วิธี การ เก็บ รักษา ยา ป. 4

ยา  หมายถึง  สารที่มีผลต่อสุขภาพและร่างกาย

ประเภทของยา  แบ่งออกเป็น 5 ประเภท

    1. ยาแผนปัจจับัน อยู่ในรูปของยาเม็ด ยาน้ำ ยาแคปซูล

    2. ยาแผนโบราณ เช่น ยาเขียวหอม 

    3. ยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาพาราเซตามอล

    4. ยาอันตราย เช่น ยานอนหลับ 

    5. ยาสมุนไพร เช่น ยาที่ได้จากพืช หรือยาทีได้จากสัตว์

หลักการใช้ยา

    ปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา,การการรับประทานยาทุกครั้งควรอ่านฉลากก่อนเสมอ

    1. ยาก่อนอาหารควรรับประทานก่อนอาหาร 30 นาที

    2. ยาหลังอาหารควรรับประทานหลังอาหาร 15 นาที

วิธีการเก็บรักษายา

    1. ควรเก็บไว้ในตู้ยาและไม่มีแสงแดดส่องถึง

    2. แยกยาภานในและยาภายนอกออกจากกัน

    3. เมื่อเปิดฝาขวดยารับประทานควรปิดให้แน่นสนิทเพื่อป้องกันยาเสื่อมคุณภาพ

    4. ยาที่หมดอายุหรือเสื่อมคุณภาพควรนำไปทิ้งทันที

ลักษณะของยาที่หมดอายุ

    การใช้ยาที่หมดอายุแล้วอาจทำให้เสียชีวิตได้และควรนำไปทิ้ง

    1. ยาเม็ด  เช่น แตก  ร่วน  บิ่น  สีซีด

    2. ยาน้ำ  เช่น  เขย่าแล้วเนื้อยาไม่รวมกันเป็นเนื้อเดียวกัน

    3. ยาแคปซูล  เช่น  บวม  โป่งพอง  แคปซูลเปลี่ยนสี  ขึ้นรา

คำถามชวนคิด

ให้นักเรียนระบุช่วงเวลาที่นักเรียนควรกินยาจากเวลาที่กำหนด

ยาก่อนอาหาร

    1. กินอาหารเวลา  7.00 น. เวลาที่ควรกินยา คือ .........

    2. กินอาหารเวลา  11.30 น. เวลาที่ควรกินยา คือ .........

    3. กินอาหารเวลา  18.00 น. เวลาที่ควรกินยา คือ .........

ยาหลังอาหาร

    1. กินอาหารเสร็จเวลา  9.00 เวลาที่ควรกินยา คือ .......

    2. กินอาหารเสร็จเวลา  12.25 เวลาที่ควรกินยา คือ .......

    3. กินอาหารเสร็จเวลา  19.00 เวลาที่ควรกินยา คือ .......

การใช้กล่องแบ่งยาสำหรับรับประทานในแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์ สามารถทำได้หรือไม่?

             

ปัญหาการเก็บยาที่พบมากที่สุดในปัจจุบัน คือ การเเบ่งยาที่ต้องรับประทานแต่ละมื้อใส่กล่องเตรียมไว้สำหรับแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์ เพื่อความสะดวกในการใช้ยา โดยการนำเม็ดยาออกจากเเผงยาหรือภาชนะบรรจุตั้งต้นแล้วนำเม็ดยามาใส่รวมกันในกล่อง ทำให้ยามีโอกาสสัมผัสกับแสงแดด ความชื้น อากาศ ดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งอาจส่งผลเร่งการแปรสภาพหรือเสื่อมสภาพของยา

              ทั้งนี้แล้ว หากท่านมีความจำเป็นต้องเเบ่งยาออกมาจากแผงยาหรือภาชนะบรรจุตั้งต้นก็สามารถทำได้ ดังนี้

  • ยาที่บรรจุในแผงยา วิธีการที่ดีที่สุดควรตัดเเผงยาออกเป็นขนาดเล็ก ตามจำนวนเม็ดที่ต้องรับประทาน เเล้วใส่ในกล่องแบ่งยา
  • ยาเม็ดเปลือยที่บรรจุในกระปุกยาขนาดใหญ่ควรเเบ่งเม็ดยาใส่กล่องแบ่งยาออกมาทีละน้อย ไม่ควรเกินจำนวนที่รับประทานใน 1 สัปดาห์
             

นอกจากนี้ กล่องแบ่งยาที่ใช้ควรเป็นภาชนะที่ปิดมิดชิด สามารถป้องกันเเสงได้ และแยกยาในแต่ละมื้อหรือแต่ละวันออกจากกันอย่างชัดเจน

บริเวณที่เหมาะสมในการเก็บยา ?

             

การเก็บยาเพื่อให้ยาคงคุณภาพและปลอดภัยต่อสมาชิกทุกคนในบ้าน นอกจากหลีกเลี่ยงความร้อน ความชื้นและเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสมแล้ว โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีคำแนะนำดีๆ ดังต่อไปนี้

  • ควรแยกยารับประทานและยาใช้ภายนอกออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันความสับสนหรือการหยิบใช้ยาผิดประเภท
  • เก็บยาในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น ไม่มีแสงแดดส่องถึงโดยตรง เช่น ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ เป็นต้น
  • ควรเก็บยาให้พ้นมือเด็ก เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
  • สำหรับยาบางชนิดอาจต้องเก็บในตู้เย็น การเก็บยาในตู้เย็น ควรเก็บในช่องธรรมดาที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส และควรแยกยาออกจากอาหาร หลีกเลี่ยงการเก็บยาบริเวณฝาตู้เย็นซึ่งเป็นบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิบ่อย และห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง
  • จัดเก็บยาพร้อมฉลากยาที่ได้รับมา
  • ไม่ควรเก็บยาต่างชนิดกันในบรรจุภัณฑ์เดียวกัน
 

“วันหมดอายุของยา” สิ่งสำคัญที่มักหลงลืมกันไป

             

ยาบางชนิดอาจมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการคงสภาพตลอดอายุของยา เช่น ยาหยอดตามีอายุ 1 เดือนหลังจากเปิดใช้ ยาปฏิชีวนะชนิดแขวนตะกอนบางชนิดที่ผสมน้ำแล้วมีอายุ 1 สัปดาห์ เมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และมีอายุ 2 สัปดาห์ เมื่อเก็บในตู้เย็น เป็นต้น ท่านควรอ่านและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาอย่างละเอียด หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเภสัชกรโดยตรง

              ในแต่ละบ้านมีการเก็บยาต่างๆ ไว้มากมาย มีทั้งยาใหม่และยาเก่า แม้จะเก็บรักษาอย่างถูกวิธี แต่ต้องไม่หลงลืมกันไปว่ายาแต่ละตัวมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนั้น ท่านควรตรวจสอบวันหมดอายุของยาบนบรรจุภัณฑ์ก่อนรับประทานยาทุกครั้ง และสังเกตลักษณะทางกายภาพของเม็ดยาว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติหรือไม่ หากพบว่ายาหมดอายุ หรือลักษณะเม็ดยาผิดปกติ เช่น มีสีเปลี่ยนไปจากเดิม มีจุดด่างบนเม็ดยา มีกลิ่นที่ผิดปกติ มีการตกตะกอนหรือจับกันของผงยา การแยกชั้นของเนื้อครีม เป็นต้น ท่านไม่ควรใช้ยาที่มีความผิดปกติดังกล่าว เพื่อป้องกันอันตรายจากยาที่เสื่อมสภาพ

              จากที่กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นว่าการจัดเก็บยา เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีผลต่อการรักษา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เห็นถึงความสำคัญในการเก็บยา เพื่อให้ยายังคงคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีที่สุด ทางโรงพยาบาลได้มีการจัดเก็บยาที่เป็นแนวทางปฏิบัติเช่นเดียวกันทั้งโรงพยาบาล รวมทั้งมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการติดตามและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ตลอดเวลา เพื่อให้ยาคงคุณภาพเฉกเช่นเดียวกับเมื่อแรกผลิตจากโรงงานยา ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ป่วยที่รับยาจากโรงพยาบาลได้ใช้ยาที่มีคุณภาพดีและส่งผลต่อการรักษาที่ดีที่สุด

  หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ตลอด 24 ชั่วโมง

Contact information: Drug Information Service ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
Tel: +66(0) 2 011 3399
Email: [email protected]

Reference
1. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. [Internet]. การเก็บรักษายา. 2019 [cited 24 September 2019]. Available from: https://med.mahidol.ac.th/ramapharmacy/th/knowledge/general/11102015-0010-th
2. กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. [Internet]. เก็บยาอย่างไรให้คงสภาพ. 2019 [cited 24 September 2019]. Available from: http://pca.fda.moph.go.th/public_media_detail.php?id=6&cat=62&content_id=1403
3. ปรียา อารีมิตร ภ.ม., รินดาวรรณ พันธ์เขียน ภ.ม.,ทเพียงเพ็ญ ชนาเทพาพร ภ.ม.. [Internet]. การเก็บรักษายา. 2013 [cited 24 September 2019]. Available from: http://202.28.95.4/pharmacy/index.php?f=detail_rule&id=6
4. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. [Internet]. ยาหมดอายุ ยาเสื่อมสภาพ... อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม. 2018 [cited 24 September 2019]. Available from: https://med.mahidol.ac.th/ramapharmacy/th/knowledge/general/11092015-2303-th