Mind map ยุค สมัย ทาง ดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีสากล

-กุมภาพันธ์ 17, 2562

 วิวัฒนาการของดนตรีสากลแบ่งตามยุคสมัยได้ดังนี้
   1.  ยุคกลาง  มีช่วงระยะเวลายาวนานถึง 450 ปี แบ่งเพลงออกได้สองแบบ คือ เพื่อความบันเทิง และเพลงเกี่ยวกับศาสนา ซึ่งเพลงเกี่ยวกับศาสนายังมีทำนองเดียว  แต่ยุคนี้เริ่มมีเสียงประสานอย่างง่ายที่เรียกว่า  ออกานุม ขึ้นมา ในสมัยนี้นิยมเพลงร้องในพิธีเรียกว่า โมเท็ต และเพลงศาสนาเรียกว่า แมส โดยโมเท็ตจะมีท่วงทำนองที่สั้นกว่า โดยทั้งสองเพลงมีเนื้อร้องเป็นภาษาละติน เป็นที่นิยมมากในประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี
     ยุคนี้เริ่มมีการบันทึกดนตรีในระบบโน้ตสากลแล้วโดยพระชาวอิตาลี ชื่อ กวิโด ดาเรซโซ ซึ่งเป็นต้นแบบของโน้ตตามที่เราใช้เรียนอยู่ในยุคปัจจุบัน และเริ่มใช้เครื่องดนตรีประเภท ลูต หรือ ซึง คลอตามเสียงร้อง
 
   2. ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ  ยุคนี้เป็นยุคทองของการขับร้องประสานเสียง ซึ่งนิยมขับร้องประสานแบบสี่แนว หรือ สี่กลุ่ม โดยแบ่งเป็น กลุ่มเสียงผู้หญิง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเสียงโซปราโน (เสียงสูงสุด)  กับกลุ่มเสียงอัลโต (เสียงต่ำของผู้หญิง) และกลุ่มเสียงของผู้ชาย มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเสียงเทเนอร์ (เสียงสูงผู้ชาย) กับกลุ่มเสียงเบส (เสียงต่ำผู้ชาย)  เพลงที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาในยุคนี้คือเพลงแมดริกัน ซึ่งใช้ภษาแต่ละชาติ(ไม่ใช่ภาษาละติน) เป็นเนื้อร้อง และมีเนื้อร้องเกี่ยวกับความรักและสรรเสริญบุคคลสำคัญ

  3. ยุคบาโรก  สะท้อนให้เห็นกระบงนการแบบฉบับเฉพาะตัวของยุค ที่เน้นความ โอ่อ่า หรูหรา และฟุ่มเฟือย  เน้นความสม่ำเสมอของจังหวะ ทำนองเป็นแบบทำนองเดียวสั้นๆ เครื่องดนตรีเริ่มมีใช้มากขึ้นเพืื่อให้เกิดสีสันแลอรรถรสในการรับฟัง ที่เด่นชัดคือใช้เสียงกระหึ่มของเสียงออร์แกน

  4. ยุคโรโคโค   เป็นยุคที่เน้นการประดับให้หรูหรางดงามกับศิลปะ
ทุกสาขา ดนตรีในยุคนี้มีลักษณะเบา  งดงาม และบางครั้งอาจแทรกความตลกคะนองลงไปด้วย

  5. ยุคคลาสสิก  ยุคนี้จะแยกดนตรีทางศาสนาและดนตรีเพื่อความสุนทรีย์ออกจากกัน จังผหวะและเสียงดนตรีในเพลงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด  ทำนองเพลงมีความเร็วและช้าสลับกันไม่นิยมสอดประสานทำนองแบบลีลาประสานทำนอง แต่หันมาเน้นทำนองหลักทำนองเดียวและใส่แนวเสียงประสานเพื่อเน้นให้ทำนองหลักมีความไพเราะยิ่งขึ้น 
    นอกจากนี้ ยังได้มีการกำหนดรูปแบบของเพลงที่เป็นแบบแผน ได้แก่ เพลงซิมโฟนีและเพลงคอนแชร์โต มีเครื่องดนตรีที่ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเปียโน  มีการประสมวงที่แน่นอน เช่น วงเชมเบอร์ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 2 - 9 ชิ้น วงออร์เคสตรา ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มเครื่องสาย  กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้ กลุ่มเครื่องเป่าลมทองงเหลือง และกลุ่มเครื่องกระทบ
    ในยุคนี้การแสดงอุปรากร (Opera) เป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะเป็นการแสดงที่รวมศิลปะหลายอย่างไว้ด้วยกันทั้ง ศิลปะดนตรี  ศิลปะการแสดง  ศิลปะการจัดฉาก ศิลปะการเขียนบท  โดยสังคีตกวีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ ได้แก่ ฟรานซ์ โยเซฟ ไฮเดิน  บิดาแห่งเพลงซิมโฟนี และ โวล์ฟกัง  อะมาเดอุส  โมสาร์ท  บิดาแห่งเพลงสตริงคลอเต็ทผู้ประพันธ์เพลงมากกว่า 600 บทเพลงและ ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน  ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสังคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล

    6. ยุคโรแมนติก ในยุคนี้เริ่มมีการจัดการแสดงที่เรียกเก็บเงินค่าเข้าชมที่เรียกว่า คอนเสิร์ต ลักษณะดนตรีในยุคนี้มีทั้งดนตรีเพื่อศิลปะดนตรีบรรยายเรื่องราว ดนตรีที่แสดงความเป็นชาตินิยม มีการนำคอร์ดที่มีเสียงไม่กลมกลืนมาใช้มากขึ้น เน้นความหนัก เบา และเทคนิคการบรรเลงมากยิ่งขึ้น

   7. ยุคศตวรรษที่ 20 ยุคนี้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามามีบทบาทในชีวิต และมีอิทธิพลต่อดนตรีอย่างมาก  ในยุคนี้ได้เกิดเพลงและดนตรีประเภท ป๊อบปูลาร์ (Popular Songs) ขึ้น



WINKWHITE

ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล from sangkeetwittaya stourajini

ดนตรีสากลมีการกำเนิดขึ้นมาช้านานเริ่มตั้งแต่การนำดนตรีมาใช้ในการบวงสรวงบูชาเทพเจ้า ต่อมาพัฒนาทางด้านดนตรีขึ้นโดยการเป่าใบไม้ เป้าเขาสัตว์ ดีดเถาวัลย์ดีดคันธนู ทำให้เกิดเป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด สี ตี และเป่า แบ่งออกเป็น 7 ยุคดังนี้

1. ยุคกลาง
มีการปรับปรุงเพลงที่ใช้ร้องทางศาสนาโดยจัดแนวร้องเพิ่มขึ้นอีกแนวหนึ่ง เพิ่มความหนักแน่นในการร้องและเพิ่มความไพเราะให้กับทำนองเพลง เป็นการเริ่มการร้องเพลงแบบภาษาเสียง 2 แนว มีลักษณะดังนี้

2. ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา
เราศตวรรษที่16 ยุโรปฟื้นตัวจากสภาวะเศรษฐกิจประชาชนหันมาใส่ใจศิลปะและดนตรีมากขึ้น มีการร้องแบบประสานเสียงสมบูรณ์ขึ้นและนิยมร้องเพลงสวด

โน้ตเพลง

3. ยุคบาโรก
ยุคบาโรกคศ 1,600 ถึง 1750 คำว่าบาโรกเป็นคำที่ใช้กับศิลปะทุกแขนงหมายถึงลักษณะที่สง่างามลักษณะเช่นนี้เริ่มต้นที่ประเทศอิตาลีและแพร่หลายไปทั่วยุโรปดนตรียุคบาโรกเริ่มต้นในปลายศตวรรษที่ 16 จนถึงศตวรรษที่ 18 ประมาณ 150 ปีเป็นเวลาที่ยาวนานจึงมีการดนตรีที่มีพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาซึ่งแตกต่างกว่ายุคอื่นมากทางด้าเครื่องดนตรี คีตกวี และคีตลักษณ์