่ละคน  เขากล่าวว่าการปรับ Newsfeed ครั้งใหญ่ของ Facebook ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายอะไร มันเป็นธรรมชาติการวิวัฒนาการของ product ก็เท่านั้นเอง

ตอนแรก Zuckerberg ไม่ได้คิดว่าจะตั้ง Facebook ขึ้นมาเป็นบริษัท

“ตอนแรกที่สร้าง Facebook ขึ้นมาเพราะผมกับเพื่อนแค่อยากเอามาเล่นกันขำๆตอนเรียนที่ Harvard ไม่ได้คิดว่ามันจะกลายมาเป็นบริษัท แต่มันเริ่มมาเป็นรูปเป็นร่างจริงๆช่วง 6 เดือนต่อมาตอนนั้นมีนักลงทุนจาก Silicon Valley  และ Peter Thiel ผู้ร่วมก่อตั้ง PayPal เขาเอาเงิน $500,000 เหรียญมาลงทุนกับ Facebook (เป็นการลงทุนกับบุคคลภายนอกครั้งแรก) ซึ่งตอนนั้น Facebook จดทะเบียนในนามบริษัท Delaware corporation”

แต่ตอนนั้นทั้ง Zuckerberg และ Dustin Moskowitz เพื่อนที่ร่วมก่อตั้ง ยังไม่คิดว่าจะทำ Facebook กันเต็มตัวจึงกลับไปเรียนต่อจนจบเทอมซึ่งในช่วงระหว่างเรียนนั้นเองที่ทั้งคู่เกิดความคิดบางอย่างที่ตรงกัน จึงตัดสินใจดร็อปเรียนมหาวิทยาลัยแล้วไปทุ่มเทให้กับ social network อย่างเต็มตัว

Zuckerberg กล่าวว่าเรื่องที่เขาได้เรียนรู้จากการทำบริษัทคือ “ควรเลือกสิ่งที่คุณสนใจแล้วจงทุ่มเทกับมัน แต่อย่าเพิ่งไปหมายมั่นอยากตั้งบริษัทจนกว่าจะพัฒนาของของคุณจนมันเวิร์คแล้วจริงๆ”

3 เรื่องที่ Facebook มุ่งโฟกัส

1. Connectivity: เชื่อมโยงผู้คนมากมายจากทั่วโลกด้วยอินเตอร์เน็ต

2. Artificial intelligence (AI): Zuckerberg เชื่อว่าเทคโนโลยีนี้จะสำคัญ และมีบทบาทอย่างมากในอนาคต อาจถึงขั้นช่วยชีวิตมนุษย์ได้เลยทีเดียว

3. The next computing platform: Virtual Reality (VR) จะเป็นแพลตฟอร์มในอนาคต

คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับ Zuckerberg

มีคำถามนึงที่ถาม Zuckerberg ว่าอะไรคือคำแนะนำที่ดีที่สุดที่เขาได้รับจาก Peter Thiel ผู้ก่อตั้ง PayPal ที่ร่วมลงทุนกับ Facebook เป็นรายแรก Zuckerberg  ตอบว่า ในโลกที่ทุกอย่างเปี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดคือการไม่ยอมเสี่ยงกับอะไรเลย

แหล่งอ้างอิง: The macro

แหล่งอ้างอิง: Fortune

แหล่งอ้างอิง: Time

แหล่งอ้างอิง: Fast Company


  • TAGS
  • 500 startup
  • Accelerator
  • connectivity
  • Delaware corporation
  • Dustin Moskowitz
  • facebook
  • Mark Zuckerberg
  • Oculus
  • Paypal
  • Peter Thiel
  • Silicon Valley
  • social network
  • Startup incubator
  • virtual reality
  • vr
  • Y Combinator
  • มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก
  • เฟซบุ๊ค