หลักสูตรวิทยาศาสตร์การแพทย์

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มึคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตร
  2. เพื่อผลิตนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และประเทศชาติ
  3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพ การค้นคว้าวิจัย และการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ
  4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะทางด้านการสื่อสาร มีความคิดริเริ่มเชิงวิชาการและด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
  5. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มึคุณธรรม จริยธรรม โดยเฉพาะคุณธรรม 6 ประการ ได้แก่ ขยัน อดทน ประหยัด เมตตา ซื่อสัตย์ และกตัญญู อีกทั้งเห็นความสำคัญตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เว็บไซต์  www.ms.hcu.ac.th/

2019-06-11

  • รายละเอียด
  • คุณสมบัติ
  • แผนการศึกษา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวภาพการแพทย์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555)

ชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย: 
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวภาพการแพทย์
     ภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Biomedical Science

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ชีวภาพการแพทย์)
     ชื่อย่อ (ภาษาไทย): วท.ม. (ชีวภาพการแพทย์)
     ชื่อเต็ม (ภาษาอังฤษ): Master of Science (Biomedical Science)
     ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): M.Sc. (Biomedical Science)

วิชาเอกของหลักสูตร/แขนงวิชา
     ไม่มี

จุดเด่นของหลักสูตร
     บูรณาการศาสตร์ทางการแพทย์ เสริมทักษะทางปัญญา พัฒนานักวิจัย

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษ

  1. อาจารย์ระดับอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยสามารถสอนและวิจัยอย่างเป็นระบบ
  2. นักวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  3. นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการ
  4. ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ประจำหน่วยงานเอกชน 

รางวัลเชิดชูเกียรติ

  1. นายศิลป์ชัย  จันทร์เพชร รางวัลที่ 3 สมาคมจุลทรรศน์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 24 กรงุเทพ ประเทศไทย วันที่ 14-16 กุมภาพันธ์ 2550 เรื่อง Curly Myelin in Parkinsonism
  2. นางปิยานี รัตนชำนอง สมาคมเภสัชวิทยาแห่งประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันที่ 27-28 มี ค 51 เรื่อง Effects of hexane extract of Curcuma comosa Roxb.on plaque formation and platelet aggregation in hypercholesterolemic rabbits.
  3. นางสาวสิริเนตร พลนอก การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 2  ณ ม.อัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ วันที่  13-14 มิย 51 เรื่อง การทดสอบฤทธิ์ต้านมะเร็งของสารสกัดจากเชื้อจุลินทรีย์ต่อเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง
  4. Cytotoxicity test of microbial extracts against cancer cell lines in vitro

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

     ผู้สมัครเข้าศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่าด้วย การศึกษาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2554 ข้อ 17 หน้า 11 และมีคุณสมบัติเฉพาะตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด คือ 

     ผู้สมัครที่จะเข้าศึกษาตามหลักสูตร แผน ก2 ต้องมีพื้นความรู้จบระดับปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น ชีววิทยา เคมี จุลชีววิทยา วิทยาศาสตร์ทั่วไป ฯลฯ หรือ ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่น แพทย์ พยาบาล เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด รังสีวิทยา ฯลฯ

หลักสูตรวิทยาศาสตร์การแพทย์

หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชา ชีวภาพการแพทย์ 
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
เปิดสอนระดับ มหาบัณฑิต

ชื่อหลักสูตร
          ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวภาพการแพทย์
          ภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Biomedical Science
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
          ชื่อเต็ม (ไทย)วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ชีวภาพการแพทย์)
          ชื่อย่อ (ไทย)วท.ม. (ชีวภาพการแพทย์)
          ชื่อเต็ม (อังกฤษ): Master of Science (Biomedical Science)
          ชื่อย่อ (อังกฤษ): M.Sc. (Biomedical Science)
วิชาเอกของหลักสูตร/แขนงวิชา:
           มีกลุ่มวิชาให้เลือกตามความสนใจ ได้แก่ กายวิภาคศาสตร์ จุลชีววิทยา ชีวเคมี พยาธิวิทยา เภสัชวิทยา และสรีรวิทยา
จุดเด่นของหลักสูตร

เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์แบบบูรณาการ ประกอบด้วย โครงสร้างและหน้าที่ของร่างกายตั้งแต่ระดับมหภาคจนถึงชีววิทยาระดับโมเลกุล พยาธิกำเนิดของโรคต่างๆ รวมถึงยาต่างๆ ที่ใช้รักษา นอกจากนั้นยังเรียนรู้หลักการสอนและการประกันคุณภาพ ซึ่งทำให้บัณฑิตของหลักสูตรนอกจากจะเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีศักยภาพในการค้นคว้า วิจัย และสามารถเผยแพร่ผลงานวิจัยต่อสาธารณะได้แล้ว ยังมีความพร้อมต่อการเป็นอาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษาต่างๆ ด้วย

Link หลักสูตรฯ ระดับบัณฑิตสาขาชีวภาพการแพทย์ คลิก!!