วิธีการ บํา บัด หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

กายภาพบำบัดในผู้ป่วย “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”

อาการปวดหลังร้าวลงขา ไม่ใช่เรื่องเล็ก…

          บุคคลวัยทำงานจำนวนไม่น้อยที่ประสบกับปัญหาปวดหลังเรื้อรัง รักษาไม่หายขาด และยังเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน บางคนต้องพักงานหรือเปลี่ยนงานเพราะอาการปวดหลัง เนื่องจากในรายที่มีอาการรุนแรงแล้ว จะมีวิธีเดียวที่สามารถรักษาได้คือ การผ่าตัด ซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายมากและเวลาในการพักฟื้นนาน เพราะฉะนั้นการรักษาตั้งแต่อาการยังน้อยๆจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ

วิธีการสังเกตอาการว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ คือ

  • อาการปวดหลัง อาจมีร้าวลงขาหรือไม่มีก็ได้
  • ขาอ่อนแรง อาจเป็นข้างเดียว หรือ 2 ข้าง
  • มีอาการปวดมากขึ้นเมื่อไอ จาม เบ่ง ถ่าย และก้มหลัง
  • มีอาการปวดลดลงเมื่อแอ่นหลัง

         หากท่านมีอาการดังที่กล่าวมา ควรรีบปรึกษานักกายภาพบำบัด เพราะมีความเป็นไปได้สูงมากที่ท่านจะเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

วิธีการ บํา บัด หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
วิธีการ บํา บัด หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

 

การรักษาทางกายภาพบำบัด

1.     การขยับข้อต่อ (Mobilization)

2.     การออกกำลังกายเฉพาสำหรับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Mckenzie exercise)

3.     การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด (PT Modalities) ได้แก่ Ultrasound, TENS, Traction เป็นต้น

4.     การใช้อุปกรณ์พยุงหลัง (Back support)

5.     การปรับท่าทางในการทำงานและสถานีงาน (Posture and Work station) /การยศาสตร์ (Ergonomic)

ข้อดีของการรักษาทางกายภาพบำบัด

  1. ป้องกันการเกิดปัญหาปวดหลังเรื้อรัง
  2. ไม่มีผลข้างเคียง หรือภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา
  3. หากรักษาต่อเนื่อง และปฏิบัติตนตามคำแนะนำอย่างเหมาะสม สามารถหายขาดได้โดยไม่ต้องรับ
    การผ่าตัด 
  4. ช่วยป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
  5. ไม่ต้องพักหรือลางานเพื่อไปทำการรักษา
  6. ช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษา หรือเดินทางไปรับการรักษา

 คำแนะนำจากเรา

            ผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ไม่ควรนั่งเป็นเวลานาน โดยเฉพาะไม่คนนั่งหลังงอ เนื่องจากจะไปเพิ่มแรงกดต่อหมอนรองกระดูกสันหลังทำให้มีการกดทับเส้นประสาทมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้อาการแย่ลง ดังนั้นสำหรับท่านที่มีอาการปวดหลังมากและต้องเดินทางไปรับการรักษาไกลๆ เราขอเสนออีกหนึ่งทางเลือกให้กับท่าน ซึ่งก็คือบริการกายภาพบำบัดที่บ้าน ศูนย์ของเรามีบริการกายภาพบำบัดทั่วกรุงเทพฯ โดยนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ หากท่านใดสนใจ หรือต้องการคำปรึกษาสามารถติดต่อเราได้ทันทีที่ เบอร์ 099-4414690 หรือ 086-9558889

 

วิธีการ บํา บัด หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มักพบในผู้สูงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันเริ่มตรวจพบในวัยทำงานมากขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลังตามอายุ การกดทับจากน้ำหนักตัวที่มาก และอิริยาบถที่ผิดท่าซ้ำๆ กันเป็นเวลานาน เช่น ยกของหนัก นั่งนานๆ และก้มๆ เงยๆ เป็นประจำ ทำให้หมอนรองกระดูกอักเสบ จนเยื่อหุ้มเนื้อหมอนรองกระดูกฉีกขาด และหมอนรองกระดูกปลิ้นออก จนไปกดทับเส้นประสาทบริเวณรอบแนวกระดูกสันหลัง ดังนั้นหากผู้ป่วยรู้สึกปวดหลังร้าวลงขาทั้งสองข้าง หรือข้างใดข้างหนึ่ง เวลาก้ม ไอ หรือจาม มักรู้สึกเจ็บเสียวที่หลังจนทนไม่ไหว ควรรีบไปพบแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อทำการรักษาต่อไป ไม่ควรปล่อยไว้จนอาการหนัก เพราะจะใช้ระยะเวลาในการรักษานานขึ้น หรืออาจถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัดได้

ในการรักษาโรคนี้ด้วยวิธีกายภาพบำบัด นอกเหนือจากการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดแล้ว นักกายภาพบำบัดก็จะแนะนำท่าบริหารให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนำกลับไปบริหารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้หมอนรองกระดูกกลับเข้าที่ได้เร็วขึ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ท่าบริหาร 3 ท่านี้ ผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทควรได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจากนักกายภาพบำบัดเสียก่อน จึงจะสามารถทำได้ เพราะอาจเสี่ยงให้เกิดการบาดเจ็บมากขึ้นได้ และสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเล็กน้อยก็สามารถบริหารตามได้ เพื่อป้องกันโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และยังช่วยแก้อาการปวดหลังได้อีกด้วย

3 ท่า บริหารให้หมอนรองกระดูกกลับเข้าที่

ท่าที่ 1

  • นอนคว่ำตัวตรง เงยศีรษะขึ้นเล็กน้อย ตั้งศอกเหยียดแขนไปข้างหน้า วางแนบพื้น

  • ใช้ผ่ามือดันตัวขึ้น ให้แขนตึงมากที่สุด ควรทำเท่าที่ทำได้ ไม่ควรฝืนจนรู้สึกเจ็บ

  • ค่อยๆเลื่อนฝ่ามือเข้าหาลำตัวเท่าที่ทำได้ เงยหน้า แอ่นหลังให้ได้มากที่สุด ค้างไว้ 10วินาที

  • ค่อยๆ ย่อศอกลงสองข้างพร้อมกับวางตัวราบกับพื้น

  • ทำทั้งหมด 10 ครั้ง

ท่าที่ 2

  • ตั้งเข่า และมือให้ขนานกับหัวไหล่ คล้ายกับท่าคลาน

  • โน้มตัวไปด้านหลัง แขนตึงให้ได้มากที่สุด พร้อมกับค่อยๆ ก้มศีรษะลง ควรทำเท่าที่ทำได้ ไม่ควรฝืนจนรู้สึกเจ็บ

  • ค้างไว้ 10 วินาที ทำทั้งหมด 10 ครั้ง

ท่าที่ 3

  • ตั้งเข่า และมือให้ขนานกับหัวไหล่ คล้ายกับท่าคลาน

  • ค่อยๆ โก่งหลังขึ้นพร้อมกับหายใจเข้าให้ได้มากที่สุด ไม่ควรฝืนจนรู้สึกเจ็บ ค้างไว้ 10 วินาที ทำทั้งหมด 10 ครั้ง

  • แอ่นหลังให้ก้นโด่งขึ้นพร้อมกับหายใจออก ให้ได้มากที่สุด ไม่ควรฝืนจนรู้สึกเจ็บ ค้างไว้ 10 วินาที ทำทั้งหมด 10 ครั้ง