กฎกระทรวง ศึกษาธิการ โทรศัพท์

ขอเชิญชวนแสดงความคิดเห็นต่อร่างประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และเครื่องมือสื่อสารของนักเรียน นักศึกษา ในสถานศึกษา พ.ศ. .... ผ่านแบบฟอร์มการรับฟังความคิดเห็นอิเล็กทรอนิกส์ (Microsoft Forms)

ด้วย สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงศึกษาธิการนักศึกษา ในสถานศึกษา พ.ศ. …..เรื่อง มาตรการการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และเครื่องมือสื่อสารของนักเรียนเพื่อให้สถานศึกษานำไปใช้เป็นแนวทางในการออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และเครื่องมือสื่อสารของนักเรียน นักศึกษา ในสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ในการบริหารกิจการของสถานศึกษา และการจัดการเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสม ในการนำโทรศัพท์เคลื่อนที่และเครื่องมือสื่อสารมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน เพื่อใช้บังคับภายในสถานศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาปรับปรุงร่างประกาศฯ ต่อไป

สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลาประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรและประชาชนทั่วไปแสดงความคิดเห็นต่อร่างประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และเครื่องมือสื่อสารของนักเรียน นักศึกษา ในสถานศึกษา พ.ศ. .... ผ่านแบบฟอร์มการรับฟังความคิดเห็นอิเล็กทรอนิกส์ (Microsoft Forms) ภายในวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕    

สำรวจโรงเรียนพิษณุโลก มีมาตรการให้นักเรียนฝากโทรศัพท์มือถือระหว่างที่อยู่ในโรงเรียน เพื่อไม่ให้ดึงความสนใจจากการเรียน และป้องกันอันตรายจากสื่อสังคมออนไลน์ ขณะที่กระทรวงศึกษา เตรียมสนองแนวคิดนายกรัฐมนตรี ห้ามใช้มือถือระหว่างชั่วโมงเรียน

วันนี้(21 ก.ค.2560)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา หรือ ซุปเปอร์บอร์ดด้านการศึกษา ครั้งล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐ มนตรี เป็นห่วงเรื่องให้นักเรียนนักศึกษา นำโทรศัพท์เข้าไปในห้องเรียน เพื่อใช้บันทึกเสียงแทนการจด

ล่าสุดกระทรวงศึกษาธิการ เตรียมมีคำสั่งไปยังสถานศึกษาทุกแห่ง กำชับให้โรงเรียนเข้มงวดเรื่องการนำโทรศัพท์มือถือเข้าห้องเรียน โดยจะอนุญาตให้ใช้นอกเวลาเรียน หรือติดต่อธุระสำคัญกับผู้ปกครองเท่านั้น และห้ามนักเรียนใช้มือถือระหว่างอยู่ในชั่วโมงเรียน 

กฎกระทรวง ศึกษาธิการ โทรศัพท์

ทั้งนี้ทีมข่าวไทยพีบีเอส ยังพบว่ามีโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพิษณุโลก สั่งเก็บโทรศัพท์มือถือของนักเรียนระหว่างเรียนหนังสือ ต่อเนื่องมานานกว่า 2 ปีแล้วเพื่อให้นักเรียนมีสมาธิในการเรียน และให้เด็กใช้การจดแทนการบันทึกเสียงเพื่อนำกลับไปทบทวนบทเรียน


ทุกๆ เช้าก่อนเข้าห้องเรียน ครูของโรงเรียนเซนต์นิโกลาส ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก จะมอบหมายให้ตัวแทนนักเรียน เป็นผู้ทำบันทึกและเก็บรวบรวมโทรศัพท์มือถือของเด็กนักเรียนทุกคนที่พกติดตัวมา ก่อนนำไปเก็บไว้ เพื่อไม่ให้มีการใช้โทรศัพท์มือถือในระหว่างที่อยู่ในโรงเรียนตั้งแต่เช้าจนเลิกเรียนกลับบ้าน ซึ่งเป็นกฎระเบียบที่โรงเรียนทำมานานกว่า 2 ปีแล้ว

กฎกระทรวง ศึกษาธิการ โทรศัพท์


เด็กนักเรียนหลายคน ให้ความเห็นว่าหากมีโทรศัพท์อยู่ จะกระวนกระวายอยากที่จะเล่นโทร ศัพท์มือถืออยู่ตลอดเวลาและ ไม่ได้สนใจสิ่งที่คุณครูสอน การเก็บทำให้มีความตั้งใจเรียนมากขึ้น

ด.ญ.จิตรวดี ศิริอ่อน นักเรียนโรงเรียนเซนต์นิโกลาส อ.เมืองพิษณุโลก บอกว่า บรรยากาศในห้องเรียน ถ้ามีโทรศัพท์เข้ามาเพื่อนๆจะนำโทรศัพท์ขึ้นมาเล่น และนั่งก้มหน้าไม่สนใจเรียน แต่ถ้าไม่มีโทรศัพท์เพื่อนจะสนใจเรียน

กฎกระทรวง ศึกษาธิการ โทรศัพท์

ส่วน ด.ช.อรรถพร อ้นอินทร์ นักเรียนโรงเรียนเซนต์นิโกลาส อ.เมืองพิษณุโลก มองว่า มาตรการนี้เพื่อนๆ ว่าบางส่วนก็อาจจะไม่เข้าใจ และบางส่วนจะติดงอมแงมเท่ากับยากเสพติแต่ติดเป็นโทรศัพท์แทน

น.ส.สองขวัญ แซ่อุ่ย ครูโรงเรียนเซนต์นิโกลาส อ.เมืองพิษณุโลก บอกว่า สาเหตุที่โรงเรียนใช้มาตรการห้ามนักเรียนใช้โทรศัพท์ในโรงเรียน เพราะต้องการรักษาความปลอดภัยให้กับเด็กๆ เพราะบางคนยังใช้โทรศัพท์ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และไม่สามารถคัดกรองสื่อสังคมออนไลน์ได้ด้วยตนเองซึ่งอาจจะใช้สื่อสังคมออนไลน์ กระทำการผิดพลาด โพสต์ หรือเผยแพร่เรื่องราวที่ไม่เหมาะสม แต่เมื่อธิบายเด็กก็เข้าใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ซึ่งนอกจากจะใช้ในการติดต่อสื่อสารแล้วยังใช้ในการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต พักผ่อนหย่อนใจหรืออำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น ถ่ายรูป บันทึกเสียง ด้วยเหตุนี้คนไทยส่วนใหญ่จึงมีโทรศัพท์มือถือติดตัวและมักจะหยิบขึ้นมาใช้งานระหว่างวันอยู่เสมอ

อย่างไรก็ดี กลุ่มผู้ใช้งานหลักมิได้มีเพียงวัยผู้ใหญ่เท่านั้น หากยังรวมถึงกลุ่มนักเรียนในวัยประถมและมัธยมด้วยซึ่งขณะนี้พบปัญหามีการใช้งานโทรศัพท์มือถือบ่อยครั้งระหว่างที่กำลังเรียนหนังสือในโรงเรียน และสนใจจดจ่อสิ่งที่อยู่ในสมาร์ทโฟน เช่น แชทคุย เล่นเกมส์ออนไลน์ หรือดูยูทูปมากกว่าบทเรียน

งานวิจัยนานาชาติที่เชื่อถือได้หลายแห่งพบว่าเมื่อนักเรียนใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนมากขึ้นส่งผลให้ผลการเรียนรู้ของเด็กตกต่ำลงเพราะเด็กขาดความสนใจต่อบทเรียน ขาดสมาธิในการเรียนรู้ และขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ และคุณครูทั้งยังส่งผลให้เด็กนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพออันเป็นอันตรายต่อพัฒนาการของเด็ก ด้วยเหตุนี้ในหลายประเทศประเทศจึงมีแนวคิดในการห้ามใช้โทรศัพท์มือถือในโรงเรียนเพื่อที่จะให้นักเรียนกลับมาสนใจบทเรียนและทำกิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัย

ประเทศฝรั่งเศสได้เริ่มใช้นโยบายห้ามใช้หรือแบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟนในโรงเรียน (Detox Law) มาตั้งเดือน ก.ย.2018 โดยริเริ่มจากนโยบายของนายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งเพราะเชื่อว่า หากนักเรียนใช้งานโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดผลเสียกับการเรียน คะแนนตกต่ำและมีผลต่อการทำงานของสมองที่ช้าลง

รัฐสภาฝรั่งเศสจึงผ่านกฎหมายใหม่ ห้ามเด็กอายุระหว่าง 3-15 ปีนำสมาร์ทโฟนรวมถึงอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างแท็บเล็ตและสมาร์ทวอชเข้าไปในโรงเรียน ส่วนโรงเรียนมัธยมที่มีนักเรียนอายุ 15 ปีขึ้นไป สามารถตัดสินใจเลือกได้ว่าจะร่วมแบนโทรศัพท์มือถือสำหรับเด็กนักเรียนด้วยหรือไม่ หรือจะนำคำสั่งห้ามไปปรับใช้อย่างไร แนวคิดดังกล่าวเชื่อว่าบทบาทพื้นฐานของการศึกษาคือการช่วยปกป้องเด็ก และเยาวชนจากเนื้อหาทางออนไลน์ที่ล่อแหลม เช่น ความรุนแรงหรือภาพลามกอนาจาร ไปจนถึงการรังแกผ่านโลกออนไลน์ (Cyberbullying) รวมถึงการใช้มือถืออย่างผิดวิธีจนเกิดปรากฏการณ์ติดหน้าจอ อย่างไรก็ดีกรณีดังกล่าวมีข้อยกเว้นสำหรับเด็กพิการและกิจกรรมนอกหลักสูตร

ขณะที่เดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ในรัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ได้ขานรับแนวคิดนี้เช่นกันโดยจะประกาศห้ามใช้โทรศัพท์มือถือในห้องเรียนและจะเริ่มดำเนินการในช่วงเปิดภาคเรียนปี 2020 ซึ่งข้อกำหนดนี้จะใช้บังคับในนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลรัฐเล็งเห็นว่าโทรศัพท์สมาร์ทโฟนเป็นสิ่งรบกวนทำให้เสียสมาธิในห้องเรียน ส่งผลดีต่อการเรียนการสอนและยังเป็นหนึ่งในวิธีลดการรังแกทางไซเบอร์ด้วยเพราะวัยรุ่นออสเตรเลียมากกว่ากึ่งหนึ่งเคยผ่านประสบการณ์ Cyber Bully

มาตรการดังกล่าวกำหนดให้นักเรียนทุกคนจะต้องปิดโทรศัพท์มือถือและนำไปเก็บไว้ในตู้ล็อคเกอร์และจะได้รับโทรศัพท์คืนหลังเลิกเรียนเท่านั้น และหากมีเหตุฉุกเฉินพ่อแม่หรือผู้ปกครองสามารถติดต่อบุตรหลานได้โดยโทรศัพท์ผ่านทางโรงเรียน อย่างไรก็ดี กฎระเบียบข้อนี้มีข้อยกเว้นเช่นกันในกรณีที่นักเรียนผู้นั้นใช้โทรศัพท์เพื่อเฝ้าระวังภาวะต่าง ๆ ทางสุขภาพ หรือเมื่อครูผู้สอนอนุญาตให้นักเรียนนำโทรศัพท์มาเพื่อทำกิจกรรมในชั้นเรียนเป็นการเฉพาะ

มีรายงานจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในนครเมลเบิร์นว่า หลังจากห้ามนักเรียนใช้โทรศัพท์แล้ว นักเรียนได้เพิ่มความสนใจในชั้นเรียน ออกกำลังกายในสนามของโรงเรียนมากขึ้น และนักเรียนใช้เวลาพูดคุยกันมากขึ้นในเวลาอาหารกลางวันแทนที่ต่างคนต่างก้มหน้าสนใจแต่โทรศัพท์มือถือของตนเอง

อย่างไรก็ดี ในมลรัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐ มาตรการนี้ถูกยกเลิกไปเมื่อปี 2015 เนื่องจากเหตุรุนแรงจากอาวุธปืนและการก่อการร้ายเป็นภัยคุกคามที่เกิดบ่อยครั้ง ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีความเป็นห่วงบุตรหลานของตนและต้องการให้มีการติดต่อสื่อสารกันตลอดเวลา

สำหรับประเทศไทย เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้วมีรายงานข่าวว่า นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา เป็นห่วงเด็กไทยจะขาดการคิดและการจดจำเนื่องจากใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายรูปและบันทึกเสียงแทน กระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นจึงเตรียมจะออกประกาศข้อห้ามหรือคำสั่งไปยังสถานศึกษาทุกแห่งทั่วประเทศ ห้ามนักเรียนนักศึกษาใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างการเรียนการสอนโดยจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อออกจากห้องเรียนและนอกเวลาเรียนเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนจดบันทึกมากขึ้นอันจะส่งผลดีต่อกระบวนการทางความคิดและการจดจำ

แต่ท้ายที่สุดนโยบายนี้ไม่ได้นำมาใช้บังคับเพราะมีบางฝ่ายไม่เห็นด้วยโดยเห็นว่าเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุและเด็กสามารถใช้โทรศัพท์มือถืออย่างสร้างสรรค์ได้ภายใต้การแนะนำของผู้ปกครองและครู นอกจากนี้เห็นว่าสถานศึกษาหลายแห่งเข้มงวดในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว จึงให้เป็นดุลพินิจของแต่ละโรงเรียนที่จะกำหนดกฎระเบียบที่เหมาะสมในการจัดการหรือป้องกันปัญหานี้

ผู้เขียนเห็นว่ามาตรการนี้มีประโยชน์ต่อนักเรียนและควรนำมาใช้ในโรงเรียนโดยเฉพาะกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งนับเป็นกลุ่มเสี่ยงเพราะยังขาดภูมิคุ้มกันในการใช้สื่อออนไลน์ ทั้งยังเป็นช่วงวัยที่ควรพัฒนาทักษะฟัง พูด อ่าน เขียนทุกด้าน แต่มีข้อเสนอแนะว่า หากในอนาคตกระทรวงศึกษาธิการจะนำมาตรการดังกล่าวมากำหนดเป็นระเบียบใช้บังคับก็ควรมีการทดลองปฏิบัติก่อนเช่น ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือในโรงเรียนทุกวันจันทร์ และค่อย ๆ เพิ่มจำนวนวันขึ้นในท้ายที่สุด เพื่อให้เด็กและโรงเรียนได้เตรียมความพร้อมและลดความรู้สึกต่อต้าน

กล่าวโดยสรุป โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ตราบเท่าที่นักเรียนหรือผู้ใช้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดผลเสียหากใช้เวลากับสิ่งนี้มากเกินไปและแม้ขณะนี้ประเทศไทยจะยังไม่มีกฎหมายควบคุมการห้ามใช้โทรศัพท์มือถือในโรงเรียน แต่จะเป็นการดีกว่าหรือไม่หากเราเริ่มคิดคำนึงถึงผลกระทบของเรื่องนี้อย่างจริงจังและชั่งน้ำหนักผลดีผลเสียของมาตรการดังกล่าวอย่างไม่อคติ ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กไทยในอนาคต

โดย... 

สุพัทธ์รดา เปล่งแสง

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์